ส่อง “เมกะโปรเจกต์” ภาคใต้ ผ่านโครงการแลนด์บริดจ์

ส่อง “เมกะโปรเจกต์” ภาคใต้ ผ่านโครงการแลนด์บริดจ์

ภาคใต้มีแผนเมกะโปรเจกต์หรือโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ทั้งโครงการกำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาและอนุมัติโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีรับฟังความเห็น ทำรายงาน EIA / EHIA มีคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) รวมทั้งมติครม. ไปจนถึงการอนุมัติโครงการ 

เช่นเดียวกันกับโครงการแลนด์บริดจ์ที่กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่ภาคใต้ ชวนทำความรู้จักโครงการแลนด์บริดจ์โครงการขนาดใหญ่ของภาคใต้

ภาพจาก Thai PBS News

โครงการแลนด์บริดจ์ (Land bridge)

“สะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย – อันดามัน” หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน  โดยรัฐบาลพยายามที่จะผลักดันโครงการดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC) ที่เป็นกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อเชื่อมต่อกับการขนส่งและคมนาคมของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่กำลังปลุกปั้นให้เป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 – 2564) เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แลนด์บริดจ์ระนอง – ชุมพร อยู่ภายใต้ SEC ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ และโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง รถไฟทางคู่ ท่อน้ำมัน มีเป้าหมายเป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้าออกสินค้าภายในประเทศ เป็นทางเลือกในการถ่ายลำเลียงขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทร เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า และเป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมันดิบทางเรือ

ภาพจาก Close up Thailand

โครงการแลนด์บริดจ์จะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งอ่าวไทย ที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดระนอง โดยมีระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันด้วยการสร้างเส้นทางขนส่งทางบก โดยมีทั้งรถไฟรางคู่ และทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) ซึ่งจะทำให้เรือสินค้าที่ใช้เส้นทางปกติหันมาใช้การขนส่งผ่านเส้นทางนี้แทน เนื่องจากสามารถลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าได้ประมาณ 2 วัน 

จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ประเมินว่าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (แลนด์บริดจ์) จะต้องใช้งบลงทุนราว 500,000ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการท่าเรือฝั่งระนอง, ท่าเรือฝั่งชุมพร, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ระนอง – ชุมพร และโครงการรถไฟทางคู่สายระนอง – ชุมพร

โครงการแลนด์บริดจ์ถือเป็นมหากาพย์ของไทย เริ่มมีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตั้งแต่ปี 2528 มีเป้าหมายเพื่อย่นระยะทางข้ามทะเลอันดามันอ่าวไทย เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจพลังงานและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเพิ่มอัตราการจ้างงานในภูมิภาคอีกด้วย ที่ผ่านมามีพื้นที่เป้าหมายเส้นทางในการสร้างแลนด์บริดจ์มาหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ 2536 จนถึงปัจจุบัน

จากภาพจะเห็นได้ว่ารัฐมีความพยายามในการสร้างโครงการแลนด์บริดจ์อยู่หลายพื้นที่ในภาคใต้ที่เป็นจังหวัดเชื่อมต่อระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ด้วยศักยภาพในแต่ละพื้นที่ที่ถูกเลือกให้เป็นเส้นทางแลนด์บริดจ์นั้น มีทั้งทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งอาจจะยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับเส้นทางในการตัดผ่านเพื่อสร้างการขนส่งขนาดใหญ่ได้เพื่อเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แต่ไม่ว่าจะนักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่ต่างก็คัดค้านและถูกยกเลิกไป ต่างก็มองว่าการสร้างแลนด์บริดจ์เป็นการสร้างที่ทำลายล้างทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ อย่างพื้นที่ระนองไม่ว่าจะผลกระทบจากการสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนองและฝั่งชุมพร ที่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพของป่าชายเลนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที้สำคัญ รวมไปถึงสัตว์น้ำและประมงชายฝั่งที่จะได้รับผลกระทบมากมายจากการโครงการนี้

“แลนด์บริดจ์” หรือ “สะพานเศรษฐกิจ” ไม่ใช่โครงการใหม่ที่ริเริ่มในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ฯ หากแต่ถูกผลักดันผ่านรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยในอดีต ตั้งแต่ปี 2532 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน 

เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2566 สภาผู้ชมผู้ฟังรายการ ไทยพีบีเอสร่วมกับองค์กรประชาชนในภาคใต้ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน กรณีโครงการเมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนความกังวลดังนี้

  • ไม่รู้ข้อมูล/รู้ข้อมูลน้อย เจ้าของโครงการไม่ได้ให้ข้อมูลผลกระทบด้านลบของโครงการ มีการจัดทำโครงการแบบแยกส่วน ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเห็นภาพรวมของโครงการ
  • ไม่มีส่วนร่วม รู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิ์ การรับฟังความคิดเห็นไม่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบ เน้นเชิญกลุ่มผู้ประกอบการ ข้าราชการ ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้เข้าร่วม 
  • กังวลว่าจะได้รับผลกระทบด้านลบในวงกว้าง ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ พื้นที่ทำประมง พื้นที่ทำเกษตร พื้นที่ท่องเที่ยวชุมชน ทำให้ทะเลไม่สะอาด สัตว์น้ำลดลง อาหารทะเลลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ต้องสูญเสียรายได้ หรือรายได้น้อยลง และส่งผลกระทบด้านสังคม วิถีชีวิต ต้องอพยพออกจากพื้นที่ ทำให้ชุมชนแตกสลาย ส่งผลกระทบต่อการศึกษา 
  • กังวลว่าจะมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามมาอีกมากมาย
  • กังวลว่าจะมีการเวนคืนที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่โครงการ จ.ชุมพร จ.ระนอง ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ (ขาวพะโต๊ะ จ.ชุมพร 80% ไม่มีเอกสารสิทธิ์) 
  • กังวลว่าจะถูกคุกคาม ไม่อยากเปิดเผยตัวคัดค้าน เนื่องจากคนที่แสดงท่าทีคัดค้าน รวมถึงตั้งคำถามต่อโครงการ ถูกคุกคามจากนักการเมือง นักธุรกิจ หน่วยงานรัฐ (ชาวบ้านในพื้นที่ไข่แดง อ่าวอ่าง หัวยปลิง ต.ม่วงกลวง ช้างแหก ต.ราชกรูด) 7. มีการตั้งข้อสังเกตถึงความโปร่งใสของโครงการ กรณีการล่ารายชื่อคนไทยพลัดถิ่นให้สนับสนุนโครงการ โดยไม่ให้ข้อมูลโครงการตามความเป็นจริง (บ้านหินช้าง ต.ปากน้ำ)
หมุด C-site ชาวระนอง-ชุมพร หวั่นแลนด์บริดจ์ส่งผลกระทบในวงกว้าง นักวิชาการ-นักพัฒนา เสนอศึกษา SEA ก่อน EIA EHIA https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000030064

ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงวันที่ 3 ธันวาคม 2565 เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคมภาคใต้ โดยสภาประชาชนภาคใต้ และเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดชุมพร ได้จัดเวทีให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนกรณีโครงการแลนด์บริดจ์ระนอง-ชุมพร เพื่อพูดคุยถึงข้อมูลโครงการแบะผลกระทบจากโครงการแลนด์บริดจ์ระนอง – ชุมพร อีกด้วย

หมุด C-Site เปิดข้อมูลแลนด์บริดจ์ระนอง-ชุมพร เปลี่ยนฐานทรัพยากรสู่นิคมอุตสาหกรรม
 https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000028423

ในมุมมองของด้านภาคเอกชนมองว่าโครงการแลนด์บริดจ์เป็นโอกาสในการพัฒนาครั้งสำคัญของระนอง และประเทศไทย เนื่องจากกว่า 30 ปีแล้วที่เศรษฐกิจของระนองพึ่งพาเพียงแค่ภาคเกษตร ภาคประมง แต่การเกิดขึ้นของโครงการแลนด์บริดจ์จะทำให้ GDP ของจังหวัดก้าวกระโดดขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า และเปลี่ยนจากการค้าชายแดนเป็นการค้าระหว่างประเทศไทยเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย

ภาคเอกชนหนุนแลนด์บริดจ์ชุมพร – ระนอง จับตารอบทิศ Thai PBS 

https://www.facebook.com/watch/?v=1359980687877814

“เมกะโปรเจกต์” 

คือ โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้เงินลงทุนสูง ดำเนินการโดยรัฐ เพื่อประโยชน์และสาธารณะชน อาจมีการดำเนินการวางแผนโดยผู้เชี่ยวชาญจากในหรือต่างประเทศ การลงทุนโดยวิธีที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากผู้ดำเนินการเป็นรัฐและผู้รับประโยชน์คือราษฎร์ เมกะโปรเจกต์จึงไม่สามารถแยกออกจากนโยบายสาธารณะได้ ซึ่งทำให้หลาย ๆ ครั้งก็ถูกหยิบมาใช้ในการหาเสียงเช่นเดียวกัน และยังนำหน้านโยบายและแผนงานหลักใด ๆ ในประเทศด้วย 
 
      ประเทศไทยนิยมใช้คำว่า “เมกะโปรเจกต์” เรียกโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้เงินลงทุนสูงโดยทั่วไป ตัวอย่างเมกะโปรเจกต์ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบจราจร ระบบขนส่งมวลชน การบริหารจัดการน้ำ ระบบบริหารการขนส่ง โครงการที่อยู่อาศัยของรัฐ (เช่น บ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง) สนามบิน หรือนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ

อ้างอิง

เมกะโปรเจกต์ : เพื่อราษฎร์ เพื่อรัฐ หรือเพื่อใคร? ผศ.ดร.อริยา อรุณินท์

แผนโครงการ Land bridge เชื่อมโครงข่ายโลจิสติกส์สู่ศูนย์กลางขนส่งทางน้ำของภูมิภาค. ราชรถ. กระทรวงคมนาคม 

แลนด์บริดจ์ อ่าวไทย – อันดามัน อภิมหาโครงการ 2 ทศวรรษ. Hiso.or.th 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ