My Tax จัดสรรโดยรัฐ VS จัดสรรโดยประชาชน

My Tax จัดสรรโดยรัฐ VS จัดสรรโดยประชาชน

โค้งสุดท้ายที่คนไทยจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งกันในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เพื่อเลือกผู้แทนเข้ามาบริหารประเทศจากเงินภาษีของประชาชนที่ต้องเสียกันทุกปี

แต่รู้ไหมว่าภาษีของเราถูกนำไปบริหารประเทศด้านไหนบ้าง ? ชวนดูความต้องการระหว่าง “ภาษี” ที่จัดสรรโดยรัฐ กับจัดสรรโดยประชาชน ว่าจะให้ความสำคัญเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

เงินภาษีมาจาก 4 แห่ง ปีที่ผ่านมา (2565) มีผลรวมรายได้ทั้งสิ้น 1,313,524 ล้านบาท  โดยเรียงลำดับจากผลการจัดเก็บจากมากไปหาน้อยคือ 

ลำดับที่ 1 กรมสรรพากร 64.85% แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น

ลำดับ 2 กรมสรรพสามิต 21.05% แบ่งเป็นภาษีน้ำมันฯ ภาษียาสูบ ภาษีสุราฯ ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีจักรยานยนต์ ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีแบตเตอรี่ รายได้เบ็ดเตล็ด ภาษีสถานบริการ (สนามกอล์ฟ) ภาษีผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ภาษีแก้วและเครื่องแก้ว ภาษีไพ่ ภาษีไนท์คลับและดิสโก้เธค ภาษีสถานอาบน้ำ อบตัวและนวด

ลำดับ 3 หน่วยงานอื่น ๆ 10.06% แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ กรมธนารักธ์ ส่วนราชการอื่น

ลำดับ 4 กรมศุลกากร 4.04% แบ่งเป็นอากรขาเข้า อากรขาออก

“ภาษีจากประชาชนจัดสรรเป็นงบประมาณโดยรัฐแล้วกระจายให้หน่วยงาน กระทรวง เพื่อบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ”

ถ้าลองย้อนดูภาพรวมการจัดสรรงบประมาณรายปีของก่อนรัฐประหาร ช่วงรัฐประหาร และหลังรัฐประหาร จะพบว่ามีงบประมาณสูงขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ

ก่อนรัฐประหาร งบประมาณสูงสุดคือ ปี 2556 จำนวน 2,400,000,000,000 ล้านบาท

ช่วงรัฐประหาร งบประมาณสูงสุดคือ ปี 2562  จำนวน 3,000,000,000,000 ล้านบาท

หลังรัฐประหาร งบประมาณสูงสุดคือ ปี 2564  จำนวน 3,285,962,479,700 ล้านบาท

โดยการจัดสรรงบแต่ละกระทรวงต่าง ๆ จะเห็นว่าทั้ง 3 ยุค ของการบริหารประเทศทั้งก่อนรัฐประหาร ช่วงรัฐประหาร และหลังรัฐประหาร ยังคงให้ความสำคัญจัดสรรงบประมาณสูงสุดให้กับ 6 กระทรวง คือ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการคลัง, กระทรวงการกลาโหม, กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข

แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของทั้ง 6 กระทรวง ในแต่ละช่วงกลับให้ความสำคัญที่ แตกต่างกันออกไป   

งบประมาณด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชีวิต หลังรัฐประหารถูกลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งเคยได้รับงบสูงสุดปี 2559 จำนวน 515,516 ล้านบาท แต่ลดลงต่ำสุดในปี 2566 คือ 325,900 ล้านบาท 

กระทรวงมหาดไทย ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการเมืองการปกครองการกระจายอำนาจท้องถิ่น ช่วงรัฐบาลประหารถูกลดความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด ต่ำสุดอยู่ที่ปี 2565 จำนวน 315,513 ล้านบาท

กระทรวงการคลัง ซึ่งเราจะพบว่าเป็นหลักในการออกแคมเปญช่วยเหลือประชาชนต่าง ๆ กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วย ได้รับงบประมาณที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงโควิด-19

กระทรวงกลาโหม ในช่วงก่อนรัฐประหารดูจะไม่ได้ถูกให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ แต่ช่วงรัฐประหารตลอดมา ได้มีงบประมาณที่เพิ่มขึ้นเทียบเคียงใกล้กับงบด้านการศึกษาเลยทีเดียว

กระทรวงคมนาคม มีภารกิจด้านการคมนาคมทางถนน ทางบก ทางราง ทางน้ำและทางอากาศ พยายามขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน จึงมีทิศทางการจัดสรรงบสูงขึ้นมาตลอด

กระทรวงสาธารณสุข งบประมาณสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร และหลังรัฐประหารเป็นช่วงเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้งบสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังรั้งท้ายเป็นอันดับ 6  

          การจัดสรรงบประมาณจากภาษีของเราเช่นที่ผ่านมา เป็นไปตามความต้องการของประชาชน จริงหรือไม่ ?

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำรวจความต้องการประชาชนถึงเรื่องที่ให้ความสำคัญว่าจะต้องได้รับการพัฒนาแก้ไข 6 คือการศึกษา สุขภาพยั่งยืน เศรษฐกิจทั่วถึงที่เป็นธรรมและครอบคลุม ทรัพยากรและการจัดการสิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาลและการกระจายอำนาจ

ไทยพีบีเอส โดยทีมสื่อพลเมือง ได้ใช้ข้อมูล 6 เรื่องใหญ่ เปิดพื้นที่ออนไลน์ชวนคนทั่วประเทศสร้างจินตนาการหย่อนเงินภาษีของเราเพื่อจัดลำดับความสำคัญ ผ่านเกมออนไลน์ My Tax My Future ภาษีฉัน อนาคตฉัน เราเลือกได้ ซึ่งเปิดให้เข้ามาเล่นระยะเวลา 2 เดือนก่อนการเลือกตั้ง พบสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ 

อันดับ 1 การศึกษา
อันดับ 2 สุขภาพยั่งยืน
อันดับ 3 สังคมสูงวัย
อันดับ 4 เศรษฐกิจทั่วถึงและเป็นธรรม
อันดับ 5 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อันดับ 6 ธรรมาภิบาลและการกระจายอำนาจ

โดยประชาชนได้อธิบายรายละเอียดถึงเหตุผลในแต่ละหมวดเพื่ออยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญคือ

ซึ่งหากจัดการอันดับ 6 เรื่องที่รัฐให้ความสำคัญตลอดมา กับ 6 เรื่องที่ประชาชนต้องการส่งเสียงถึงรัฐบาลที่กำลังถูกเลือกเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ

การประชุมครม.นัดสุดท้าย วันที่ 14 มีนาคม 2566 ก่อนการยุบสภา มีการการจัดสรรงบประมาณปี 67 วงเงิน 3.35 ล้านล้านบาท ได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไป

โดยกระทรวงที่ได้การจัดสรรประมาณ

อันดับหนึ่ง คือกระทรวงมหาดไทย 3.51 แสนล้าน

อันดับสอง กระทรวงศึกษาธิการ ถูกลดวงเงินลงเหลือ 3.3 แสนล้าน

อันดับสาม กระทรวงการคลัง 3.13 แสนล้าน

อันดับสี่ กระทรวงกลาโหม 1.98 แสนล้าน

อันดับห้า กระทรวงคมนาคม 1.83 แสนล้าน

การจัดสรรงบประมาณของรัฐในแต่ละยุคเป็นภาพสะท้อนถึงการให้ความสำคัญในเรื่องนั้น และคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐแบบนี้จะสามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้นได้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เรื่องสุขภาพจากฝุ่นที่ดูแล้วหากไม่มีการหาทางออกตั้งแต่ต้นทางปัญหาสุขภาพดูจะสวนทางกับงบประมาณที่จัดสรรไว้

ทิ้งท้ายด้วยผลการรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนที่สะท้อนผ่านการเล่นเกม My Tax ร่วมกับ ThaiPBS โดยคำต่าง ๆ ที่พวกเขาอยากบอกว่าที่นายกที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศดังนี้

วันที่ 14 พ.ค. นี้ ชวนทุกท่านเข้าคูหาเลือกตั้ง 66

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ