ภูมิปัญญาคนวัง กับอนาคต “หมอเมือง-สมุนไพร”

ภูมิปัญญาคนวัง กับอนาคต “หมอเมือง-สมุนไพร”

“แพร่” พื้นที่ที่มีทุนทางปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ หรือเรียกว่า แพทย์พื้นบ้านแบบล้านนา โดยเฉพาะกลุ่ม “หมอเมือง” และ “สมุนไพร” ประจำถิ่นที่มีหลากหลายชนิด ที่อำเภอ วังชิ้น จังหวัด แพร่ ที่นี่มีชื่อเสียงด้าน ภูมิปัญญาหมอเมือง-สมุนไพร มาอย่างยาวนาน

เลาะสวนสมุนไพร ลุงแหว๋ หล้าวัน หมอเมืองที่พึ่งสุขภาพของคนแม่พุงหลวง อ.วังชิ้น จ.แพร่

ลุงแหว๋หมอพื้นบ้านคนหนึ่งในพื้นที่ ที่ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากคนในชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านแพทย์แผนไทย คือภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดูแลสุข ภาพแบบพื้นบ้าน การใช้สมนุไพรในการรักษาโรค  มีผู้คนแวะเวียนมาหาหมอพื้นบ้านเวลาเจ็บไข้ไม่สบาย จากการศึกษาเรียนรู้เรื่องแพทย์แผนพื้นบ้าน ตำรับตำราพื้นบ้านต่าง ๆ ตำรับตำรายาพื้นบ้านมาแต่วัยหนุ่ม จนกระทั่งปัจจุบันอายุ 76 ปี กลายเป็นลุงแหวนที่ฮิบยาสมุนไพรพื้นบ้านตำรับต่าง ๆ ไว้แบ่งปัน ช่วยเหลือคนในชุมชน ทั้งยามะโหก ยานิ่ว ยากระเพาะ ยาแก้ปวดเมื่อย ยาอายุวัฒนะ และอีกหลายตำรับ ล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่หาได้ภายในชุมชนในป่าใกล้บ้าน

ไม่เพียงฮิบยาช่วยเหลือคนเท่านั้น หากแต่หลุงแหว๋ มีใจที่จะสืบสานความรู้เรื่องสมุนไพร ถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้เห็นคุณค่าของพืชพรรณไม้ต่าง ๆ โดยนำสมุนไพรหลากหลายชนิดมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน กลายเป็นศูนย์รวมสมุนไพรหลากหลายชนิด ๆ ให้เด็กนักเรียน นักศึกษาการแพทย์แผนไทย ได้มาเรียนรู้ภายในบ้าน ที่สำคัญยังเพาะขยายกล้าพันธุ์สมุนไพรไว้มากมาย เพื่อแบ่งปันให้กับคนที่อยากได้ไปปลูก วันนี้สมุนไพรในบ้านลุงแหว๋มีไม่ต่ำกว่า 100 ชนิด

มีการปลูกสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ มีสรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนหลับสนิท ปลูกว่านหมูปล่อย เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตาม ร่างกาย โดยใช้ว่านนี้ในการต้ม หรือใช้ดองเหล้าก็ได้ หญ้าหนอนตาย สามารถนำไปทำยาฆ่าแมลงได้และ

เป็นยารักษาโรคพยาธิได้ ป่งฟ้า ใบสามารถต้มกินได้ ช่วยรักษาโรคไตได้ ปลาไหลเผือก ใช้บำรุงกำลังใช้รากในการต้ม ฟ้าทะลายโจร นำใบดิบ นำมาเคี้ยว สามารถแก้อาการไอได้ ล้วนเป็นสมุนไพรที่ใช้ทำยาทั้งสิ้น อาทิ ฝางเสน ฮ่อสะพายควาย ว่านชักมดลูก ไพล ขมิ้น ว่านสาวหลง ว่านน้ำ เป็นต้น

ลุงแหว๋เป็นหมอพื้นบ้านอีกคนหนึ่งในชุมชนที่มีจิตวิญญาณของผู้ถ่ายทอดพร้อมแบ่งปันสืบสานให้ลูกหลาน ได้ใช้ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ  ซึ่งในภาคเหนือบ้านเรายังมีภูมิปัญญาแบบนี้อยู่ ที่แม้ว่าจะเริ่มลดจำนวนลงแล้วก็ตาม ซึ่งนี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาและช่วยให้ภูมิปัญญานี้อยู่คู่กับคนเหนือ

มาถึงที่ ไม่ลองไม่ได้ นั่งแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรต้ม

น้ำแช่เท้า ที่มีส่วนผสมของ น้ำมันหอมระเหย ไพร ขมิ้น ผิวมะกรูด ใส่เกลือลงไป ความรู้สึกของการแช่เท้าในช่วงเวลานั้นจุ่มเท้าไปครั้งแรกมันช่างร้อนซะเหลือเกิน ร้อนขึ้นตัวเหมือนเราแช่อยู่ในบ่ออนเซ็นขนาดใหญ่ รอเวลาสักพักประมาณ 5 นาทีเริ่มเข้าที่เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ใช้เวลาในการแช่ 15-20 นาที จนน้ำเย็น การแช่เท้าแบบนี้ทำให้เลือดลมไหลเวียดดี คลายเส้นเอ็น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น แต่คนเป็นเบาหวานและเป็นแผลเรื้อรังไม่สามารถแช่เท้าได้ ศาสตร์หนึ่งในการใช้สมุนไพรบำบัด เป็นศาสตร์หนึ่งของการปรับสมดุลร่างกาย ใช้สมุนไพรบำบัดร่างกาย

การแพทย์พื้นบ้าน” เป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาด้านสุขภาพของท้องถิ่น เป็นการดูแลสุขภาพ การรักษาสุขภาพและรักษาโรคของชุมชนและ ชาติพันธุ์ โดยใช้ความรู้ที่สืบทอดกันมาในชุมชนที่สอดคล้องกับความคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ทรัพยากรในชุมชน และอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพในระบบทั้งในระดับปฐมภูมิ และทุตินภูมิ โดยมีหมอพื้นบ้านเป็นกลไกสำคัญเชื่อมโยงระหว่างการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์สมัยใหม่ (กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, ๒๕๖๒, น.ค)  

พระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ.๒๕๕๖ ระบุว่า “การแพทย์พื้นบ้านไทย” เป็นการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ที่สืบทอดกันมาในชุมชน

แล้ว “หมอเมืองหรือหมอพื้นบ้าน” คือใคร ?

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า หมอพื้นบ้าน คือ บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้น บ้านตามวัฒนธรรมของชุมชนสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพชนและเป็นที่นิยมของคนในชุมชน เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาล้านนา ซึ่งเป็นมรดกแห่งภูมิ ปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน เรียกว่ามรดกแห่งการรักษา (TRADITIONAL HEALING) ซึ่งมีระบบการรักษาแบบองค์รวม (HOLISTIC) คือคำนึงถึงกาย จิต และ วิญญาณ ควบคู่กัน การรักษาแบบ หมอเมือง ไม่ได้พึ่งแต่สารสังเคราะห์ ที่สมัยใหม่เรียกว่า “ยา” แม้ว่าบางส่วนใช้สารที่ได้จากสมุนไพรใน ธรรมชาติ แต่หมอเมืองยังรวมไปถึงความเชื่อ จิตวิญญาณ และพลังชุมชนด้วย  (กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย, ๒๕๖๔)

ชวนดูตัวอย่างหมอเมือง จากพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคเหนือจากทีมสื่อพลเมือง

เช่น  หมอเมืองภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.พะเยา
ใครๆ ก็เป็นหมอได้ จ.เชียงราย

ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย กับสมุนไพรพื้นบ้าน ในปัจจุบันมีชื่อเสียงและขยายการยอมรับเป็นวงกว้าง หากเรามองไปยังห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านยาตามชุมชนจะมีสมุนไพรไทยในรูปแบบต่าง ๆ มีจำหน่ายให้เลือกสรรอย่างแพร่หลาย ยังไม่นับรวมศาสตร์อื่น ๆ เช่น หมอเมือง หมอนวด หมอเป่า หมอย้ำขาง ในการดูแลแบบแพทย์แผนไทยแบบครบวงจร ที่รักษาควบคู่ไปกับแผนปัจจุบันตามสถานพยาบาลต่าง ๆ สะท้อนถึง ความนิยม และการขยายตัวของแพทย์แผนไทย

แต่โจทย์ของพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทในต่างจังหวัด อย่างที่ อ.วังชิ้น จ.แพร่ ที่มีภูมิปัญญาในการรักษาโรคและการบำบัดร่างกาย ที่ใช้ต้นทุนจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น บำบัดฟื้นฟูร่างกายโรคต่าง ๆ รวมถึงมีวัดที่เข้ามามีบทบาทเป็นจุดศูนย์รวมและเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหมอเมือง ภูมิปัญญาจากหมอเมือง และศรัทธาที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษา จะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านี้ได้รับใช้สังคมในยุคต่อไป คุณค่าและไม่ควรจะปล่อยให้สูญหายไป  และเงื่อนไขเรื่องต้นทุน ทำอย่างไรให้เกิดผลในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น การต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างไร ? พร้อมทั้งการทำงานร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน ? 

Localsvoice ลองชวนคนแป้ล้อมวงคุย ภูมิปัญญา#คนวัง กับอนาคต “หมอเมือง-สมุนไพร”

จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงเกิดการระบาดโควิด-19 ในภาวะวิกฤติ พี่น้องชาวบ้านใช้สมุนไพรรักษามีการตื่นตัวมากขึ้น ใช้วิกฤติเป็นโอกาสช่วงหนึ่งไม่สามารถใกล้ชิดกันได้ หลาย ๆ บ้านนำสมุนไพรที่ใช้กันแต่โบราณออกมารักษาตนเอง พี่รู้สองน้องรู้หนึ่งคนเฒ่าคนแก่ตามบ้านนำสมุนไพรมาใช้ได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนั้นทางชมรมสมุนไพรไทยของจังหวัดแพร่และของ อ.วังชิ้น ได้รณรงค์ ร่วมกันศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการกิน การมีชีวิตอยู่ ในการรักษาสุขภาพอย่างทุกวันนี้จะเห็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการใช้รักษาพี่น้องชาวบ้าน ทั้ง การนวด การประคบ การใช้ยาสมุนไพร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ หากเรามาช่วยกันพื้นฟู ช่วยกันรักษา จริงจังก็จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องชาวบ้าน

วัดและศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของการแนะนำพร่ำสอนพุทธศาสนิกชน เช่นพระสงฆ์ที่บวชใหม่พร่ำสอนในเรื่องปัจจัย 4 พระสงฆ์ผู้ดำรงศาสนา ในข้อสุดท้าย คือ ฉันท์นาดองด้วยน้ำ คือ การนำผลไม้มาหนักดิงเป็นยารักษาโรค และนำพืชสมุนไพรมาใช้รักษาโรค คำสอนนี้ใช้มา 1500 กว่าปี ฉะนั้นเป็นศาสตร์ในทางศาสนาที่เห็นคุณค่าให้พระสงฆื พุทธศาสนิกชนนำไปใช้ประโยชน์ได้ พี่น้องศรัทธาผู้เฒ่าผู้แก่ ควรนำมาถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่เพื่อให่เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน ซึ่งในแต่ละชุมชนอย่างเช่นคนวังชิ้น หรือคนในพื้นที่อื่น ๆ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย

การเริ่มต้นที่ถูกต้องเริ่มจากพฤติกรรมหรือไม่ ศาสตร์เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากอะไร ?

ผักอิเหย๊ะ อิแหยะต๋ามรั้วบ้าน แกงผักแหย๊ะอิแหยะ เช่น ผักเชียงดา ผักตำลึง ผักแซ่วที่ปลูกตามรั้วบ้าน ผักเหล่านี้ที่ปลูกได้ตามรั้วบ้าน หรือแกงแคคือผักทุกอย่าที่เรากินได้แล้วเอามารวมกันสรรพคุณขับลม แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ ใครกินอาหารเหล่านี้บ่อย ๆ ก็จะเป็นการดูแลสุขภาพไปในตัวด้วย

นาง พันธุ์ทิพย์ สำราญชลารัตน์ มูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่า ผักพื้นบ้านทุกคนกินผักมาตั้งแต่เล็กจนโต บางคนยังไม่รู้ว่าผักแต่ละชนิดมีประโยชน์อะไรบ้าง อย่างผักกูดสามารถรักษาโรคกระเพาะโดยที่เราดูแลตัวเองได้ แต่ยังมาทำเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว เราเติมความรู้นี้ลงไปเพื่อให้หลาย ๆ คนใส่ใจในคุณค่าและคุณประโยชน์ที่มีมากกว่านั้น สมุนไพรบางตัว น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย สรรพคุณมีมากมายแต่หลาย ๆ บางคนไม่รู้ ในตอนนี้ทางมูลนิธิสุขภาพไทย ทำการส่งเสริมองค์ความรู้ การมีความรู้ในการใช้พักพื้นบ้านเหล่านี้

รณเกียรติ คำน้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 15 ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ กล่าวว่า บ้านเรากินผักอยู่แล้ว แต่บางที คนที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถปลูกผักเองได้ ไปซื้อผักที่ตลาด บางครั้งผักที่ตลาดถ้าเป็นผักทั่วไปเราไม่แน่ใจว่าแหล่งผลิตมาจากไหน ทุกวันนี้เครือข่ายเรารณรงค์ให้พี่น้องชาวบ้านปลูกผักกินเองในบ้าน ปลูกผักพื้นบ้าน ซึ่งในการทำการเกษตร โดยการทำการเกษตรทุกวันนี้เราจะทำพืชเชิงเดี่ยวกันมากแต่เราพยายามจะเน้นในส่วนของหลังบ้านหรือพื้นที่ว่างในการปลูกพืชผักบางชนิด ปลูกผักที่เรากินประจำ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกูด กระเพรา ต้นหอมผักชี ผักหละ ผักแซ่ว ที่ผ่านมาเราไม่รู้สรรพคุณ คนรุ่นใหม่ก็ไม่อยากกิน เพราะกลิ่นแรง ฉุน แต่เราพยายาม ส่งเสริมสร้างความเข้าใจในการกินผักเน้นในเรื่องสรรพคุณ หลายคนเริ่มรู้สึกกินผักแล้วดี เมื่อมีความเข้าใจคนก็เลือกกิน อยากจะเริ่มกินสิ่งที่มีประโยชน์ อีกอย่างเป็นภูมิคุ้มกัน โรคอื่น ๆ บางโรคเช่นกลุ่ม NCDs ความดัน เบาหวาน ไขมัน ต้องกินผักต่อเนื่องเป็นประจำ เพราะฉะนั้นสร้างความเข้าใจ ทดลองปลูกเอง มันถึงจะมีคุณค่ากับตนเองมาก

นอกจากการจัดการตังเองเรื่องวิถีการกิน การบริภาคในวิถีชีวิตประจำวัน กลยุทธการดึงดูดให้คนในชุมชนสนใจ มีวิธีการใดอื่น ๆ อีกบ้าง ?

นาย สมโรจน์ สำราญชลารัตน์ คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาด้านสุขภาพ จ.แพร่ กล่าวว่า ผักคือสมุนไพรชนิหนึ่ง จุดแข็งคือไม่ต้องรดน้ำมาก ผักของชาวบ้าน ผักก้านตง ปลูกครั้งเดียวเก็บยอดก็ขึ้น ผักตำลึงไม่ต้องปลูกก็ขึ้น ผักต่าง ๆ มีมากมายหลายชนิด เป็น 100 ชนิด ในธาตุอาหารของผักมีประโยชน์มาก แต่ปัจจุบันคนกินอยู่ไม่กี่ชนิด 5-6 ชนิด ผักคะน้า กะหล่ำปี ถ้าเรามารณรงค์ตรงนี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ ของผัก ทำให้คนเกิดความสนใจ และภูมิปัญญาผักอิเหย๊ะ อิแหยะต๋ามรั้วบ้านถ้าเราปล่อยไปอีก 10 ปี คนจะไม่รู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ผ่านไปอีกสัก 10 ปี แกงแคบ้านเราคนอาจจะใส่กะหล่ำปลีลงไป วันนี้เรามีการรณรงค์อยากจะก้าวไปข้างหน้าเพิ่ม นอกจากเรื่องผักพื้นบ้านแล้ว วันนี้เรามีการส่งเสริมเรื่องของสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ แต่ต้นไม้พืชสมุนไพรบางชนิดอยู่กับป่ามันขึ้นเอง แต่ ณ วันนี้ต้นไม้เหล่านี้อยู่ในพื้นที่ป่าสงวน อยู่ในเขตหวงห้าม พื้นที่อุทยานซึงเวลาไปเก็บวันนี้ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการจับกุม แต่ความน่ากังวลเมื่อต้นไม้พืชสมุนไพรเหล่านั้นเริ่มมี

ความสำคัญ เช่น วันนี้เราบอกฟ้าทลายโจรรักษาโควิด-19 ได้และเริ่มหายาก หรือหัวยาข้าวเย็นเหนือรักษาโรคมะเร็งได้ หัวนาข้าวเย็นเหนือในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยจะไม่เหลือเลย นี่เป็นเรื่องของแนวทางหมอพื้นบ้านใน อ.วังชิ้น เก็บรักษาและขึ้นทะเบียนดูแล และทำให้ประชาชนได้รับรู้ ที่วังชิ้นมีคาราวานหมอเมือง ออกไปบริการประชาชนตามพื้นที่ วัด โรงเรียน กลุ่มผู้สูงอายุมีคนมาเข้าคิวรอใช้บริการแต่ละครั้งหมอที่อยู่ในเครือข่ายใช้วิธีอาสาสมัคร ซึ่งอยากจะซื้อยารักษาอะไรอยู่ที่การพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน นี่เป็นจุดสำคัญในชุมชนไม่ใช่เฉพาะวังชิ้น 8 อำเภอในแพร่ เริ่มให้ความสนใจ อย่างการใช้ยาสมุนไรในการแก้ปัญหาโรคที่เกิดบ่อยในสังคมบ้านเรา โรคเบาหวาน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เพราะกลุ่มโรคเหล่านี้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มจนมุม และการใช้ความทันสมัยสินค้าอุตสาหกรรม ผงชูรส อาหารถุงซองเข้ามาสู่ในชีวิตประจำวัน หากเราจัดการตนเองได้ความคุมพฤติกรรม พร้อมกับการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน รักษากลุ่มNCDs นี่เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้สังคมเมืองแพร่เริ่มฉุดคิด เครือข่ายหมอวังชิ้นไม่ได้ทำงานกับคนวังชิ้นเท่านั้น ขยายความติดไปยังกองทุนส่งเสริมสุขภาพชุมชน สปสช.เชียงใหม่ สปสช.แห่งชาติ ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่จะทำให้ขอกองทุนสุขภาพชุมชน เพื่อห่างไกลกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นี่เป็นผลของหมอเมืองวังชิ้น

วัดเป็นจุดเชื่อมต่ออย่างไร ระหว่างหมอเมือง ภูมิปัญญาจากหมอเมือง นำมาสู่เรื่องศรัทธาในการเข้ากระบวนการรักษาอย่างไร ?

เจ้าคณะตำบลวัดนาฮ่าง กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการเฝ้าระวังด้านสุขภาพคนวัง การทำงานเป็นเครือข่ายได้เห็นความสำคัญของการนำสมุนไพรมาใช้ ในช่วงหนึ่งตอนวัดดไม่มีงานเยอะใช้วัดเป็นพื้นที่การประชุมขับเคลื่อนด้านสมุนไพร เราจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้จักของชุมชนและคนทั่วไปรู้จักว่า ภูมิปัญญาในการรักษาโรคโดยใช้สมุนไพร โดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมรักษามาตั้งแต่สมับก่อน ให้คนหันมาสนใจและกลับมาใช้สมุนไพรมากขึ้น ก่อนที่จะวิ่งไปหาเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ปัญหางานล้นมือ แต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ปวดท้อง ปวดหัว ใช้ภูมิปัญญาหมอเมืองที่อยู่ตามตำบลในพื้นที่รักษาเบื้องต้น ตอนนี้มี 4 ตำบลในการนำร่อง แม่ป้าป แม่พุง แม่เกิ่ง วังชิ้น 4 อำเภอนี้เป็นจุดเริ่มต้นในอนาคตทำการขยายพื้นที่ในปัจจุบันคนเริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น

แม้แต่อาตมาภาพเอง 10 ปีมานี่ไม่ได้ใช้ยาแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอะไรก็จะวิ่งเข้าหาโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว ภายหลังเริ่มใช้สมุนไพรของหมอเมือง ยาต้ม เจ็บหลัง เจ็บเอว ใช้ยาต้มในการรักษาก็สามารถหายได้

โจทย์คือเราคนทั่วไปจะทำอย่างไรให้ชาวบ้าน หรือผู้คนเก็นความสำคัญของสมุนไพร ซึ่งพระสงฆ์มีบทบาทสนับสนุนด้านไปใช้บริการ สนับสนุนผลิตภัณฑ์มาใช้และบอกต่อญาติโยมที่มาทำบุญที่วัด เป็นกระบวนการบอกต่อคอยเชื่อมโยงประสาน อีกโจทย์คือหมอที่เก่ง ๆ จะมีการถ่ายทอดและส่งต่ออย่างไรไม่ให้หายและตายไปกับภูมิปัญญา

พระครูวิจิตรธรรมสาธก รองเจ้าคณะอำเภอวังชิ้น เจ้าอาวาสวัดสัมฤทธิบุญ กล่าวว่า การรับประทานอาหารมังสวิรัติ ทำให้ญาติโยมที่มาปฎิบัติมีความสุขกายสุขใจ ยกตัวอย่างในช่วงโควิด-19 อาตมาภาพเป็น 2 ครั้ง ต้องดูแลพระเณรและญาติโยม ช่วงนั้นจะเน้นอาหารพื้นเมืองแกงแค แกงผัก ต้มน้ำตระไคร้ ฟ้าทะลายโจร ช่วงนั้นก็หายปกติโดยไม่พึ่งยาอย่างอื่น  

“สมุนไพรไทยนี้มีค่ามาก พระเจ้าอยู่หัวทรงฝากให้รักษา แต่ปู่ย่าตายายใช้กันมา ควรลูกหลานรู้รักษาใช้สืบไป เป็นเอกลักษณ์ของชาติควรศึกษา วิจัยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมัย ให้รู้คุณรู้โทษประโยชน์สมุนไพร เพื่อคนไทยอยู่รอดตลอดกาล

พระอาจารย์วันชัย ชัยะธรรมโม ที่ปรึกษาสถาบันผู้สูงอายุวังพุง อดีตเคยเป็นหมอเมืองที่จังหวัดนครสวรรค์

พระยงยุทธ ธีปโก กล่าวว่า ในอดีตวัดคือศูนย์รวมหมดทุกเรื่องตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตั้งแต่หมอยา สล่า โรงเรียน แต่เริ่มหายไป ถามว่าหน่วยงานรัฐรู้หรือไม่ รู้หมด แต่พอหน่วยงานมาสนับสนุนมาสนับสนุนพืชเกษตรอินทรีย์ สลัด แกงแคก็ไม่ได้

โจทย์สำคัญของ “หมอเมือง” คืออะไร ?

หมออำนาจ เกี่ยงซอง อดีต ผอ.รพสต.บ้านป่าม่วง ย้ายมาสำนักงานสาธารณะสุข อ.วังชิ้น จ.แพร่  กล่าวว่าสมัยเรียนกับอาจารย์ อาจารย์กล่าวว่าศิษย์ต้องเก่งกว่าอาจารย์ ถ้าไม่งั้นจะไม่มีการพัฒนา จะเห็นว่าคนเรา โบราณจะบอกว่าไม่ควรกินเพกาไม้ดิบนะ เราก็ถามกลับไปว่าทำไมไม่ดี คำตอบคือไม่ดีคือไม่ดี แต่ปัจจุบันเราต้องมีคำตอบ ล้นกา หรือเพกา ไม่ควรกินดิบเพราะมันเผ็ดร้อน ไปทำลายระบบทางเดินกระเพาะอาหาร และมีพิษ ต้องกินตอนสุกจะได้ทำลายสารพิษที่มีในตัว ยุคสมัยนี้ต้องมีคำตอบทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับภูมิปัญญาได้ สมุนไพรบางตัวฟ้าทลายโจรก็มีโดสการกินอยู่ กินเกิน 5-7 วันไม่ได้เพราะมันจะไปทำลายตับ ฉะนั้นสมุนไพรมีตัวดีในตัวมันอยู่แล้ว แต่ในฐานะที่เราเป็นหมอแผนไทย แผนปัจจุบัน และแผนพื้นบ้าน เราก็เอาความรู้ตรงนี้มาประยุกต์ ผนวดผสมผสาน เราต้องรู้ลึก ๆ แต่ละตัวของสรรพคุณสมุนไพร

โจทย์หลักที่ฟังมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมทั้งการใช้ การปลูก โจทย์เรื่องการส่งต่อหมอเมืองเริ่มแก่เฒ่าและหายไป และโจทย์เรื่องคุณประโยชน์กับการใช้เพราะมีเงื่อนไขการใช้ สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่ภาครัฐและองค์กรเข้ามาช่วยในเรื่องใดบ้าง

เมื่อเราดูตัวภาครัฐ มียาที่เข้าไปในระบบหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าทลายโจร เพชรสังฆาต สมุนไพรมะขามป้อม และตำรับต่าง ๆ ในพื้นที่มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยวิเคราะห์จากธาตุเจ้าเรือนก่อน เพราะเกิดจากการบริหารการกินการนอน การออกกำลังกาย สำคัญมาก เพราะฉะนั้นถ้าเรามีองค์ความรู้เราจะเริ่มมีระบบสุขภาพที่ดี ในระบบรัฐเองเคยคุยกันว่า เมื่อไหร่หน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอจะส่งเสริมเรื่องนี้ ระบบเมื่อไม่ส่งเสริมเราเลยใช้ระบบขบวนการชาวบ้าน ขับเคลื่อน เพียงแต่เรามาส่งเสริมความรู้ในเรื่องทางวิทยาศาสตร์มาเพิ่มเติมกันจะได้เติมเต็มกันและกัน เราไม่ได้ปฎิเสธทางใดทางหนึ่งแต่เรานำมาบูรณาการร่วมกัน

อยากจะสรุปว่าเราเป็นวัยรองต่อระหว่างเจนเก่ากับเจนใหม่ ถ้าเราไม่ส่งต่อให้ดีก็อาจจะหายไปทั้งหมด ยกตัวอย่างบ้านแม่กระต๋อมเป็นบ้านโพร่งเดียวนี้เหลือไม่กี่คน 200 หลังคาเรือน ในวัยรอยต่อเกิดการสูญหายและเหลือเพียงแค่คำบอกเล่า

รณเกียรติ คำน้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 15 ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ กล่าวว่า ประเด็นหนึ่งที่เราจะสามารถคาดหวังกับชุดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร แม้กระทั่งตอนนี้ก็มีวิทยาลัยแพทย์แผนไทยอยู่ แต่สังเกตดูว่าคนที่จบวิทยาลัยแพทย์แผนไทย จะมีแค่องค์ความรู้แต่ภาคปฏิบัติน้อย หมอเหล่านี้จะรู้สมุนไพรทุกชนิดว่ามีสรรพคุณอย่างไรต้นเป็นอย่างไรเกิดขึ้นที่ไหนอย่างไรก็ยังไม่รู้ว่าจะไปหาได้ที่ไหน นี่คือประเด็นนึงวิทยาลัยที่เปิดขึ้นมาสอนแค่หลักวิชาการแต่คนที่จบมายังไม่ได้ปฏิบัติตนเองให้เป็นต้นแบบยังกินแบบเดิมอยู่ และเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สิ่งนี้คือการที่จะบอกว่าลงความรู้ยังไม่ลึกพอเพราะเรื่องของสุขภาพต้องลงลึกไปถึงเรื่องของความเข้าใจและปฏิบัติตัวให้ได้ถึงจะเป็นต้นแบบที่ไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้ ทุกวันนี้พูดกันถึงเรื่ององค์ความรู้ภูมิปัญญาที่ทำมาถึงทุกวันนี้เราพยายามจะทำกันเองขับเคลื่อนกันเองในแนวราบในเครือข่าย อย่างเครือข่ายที่ทำเกษตรอินทรีย์เค้าต้องมีใจแล้วว่าอยากจะดูแลสุขภาพเพราะฉะนั้นเราพยามจะดึงคนกลุ่มนี้เข้ามา เพราะฉะนั้นอย่างที่นั่งรวมกันอยู่ทุกวันนี้ทั้งพระอาจารย์ท่านพระครูต่าง ๆ ถ่ายทอดให้กับญาติโยมได้ เราพยายามเชื่อมและประสานงานให้มีหลายหลายภาคส่วนเข้ามาร่วม อย่างคุณหมออำนาจตั้งใจที่จะไปเรียนเรื่องของแพทย์แผนไทยทั้งทั้งที่เป็นแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อเรียนมาแสดงว่ามีใจเป็นต้นแบบเป็นผู้นำพยายามนำเอาคนเหล่านี้มาเชื่อมนั่งคุยกันกับคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เมื่อมาได้คุยกันแล้วนั่งรวมคุยกันเกิดแรงบันดาลใจในการที่อยากจะทำต่อ มีพลังบวกที่จะส่งต่อกันได้ หากเราไม่ดึงคนเหล่านี้มาต่างคนต่างทำอยู่บ้านใครบ้านมันก็ไม่มีพลังทำไปทำมายิ่งทำยิ่งหายไปและไม่มีกำลังใจ นำภูมิปัญญาเก่าเก่าที่หลายคนมีติดตัวได้มาเล่าและถ่ายทอดเพราะบางสิ่งบางอย่างแม้ว่าเราจะไม่ได้เห็นในปัจจุบันแต่คนที่เห็นอดีตมามากกว่าเราสามารถถ่ายทอดให้กับคนในปัจจุบันได้ และเป็นแรงบันดาลใจ

ในเรื่องของนโยบายตำบลเห็นว่ามีช่องที่จะ ส่งเสริมเรื่องของภูมิปัญญาสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นทางสาธารณสุขจังหวัด หรือท้องถิ่นเองมีช่องกฎหมายช่องระเบียบที่เอื้อให้อยู่แต่ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจอย่างสาธารณสุขจังหวัดจะมีเรื่องคณะกรรมการแพทย์แผนไทย แต่คนที่รับผิดชอบจะเป็นหมอที่เป็นแผนปัจจุบัน และไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร เมื่อให้คนที่ไม่รู้มารับผิดชอบก็จะเกิดการเมื่อลงไปประสานงานกับคนในพื้นที่หรือหมอพื้นบ้านไม่มีวิธีการที่จะลงพื้นที่รับเรื่องมาก็จะมาดองไว้ที่จังหวัดสุดท้ายมาคนในพื้นที่ก็ไม่ได้รับโอกาสตรงนั้น แม้กระทั่งท้องถิ่นเองอบต. หรือเทศบาล มีระเบียบมีช่องที่จะขยับขับเคลื่อนได้ส่งเสริมในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดรายได้ก่อเกิดอาชีพสร้างให้ท้องถิ่นมีรายได้มันมีช่องทางที่จะทำได้แต่ผู้ปฏิบัติในระดับท้องถิ่นเองก็ไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไร คนท้องถิ่นจึงเสียโอกาสเพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรต้องหาคนที่เข้าใจและไปขับเคลื่อนงานในส่วนของนโยบายให้เกิดผลจริงๆ ต้องหาคนที่มีใจและเข้าใจเขาไปทำงาน

สมโรจน์ สำราญชลารัตน์ คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาด้านสุขภาพ จ.แพร่ กล่าวว่า ตนเองในฐานะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพของจังหวัดแพร่ กรรมการชุดนี้จะดูแลเรื่องแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกหนึ่งปีประชุมเพียงแค่ครั้งเดียว และครั้งเดียวไม่มีกิจกรรมอัพเดทอะไรและมีเรื่องของการทำแผนของโรงพยาบาลต่างๆในจังหวัดแพร่ปรากฏว่าก็เป็นแผนเดิม ๆ เวทีที่เราพูดกันมากับสิ่งที่ทางราชการทำแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในเครือข่ายนี้ถ้าเราจะอนุรักษ์และฟื้นฟูและส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังสิ่งที่ควรทำตอนนี้คือเรื่องของตำรับยาที่มีกับหมอเมือง ในชุมชน ถ้าตำรับยาไม่มีใครสืบต่อไม่มีใครคัดลอกไม่มีใครเรียนรู้ ตำรับนี้ก็จะหายไปพร้อมกับต้นตำรับยาในชุมชน


อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของฐานทรัพยากรถ้าเรามีตำรับยาแต่เราไม่มีสมุนไพรเราไม่มีต้นไม้หรือมีแล้วเราก็ไม่รู้ ป่าคือพันธุกรรมพืชตรงนี้มองถึงเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชเป็นสิ่งสำคัญและความรู้ที่จะถอดออกมาเพราะผักพืชสมุนไพรชนิดไหนแต่ละตัวมี สรรพคุณที่แตกต่างกันอย่างไรใช้อย่างไร

สรุปคือถ้าเราได้ถอดการเรียนรู้เก็บนำมาปฏิบัติมาใช้ซึ่งเราคงไม่ต้องรอเรื่องของราชการหรือไม่ต้องรอกฎหมายเข้ามารองรับแต่เราเร่งทำกันในเครือข่ายก็จะทำให้ความรู้เหล่านี้สืบทอดต่อไป

อยากฝากทางสื่อว่ามีรายการแบบนี้เข้ามาในชุมชนเราเห็นเรื่องของสุขภาพคนในชุมชนเมื่อ 50 ปีที่แล้วเราไม่เคยเห็นคนเป็น เบาหวาน ความดันโรคหัวใจ มากมายเช่นทุกวันนี้ แต่ปัจจุบันเบาหวานความดันหัวใจไปถึงนอนติดเตียงมีเยอะขึ้นทุกวันปัญหาสังคมเต็มไปหมดจากคนที่ต้องช่วยเหลือตัวเองแต่กับกายเป็นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นี่เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราเห็นความสำคัญตรงนี้เรารีบกลับมาปฎิบัติตัวและใช้สมุนไพรด้วยความรู้อย่างต่อเนื่องคิดว่าเรื่องของการเจ็บป่วยหรือสุขภาพวะคนในชุมชนก็จะดีขึ้น

สมุนไพรบางตัวที่ไม่ถูกรองรับอย่างเช่นของที่หาได้จากป่าไม่ได้มีการปลูกได้ทั่วไป ถ้ามีความสำคัญเช่นตอนนี้สำคัญแล้วคือตัวหัวยาข้าวเย็นเพราะไปเข้ายามะเร็ง มีคนต่างจังหวัดสนใจที่จะนำไปรักษาแต่เราไม่สามารถที่จะส่งไปได้ตรงโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยที่พัฒนานิคมใช้เยอะมากและหน่วยงานแพทย์แผนไทยต่างๆก็ใช้เยอะมากแต่ถ้าเราไม่รู้จักว่าหัวอยากข้าวเย็นอยู่ที่ไหนอย่างไร สิ่งนี้อันตรายมากว่าอนาคตเราต้องซื้อนำเข้าจากประเทศลาว แต่ตอนนี้ประเทศลาวก็จะเริ่มน้อยลงไปทุกที ออเดอร์จากจีนลาวไทยเยอะมากขึ้น สิ่งที่เราพบในชุมชนคือหมอพื้นบ้านมีความรู้เรื่องต้นไม้เหล่านี้ว่าเป็นส่งแบบไหน และอยู่ตรงไหนอย่างไรจะนำมาขยายพันธุ์โดยวิธีใดตรงนี้หมอพื้นบ้านรู้แต่ถ้าเราปล่อยประละเลยไปหมอพื้นบ้านคนนั้นไม่อยู่กับเราเราก็จะไม่รู้เพราะในตำราพุทธศาสตร์หรือในเรื่องของป่าไม้ไม่มีเรื่องราวเหล่านี้เพราะฉะนั้นเราควรจะสร้างกลไกบางอย่างในระดับจังหวัดที่จะทำให้เกิดการฟื้นฟูและนำไปสู่การปลูกเพิ่มด้วยกลุ่มเกษตรอินทรีย์นำสมุนไพรที่หายากเรานั้นมาปลูกและเกิดกระบวนการศึกษาวิจัยนำไปสู่การพัฒนาต่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนด้วย

โรงพยาบาลตอนนี้แพร่มีโรงพยาบาลสมุนไพรอยู่ประมาณสองแห่งแต่ตอนนี้ตัวสมุนไพร มีบัญชียาหลัก 70 ชนิดที่เป็นสมุนไพรซึ่งเกินกว่านั้นแล้วในปัจจุบันแต่การใช้ในโรงพยาบาลไม่เกิดขึ้นนี่เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ยาสมุนไพรไม่ถูกฟื้นฟูและไม่ถูกใช้คนที่อยากปลูกก็ไม่อยากจะทำแต่ถ้าโรงพยาบาลเหล่านี้เกิดความสนใจ เกษตรกรที่อยากปลูกก็จะมีมากขึ้น

ชมไลฟ์ย้อนหลังได้ที่ อนาคตสมุนไพรกับคนวังชิ้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ