เวทีสาธารณะ : เมื่อครูและนักการศึกษาไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย

เวทีสาธารณะ : เมื่อครูและนักการศึกษาไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย

20162206003428.jpg

Thai Civic Education (TCE) Center
ศูนย์เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย

21 มิ.ย. 2559 ศูนย์เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (TCE Center) ร่วมกับภาคี จัดเวทีสาธารณะ “เมื่อครูและนักการศึกษาไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของครูและนักการศึกษาไทยจากการไปเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านวิถีประชาธิปไตยในออสเตรเลีย ทั้งในแง่ของหลักสูตร และกิจกรรมการต่างๆ ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

เวทีเสวนาเริ่มต้นโดย  HE Mr. Paul Robilliard เอกอัครราชทูตออกเสตรเลียประจำประเทศไทยกล่าวทักทายผู้มาร่วมงาน ต่อมา Dr. David Zyngier จากMonash University และ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผอ.ศูนย์เครือข่ายการศึกษาเพื่อพลเมืองฯ แนะนำโครงการ ที่มาของการจัดงานครั้งนี้ 

20162206003446.jpg

หลังจากนั้น เริ่มการเสวนาด้วยหัวข้อ “บทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรสู่สถานศึกษา” โดย ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ และ ผศ.อรรถพล รวมทั้ง ดร.ชัยรัตน์ โตศิลา มองว่าจากประสบการณ์ดูงานใจความสำคัญคือการพัฒนาหลักสูตรต้องเก็บจากห้องเรียน และประสบการณ์พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความยุติธรรมในสังคม และพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนั้นต้องสร้างพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อ รวมถึงสิ่งแวดล้อมศึกษาและการพัฒนาที่ยังยืน

ดังนั้นหลักสูตรเป็นเครื่องมือสำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง การพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม หลักสูตรควรเอื้อต่อความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์ในห้องเรียนด้วย

หลังจากนั้นได้แลกเปลี่ยนความคิดกันในประเด็น “ระบบโรงเรียน (WSA-whole school approach) เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย” โดยครูที่เข้าโครงการ โดยยกตัวอย่างระบบโรงเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนในระบอบประชาธิปไตย เช่น โรงเรียน Wooranna park primary school ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมของออสเตรเลีย ความน่าสนใจคือการออกแบบห้องเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ในโรงเรียน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับแนวคิดพื้นฐานพลเมือง

20162206003510.jpg

นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอหัวข้อ “ท้องถนน รัฐสภา และพิพิธภัณฑ์ในฐานะห้องเรียนประชาธิปไตย” โดยที่ออสเตรเลียมองว่าใจความสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและก้าวข้ามความขัดแย้งในอดีตได้ ผ่านพื้นที่การเรียนรู้ต่าง ๆ ในประเทศ โดยวิธีการสร้างพื้นที่สาธารณะ และเปิดโอกาศให้ถกเถียงเกี่ยวกับประชาธิปไตย หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่ตนรู้สึก

การใช้แหล่งเรียนรู้สร้างพลเมืองประชาธิไตย อย่าง immigration museum ซึ่งเป็นพื้นที่นิทรรศการที่ผู้ชมเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง สามารถเรียนรู้พหุวัฒนธรรมที่จับต้องได้ โดยแนวคิดของพิพิธภัณฑ์คือต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ใกลชิดกับประชาชน เป็นต้น 

จากนั้น ปิดเวทีสาธารณะด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ในการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เข้าร่วมงาน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ