ขยะหนองละลอก ปมปัญหา “ขยะอุตสาหกรรม” กับดัก EEC

ขยะหนองละลอก ปมปัญหา “ขยะอุตสาหกรรม” กับดัก EEC

ภาพสะท้อนอดีตระยอง-อนาคต EEC จากกรณีพบการลักลอบฝังกลบขยะอุตสาหกรรมในพื้นที่  ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่อเดือนมิถุนายน หลังชาวบ้านทำการชุดดินในพื้นที่สาธารณะ 50 กว่าไร่ เพื่อทำเป็นสระน้ำใช้ในการเกษตรและทำน้ำประปาของชุมชน แต่สิงที่พบคือขยะมหาศาลใต้ผิวดิน ตามมาความกังวลถึงการปนเปื้อนสารพิษที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม

ที่สำคัญมีแนวโน้มว่าขยะที่ถูกฝังกลบไว้ตรงนี้อาจจะมีอายุมากกว่า 10 ปี เพราะก่อนหน้านี้ในบริเวณพื้นที่ติดกันเคยมีการประกอบกิจการโรงงานคัดแยกขยะอยู่ แต่ปิดกิจการไปนานแล้ว และอาจมีปัญหามากกว่าที่ตาเห็น

กรณีหนองละลอกเป็นหนึ่งในหลายร้อยกรณีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในจังหวัดระยอง เมืองอุตสาหกรรมหลักอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีนิคมอุตสหากรรมกว่า 10 แห่ง เป็นที่ตั้งของโรงงานจำนวนถึง 2,927 โรงงาน 

ขณะที่ข้อมูลของมูลนิธิบูรณนิเวศพบว่า สถิติการลักลอบทิ้งของเสียจากอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2560-64 มีมากถึง 322 ครั้ง และจังหวัดที่มีการลักลอบมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง โดยมากถึง 34 ครั้ง ถัดมาเป็นชลบุรี 25 ครั้ง ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดนี้อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ EEC แล้วอนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องรับมือกับปัญหาขยะจะเป็นอย่างไร นี่คือเรื่องต้องชวนขยาย

เป็นรูปธรรมส่งผลต่อคุณภาพทางสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นดินและแหล่งน้ำ การจัดการขยะอุตสาหกรรมในประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกที่กำลังจะเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ข้อท้าทายสำหรับอนาคตในปัญหาจะมีทางออกอย่างไร 

ทีมข่าวพลเมืองพูดคุยกับคุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ในรายการคุณเล่าเราขยาย ทบทวนเส้นทางการจัดการขยะอุตสาหกรรมของไทย เพื่อมองปัญหาและข้อท้าทายสำหรับอนาคต

00000

Q : จากกรณีหนองระลอกมีการไปร้องหน่วยงานภาครัฐแต่หนึ่งเดือนที่ผ่านมาได้เพียงแค่ตรวจคุณภาพน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังบอกอะไรกับสังคม ?

A: เรื่องนี้เป็นถ้าดูจากภาพข่าวแล้วก็ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องถือว่าเป็นการลักลอบทิ้งครั้งใหญ่แล้วก็น่าจะเป็นการทิ้งมานานพอสมควร ซึ่งอันนี้จัดเป็นพื้นที่มีการปนเปื้อนมลพิษถ้าดูจากข้อมูลทั้งหมด คิดว่าอันดับแรกทางชุมชนในพื้นที่หรือว่าทางอสม.อาจต้องไปแจ้งดำเนินคดีกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะว่าข้อเท็จจริงที่เห็นมันคือการกระทำผิดพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ต้องให้ทางเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาตรวจสอบ

อันดับสองต้องมีการตรวจพิสูจน์ให้ชัดเจนว่าเป็นกากอุตสาหกรรมประเภทที่อันตรายหรือไม่? เพราะว่าประเภทที่อันตรายและไม่อันตรายมีกระบวนการจัดการและงบประมาณที่ต่างกัน ถ้าเป็นกากอุตสาหกรรมอันตรายจะต้องมีการเอาตัวอย่างทั้งหมดไปวิเคราะห์และตรวจสอบว่ามีสารปนเปื้อนอะไรบ้าง ต้องมีวิธีการในการขุดออกไปเพื่อกำจัดให้ถูกต้อง ลำดับต่อมาต้องมีการสำรวจทั้งหมดด้วยว่าลักษณะการปนเปื้อนได้แพร่กระจายไปถึงไหนอย่างไรบ้าง ต้องมีขอบเขตและวางแผนในการฟื้นฟูประเมินความเสี่ยง ส่วนการวางแผนการฟื้นฟูต้องมีการตั้งงบประมาณสนับสนุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก

Q: ทั้งหมดที่พูดมาทั้งหมดยังไม่มีแผนรองรับแต่อย่างใด ?

A: ถูกต้อง ย้อนแต่อดีตตั้งแต่ประเทศไทยมีการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก เริ่มมีการพัฒนาจริงจังและเร่งส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ปี 2530-2533 ในขณะบ้านเรายังไม่มีตัวกฎหมายว่าด้วยเรื่องการจัดการกากอุตสาหกรรม ทว่ามีพ.ร.บ.ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งจริงๆก็ครอบคลุมหลักการผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ว่ามันเป็นหลักการใหญ่ที่ยังไม่มีกฎหมายลูก ตัวพ.ร.บ.โรงงานก็ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงเรื่องนี้ซะทีเดียว 

กฎหมายที่เป็นประกาศกระทรวงว่าด้วยเรื่องการจัดการวัสดุที่ใช้แล้วฉบับแรกออกมาในปี 2540 ซึ่งอันนั้นก็จะครอบคลุมเรื่องของการจัดการกากอุตสาหกรรมด้วย แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีช่องว่างของกฎหมายอยู่ไม่ครอบคลุมไปถึงเรื่องของขั้นตอนทั้งหมด ตั้งแต่บริษัทที่ผู้ก่อกำเนิดทำให้เกิดของกากเสียและในการวิเคราะห์ดูว่ากากของเสียเหล่านั้นเป็นของเสียอันตรายหรือไม่? อันนี้บัญชีในพ.ร.บ.ก็ยังไม่สมบูรณ์  พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเริ่มจะมีผลบังคับใช้จริงจังหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา

Q: ในยุคปี 2540 เป็นยุคที่เราเห็นการฝังกลบโรงงานประเภท 105 106 เกิดขึ้นใช่มั้ยคะ ?

A: ใช่ค่ะ ประเทศไทยมีบริษัทอุตสาหกรรมอันตรายบริษัทแรกเกิดขึ้นในปี 2538-2539 นั่นคือบริษัทเจนโก้

Q: แต่บริษัทเกิดขึ้นก่อนมีการใช้กฎหมาย ?

A: ถูกต้อง บริษัทนี้เป็นความร่วมทุนระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับเอกชนถือเป็นบริษัทแห่งแรกที่มีความสามารถในการกำจัดกากอุตสาหกรรมอันตราย มีห้องทดลองของตัวเอง แต่หลังจากปี 2540 ที่เจนโก้เกิดขึ้นแล้วก็มีชาวบ้านคัดค้านและต้องสุดท้ายต้องย้ายโรงงานเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 

ต่อมาในปี 2545 เริ่มมีการปรับกฎหมายปรับปรุงเริ่มเปิดให้มีมีประกาศกระทรวงจัดตั้งประเภทกิจการอุตสาหกรรมเพิ่มเติมคือ 105 และ 106 107  

Q: โรงงานประเภท 105 คือโรงงานคัดแยกแต่ 106 คือรีไซเคิลแปรรูป ?

A: ใช่ค่ะ โรงงานประเภท 105 เป็นประเภทกิจการที่เขาบวกกันระหว่างการคัดแยกและการฝังกลบ เพราะฉะนั้นในช่วงก่อนปี 2545 มันยังมีการอนุญาตในความไม่พร้อมของหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องดูแลเรื่องนี้ เมื่อมีความไม่พร้อมกฎหมายก็จะไม่ได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องของการจัดการกากอุตสาหกรรมอันตรายอย่างเข้มงวด ในยุคนั้นจึงมีการอนุญาตให้มีการฝังกลบกากอุตสาหกรรมพื้นที่โรงงาน 

หลังจากที่มีประกาศที่มีการจัดตั้งโรงงานคัดแยก โรงงานฝังกลบและโรงงานรีไซเคิลแล้วได้มีการอนุญาตให้มีการฝังกลบนอกจากในพื้นที่โรงงาน  การเกิดโรงงานรีไซเคิลมันทำให้มีกาขนย้ายกากออกนอกพื้นที่และนี่เป็นจุดที่ทำให้เกิดการระบาดของ การลักลอบฝังกลบ การลักลอบทิ้งของการอุตสาหกรรมอันตรายที่มันกระจายเป็นบริเวณกว้างขึ้น จังหวัดระยองเราเชื่อว่าถ้ามีการพลิกแผ่นดินขึ้นมาน่าจะเจอการลักลอบฝังกลบกากอุตสาหกรรมอันตรายอีกหลายแห่ง 

“กรณีของหนองละลอกจริงๆ อยากให้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศเป็นพื้นที่ปนเปื้อนกากอุตสาหกรรมอันตรายและหยุดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของของคนโดยเฉพาะเรื่องการขุดน้ำหรือจะเอาน้ำจากบ่อนั้นมาใช้อุปโภคบริโภค”

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ

เราเชื่อว่าถ้าหากว่ามีการตรวจสอบจริงๆ การปนเปื้อนจากกากที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งเมื่อกี้เราเห็นมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแล้วน่าจะมีการอุตสาหกรรมอื่นๆซึ่งกากอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งกากอุตสาหกรรมเหล่านี้น่าจะมีสิ่งที่เรียกว่าโลหะหนัก สารหนู ตะกั่ว ทองแดง ปรอทพวกนี้ปนเปื้อนอยู่ ถ้ามีการศึกษาไปวิเคราะห์ทางเคมีเราเชื่อว่าอาจเจอสารกลุ่มที่เรียกว่าสารอินทรีย์ตกค้างได้ในสิ่งแวดล้อมคือกลุ่มสารไดออกซิน

Cr. ภาราดร ชนะสุนทร

ถ้าเป็นแบบนั้นจริงพื้นที่นี้ถือว่าเป็นพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษที่รุนแรงทีเดียวจะมาถามหรือว่าจะปล่อยให้ชาวบ้านหรือว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการไม่ได้แล้วเพราะว่าต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เชื่อว่าพื้นที่ที่มีการลักลอบฝังกลบขนาดนี้และจะต้องมีทำความสะอาดพื้นที่และฟื้นฟูอาจต้องใช้งบประมาณนับเป็นพันล้านบาทนับว่าไม่ใช่เรื่องเล็กเลย 

Q: จากก่อนหน้าที่ได้กล่าวมา การมีใบอนุญาตทั้งประเภท 105 106 ทั้งคัดแยกและแปรรูปแบบโรงงาน ลักษณะแบบหนองระลอกอาจมีเยอะมากเลย ?

A: พื้นที่ไหนที่มีการขุดหน้าดินไปขายดินลูกรังหรือว่าหน้าดินทั้งหมดไปขายเพื่อการก่อสร้างอะไรก็แล้วแต่ซึ่งมันจะกลายเป็นหลุมที่ใหญ่มาก หลุมเหล่านั้นมันจะถูกเปลี่ยนเป็นหลุมฝังกลบขยะทันที

Q ถูกเอาขยะไปเติมเต็มด้วยขยะและเป็นมลพิษด้วย ?

A: ใช่ค่ะ ขยะอุตสาหกรรมจะมีการแบ่งประเภทว่าเป็นขยะอุตสาหกรรมอันตรายหรือไม่อันตราย ถ้าเป็นขยะอุตสาหกรรมอันตรายจะมีกฎหมายกำกับชัดเจนมาก ภายใต้พ.ร.บ.วัตถุอันตรายจะมีการบอกเลยว่าต้องดำเนินการอย่างไร ถ้าหากว่าจะมีการฝังกลบสมมุติว่าถ้าหากว่าบริษัทหนึ่งเป็นผู้ทำให้เกิดขยะอุตสาหกรรมอันตรายกฎหมายจะอนุญาตให้เขาเก็บในพื้นที่ไม่เกิน 90 วันและถ้าจะมีการขนส่งไปกำจัดบริษัทที่มารับกำจัดจะต้องมีการขึ้นมีใบอนุญาตประกอบกิจการและฝังกลบที่ถูกต้อง ถ้าเป็นบริษัทที่รับขนส่งก็จะต้องมีมีการขึ้นทะเบียนด้วยขนส่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากว่ามีการนำไปสู่โรงคัดแยกหรือโรงงาน 105 ที่สามารถดำเนินการฝังกลบได้ ถ้าเป็นการฝังกลบภายใต้กิจกรรมประเภท 105 ที่เป็นขยะอันตรายเนี่ยจะต้องมีการทำ EIA มันมีขั้นตอนทางกฎหมายที่แตกต่างกันเยอะทีเดียว

Cr. ภาราดร ชนะสุนทร

หากดูข้อมูลของมูลนิธิบูรณะนิเวศในช่วงกลางมีความพยายามที่จะรีไซเคิลขยะเกิดประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติประเภทโรงงาน 105 และ 106 ในปี 2545 มีแววว่าจะอนุญาต ทว่ามีการให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วคือช่วงมีประกาศคสช.ฉบับที่ 4/2559 ทำให้เกิดโรงงาน 105 106 เยอะ เฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกจังหวัดใน EEC ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จากข้อมูลตัวเลขของมูลนิธิฯมีโรงงานประเภท 105 รวมแล้วกว่า 517 โรงงานคิดเป็น 32% ของสัดส่วนทั้งประเทศ ประเภทโรงงาน 106 รีไซเคิลในพื้นที่ EEC 286 โรงงาน 39% ของสัดส่วนทั้งประเทศ

ประเด็นนี้เราคิดว่ามันมีมิติที่ซับซ้อนและอาจจะเข้าใจยากนิดนึงแต่โดยพื้นฐานเลยกิจการเหล่านี้และการลักลอบทิ้งกากไม่ว่าจะเป็นทิ้งบนตามผืนดินสาธารณะต่างๆหรือว่าการเอาไปเทกองแล้วก็ฝังกลบอย่างผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยากมากถ้าหากว่าไม่เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการตรวจสอบเข้มงวดและร่วมมือกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอย่างเช่นตัวเทศบาลหรืออบต. 

เราเชื่อว่าการเฝ้าระวังในลักษณะแบบนี้กรณีของหนองละลอกจะไม่เกิดขึ้น ตั้งแต่ 10 ปีถึง 20 ปีก่อนแต่ตอนนี้การลักลอบเกิดกากขยะแบบนี้ระบาดไปทั่วทั้ง EEC เราเคยมีการสำรวจหลายปีที่ผ่านมาลักษณะของการลักลอบทิ้งไม่ว่าจะเป็นในรูปของน้ำเสียอุตสาหกรรมหรือว่าของเหลวอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นหลายร้อยกรณี ทีนี้พอเกิดลักษณะแบบนี้เราถือว่าพื้นที่ที่รองรับกากแบบนี้จะถือเป็นพื้นที่ปนเปื้อนเป็นการเป็นพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ

ประเทศไทยเองยังไม่มีนโยบายรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมามองแต่เรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มันไปข้างหน้า ไม่ได้มองย้อนกลับมาว่าของเสียจากอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของของแข็ง น้ำเสีย น้ำปนเปื้อนมลพิษหรือแม้กระทั่งอากาศสิ่งเหล่านี้จะจัดการยังไงให้ถูกต้องแล้วก็ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและก็ชุมชนที่อยู่รอบๆ 

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ

กรณีของหนองระลอกเราคิดว่าถ้าย้อนกลับมาเอาจริงเอาจัง เราเชื่อว่าต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าพันล้านในการสำรวจการปนเปื้อนทั้งหมดรอบเขตแต่ว่ามันไปไกลขนาดไหน หน้าดินเห็นเท่าไหร่แล้วอยู่อยู่ใต้ดินอีกเท่าไหร่ลงแหล่งน้ำบาดาลไหมและก็กระจายไปตามแหล่งน้ำผิวดินเท่าไหร่ สารปนเปื้อนคืออะไร ทั้งหมดนี้มันจะต้องทำเป็นแผนออกมาและมาวิเคราะห์ดูว่าจะเกิดความเสียหายมากน้อยแค่ไหนในวันข้างหน้า ซึ่งตรงนี้ต้องเตรียมมาเป็นแผนและก็ทำการฟื้นฟู ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีงบประมาณส่วนนี้

Q: มาแก้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและก็ยังไม่แน่ใจว่าขยะที่เราเห็นมันเป็นขยะในประเทศจริงหรือเปล่า ?

A: อันนี้ก็เป็นเป็นอีกเรื่องหนึ่งมีทั้งส่วนข้อสงสัยเรื่องการนำเข้ามาฝังทิ้งหรือว่าเกิดจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม ต้องบอกว่าในจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอันตรายหรืออุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดกากอุตสาหกรรมอันตรายเป็นจังหวัดหลัก เพราะฉะนั้นพื้นที่ในจังหวัดโรงงานในจังหวัดระยองถือว่าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดกากอุตสาหกรรมทำลายสูงที่สุดของประเทศ 

ทว่าถ้าเรามองย้อนกลับมาดูศักยภาพของโรงงานที่จะจัดการให้ถูกต้องได้ทั้งในส่วนเรียกว่าบริษัทผู้รับกำจัดของเสียอันตรายประเทศไทยยังมีไม่กี่แห่ง แม้ว่าโรงงานประเภท 105 คัดแยกกับฝังกลบ โรงานรีไซเคิลจะมีหลายร้อยโรงแล้ว โรงงาน 101 โรงงานฝังกลบโรงงาน โรงงานประเภท 101 105 106 กลุ่มนี้ถือว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องกากอุตสาหกรรมอันตราย ด้านเทคโนโลยีและการลงทุนบ้านเรายังไม่สามารถรองรับปัญหากากอุตสาหกรรมได้

Q: ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยหลังจากนี้ในรัฐบาลใหม่ควรจะเป็นแบบไหน ?

A: กรมโรงงานอุตสาหกรรมเคยพูดว่าบางพื้นที่เขาต้องลงมือในการฟื้นฟูแล้วแต่ว่าไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ กองทุนสิ่งแวดล้อมเองที่ประเทศไทยมีอยู่ก็เอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้เพราะว่าไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของการใช้กองทุน 

อยากจะฝากรัฐบาลใหม่ว่าอยากให้ให้ความสมดุลกับการพัฒนาประเทศโดยต้องมีนโยบายที่ชัดเจนว่าประเทศไทยมีความเสียหายทางเสียงแวดล้อมที่อยู่ในรูปของแหล่งดินปนเปื้อน แหล่งน้ำปนเปื้อนหรือว่าแหล่งน้ำใต้ดินกี่จุด กี่พื้นที่ แล้วก็ลองทำเป็นแผนออกมาดูหากก้าวเดินต่อไปในวันข้างหน้าให้มันมีความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและทางสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคนจะต้องมีการวางแผนในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมกี่แห่งและออกมาเป็นงบประมาณ 

คุณต้องมีงบประมาณแล้วซึ่งสมมุติว่าถ้าหากว่างบมันสูงเกินไปในส่วนของการเยียวยาประชาชนอาจเป็นส่วนหนึ่ง จริงๆ รัฐบาลต้องมีงบในการฟื้นฟูพื้นดินแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน เพื่อประชาชน เกษตรกร หรือว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องได้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในสหรัฐอเมริกาต้องไปดูว่ากองทุน Superfun ของอเมริกามีเท่าไหร่ ประเทศไทยยังไม่มีทุน ไม่มีกองทุนในสนามแบบ Superfun ซึ่งจริงๆมันควรสูงระดับ 10,000 ล้านบาทเป็นเบื้องต้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ