บางระกำช้ำ สะท้อนข้อกังวลต่อการมีส่วนร่วมจัดการพื้นที่

บางระกำช้ำ สะท้อนข้อกังวลต่อการมีส่วนร่วมจัดการพื้นที่

ภาคประชาชนในพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก สะท้อนข้อกังวลใจต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่ของตนจากการแปรปรวนของธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนและการจัดการระบบของรัฐบาล

จากสภาพอากาศที่แปรปรวนด้วยภาวะโลกร้อนของภาคเหนือตอนล่าง ที่ส่งผลกระทบต่อชาวนาและเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยในระดับนโยบาย ได้มีการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านทางแนวคิดต่าง ๆ จากรัฐบาล ตัวอย่างกรณีศึกษา เช่น บางระกำโมเดล ซึ่งปรากฏว่าได้ปรับเปลี่ยนวิถีชาวนาในพื้นที่อย่างมาก ทำให้ ASIAN PEOPLES’ MOVEMENT ON DEBT AND DEVELOPMENT หรือ APMDD ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอจากประเทศฟิลิปปินส์ที่ทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชีย และองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคเหนือตอนล่างตลอดจนองค์กรชุมชนต่าง ๆ ร่วมกันติดตามผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

ทั้งนี้ มีเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่อำเภอบางระกำ ที่ได้รับผลกระทบจากบางระกำโมเดลให้ข้อมูลว่า

“การที่ (รัฐ) บอกว่าสนับสนุนในเรื่องของการทำการประมงจากน้ำท่วม แต่มีปลาให้ชาวบ้านจับหรือไม่? เพราะปัญหาเกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่การบริหารจัดการน้ำ ปลาไม่สามารถวางไข่และอยู่อาศัยเพื่อเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ และเราสามารถหาปลาได้ในช่วงน้ำท่วม พอน้ำขึ้น 3-4 วัน ช่วงปลามา ชาวบ้านจะไปจับสัตว์น้ำตามวิถีชาวบ้าน และจะมีการปล่อยน้ำมาเพิ่ม ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปลาหนีหายไป และนี่ถือเป็นการเปลี่ยนวงจรชีวิตของปลาในการแพร่พันธ์ตามปกติในอดีตบางพื้นที่ปลาเยอะมาก บางคนหาปลาไม่เป็นยังได้ปลาในช่วงน้ำท่วม แสดงถึงปริมาณที่มีมาก ตอนนี้ไม่มีปลาแล้วต้องซื้อปลากิน เพราะเกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด”

เกษณี พ่วงท่าโก ชาวนาอำเภอบางระกำ อีกเสียงสะท้อนหนึ่งจากเอ็นจีโอฟิลิปปินส์ Miss Prang NGO

จาก ASIAN PEOPLES’ MOVEMENT ON DEBT AND DEVELOPMENT หรือ AMPDD กล่าวว่า

“จากการเรียนรู้ด้านการพัฒนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศของตนเองนั้น พบว่าปัญหาคือการแก้ปัญหาที่ไม่ถูก แต่การแก้ปัญหากลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น และยังเป็นการซ้ำเติมปัญหาเดิมให้ลงลึกไปอีก โดยตนเองจะนำเอาเรื่องราวที่ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนทั้งจากประเทศตนเองและกับชุมชนในประเทศไทยไปสื่อสารต่อ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหา รวมทั้งจะได้นำเสนอข้อคิดเห็นของคนในท้องถิ่นผ่านการรวบรวม โดยจัดทำเป็นข้อเสนอของภาคประชาชนในภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund) หรือที่รู้จักกันในชื่อกองทุน GCF ที่ตอบสนองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นข้อเสนอของภาคประชาชนให้กับกองทุน GCF และ United Nations Development Programme เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนต่อไปได้”

เสียงสะท้อนทั้งจากบ้านบางระกำและเอ็นจีโอฟิลิปปินส์ข้างต้น ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชีย แสดงถึงข้อกังวลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่ของตน และต้องการให้เกิดการสนับสนุน ตลอดจนการเปิดพื้นที่ให้มีการหารือทิศทางความเป็นไปได้ของโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรับฟังเสียงจากภาคประชาชนในพื้นที่ สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐได้รับการสนับสนุนจากกองทุน GCF นั่นเอง ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไม่ต้องการให้เกิดการซ้ำรอยเดิมอย่างเช่นกรณีของบางระกำโมเดล ที่ประจักษ์ชัดเจนว่าชุมชนมีส่วนร่วมไม่เท่าที่ควรจะเป็น หรือมีการละเลยในประเด็นผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และการประกอบสัมมนาอาชีพ ซึ่งความรับผิดชอบต่าง ๆ ต่อโครงการนั้นยังคงเป็นคำถามที่รอคำตอบ และกลายเป็นเสียงสะท้อนที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกโครงการของรัฐอย่างยั่งยืน

เสียงเหนือ VON ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : คุณสาคร สงมา และคุณปริญญา แทนวงษ์

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ