สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งของคนในสังคม สะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม อันเกิดจาก “โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจ” การบริหารประเทศไว้ที่ส่วนกลางมายาวนาน
แม้จะพยายามคลี่คลาย ด้วยการ “การจายอำนาจการปกครอง” มาให้ท้องถิ่นโดยลำดับ ผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น กรุงเทพมหานคร อบจ. เทศบาล อบต. แต่ยังพบอุปสรรคและข้อจำกัดมากมาย ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น
ในปัจจุบันประชาชนมีการรับรู้ มีการเรียนรู้มากขึ้น มีความตื่นตัวมากขึ้นในทุกๆ ด้าน และมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมพัฒนาสร้างท้องถิ่น พัฒนาสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น
“ภาคีขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเอง” ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทุกภาคส่วน หลากหลายกลุ่ม หลากหลายสีเสื้อ ได้ร่วมรณรงค์ขับเคลื่อน “แนวคิดเชียงใหม่จัดการตนเอง” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ให้ทุกคนทุกกลุ่มลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนท้อง ลุ่มน้ำ และจังหวัด สนับสนุนรูปธรรมการจัดการตนเองทั้งเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทั้งในชุมชนชนบทและในเมือง การผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ กองทุนและการจัดสวัสดิการสังคม การศึกษาทางเลือก การสืบสารวัฒนธรรมภูมิปัญหา การจัดการไฟป่าหมอกควัน ฯลฯ
ขณะเดียวกันได้ร่วมจัดเวทีประชาชนหลากหลายกลุ่ม “เพื่อสร้างวิสัยทัศน์เมืงเชียงใหม่ร่วมกัน” พร้อมทั้งเสนอร่าง พ.ร.บ. การบิหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ.ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2556
วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันดี ที่ทุกคนได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงด้วยแนวคิดจัดการตนเอง จากระดับฐานราก ครอบครัว ชุมชน จังหวัด และประเทศ ซึ่งสามารถลงมือทำทันทีด้วยพลังพลเมืองในระดับชุมชน ทั้งการดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การผลิตและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ การจัดตั้งกองทุนสุขภาพและสวัสดิการ การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา และมีการสื่อสารกับสาธารณะ ถึงรูปธรรมหรือตัวอย่างการจัดการตนเองที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนสร้างการเชื่อมโยงขยายพลความสำเร็จอย่างกว้างขวาง
นอกจากนั้น เราจะร่วมกันติดตามขับเคลื่อนกฏหมายภาคประชาชน อาทิตย์
- ร่าง พ .ร. บ. การบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร
- ร่าง พ .ร. บ. จังหวัดปกครองตนเอง
- ร่าง พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดิน 4 ฉบับ
- รวมถึง ร่างกฏหมายภาคประชาชนอีกประมาณ 10 ฉบับ ต่อไปอย่างใกล้ชิด
ภาคีขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเองเชื่อมั่นว่า แนวติดจังหวัดจัดการตนเองที่ “ลดการรวมศูนย์อำนาจตรงกลาง”และ “เพิ่มอำนาจให้ประชาชนดูแลจัดการตนเอง” จะสร้างความเข้มแข็.ของการเป็นพลเมือง สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นฐานที่เข้มแข็งให้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในอนาคต
และจากการทำงานที่ผ่านมา ภาคีขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเองพบว่า การร่วมกันจัดการตนเองของประชาชนในจังหวัดเป็นการสร้างโอกาสสร้างเวทีให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้มาพูดปรึกษาหารือกัน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ถิ่นฐานบ้านเมืองที่อยู่อาศัย ให้เจริญรุ่งเรืองและสงบสุข ได้ทำให้เกิดความ “ปรองดอง สมานฉันท์” ได้อย่างแท้จริงในฐานะคนท้องถิ่นเดียวกัน
ด้วยความสมานฉันท์
ภาคีขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเอง
24 มิถุนายน 2557