เกิดอะไรขึ้นในพม่า…ทำไมนักศึกษาจึงออกมาเดินบนถนน ?

เกิดอะไรขึ้นในพม่า…ทำไมนักศึกษาจึงออกมาเดินบนถนน ?

“เกิดอะไรขึ้นในพม่า…ทำไมนักศึกษาจึงออกมาเดินบนถนน ? วงแลกเปลี่ยนเล็กๆ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 25 คน ในช่วงบ่าย หัวข้อ “เกิดอะไรขึ้นในพม่า…ทำไมนักศึกษาจึงออกมาเดินบนถนน? เมื่อวันเสาร์ที่ 4 เม.ย.58 ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม “ปุย” (Phwe Yu Mon) หญิงสาวร่างเล็กวัย 27 ปี กับบุคลิกยิ้มแย้มมั่นใจในการนำเสนอและตอบคำถาม เธอเป็นลูกครึ่งระหว่างคะฉิ่นและพม่า ที่เคลื่อนไหวประเด็นสันติภาพและประชาธิปไตย และเคยเข้าร่วมกับโครงการ Mekong Peace Journey ของมูลนิธิอาสาสมัครและสังคม อะไรที่เป็นแรงผลักดันให้ ปุย ออกมาเคลื่อนไหวนั้นไม่แน่ใจนักแต่สิ่งที่เห็นคือแววตาที่มุ่งมั่นของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคมของเธอเอง เธอและเพื่อนๆ เคยโดนจับไปเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วจากการทำกิจกรรมในเมืองย่างกุ้ง ชื่อกิจกรรมเดินสันติภาพ (Peace walk) ในวันสันติภาพโลก ในปี 2555 “ปุย” ออกตัวว่าจริงๆ แล้วเธอไม่ได้เป็นนักศึกษาและไม่ได้ร่วมเคลื่อนไหวหรือเป็นตัวหลักในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ หากแต่เธอเป็นคนหนึ่งที่ห่วงใยสถานการณ์ เพราะกลัวว่าความรุนแรง(จากฝ่ายรัฐ)จะเกิดขึ้นกับกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่มาเข้าร่วม จึงอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ซึ่งแน่นอนเธอเลือกทำในสิ่งที่ตนถนัด บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องสันติภาพ สันติวิธี และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

เพจ We Support Myanmar Student  ( 5 เม.ย.58 )

     “ปัญหาสังคมต่างๆ ตนคิดว่ามีรากฐานมาจากการศึกษา ที่ผ่านมามีการร่วมตัวกันคุยกับชาวบ้าน หน่วยงาน มหาวิทยาลัย มีการระดมความคิดเห็น ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เพื่อผลักดันในการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในที่สุดก็เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 58 ซึ่งเป็นผลจากกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 30 กันยายน”

     ปุยกล่าวต่ออีกว่า “กฏหมายการศึกษาดังกล่าว เป็นเพียงแค่กลุ่มคนบางกลุ่มตัดสินใจ สิ่งที่ตนเรียกร้องคือควรมีการปรึกษากับทุกภาคส่วนมากกว่านี้ ซึ่งแสดงถึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นการรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป ที่ผ่านมามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาที่ออกมา จนในสุดที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา” 

 

 

              ในตอนนั้นได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการศึกษาประชาธิปไตย ซึ่งได้ตัวแทนนักศึกษาหลักจาก 6 สมาพันธ์ อาทิเช่นกลุ่ม  ACDE (Action Communities for Democratic Education ) / ABFSU(All Burma Federation of Student Union) /CUSD (Confederation of University Student) / NER (Nationwide Network for Education)

               ทั้ง 6 สมาพันธ์นั้น มี 15 คนเป็นตัวแทนซึ่งจะสามารถตัดสินใจ แต่ก็ยังคงมีการรับฟังจากคนในกลุ่มอยู่ หลังจากมีการเดินขบวนประท้วงที่ย่างกุ้ง มีการแบ่งกลุ่มกัน โดยกลุ่มแรกมีหน้าที่ “ทำให้มันเป็นภาพ เป็นข่าว” ส่วนอีกกลุ่มจะดูแลเรื่อง “ข้อมูลการปฏิรูปการศึกษา” กิจกรรมในตอนแรกได้เป็นในลักษณะของการจัดอีเวนท์ งานแสดงรื่นเริงทั่วไปมีนักแสดง คนที่มีชื่อเสียงที่เห็นด้วยกับการเรียกร้องในครั้งนี้เข้ามาร่วมด้วย 

            โดยกลุ่มนักศึกษาเสนอให้เวลารัฐบาล 60 วัน ในการแก้ไขกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม หลังไม่มีท่าทีใดๆจากรัฐบาล จึงทำให้นักศึกษาได้กลับมาประท้วงอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 มกราคม นับตั้งแต่มีการประท้วงที่ผ่านมา มีนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่อยู่ตามเมืองระหว่างมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง รวมถึงกลุ่มพระสงฆ์เข้ามาร่วมเดินประท้วงมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับชาวนาที่อาสาเข้ามารักษาความปลอดภัยให้กับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวบ้านในแต่ละเมือง 

ลำดับเหตุการณ์ กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา กล่าวว่า พรบ.การศึกษาฉบับนี้ “ไม่เป็นประชาธิปไตยและการรวมศูนย์มากเกินไป”

1 กุมภาพันธ์ 2558 –มีการประชุมเบื้องต้นที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ระหว่างนักศึกษาที่จะเกิดขึ้นที่รัฐสภา ใน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีการเรียกร้อง 11 ข้อ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการประชุมทั้งจากรัฐบาลและนักศึกษา แต่รัฐบาลพม่ายอมตกลงเพียง 2 ข้อเท่านั้น

 3 กุมภาพันธ์ 2558 – ผู้แทนของนักศึกษาเดินทางมาถึงรัฐสภา แต่อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี เต่ง เส่ง ได้ยกเลิกการประชุมและประกาศว่าการเจรจาจะเริ่มหลังจากที่ 12 กุมภาพันธ์ โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอน

    

     “นักศึกษามากกว่า 100 คนออกจากมัณฑะเลย์  ในวันที่ 20  มกราคม เพื่อประท้วงกฎหมายการศึกษาแห่งชาติอื่น ๆ มีเข้าร่วมการประท้วงจากภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศพม่าทั้งจาก อิรวะดี มะละแหม่ง ทวาย และวางแผนที่จะเชื่อมโยงให้มากขึ้นในช่วง 650 กิโลเมตร (404 ไมล์) โดยจะใช้การเดินทาง 15 วันเพื่อมุ่งสู่ย่างกุ้ง”

5 มีนาคม 2558 – การประท้วงเริ่มขยายวงไปตามภูมิภาคของพม่าและมีความรุนแรงมากขึ้น

10 มีนาคม 2558 – การปราบปรามความรุนแรงในการประท้วงเดินขบวนหลักในเนปิดอว์ รัฐบาลจับกุมนักศึกษาไปทั้งหมด 127 คน

      นักศึกษามองว่า กฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับการศึกษา ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่สามารถเพิ่มมาตรฐานการศึกษาในพม่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไม่มีพื้นที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม และไม่รับรองความเป็นอิสระของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงไม่รับรองสหภาพนักศึกษา โดยกลุ่มนักศึกษามีข้อเรียกร้องให้ยกเลิกระบบการควบคุมจัดการจากส่วนกลาง ซึ่งใช้มากว่า 50 ปี ซึ่งนักศึกษามองว่าล้าหลัง และเรียกร้องให้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพนักศึกษา งบของรัฐบาลพม่าที่ใช้จ่ายในส่วนของการศึกษานั้นเพียง 20 % จากงบประมาณทั้งหมด ในขณะที่งบส่วนใหญ่ไปอยู่ที่กองทัพกว่า 50%

        เหตุการณ์เริ่มปะทุขึ้นที่เนปิดอว์ เริ่มประมาณ 11 โมง เมื่อรัฐบาลเองไม่ยอกตกลง พวกเราเพียงแค่ขอเดินเท่านั้น แต่ก็ทำให้มีการปะทะกับนักศึกษา มีการทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงร่างกายที่อ่อนแอจากการเดินหลายร้อยกิโลและนักศึกษาเองก็ไม่มีอาวุธ ทำให้มีแรงต่อสู้ รถพยาบาลพยายามเข้ามารับคนบาดเจ็บก็จะโดนทหารขัดขวาง ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำรุนแรงอะไรขนาดนี้เหตุการณ์ครั้งนี้มีน้องนักเรียนอายุ 15 เข้ามา ก็โดนทำร้ายทุบตีอย่างรุนแรง มีความพยายามทำให้นักศึกษาผู้นำหรือเกิดความแตกแยก นักศึกษาหญิงที่ถูกจับไปมีการตรวจสอบการตั้งครรภ์ เพื่อลดทอนความกล้าให้ออกมาต่อสู้” ปุย เล่าสถานการณ์ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับนักศึกษา 

16 มีนาคม 2558 – มีการใส่แบนเนอร์สีดำ ถือธงนักศึกษา ยืนสงบนิ่งหนึ่งนาทีในรัฐสภา หลังจากที่มีการเชิญตัวแทนนักศึกษาเข้าไปในรัฐสภาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งแจงข้อหาของนักศึกษาที่ถูกคุมตัวมีตั้งแต่ห้าข้อหาถึงสามสิบคดี  

           “ทางรัฐกลัวว่าจะมีอะไรมากกว่านี้ กลัวว่าจะมีการปฏิวัติจากประชาชน ถ้าหากมองตามประวัติศาสตร์พม่า แม้ว่าจะประกาศว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการทหารพม่า ซึ่งกลุ่มนักศึกษาเองยังมองว่าเป็นแบบครึ่งใบอยู่เห็นได้จากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ทั้งในเขตชายแดน และชนกลุ่มน้อย การรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาลซึ่งยังคงมีอยู่ จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยแบบเต็มใบในพม่าจะเน้นการเคลื่อนไหวจากเล็กมาใหญ่ เล่นเป็นประเด็น ไม่มีการนำเดี่ยว เริ่มจากการทำงานจากกลุ่มฐานล่าง ทำจริงจัง วิธีการที่สำคัญคือการไม่ใช่อาวุธโดยเด็ดขาด” หนึ่งในผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์พม่า

“การลุกขึ้นมาของนักศึกษาลุกขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ และมีผลกระทบกับสังคมอยู่ตลอดแต่ที่สำคัญคำถามคือช่วงที่เกิดแรงสั่นสะเทือนในพม่าที่เกิดขึ้นตั่งแต่ปี 1988 ยี่สิบกว่าที่ผ่านมา ทำไมเรายังต้องถามคำถามเดิมๆ กับรัฐบาล กับคนในสังคมนี้ ควรที่จะมองกลับไปว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเราถึงใช้เวลานานขนาดนี้ รอในสิ่งที่เราเรียกร้องมาตั้งนาน เกิดอะไรกับการเคลื่อนไหว อะไรหลายอย่างที่เราทำแต่ทำไมมันยังคงอยู่กับที่ อยู่อย่างเดิม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้เห็นอะไร คนในสังคมเห็นอะไรอื่นๆ ในนั้นนอกจากเห็นความโหดร้าย ความรุนแรงอยู่ในตรงนั้น”

 “หลายๆ ครั้งที่เรามาแลกเปลี่ยนกันนั้น คนข้างในสังคมทำอะไรกันอยู่ มีอุดมการณ์อย่างไร มีปรัชญาอย่างไรในการดำเนินชีวิต สิ่งที่สำคัญนั้นข้างในจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถึงจะมีการออกมาเรียกร้อง” ส่วนหนึ่งจากความรู้สึกนักศึกษาพม่าที่เคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งคำถามกับสถานการณ์ในประเทศ

“เราได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่เราจะเปลี่ยนแปลงภายในประเทศของเราอย่างไร  ขึ้นมาด้วยตัวของมันเองจริงๆ ส่วนการสนับสนุนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราควรกลับไปมองประวัติศาสตราและลองทบทวนดูว่า วันนี้เคลื่อนไหวอย่างไร พรุ่งนี้จะเคลื่อนไหวอย่างไร ให้สิ่งที่เราต้องการสามารถเกิดขึ้นได้จริงและยั่งยืน” ปุย กล่าวทิ้งท้าย ก่อนปิดวงแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ