หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ : บ.ทุ่ง หมู่ที่ 2 ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา

หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ : บ.ทุ่ง หมู่ที่ 2 ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา

เดิมทีเดียวนั้น…บ้านห้วยข้าวก่ำขึ้นอยู่กับอำเภอปง จังหวัดน่าน ต่อมามีพ่อเฒ่าท้าวแก้ว, พ่อเฒ่าแสนหลวง ยาวิชัย, พ่อเฒ่าแสนหลวง ไชยสถาน, พ่อเฒ่าเฮ้า สี่คนนี้เดิมอยู่เขตอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ออกจากบ้านเดินทางมาคล้องช้าง หางาช้างและเอานอแรด เพื่อขึ้นเป็นส่วยแก่เจ้าครองนครน่าน พอมาถึงที่ห้วยข้าวก่ำ เห็นที่ดินอุดมสมบูรณ์ดี สมควรจะเป็นที่อยู่อาศัย ทำไร่ ทำนาได้ดี พอได้ช้าง งาช้าง นอแรด พอเป็นของถวายแก่เจ้าผู้ครองนครน่านแล้ว จึงได้พากันกลับบ้านเดิม หลังจากนั้นก็ได้พาครอบครัว 10 ครอบครัว มาตั้งหมู่บ้านทำไร่ ทำนาที่ห้วยข้าวก่ำ อาศัยการทำไร่ ทำนา ข้าวงอกงามดี มีสีเขียว สีดำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้าน “ห้วยข้าวก่ำ” ต่อมาก็มีผู้คนจากเมืองหาน เมืองหลวงพระบางและเมืองลำปางมาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น…..(พิธีบวงสรวงแก้บน…กองไฟแดงจ้า…………………………………………..)

ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 175 หลังคาเรือน มีประชากร จำนวน 616 คน รายได้เฉลี่ยของราษฎรในหมู่บ้าน 35,000 บาท ต่อคนต่อปี …(สภาพแวดล้อมหมู่บ้าน……………………………….)

จากการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนได้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน แล้วนำมาสู่การจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์ปัญหา ทำให้เวทีชุมชนทราบว่า……รายจ่ายของชุมชน ใช้จ่ายไปกับการซื้ออาหารการกินประจำวัน ซึ่งต้องจ่ายออกจากชุมชนบ้านทุ่งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และจะเป็นการลดรายจ่ายของครอบครัวได้อีกด้วย……(การทำบัญชีครัวเรือน เวทีประชาคม…..ยกไม้ยกมือ…)

นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ชุมชนบ้านทุ่ง โดยการนำของนายวิเศษ รินทร์พรุ้ม ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยคณะกรรมการ หัวหน้าคุ้มและพี่น้องประชาชน ได้มีความเห็นพร้องต้องกันว่า…จะต้องร่วมมือกันในการรณรงค์ปฏิบัติตน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ น้อมนำคำสอน มาดำเนินชีวิตประจำวันในครอบครัว..ดังนั้น การจัดระบบการพัฒนาชุมชนบ้านทุ่งจึงเริ่มก่อตัวพัฒนาขึ้นมา ทีละเล็ก ทีละน้อย ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เป็นการพัฒนาความเข้มแข็งชุมชนตามขั้นตอน กระบวนการพัฒนาชุมชน

กลยุทธ์ของการพัฒนาหมู่บ้าน ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง คือการกระจายอำนวจการพัฒนา จัดออกแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม ๆ จำนวน 5 คุ้ม จึงส่งผลให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเห็นได้ชัด…ทุก ๆ คุ้มมีอิสระในการคิดริเริ่ม และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง…ประกอบด้วย..

คุ้มที่ 1 คุ้มเศรษฐกิจพอเพียง…ภายในคุ้มทุกครัวเรือนจะมีการปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ จุดเด่นของคุ้มก็คือ มีตลาดนัดชุมชน ทุกวันในตอนบ่าย เป็นจุดศูนย์รวมแลกเปลี่ยนพืชผลทางการเกษตร ที่ปลูกกันเองในบริเวณบ้าน ปลอดสารพิษ นำมาขายแลกเปลี่ยนกัน..แบบเกื้อกูลกันในชุมชน..
คุ้มที่ ๒ คุ้ม”ตามรอยพ่อ” ภายในคุ้มมีกิจกรรมเด่น นอกจากการปลูกพืชผักสวนครัวทานเองแล้ว ก็มีโรงสีข้าวชุมชน ที่บริการสีข้าวให้คนในชุมชน สีข้าวให้ฟรี..ผลกำไรนั้นแบ่งเพื่อเป็นทุนและจัดสวัสดิการในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ในหมู่บ้าน มีแหล่งเพาะพันธ์ปลา ในแหล่งน้ำที่ชื่อ “ร่องทะล้า” และขณะนี้กำลังมีการจัดพื้นที่สาธารณะประมาณ 1 ไร่ ทำเป็น”ศูนย์เรียนรู้ชุมชน” สาธิตการเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ และยังทำเป็นแปลงผักรวม ที่เปิดให้คุ้มต่าง ๆ มาทำแปลงผักรวมไว้บริโภคในชุมชน ถือว่าเป็น”ชุมชนเกื้อกูลกัน”อย่างแท้จริง.

คุ้มที่ ๓ คุ้ม”รวมพลังต้านยาเสพติด” กิจกรรมเด่นมีปราชญชาวบ้านด้าน การทำโคมไฟ โคมลอย สำหรับจุดในเทศกาลลอยกระทง งานเทศกาลต่าง ๆ คือนายทิวา จันทร์กลาง เป็นอาชีพทำสร้างรายได้ในครัวเรือน และยังมีพ่ออุทัย จันทร์กลาง เป็นปราชญด้านการจักสานสุ่มไก่ และยังสามารถถ่ายทอดแก่คนในชุมชนได้อีกด้วย

คุ้มที่ ๔ คุ้ม”พลังสามัคคี”…คุ้มนี้ทุกครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวกันทุกครัวเรือน เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในครอบครัว เหลือก็นำออกขายในตลาดสดในหมู่บ้านทุกวัน

คุ้มที่ ๕ คุ้ม “ประชาร่วมใจ”..จุดเด่นของคุ้มนี้คือ..การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัวทานเอง เหลือขายในตลาดนัดชุมชนในหมู่บ้านยามเย็น มีครัวเรือนที่เป็นจุดเรียนรู้ในการทำเศรษฐกิจพอเพียง คือ ครอบครัวของ นายเฉลิม ยะกันทะ บ้านเลขที่ 62 เป็นการทำพื้นที่ในบริเวณบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้ในการปลูกผักสวนครัว มะนาว ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงเป็ดเทศ เลี้ยงไก่ ฯลฯ เปิดให้คนทั้งในและนอกชุมชนได้เข้ามาเยี่มชม ซึ่งน่าสนใจมาก

เราจะเห็นได้ว่า..ที่ชุมชนบ้านทุ่งแห่งนี้ได้เกิดการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวบ้านทุ่ง อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเป็นมรรค เป็นผล ต่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนชาวบ้านทุ่งอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อาทิ..

โรงสีข้าวชุมชน…ที่เกิดผลกำไรจัดเป็นสวัสดิการของชุมชน..
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน…ขยาลผลกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนสามารถมาร่วมเรียนรู้ได้ที่นี่
แหล่งน้ำร่องทะล้า..เป็นศูนย์รวมกิจกรรมและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาของชุมชน
ตลาดสดเกื้อกูล..แหล่งจำหน่ายพืชผักสวนครัว ผลไม้ตามฤดูกาล หากเหลือขายยังได้มีการแลกเปลี่ยนกันได้

อาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ การเลี้ยงไก่ชนออนไลน์ การจักสานสุ่มไก่ การทำโคมลอยล้านนา และการทำโคมไหล้านนาของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน…

ที่ผ่านมาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของชุมชนบ้านทุ่งได้แพร่ กระจายออกไปตามสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตรายการวิทยุ, การเผยแพร่ทางคลิปวิดิโอบนเว็บไซต์ยูทูป และ เว็บไซต์หมู่บ้าน www.baantoong.comทำให้มีผู้สนใจจำนวนมากเดินทางมาขอศึกษาดูงาน ปี 2558 เป็นต้นมา จำนวน 10 คณะ

ทุกวันนี้..คนในชุมชนบ้านทุ่ง มีความสามัคคี มีความสุขแบบพอเพียง พึ่งตนเองได้..ภายใต้คำขวัญของหมู่บ้านที่ว่า…
“พระธาตุศรีมหาโพธิ์เลอค่า
ร่องทะล้าแหล่งชีวิต
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ลือเลื่องด้วยวัฒนธรรม
ชื่นฉ่ำประเพณี
ศีลมีทุกครัวเรือน…”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ