เลือกตั้ง 66 : เสียงคนโคราช เลือกอนาคตประเทศไทย

เลือกตั้ง 66 : เสียงคนโคราช เลือกอนาคตประเทศไทย

คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับเครือข่ายในจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่ายจัดเวทีเสวนา ฉากทัศน์จังหวัดนครราชสีมี : รับฟังเสียงคนโคราชเลือกอนาคตประเทสไทย สู่นโยบายการเมืองรองรับการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 เพื่อสร้างและค้นหาภาพอนาคตของประเทศไทย (Scenario Thailand)  และภาพอนาคตเชิงยุทธศาสตร์ของคนจังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดพื้นที่กลางให้ประชาชนคนโคราชมีส่วนร่วมสร้างและเสนอนโยบายการบริหารประเทศ ณ สำนักงานสาธารณสุข จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา

โดยการจัดเวทีในครั้งนี้ชาวโคราชได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลในพื้นที่ และวิเคราะห์เป็น 6 ประเด็นสำคัญที่เป็นภาพอนาคตของคนโคราช ที่อยากจะเสนอให้ตัวแทนของพรรคการเมืองที่มาร่วมรับฟังในครั้งนี้ หรือผู้ที่จะมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ได้นำไปบรรจุเป็นนโยบายของพรรคต่อไป ซึ่งทั้ง 6 ประเด็นที่คนโคราชเสนอ ได้แก่

ด้านที่ 1 การศึกษาและทักษะ
1) ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเข้าถึงการศึกษา ความยากจน คุณภาพโรงเรียน ความไม่เท่าเทียม
2) คุณภาพหลักสูตรให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์คนโคราช การเรียนการสอน
3) คุณภาพการเรียน การเรียนการสอน ภาระครูโรงเรียม
4) สภาพการเข้าถึงบริการ
5) สมรรถนะ พฤติกรรม

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง  การปฏิรูปการศึกษาคนโคราช  สร้างหลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิตใน โรงเรียน (ศีลธรรม ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม หน้าที่พลเมือง)  และหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุกระดับชั้นเรียน

ด้านที่ 2 สุขภาพของคนโคราชในอีก 4 ปีข้างหน้า 

การแก้ไขปัญหาสุขภาพทางจิต ขาดองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพตนเอง มีผู้ป่วยกลุ่มวัยรุ่น วัยทํางาน ติดยาเสพติด สุรา บุหรี่ พิการจากอุบัติเหตุ ปัญหาสถานากรณ์ความเหลื่อมล้ำ ความล่าช้า ระยะทางห่างไกล ในการเข้าถึงระบบบริการ และการดูแลกลุ่มเฉพาะ ผู้สูงอายุ คน พิการ คนไทยไร้สิทธิ คนถูกทอดทิ้งขาดที่พึ่ง ผู้ป่วยจิตเวช และระยะสุดท้ายที่ต้องการคนดูแล

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง  
1) ลดความแออัดโรงพยาบาลมหาราช 2) พัฒนาระบบปฐมภูมิ การส่งเสริม การดูแล/ บริการสุขภาพจิตคุณภาพ (นักจิตวิทยา นักจิตวิญญาณ) 3) ส่งเสริมระบบการดูแลกลุ่มเฉพาะใน ชุมชน เช่น ศูนย์ใกล้บ้านใกล้ (1 ตําบล 1 ศูนย์) 4) สร้างความรอบรู้สุขภาพประชาชน 5) การจัดบริการช่องทางพิเศษ พระสงฆ์อาพาธ

ด้านที่ 3 เศรษฐกิจและรายได้

1) การส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน
2) การจัดสรรทรัพยากรน้ำสู่แหล่งการผลิตด้านการเกษตร
3) การพัฒนาอาสาสมัครท่องเที่ยว การคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวกความปลอดภัย
4) การส่งเสริมเศรษฐกิจ เปิดพื้นที่กลาง
5) สร้างแหล่งรายได้ของชุมชน เช่น การจัดบริการการท่องเที่ยว ผู้จ้างงาน
6) กองทุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อ การแข่งขันกับที่อื่นได้
7) กองทุนส่งเสริมปัจจัยการผลิตด้าน การเกษตร เช่น อุปกรณ์การเกษตร ชุมชน (ปัญหาหนี้สิน กู้ยืม ผ่อนชําระ)

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง  
1) การส่งเสริมหลักเศรษฐกิจพอเพียง / เกษตรพอเพียง
– จัดสรรทรัพยากรน้ำสู่แหล่งการผลิตด้านการเกษตร
– ส่งเสริมการทำธนาคารน้ำใต้ดิน
– ต่อยอดหรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสินค้าการเกษตร
– กองทุนส่งเสริมปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร เช่น อุปกรณ์การเกษตรชุมชน
– ส่งเสริมสินค้าการเกษตรสินค้าท้องถิ่น ตลาดใกล้บ้าน ตลาดชุมชน

2) การส่งเสริมท่องเที่ยว
– เชิงวัฒนธรรมเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน
– การพัฒนาอาสาสมัครท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
– การคมนาคมสิ่งอํานวยความสะดวก ความปลอดภัย
– การส่งเสริมเศรษฐกิจเปิดพื้นที่กลางสร้างแหล่งรายได้ของชุมชน เช่น การบริการ การท่องเที่ยว

3) พัฒนาถนนทุกสาย เพื่อการขนส่งผลผลิตของชุมชน ที่สะดวกปลอดภัย

ด้านที่ 4 สังคม พื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีธรรมนูญพื้นที่ “เตรียมรับสังคมสูงวัย ทุกมิติ”
2) เด็กและเยาวชน ห่างไกลและเข้าไม่ถึง กระท่อมและกัญชา
3) ผู้สูงอายุ ได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขกับลูกหลาน มีอายุยืนยาว
4) คนพิการ ได้รับการส่งเสริมการรวมกลุ่ม มีงานทำ มีรายได้ สามารถช่วยเหลือตนเองได้
5) ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่มีญาติ ได้รับสิทธิสวัสดิการ การบริการที่เป็นมิตร และการดูแลอย่างทั่วถึง ตรงกับความต้องการและจำเป็น ทุกคนในอำเภอมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 
6) ทุกหน่วยงาน องค์กร ระดับอำเภอ มีแผนการส่งเสริมการสร้างงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรในพื้นที่ ให้กลุ่มวัยแรงงานได้รับการจ้างงาน มีงานทำ มีรายได้
7) กลุ่มวัยเด็กทุกคน มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย สามารถเติบโตเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ ทั้ง IQ EQ

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง  

1) สนับสนุนการจัดทำธรรมนูญพื้นที่ ธรรมนูญอำเภอ ธรรมนูญจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนโคราช ทุกกลุ่มวัย
2) เร่งรัด มาตรการควบคุม ปิดกั้น เด็กและเยาวชนในการเข้าถึงกระท่อมและกัญชา 
3) มีแผนงานและนโยบายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 
4) มีแผนงานและนโยบายส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มคนพิการ
5) มีแผนงานและนโยบายสร้างศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่มีญาติดูแล อำเภอละ 1 แห่ง และนโยบายเพิ่มสิทธิสวัสดิการ การบริการที่เป็นมิตร และการดูแลอย่างทั่วถึง ตรงกับความต้องการและจำเป็น
6) มีแผนงานและนโยบาย การรณรงค์ส่งเสริม สร้างงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรในพื้นที่ ทุกอำเภอ
7) มีแผนงานและนโยบาย ส่งเสริมให้เด็กทุกคน ได้รับสิทธิและเข้าถึงสวัสดิการ การดูแลจากรัฐ ท้องถิ่น และชุมชน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ด้านที่ 5 สิ่งแวดล้อม
1) มีการจัดการขยะอินทรีย์ ทั้งระดับนโยบาย และพื้นที่ 2) มีการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะที่เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับนโยบาย และพื้นที่3) มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (น้ำเสีย น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม) อย่างเป็นระบบ และยั่งยืน4) “โคราชปอดสะอาด” ไม่มีการเผาในที่โล่ง และมีการจัดการฝุ่นจากภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และคมนาคมขนส่ง ทั้งระดับนโยบาย และพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม5) คนโคราช – มีตลาดชุมชน ตลาดหลัก ที่สามารถกระจายผลผลิตคุณภาพดี ไร้สารเคมี จากต้นทางสู่ปลายทาง มีอาหารปลอดภัยสู่บ้าน และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง 

1) มีการบริหารจัดการขยะล้นเมือง แบบมีส่วนร่วม เพื่อไม่มีการคัดค้าน หรือต่อต้าน รวมถึงการสร้างกระบวนการ “พลเมืองตื่นรู้การจัดการขยะ”
2) มีการบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง ใน 9 ลุ่มน้ำ / มีการบริหารจัดการปัญหาน้ำเสีย ในลุ่มน้ำลำตะคอง ลำมูล  / มีการบริหารจัดการน้ำเค็ม ในลุ่มน้ำลำเชียงไกร
3) การลดปัญหามลภาวะจาก PM.2.5 โดยใช้มาตรการห้ามเผาเศษวัชพืช และมาตรการลดฝุ่นอื่นๆ
4) สนับสนุนการสร้างตลาดอาหารปลอดภัย จำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน
5) มีมาตรการควบคุมการใช้กฎหมาย ยกเลิกใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืชที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
6) ผลักดันนโยบายอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาลชุมชนของรัฐ 100% ทั่วประเทศ

ด้านที่ 6 รัฐ ราชการ และความเป็นไทยในเวทีโลก
1) ผู้พิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนพิการ ได้รับบริการจากรัฐ ที่ รวดเร็ว มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น รถวีลแชร์ ที่นั่งถ่ายบัตร 2) กลุ่มเปราะบางในชุมชน เช่นผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น มีบริการถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวประชาชนถึงบ้าน ถึงเตียง3) คนโคราช ได้รับบริการ และการจัดสวัสดิการรัฐ ทุกมิติ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม จาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ4) สถานสงเคราะห์ มีการจัดการทำบัตรประจำตัว เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการต่าง ๆ5) มีการจัดทำทะเบียนบ้านกลาง (เลขที่กลาง) ให้ประชาชนมีเลขบัตร ขึ้นต้นเลข 0 เพื่อเข้าถึงสิทธิการรักษา และได้รับการขึ้นทะเบียนรับความช่วยเหลือสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐ6) กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการจัดทำบัตรประจำตัวชั่วคราว 7) มีหน่วยงานตรวจสอบจากภายนอก8) มีระบบตรวจสอบภายใน โดยคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ได้แก่ หน่วยรับเรื่องร้องเรียน ม.50(5) เครือข่าย 9 ด้าน เครือข่ายองค์กรชุมชน  สภาองค์กรชุมชน มูลนิธิ หรือสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร9) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อปท. อบจ. ส.ส. สว. มีวาระการทำงาน 4 ปี (วาระเดียว)

ข้อเสนอต่อนักการเมืองและอนาคตที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง 

1) มีการปรับและพัฒนาระเบียบการขั้นตอนการจัดบริการรัฐ ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประชาชนเข้าถึงบริการรัฐอย่างทั่วถึง
2) มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ ช่องทางให้ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน กรณีถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวประชาชน
3) มีการตั้ง จุดรับเรื่องและการทำบัตรประจำตัวแก่กลุ่มเปราะบางในชุมชน เช่นผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
4) การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เปราะบางในชุมชน โดยอสม.ประจำคุ้ม
5) ผลักดันให้มีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 100% ให้มีอำนาจ สิทธิและหน้าที่ สร้างประโยชน์ จัดการบริการรัฐ บริการรักษา แก่ประชาชนด้วยความเสมอภาค
6) มีนโยบายเชิงรุก อำเภอ ท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) อสม. ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดบริการรัฐ สวัสดิการ แก่ประชาชนผู้มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ด้วยความทั่วถึง และเท่าเทียม
7) มีนโยบาย กฎหมายรองรับ สนับสนุนงบประมาณ มีบุคลากรรับผิดชอบชัดเจน มีศูนย์บริการผู้มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (การเมืองท้องถิ่น) มีจุดให้บริการประชาชน ได้แก่ การขึ้นทะเบียนสิทธิ บริการช่วยเหลือให้คำปรึกษา มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สะดวก เช่น สายด่วน สำหรับติดต่อสอบถาม
9) การเมืองท้องถิ่น มีที่ทำการ และจัดตั้งศูนย์ให้บริการประชาชนไนการรับเรื่องร้องเรียน และ จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายภายใน ภายนอก ที่มีภาคประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับ

ระดับประเทศ มีการเสนอนโยบาย หรือออกกฎหมายรองรับ เพิ่มสัดส่วนตัวแทนจากภาคประชาชน ใน Board และคณะทำงานทุกระดับ โดยให้มีวาระ 4 ปี

เวทีโลก

1. ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม เป็นผู้แทนระดับประเทศ ร่วมกับนักการเมือง นักการทูตทั้งใน และต่างประเทศ
2. มีนโยบายเพิ่มสิทธิประโยชน์ ด้านการจัดบริการคุณภาพ (การประกันสุขภาพ การมีรายได้) สำหรับคนไทยในต่างแดน
3. จัดทำข้อเสนอของประชาชน (สมัชชาชาติ) สู่สภาผู้แทนราษฎร หรือจัดทำเป็น “วาระแห่งชาติ”
4. นักการเมือง นำข้อเสนอของประชาชนจากเวทีระดับประเทศ “วาระแห่งชาติ” ไปเสนอและผลักดันสู่เวทีโลกซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คนโคราชอยากจะเสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารและกำหนดนโยบายได้นำข้อมูลที่สะท้อนจากชาวบ้านในท้องถิ่นไปเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการออกแบบนโยบายในการบริหารประเทศต่อไป

โดยข้อเสนอจากเครือข่ายในจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่ายจัดเวทีเสวนาได้ถูกรวบรวมผล และเข้าสู่การนำเสนอสู่พรรคการเมือง รวมถึงตัวแทนหน่วยงานภาคีภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เสียงของคนโคราชและสิ่งที่ต้องการเห็นอนาคตของประเทศและอนาคตของพื้นที่ถูกได้ยินเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะใช้สิทธิเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ เพื่อเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ