เลือกตั้ง66 : แก้โจทย์ PM 2.5 จากประชาชน เสนอนโยบายฝุ่นให้ตรงจุด

เลือกตั้ง66 : แก้โจทย์ PM 2.5 จากประชาชน เสนอนโยบายฝุ่นให้ตรงจุด

สภาวะที่คนในภาคเหนืออยู่ในเมืองที่หม่นครึ้มเต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานมายาวนานมากกว่า 75 วัน หลายคนคงตั้งคำถามกับตัวเองว่า  จะต้องอยู่กับภาวะเลวร้ายนี้ไปถึงเมื่อใด

หลายคนตั้งข้อสังเกตถึงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน และหลายคนกำลังพยายามส่งเสียง  ถอดบทเรียนที่ประสบมา และมีข้อเสนอเพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่ประชาชนผู้อยู่กับปัญหานี้มาอย่างยาวนานต้องการให้แก้ไขให้ถูกจุด

กิจกรรม Alliance Against the Haze เพื่อน/สู้/ควัน ซึ่งจัดเมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 โดย The Goodcery TH, Surin Pitsuwan Foundation และ School of Public Policy Chiang Mai University  มีรายละเอียดที่น่าสนใจ  โดยเฉพาะในหัวข้อ “นโยบายของประชาชน เพื่อประชาชน?! พูดคุยในมิติการมีนโยบายที่ดูแล ป้องกัน และเยียวยาพื้นที่ประสบภัย pm 2.5 ในเชียงใหม่และภาคเหนือ” ที่มีผู้ที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5  มาร่วมส่งเสียงและแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดเป็นนโยบายของประชาชนเพื่อที่จะทำให้อากาศสะอาดกว่าเดิม

This image has an empty alt attribute; its file name is S__9134219-1024x576.jpg

ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   

พัฒนาการของสังคมที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและผลกระทบของฝุ่นควัน PM 2.5 โดยเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วที่ ผู้คน เริ่มตระหนักถึงเรื่องปัญหา PM 2.5 ด้วยคำถามที่ว่าฝุ่นเป็นอันตรายต่อร่างกายจริงหรือ ? คือ จุดเริ่มต้นยังไม่ได้นิยามปัญหานี้อย่างชัดเจน 

ในระยะเวลาต่อมาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มีผลพิสูจน์ชัดเจน

คำถามต่อมาคือเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็นปัญหา ?  เราจะรู้ได้อย่างไร  ? แล้วเราจะใช้มาตรฐานของประเทศใด ? เป็นเรื่องที่ประเทศไทยถกเถียงกันมา

ในที่สุดปัจจุบันเครื่องวัดค่าอากาศ เต็มไปหมดแต่ยังไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เชื่อว่าทุกคนมีแอพพลิเคชั่นปิดโทรศัพท์มือถือที่สามารถดูข้อมูลเองได้นอกเหนือจากข้อมูลที่ทางภาครัฐให้เพียงเท่านั้น

ระยะถัดมาคือคำถามที่ว่า เมื่อปัญหาเกิดแล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ? ซึ่งมาตรการที่ออกมาในช่วงแรกเป็นลักษณะ เชิงรุก เธอตั้งใจเผา เธอไม่ตั้งไจทำงานหรือไม่ ? แต่มาตรการเหล่านั้นเมื่อผ่านระยะเวลามาสักพักนึง ก็มีการทำความเข้าใจกันมากขึ้น มีความร่วมมือกันมากขึ้นหลายภาคส่วน เท่าที่สังเกตคือเริ่มเข้าใจ วิถีชีวิต เข้าใจปัญหาของภาครัฐซึ่งทำให้เห็นว่าระยะหลังจำนวนจุดความร้อนฮอตสปอตในประเทศไทยเริ่มลดลง

ประเด็นคือเรื่อง ฝุ่นควันเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และเป็นวงกว้างที่เกิดรอบบริเวณพื้นที่ที่ไม่ใช่เฉพาะเขตดินแดนประเทศไทย เพราะฉะนั้นการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร? สิ่งนี้น่าจะเป็นโจทก์ต่อไป ซึ่งอาจจะต้องหมายถึงการเริ่มใหม่ ในการพูดคุยกันว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน มีเครื่องวัดคุณภาพอากาศหรือยัง มีมาตรฐานหรือไม่ในการกำหนด และจะร่วมมือช่วยกันอย่างไร และวิถีชีวิตของเขาคืออย่างไร และจะทำอย่างไรให้ทุกคนมองเห็นปัญหานี้ร่วมกันได้

“คิดว่าวิวัฒนาการของปัญหานี้ มันดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและมาถึงจุดที่ประเทศไทยต้องมองการเชื่อมนานาชาติ การมองในระดับสากลของปัญหาสิ่งแวดล้อม”

ประเด็นอย่างที่วันนี้จัดงานเชื่อมเรื่องของระบบอาหาร คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าทุกอย่างมันเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ไม่มีใคร ทำอะไร ที่ไหน กินอะไร ถึงอะไรที่ไม่กระทบต่อคนกลุ่มอื่น และที่ไม่กระทบกับโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นสุขภาพของเราทุกคน สามารถส่งผลกระทบได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้เอง ที่โอกาสนี้เองที่เราจะช่วยกันเสนอเห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจน

This image has an empty alt attribute; its file name is S__9134220-1024x768.jpg

คุณหนุ่ย-ชนกนันทน์ นันตะวัน จาก สม-ดุล เชียงใหม่ หนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น  pm 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง

สังคมพูดกันเรื่องนี้ก็อย่างยาวนานเป็นเวลา 10 กว่าปีไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ย้อนกลับไป 5 ปีที่แล้วเริ่มเข้ามาสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม ในส่วนตัวพอเราเริ่มทำงานเริ่มมีความเข้าใจกับข้อมูลและเห็นข้อเท็จจริง เริ่มต้นเรากำหนดค่ามลพิษทางอากาศ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าเกินกว่านี้ขึ้นไปถือว่าส่งผลกระทบด้านสุขภาพ และรู้สึกว่าเมื่อประเด็นนี้ถูกพูดถึงปัญหาเรื่องฝุ่นควันเพิ่มมากขึ้นหน่วยงานภาครัฐเริ่มทำงาน กรมควบคุมมลพิษพยายามผลัดดันให้ค่าของคุณภาพอากาศลดต่ำลง ให้ค่ามาตรฐานตาม who ตรงนี้มองว่าเป็นสัญญาณที่ดีหน่วยงานภาครัฐและประชาชนเองให้ความสำคัญต่อค่าคุณภาพอากาศที่จะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ แต่เมื่อผลักดันให้ค่าเกณฑ์มาตรฐานต่ำลงในมุมมองของประชาชนสำเร็จ แต่เป็นเหมือนนามธรรมที่ยังจับต้องไม่ได้ ในทุก ๆ ปีที่วนกลับมาเรื่องของการเจอสภาพปัญหาฝุ่นควัน เมื่อค่าคุณภาพอากาศเริ่มเป็นสีเหลืองพบว่าทุกอย่างหยุดนิ่ง เมื่อเริ่มเป็นสีส้มมาตรการใดใดก็ยังไม่ออกมา เราเห็นหน่วยงานคนในพื้นที่จัดอีเวนท์การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่โล่งแจ้งแต่ยังไม่มีประกาศใดใดจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องการแจ้งเตือนประชาชน ถ้าค่าคุณภาพอากาศเริ่มเป็นสีม่วงทุกคนก็เริ่มกังวลแต่หน่วยงานก็ยังเงียบ ถ้าเมื่อไหร่ที่ค่าคุณภาพอากาศเป็นสีม่วงเข้มเราจะเห็นแอ๊คชั่นจากหน่วยงานภาครัฐ ที่เริ่มออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งมันตลกดีเพราะสังคมพูดกันเรื่องนี้ก็อย่างยาวนานเป็นเวลา 10 กว่าปีไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หรือแม้กระทั่งมาตรการของภาครัฐเองที่ออกมาเป็นแผนวาระแห่งชาติแต่ไม่ได้มีน้ำหนักมากพอไม่เห็นแผนการปฏิบัติแก้ไขปัญหาเราเห็นเพียงประชาชนที่ออกมาแอคทีฟเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือกำลังช่วยตัวเองกันอยู่

การทำงานของตนเอง 5 ปีที่ผ่านมามองว่าปัญหาฝุ่นควันเวลาเราจะพูดถึงเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ เรื่องปัญหาฝุ่นควัน เพราะมันคือปัญหาของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทั้งระบบด้วยรวมทั้งตัวเราด้วยที่ อยู่ในห่วงโซ่อุปทานซึ่งเกี่ยวพัน และเกี่ยวข้องไปหมดทั้งเรื่อง ดิน น้ำ ป่า พอเราพูดถึงเรื่องนี้เรามักจะพูดถึงปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยโดยเฉพาะเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ธรรมชาติท้องถิ่นหรือในพื้นที่ป่าก็ตามหรือแม้กระทั่งเชื่อมโยงเรื่องการกิน

แต่เราไม่อยากเห็นการกล่าวโทษไปยังกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งไม่ได้มีการเข้าใจถึงโครงสร้างของปัญหานิเวศทางระบบเรื่องฝุ่นเยอะมาก เชื่อว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปก็ยังแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นไม่ได้เพราะแต่ละคนมองระดับของปัญหาไม่เท่ากัน

This image has an empty alt attribute; its file name is S__9134223.jpg

คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ องค์กรอิสระที่ทำงานเพื่ออากาศบริสุทธิ์

เข้าใจว่าคนเชียงใหม่เริ่มทนไม่ได้แล้ว ต้องยอมรับปัญหานี้ซับซ้อนมาก

การประกาศเขตภัยพิบัติในเชียงใหม่ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากรัฐไม่รู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และใครจะต้องประกาศ ประกาศอย่างไร ข้อมูลทางการแพทย์บอกว่ามีคนเสียชีวิตจาก PM 2.5 ปีละ 40,000 คน ทำไมขนาดนี้ยังไม่ทำอะไรเลย

สภาลมหายใจเริ่มมา 3 ปีกว่าแล้วเริ่มลงไปหนุนชาวบ้าน ในการจัดการเช่นกันให้เครื่องเป่าลมลงไปประมาณ 500 ถึง 600 หมู่บ้าน เจรจากับอบจ. 10 กว่าล้านกระจายไปในชุมชนเพราะเชื่อว่าปัญหาPm 2.5 เกิดขึ้นในพื้นที่ป่า

  • ถ้าเราดูจากสถิติจะเห็นข้อมูลว่าป่าอนุรักษ์เป็นอันดับที่หนึ่ง ป่าสงวนแห่งชาติเป็นอันดับสอง และตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้าน ประเด็นของสภาลมหายใจเดิมทีรัฐหรือคนทั่วไปก็จะโทษชาวบ้าน ซึ่งมันเป็นเรื่องไม่จริง ประเด็นแรกสุด ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้องที่ชัดเจนจะต้องปรากฏ พยายามทำงานชวนหลายฝ่ายวิชาการ หลายมหาลัยรวมถึงภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจเราพบว่าแท้จริงแล้วปัญหาพีเอ็ม 2.5 มันใหญ่กว่านั้นเยอะ มันสัมพันธ์กับการเติบโต และการพัฒนาของเมือง สัมพันธ์กับการเติบโตของประเทศ คมนาคมขนส่ง โรงงานโรงไฟฟ้า การเผาถ่านหิน การเผาพืชเชิงเดี่ยว เกษตร ป่ารวมไปถึงเพื่อนบ้าน ซึ่งมันจะกลายเป็นประเด็นเรื่องโลกร้อนที่เป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เพราะปัจจัยหลายตัวเมื่อก่อนไม่ได้มีแบบนี้ใน 10 ปีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

การระบายตัวของอากาศที่มีลักษณะเหมือนฝาชีครอบอากาศขึ้นลงเพียงแค่ 2-3 กิโลเมตร ในช่วงนี้กุมภา-มีนา-เมษา แต่เมื่อพ้นสงกรานต์ไปอากาศจะยกขึ้นไป 10 ถึง 15 กิโลเมตร นี่คือปรากฎการณ์ใหม่ เพราะฉะนั้นประเด็นของเราคือ ข้อมูลตอนนี้เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ เชียงใหม่ก็ยังเถียงกันอยู่ ถ้ากรุงเทพจะบอกว่าคมนาคม ขนส่ง โรงงาน อาจจะมีเกษตรนิดหน่อยรอบๆ  เชียงใหม่ซึ่งมีรถยนต์อยู่ล้านนกว่าคัน แต่มีป่า 70% ก็เป็นอีกโมเดลหนึ่ง ประเทศเพื่อนบ้านก็อาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง

เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะบอกคือมีหลายโมเดล เป็นเรื่องข้อมูลที่เราอยากรู้ว่ามันมาจากเมืองเท่าไหร่ มาจากรถเท่าไหร่ มาจากป่าเท่าไหร่ โรงงานอุตสาหกรรมเท่าไหร่ มาจากข้าวโพดจากต่างประเทศเท่าไหร่ ทุกวันนี้ประชาชนแทบไม่รู้เลย

ฉะนั้นข้อเรียกร้องสำคัญอย่างแรกอยากเรียกร้องให้มีข้อมูลเป็นบิ๊กดาต้าเรื่องนี้ที่ชัดเจนและอธิบายเป็นโอเพ่นดาต้าให้คนได้รับรู้เข้าใจและความเข้าใจว่าต้นเหตุเกิดจากอะไร อย่างไจะมีส่วนทำให้เกิดการรับรู้ที่สำคัญมากขึ้นในแง่ของการป้องกันตนเอง ในแง่ของการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  

ข้อเรียกร้องข้อที่สองคือเราพบว่าการบริหารจัดการของรัฐมีปัญหาเยอะมาก เพราะรัฐทำตามพรบ.ป้องกันบรรเทาสาธารณะภัยเมื่อเกิดเหตุภัยแล้ง ภัยพิบัติ เกิดน้ำท่วม เกิดไฟไหม้ เกิดวาตภัยจึงจะแอ็คชั่น ใช้งบ คน เครื่องจักร  แต่เรื่องฝุ่น PM 2.5 ไม่สามารถใช้ได้ เราต้องเน้นการป้องกัน เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นอีเวนท์แต่ละปีแก้ไม่ได้  นี่คือข้อสรุปที่ชัดเจนต้องมีแผนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนแบบระยะสั้น กลาง ยาว เสนอว่าต้องเปลี่ยนกฎหมายเป็นกฎหมายเชิงรุกที่ดูแลทุกสาเหตุทุกแหล่งและมีแผนงบ คน กองกลางในการติดตาม ดูแลอย่างชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ใช่อีเวนท์หรือเพียงซีซั่น

ข้อเสนอข้อที่สาม ที่ผ่านมาใช้ระบบคำสั่งจากกรุงเทพมหานคร เห็นคณะกรรมการฝุ่นแห่งชาติสั่งมาที่ผู้ว่าฯ ผู้ว่าสั่งมาที่ในอำเภอ นายอำเภอสั่งมาที่กำนัน สั่งมาที่หมู่บ้าน ชาวบ้านก็บอกว่าคนที่ถูกสั่งก็ไปทำสิ เพราะพวกคุณรับเงินเดือน เพราะฉะนั้นแบบนี้ไม่ได้ เสนอว่าต้องเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมขนาดใหญ่ให้คนทั้งสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ลำพังรัฐเองไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้ เพราะทุกคนมีส่วนในการสร้าง Pm 2.5 เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เป็นความเข้าใจไปพร้อมพร้อมกับกระบวนการแก้ไขปัญหา พร้อมกับการผลักดันนโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน เราติดขัดเรื่องการกระจายอำนาจมาที่ชุมชนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วงสภาลมหายใจทำงานใหม่ใหม่ แม้กระทั่งจะสนับสนุนงบให้ชาวบ้านดับไฟก็ยังไม่ได้  กลัว สตง.ตรวจสอบ ตอนนั้นเราเองต้องเชิญรอง สตง. มานั่งอธิบายและให้ผู้ว่าราชการไปเซ็นหนังสือ พร้อมกับท้องถิ่นทุกแห่งว่า คุณสามารถสนับสนุนได้ ปัญหาคือระบบของเราเป็นระบบรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร

ยกตัวอย่างที่แม่สาย มหาดไทยบอกว่ามอบอำนาจให้ผู้ว่าตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จเป็นแบบ ซิงเกิลคอมมาน พอมาถามผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายบอกว่าตนเองยังไม่แน่ใจต้องรอมหาดไทย และทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ตรงกลาง แต่แยกส่วนกันมาทำงานในพื้นที่ ก็จะคุยกันที่ในวงประชุมหลังเลิกประชุมก็จบไม่คุยกันซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราอยากเห็นการบูรณาการการมีส่วนร่วมครั้งใหญ่ที่อยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วแก้ไขปัญหาอย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

This image has an empty alt attribute; its file name is P100466-01-768x1024-1.jpg

นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ : นายแพทย์ที่รณรงค์ผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น

เราก็ต่างเป็นจำเลยในฝุ่นควันทั้งสิ้น เราคงไปโทษใครไม่ได้ว่าไปเผา แล้วเป็นคนไม่ดี มันเป็นการพูดแบบไม่มีหัวใจ เราต้องดูว่าแหล่งที่มามาจากไหน อยากให้สื่อสารในเรื่องผลกระทบทางสุขภาพว่าเป็นเรื่องสำคัญ”

 แน่นอนว่าผลกระทบระยะสั้น ในทางการแพทย์มองไม่ค่อยเห็น มันไม่ได้ตายทันที แต่ผลกระทบระยะยาวที่สะสมต่อเนื่อง มันสะสมระยะยาว ซึ่งเราอยู่ในเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ย PM 2.5 ปีนี้ 60% กว่า เรามีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า เสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน เพิ่มขึ้น 2-2.5 เท่า นี่คือความกังวลที่เกิดขึ้น คือปัจจัยเสี่ยง มันฝืนยาก PM2.5 มันคือ 1.03 % ดูเหมือนน้อย ถ้าในระดับประชากร มันคือการคูณ 100% เพราะไม่มีใครไม่หายใจ

“ต้องสื่อสารให้รัฐเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องเล็ก แม้เขาทำอยู่ก็ทำไม่เท่ากับระดับความรุนแรงของปัญหา”่

ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   

เล่าถึงบทเรียนจากประเทศสิงคโปร์ ว่า เคยไปดูงานที่ประเทศสิงค์โปร์และเกิดสถานการณ์ฝุ่นหนาแทบมองไม่เห็นตึก  แต่เขาใช้เวลาไม่นานใน 24 ชั่วโมงในวันนั้น ประกาศห้ามออกนอกบ้าน มีการใช้มาตรการทันที และไม่ได้พยายามทำให้ภาคส่วนไหนพอใจเป็นพิเศษ รัฐบาลสิงคโปร์มีการเก็บข้อมูลทันทีว่าไฟมาทิศทางไหน พื้นที่เหล่านั้นส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย และมองถึงห่วงโซ่ความรับผิดไปถึงบริษัทที่ลงทุนนั้นมาจากที่ไหน มีการดำเนินการแบบตรงไปตรงมาด้วยการคว่ำบาตร ไม่ซื้อ ไม่บริโภคสิ่งนั้น ๆ ที่ก่อให้เกิด PM 2.5 ทำให้ปัญหาหายไปภายใน 2 ปี

ผศ.ดร.อรอร  ยกประเด็น Climate of fear บรรยากาศแห่งความกลัวโดยรวมของประเทศไทย ที่ประเทศสิงคโปร์กับการจัดการปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน เพราะประเทศสิงคโปร์ มองเรื่องของการดึงดูดผู้คนจากต่างชาติเข้ามาลงทุน ท่องเที่ยว เรียน ทำงาน หรือหากคนในประเทศสิงค์โปรเองร่างกายอ่อนแอก็ไม่สามารถแข่งขัน ลงทุนกับประเทศอื่น ๆ ได้ เพื่อจะบอกว่าไม่ได้เปรียบเทียบว่าสิงคโปร์มีหลักการที่ดีหรือไม่ดี แค่บอกว่าประเทศเขามีหลักการ ถึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ ในตอนนี้สิ่งที่ประเทศไทยขาดคือเรื่องของ หลักการและทิศทางในการแก้ปัญหา ในการที่จะตัดสินใจได้ว่า ใครควรเข้ามาแก้ไขเรื่องนี้ อะไรควรทำก่อนหลัง หรืออะไรที่ไม่ควรทำ ทำโดยใคร ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร สื่อสารแบบชัดเจนตรงไปตรงมา

This image has an empty alt attribute; its file name is S__9134222-1-1024x768.jpg

รับชม Live เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/surinpitsuwanfoundation/videos/749418996913038

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ