เสียงจากชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตต่ำ – ด้อยโอกาส – ถูกละเมิดสิทธิ – เข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานแห่งรัฐ แนวโน้มน่าห่วงว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบางถาวร คาดหวังว่าหลังเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่จะเร่งแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลหลีเป๊ะ รวมถึงผลักดันกฎหมายคุ้มครอง
ไมตรี จงไกรจักร ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไทกล่าวว่า จากการลงสำรวจข้อมูลชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ 339 ครัวเรือน มีข้อมูลควบคลุมทุกมิติ พี่น้องชาวเลมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย รายได้เฉลี่ย 10,000-20,000 บาท มีรายจ่ายอยู่ที่ 20,000 บาท เพราะว่าค่าไฟฟ้าสูงมาก ทำให้มีปัญหามีรายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย รายได้เท่าค่าเเรงขั้นต่ำ ส่วนรายจ่ายเทียบเท่านักท่องเที่ยว เเละเราพบว่าข้อมูลความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย กระบวนการเอกสารสิทธิออกมาไม่ชอบ ทำให้ชาวเลไม่มีสิทธิในที่ดิน-ที่อยู่อาศัย ส่วนปัญหาด้านสุขภาพชาวเล มีโอกาสในการรักษาแค่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลเท่านั้น ชี้ให้เห็นชัดว่า เขาไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ เพราะถ้าขึ้นฝั่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่าย ขั้นต่ำที่ต้องจ่ายค่าเรือ 1,000 บาทไป-กลับ อีกทั้งต้องไปเช่าที่พัก เพื่อนอนก่อนเข้ารักษา1คืนและหลังรักษาอีก1คืน เพราะเขาไม่สามารถเดินทางกลับเกาะได้ทันทีได้ เเละนี่ก็เป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะเล่าให้ฟังว่า เวลาเจ็บไข้ไม่สบายต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลบนฝั่ง ต้องจ่ายค่าเรือที่สูงมากอีกทั้งเวลาป่วยเราไม่สามารถไปโรงพยาบาลคนเดียวได้ ต้องมีญาติพี่น้องไปด้วย นั่นความความว่าค่าเรือก็ต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว รวมถึงค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอาหารการกิน หวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาช่วยเหลือเราอย่างจริงจัง
ด้านชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะอีกท่าน เล่าให้ฟังว่า ค่าไฟ ค่าน้ำสูง บนเกาะสูงกว่าบนฝั่งเยอะมาก ถึง 18-25บาทต่อหน่วย รวมถึงค่าครองชีพก็สูงเช่นกัน เเละยังมีภาระหนี้สินที่มาก มากกว่ารายได้ที่หาได้ อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ช่วยค่าไฟให้ถูกกว่านี้ เเละเเก้ไขอย่างจริงจัง
เสียงเงียบๆบนเกาะหลีเป๊ะถึงพรรคการเมือง
ถ
พี่ไมตรี กล่าวต่อว่า ในช่วงการเลือกตั้งอยากให้ผู้สมัครพรรคการเมืองที่กำลังหาเสียงกันอยู่ ควรให้คุณค่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งตอนนนี้กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ทั่วประเทศได้ร่วมกันเสนอกฎหมายส่งเสริมเเละคุ้มครองวิถีชาติพันธ์ุ อยากให้พรรคการเมือง หยิบเรื่องนี้มาพูดเเละช่วยกันผลักดันให้เป็นกฎหมาย ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับ60 ตามมาตรา70 เเละอยากให้พรรคการเมืองทุกพรรคประกาศเป็นนโยบาย
อีกทั้งคิดว่าการประกาศนโยบายโฉนดชุมชนที่ไปสอดคล้องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ชาวเลโดยส่วนใหญ่ทุกพื้นที่อยู่มาก่อนการประกาศพื้นที่อุทยาน เขาขาดเเค่กฎหมายที่ให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการพื้นทีที่เขาอยู่ได้ ซึ่งตอนนี้เหมือนชาวเลเพียงอาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานโดยผิดก็หมาย เราต้องทำให้เขาอยู่ในพื้นที่โดยชอบโดยกฎหมาย เเละต้องเสริมศักยภาพให้เขามีโอกาสที่เท่าเทียม “การเมืองต้องมองเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้การส่งเสริมคุ้มครองวิถีชาติพันธ์ให้เกิดขึ้นในอนาคต”
จากการสำรวจข้อมูลของ มูลนิธิชุมชนไท พบว่าด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ย บนเกาะหลีเป๊ะ พบว่า ชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะคุณภาพชีวิตต่ำ – ด้อยโอกาส – ถูกละเมิดสิทธิ – เข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานแห่งรัฐ แนวโน้มน่าห่วงว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบางถาวร เสนอรัฐบาลเร่งแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลหลีเป๊ะ โดยการสำรวจได้ดำเนินการในระหว่างเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งสำรวจครัวเรือนชาวเลอูรักลาโว้ยบนเกาะหลีเป๊ะทั้งสิ้น จำนวน 339 ครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งดำเนินการสำรวจโดยอาสาสมัครสุขภาพชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
พบว่ารายได้ต่ำ-ค่าใช้จ่ายสูง และหนี้สินของครัวเรือนสูง
ร้อยละ 54 มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 20,000 บาทต่อเดือน แต่พบว่ามีรายจ่ายรายครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ 20,000 – 25,000 บาทต่อเดือน สภาพเช่นนี้จึงส่งผลให้ครัวเรือนชาวเลร้อยละ 80.8 มีภาวะหนี้สิน ซึ่งร้อยละ 30.7 มีหนี้สินประมาณ 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 21.5 มีหนี้สินประมาณ 20,000 – 30,000 บาทต่อครัวเรือน
ความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
พบว่าร้อยละ 62 มีความไม่ปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนร้อยละ 63.8 ไม่มีความปลอดภัยในทรัพย์สิน และร้อยละ 62.6 อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียและการจัดการขยะที่เหมาะสม
การเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการแห่งรัฐ
ผู้สูงอายุร้อยละ 66.1 ได้รับการดูแลน้อยถึงปานกลาง ผู้พิการร้อยละ 46 ได้รับการดูแลน้อยถึงปานกลาง รวมทั้งผู้ป่วยเรื้อรังร้อยละ 61.7 ก็ได้รับการดูแลน้อยถึงปานกลางเช่นกัน
การศึกษา
โอกาสทางการศึกษาน้อย ร้อยละ 14.2 ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 21.8 จบการศึกษาแค่ชั้นประถม 4 ร้อยละ 34.2 จบการศึกษาแค่ชั้นประถม 6 ร้อยละ 29.2 จบการศึกษาระดับมัธยมต้น และมีเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้นที่ได้ศึกษาถึงระดับปริญญาตรี
เกาะหลีเป๊ะ
และล่าสุด ชาวเลท้องถิ่นบนเกาะหลีเป๊ะ ขอเดินหน้าต่อสู้เป็นครั้งสุดท้ายกับการจัดงานดีเบต วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคมนี้ ณ โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล โดยเชิญชวนแคนดิเดต นายกรัฐมนตรีปี2566 มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายที่สร้างสรรค์บนเกาะหลีเป๊ะ ที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน และเกิดการตระหนักเพื่อนําไปสู่การช่วยเหลือ เพราะนี่อาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะทําได้หากยังไม่ได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมทางเพจ https://www.facebook.com/lastliveatlipeofficial