เลือกตั้ง66 : เผยผลสำรวจเกษตรกรไทยกับความหวังเลือกตั้ง66

เลือกตั้ง66 : เผยผลสำรวจเกษตรกรไทยกับความหวังเลือกตั้ง66

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรทั่วประเทศ ในหัวข้อ “เกษตรกรไทย..กับความหวังการเลือกตั้งปี 2566” ระบุเกษตรกรต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมูลค่าสินค้าเกษตร

โดยการสำรวจครั้งนี้ มุ่งสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองและผู้นำ รวมถึงความคิดเห็นต่อนโยบายการพัฒนาด้านการเกษตรของรัฐบาลที่กำลังจะมีการเลือกตั้งใหม่ ดำเนินการสำรวจ ระหว่างวันที่ 22กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2566 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 804 ราย ภูมิลำเนาในภาคเหนือ ร้อยละ 24.41 ภาคกลาง ร้อยละ 23.38 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 15.93 ภาคใต้ ร้อยละ 34.28

เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.39 เพศหญิง ร้อยละ 50.05 เพศทางเลือก ร้อยละ 3.56

อายุ ไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 22.73 อายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 25.29 อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ร้อยละ 22.73 อายุระหว่าง 51- 60 ปี ร้อยละ 19.32 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.93 (อายุเฉลี่ย 42 ปี อายุต่ำสุด 18 ปี และสูงสุด 82 ปี)

ระดับการศึกษา ประถมศึกษา ร้อยละ 24.36 มัธยมศึกษา ร้อยละ 19.98 ใบรับรองวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ร้อยละ 15.17 ปริญญาตรี ร้อยละ 38.03 สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.46

ประเภทการเกษตรของเกษตรกรผู้ตอบแบบสำรวจ ปลูกพืช ร้อยละ 84.83 ปศุสัตว์ ร้อยละ 8.35 ประมง ร้อยละ 6.83

ผลสำรวจ ปรากฏดังนี้

1.ในการเลือกตั้ง ปี 2566 นี้ ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่
1.ไปใช้สิทธิ์ ร้อยละ 95.60 โดยให้เหตุผลว่า
– เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง (ร้อยละ 57.77)
– ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนทางการเมือง (ร้อยละ 38.35)
– ต้องการเลือกพรรคการเมืองและผู้นำที่ตนเองชื่นชอบ (ร้อยละ 3.88)
2.ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 4.40 โดยให้เหตุผลว่า
– รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเมืองและต้องทำงานไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเลือกตั้ง

2.เหตุผลที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนพรรคการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับ 1 จะเลือกคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่คดโกง ร้อยละ 80.92
อันดับ 2 เป็นคนที่มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ร้อยละ 64.78
อันดับ 3 เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาด้านการเกษตร ร้อยละ 61.53
อันดับ 4 เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ร้อยละ 61.22
อันดับ 5 สังกัดพรรคการเมืองที่มีนโยบายในการทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ร้อยละ 52.99

3.พรรคการเมือง ที่เกษตรกรไทยจะตัดสินใจเลือก ในการเลือกตั้งปี 2566 นี้
อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 48.87)
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล (ร้อยละ 11.47)
อันดับ 3 พรรคชาติไทยพัฒนา (ร้อยละ 9.72)
อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย (ร้อยละ 7.73)
อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ (ร้อยละ 7.60)

  1. ด้านความคาดหวังต่อ “รัฐบาลใหม่” ในการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรให้ดีขึ้น
    1.คาดหวังว่าจะดีขึ้นได้ ร้อยละ 50.42 โดยให้เหตุผลว่า
  • ดูจากนโยบายที่มีความชัดเจนและสามารถจะปฏิบัติได้จริง (ร้อยละ 49.30)
  • มีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ (ร้อยละ 29.58)
  • มีความเชื่อมั่นในพรรคการเมืองที่จะเลือกว่าสามารถทำได้ (ร้อยละ 21.12)
  1. ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 45.91 โดยให้เหตุผลว่า
  • ไม่แน่ใจเรื่องผลการเลือกตั้งว่าพรรคการเมืองใดจะได้เป็นรัฐบาล (ร้อยละ 50.00)
  • นโยบายที่หาเสียงไว้อาจไม่สามารถทำได้จริงในอนาคต (ร้อยละ 33.33)
  • ภาคการเกษตรถูกลดบทบาทลงและไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร (ร้อยละ 16.67)
  1. ไม่คาดหวังว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 3.67 โดยให้เหตุผลว่า
    – ภาคเกษตรไม่ค่อยได้รับความสนใจและนักการเมืองมักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง

5.ด้านความต้องการให้ “รัฐบาลใหม่” แก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรในเรื่องใดบ้าง

  1. ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ร้อยละ 56.37
    เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มและผลไม้
  2. ต้องการให้ดูแลหรือช่วยลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 17.83
    เช่น ควบคุมราคาปุ๋ยเคมีหรือน้ำมันเชื้อเพลิงทางการเกษตร เป็นต้น
  3. ควรมีการพัฒนาและยกระดับมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เช่น นำไปแปรรูปหรือ ร้อยละ 9.55
    ผลิตเป็นสินค้าอื่นๆ ให้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
  4. ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจนและ ร้อยละ 7.96
    ครอบคลุมในทุกพืชเศรษฐกิจ
  5. แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม เช่น ค่าครองชีพ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 5.73
    ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

เมื่อ “เกษตรกร”ยังเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาต้องประสบกับปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพมากมาย เช่น ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และภาระหนี้สิน การมีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญอีกครั้งที่เกษตรกรก็จะได้กำหนดอนาคตของตนเอง โดยการเลือกพรรคการเมืองและผู้นำที่มีการกำหนดนโยบายด้านการเกษตร เช่น การกำหนดนโยบายการยกระดับราคาสินค้าเกษตร แก้ไขปัญหาต้นทุนการเกษตร รวมถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน พรรคการเมืองหรือผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนราษฎร จึงจำเป็นต้องเสนอนโยบายที่จะตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเกษตรกรและเป็นนโยบายที่สามารถทำได้จริง เพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาและทำให้อนาคตภาคการเกษตรของประเทศไทยดีขึ้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ