แถลงการณ์ “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา”

แถลงการณ์ “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา”

แถลงการณ์เครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร คัดค้านความรุนแรงทุกรูปแบบ เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย

ท่ามกลางภาวะวิกฤตการเมืองที่มีแนวโน้มจะนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างกลุ่มต่างๆ และการรัฐประหาร รวมทั้งทำลายโอกาสในการปฏิรูปประเทศบนวิถีทางประชาธิปไตย พวกเรา “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรและบุคคลต่างๆ วิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ จึงมีจุดยืนและข้อคิดเห็นต่อประชาชนทุกฝ่ายดังต่อไปนี้

  1. คัดค้านการรัฐประหาร : พวกเราคัดค้านความพยายามแก้ไขวิกฤตการเมืองด้วยวิถีทางนอกระบบ การรัฐประหารไม่สามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองและประชาชนฝ่ายต่างๆได้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงระหว่างผู้ก่อการรัฐประหารกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองและโศกนาฏกรรมที่มิอาจเยียวยา
  2. คัดค้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ : พวกเราคัดค้านการใช้ความรุนแรงจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะมาจากประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือเจ้าหน้าที่รัฐ เราขอยืนยันว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยสันติ เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน ที่ไม่ควรคุกคามด้วยความรุนแรงและบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว นอกจากนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อรักษากฎหมายและความสงบสุขของสังคม จะต้องเป็นหลักสากล ไม่กระทำเกินกว่าเหตุ และระมัดระวังอย่างถึงที่สุดไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน
  3. เคารพการใช้สิทธิการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ : การเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองของประชาชนทุกคน ที่ไม่มีใครหรือกลุ่มใดสามารถละเมิดได้ และต้องดำเนินไปตามกรอบรัฐธรรมนูญและวิถีทางประชาธิปไตย ทั้งนี้ควรทำให้การเลือกตั้งเป็นกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ
  4. สนับสนุนการปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย : ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปที่ประชาชนทุกภาคมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที ควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง การปฏิรูปโดยมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับคนบางกลุ่มไม่สามารถเป็นหลักประกันว่าจะทำให้ระบบการเมืองตอบสนองประชาชน ลดความเลื่อมล้ำ และแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง การปฏิรูปจึงต้องอยู่บทวิถีทางประชาธิปไตย เช่น ผ่านกระบวนการทางรัฐสภาการทำประชามติ รวมถึงการติดตาม ตรวจสอบ กดดัน รัฐบาลจากการเลือกตั้งโดยภาคประชาสังคม เป็นต้น

พวกเราเห็นว่าพรรคการเมืองทุกพรรคต้องแสดงเจตจำนงและให้สัญญาประชาคมที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปอย่างจริงจัง โดยไม่กีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เคารพในความแตกต่างหลากหลาย สร้างกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีกลไกตรวจสอบติดตาม เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างฝ่ายการเมืองกับประชาชน และลดเงื่อนไขที่จะนำสังคมไปสู่ภาวะเผด็จการเสียงข้างมากและเผด็จการเสียงข้างน้อย

ทั้งนี้เครือข่ายฯ จะดำเนินการจัดเวทีพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย (Civic Reform Forum) เพื่อสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ประชาชนมีส่วนร่วมต่อไป

สุดท้าย “เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา” เชื่อมั่นว่าสังคมไทยสามารถก้าวข้ามและออกจากวิกฤตครั้งนี้โดยไม่ต้องนองเลือด หากประชาชนและกลุ่มการเมืองทุกฝ่ายเคารพและยอมรับกติกาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ตระหนักว่าเราต้องอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเห็นต่างเพราะทุกคนมีความเสมอภาคกันในฐานะเจ้าของประเทศ และมีสิทธิเท่าเทียมในการร่วมกันปฏิรูปสังคมไทย

รายชื่อองค์กรและบุคคล ผู้สนับสนุนแนวทางของเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา”

องค์กร

  1. สมัชชาป้องประชาธิปไตย (สปป.)
  2. สมัชชาคนจน
  3. ศูนย์เฝ้าระวังภาคใต้  (DEEP south watch)
  4. เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้
  5. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
  6. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
  7. มวลมหาประชาคุย
  8. เครือข่ายสลัมสี่ภาค 
  9. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม  (P-move)
  10. กลุ่มโลกสวย  ปฏิรูปการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยด้วยสันติวิธีและเครือข่ายภาคประชาสังคม

บุคคล

  1. กฤตยา อาชวนิจกุล / สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. กฤษกร ศิลารักษ์ / P-move
  3. กรรณิการ์ กิจติเวชกุล / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  4. กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธย / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  5. เกษม เพ็ญภินันท์ / คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. เกษียร เดชะพีระ / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. คำรณ ชูเดชา / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  8. จอน อิ้งภากรณ์ / โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
  9. จักรชัย โฉมทองดี / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  10. จะเด็จ เชาวน์วิไล / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  11. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  12. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  13. ชูวิทย์ จันทรส / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  14. ไชยันต์ รัชชกูล / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  15. ชำนาญ จันทรืเรือง / มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
  16. ซากีย์ จันทร์เรือง / สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  17. เดชรัต สุขกำเนิน / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  18. ตะวัน มานะกุล  / เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา
  19. ธร ปีดิดล / คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  20. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ / วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  21. นิพนธ์ พัวพงศกร / สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  22. นิธิ เอียวศรีวงศ์
  23. บรรยง พงษ์พานิช
  24. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ / คณะรัฐศาสตร์ มหาลัยรามคำแหง
  25. บารมี ชัยรัตน์ / สมัชชาคนจน
  26. ปกป้อง จันวิทย์ / คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  27. ประจักษ์ ก้องกีรติ / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  28. ประภาส ปิ่นตบแต่ง / คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  29. ปัทมาวดี ซูซูกิโพชนุกูล / คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  30. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  31. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
  32. ฝ้ายคำ หาญณรงค์ / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  33. พวงทอง ภวัครพันธุ์ / คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  34. พระไพศาล วิศาโล
  35. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ / คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  36. มูฮัลหมัดอิลยาส หญ้าปรัง / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  37. ยศ สันตสมบัติ / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาบาลัยเชียงใหม่
  38. ยุกติ มุกตาวิจิตร / คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  39. วรรฌวิภางค์ มานะโชติพงษ์ / คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  40. วสันต์ ปัญญาแก้ว / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  41. วัฒนา สุกัณศึก / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  42. วันรัก สุวรรณวัฒนา / คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  43. วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  44. วิโรจน์ ณ ระนอง / สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  45. วิโรจน์ อาลี / คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  46. วีรพงษ์ เกรียงสินยศ / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  47. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ / คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  48. ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี / ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
  49. สมชัย จิตสุชน / สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  50. สมชัย ภัทรธนานันท์ / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  51. สมชาย ปรีชาศิลปกุล / มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
  52. สมบัติ บุญงานอนงค์
  53. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ / มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  54. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ / สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย
  55. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี / คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  56. สกุณี อาชาวนันทกุล / ป่าสาละ
  57. สามารถ สภวี / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  58. สายชล สัตยานุรักษ์ / มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
  59. สารี อ๋องสมหวัง / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  60. สุภา ใยเมือง / กลุ่มโลกสวยเพื่อการปฏิรูปและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  61. สุริชัย หวันแก้ว / ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  62. เสกสรรค์ ประเสริญกุล
  63. อนุสรณ์ อุณโณ / คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  64. อภิชาต สถิตนิรามัย / คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  65. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์   มหาลัยเที่ยงคืน
  66. อังคณา นีละไพจิต / มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
  67. อัมมาร สยามวาลา / สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  68. อานันท์ กาญจนพันธุ์ / คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ