สภาเมืองสีเขียว จังหวัดเชียงใหม่ กับแนวทางการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะสีเขียวบนถนนเจริญประเทศ

สภาเมืองสีเขียว จังหวัดเชียงใหม่ กับแนวทางการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะสีเขียวบนถนนเจริญประเทศ

พื้นที่สีเขียวเมืองใหญ่ (city green space)  เป็นพื้นที่ซึ่งมีพรรณไม้ โดยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นปอดของเมือง ในเมืองเชียงใหม่มีอยู่ไม่กี่ที่แห่ง หนึ่งในนั้น คือ ถนนเจริญประเทศ ชุมชนเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอยู่ร่วมกันของคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งพุทธ มุสลิม และคริสต์ รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของกรมป่าไม้แห่งแรกของประเทศไทย

วันนี้ (27 สิงหาคม 2559)สภาเมืองสีเขียว ตัวแทนชุมชนถนนเจริญประเทศและใกล้เคียง นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และศิษย์เก่าโรงเรียนเรยีนา เชียงใหม่ ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึง แนวทางการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะสีเขียวบนถนนเจริญประเทศ  ณ ห้องประชุมอัญจลา โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ซึ่งก่อนหน้านั้นพื้นที่ตรงนี้ถูกเสนอให้เป็นที่สร้างบ้านธนารักษ์ประชารัฐ แต่มีตัวแทนของคนพื้นที่ยื่นหลังสือคัดค้านต่อกรมธนารักษ์ จนมีคำสั่งให้ระงับโครงการเพื่อทำการศึกษาผลกระทบร่วมกับชุมชนอีกครั้ง

20162708210445.jpg

จากการสำรวจพื้นสีญประเทศเขียวริมถนนเจที่ของหน่วยจิจัยและฟื้นฟูป่าพบพรรณไม้ 29 ชนิด พรรณไม้เด่น ได้แก่ ต้นกระถินและต้นจามจุรียังไม่รวมพืชพื้นล่างและเห็ดราอีกหลายชนิด รวมถึงนก ผีเสื้อ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวกกระรอก เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ตรงนี้สามารถเป็นพื้นที่สีเขียวปอดคนเมืองเชียงใหม่จึงมีการพผูดคุยเพื่อหาแนวทางในการจัดการร่วมกัน

อ.ศิริชัย หงษ์วิทยากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่าเคยสำรวจพื้นที่สีเขียวซึ่งปลูกต้นไม้พบว่าสามารถซับน้ำ และกักเก็บคาร์บอนชาติที่ดีตามธรรมชาติ และพื้นที่เหล่านี้เป็นที่ต้องการโลก เพราจากภาวะการของโลกเราซึ่งกำลังอยู่ในภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ก็ยินดีที่จะมารับทำเรื่องการออกแบบภูมิทัศฯของพื้นที่ตามโจทย์ของชุมชนหากได้มีการสรุปร่วมกัน

ศิริชัย ยังกล่าวอีกว่า จากการสำรวจลักษณะนิเวศ มีนก มีสัตว์ ป่าลักษณะนี้เป็นป่าในเมือง เป็นแนวคิดใหม่ของป่าที่มีอยู่ สำหรับพื้นที่ถนนเจริญประเทศตรงนี้มี2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้ หากคิดถึงกำไรแล้ว พื้นที่สีเขียวตรงนี้เป็นกำไร ของประชาชน ควรเป็นหน้าที่เทศบาลในการร่วมดูแลกับชุมชน ธนารักษ์อาจให้เทศบาลเช่าในราคาถูก แล้วไปจัดการร่วมกับชุมชน แต่ต้องคิดถึงการจัดการที่ใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด

คุณปลายอ้อ ชนะนนท์ กล่าวว่าทางทีมทำงานได้เข้าไปคุยกับกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าพื้นที่ทั้งหมดมีขนาด  9 ไร่ 3งาน 33 ตารางวา และเคยขอธนารักษ์ที่จะทำสวนรุกขชาติ ปี 2559 แต่ก็ไม่ได้ความร่วมมือ ต่อมากรมธนารักษ์กลับมายื่นของพื้นที่จากกรมป่าไม้ 3 ไร่ เพื่อทำถนนออกอีกข้าง แต่กรมป่าไม้ได้ยึดตามแผนการใช้พื้นที่ ไม่สามารถอนุญาตได้ ในขณะที่กรมอนุรักษ์ที่ 16สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติจะสามารถสนับสนุนชุมชนได้ในเรื่องของวิชาการ และพื้นที่นี้เป็นพื้นที่สีน้ำเงิน จึงแนะนำให้หาความร่วมมือกับกรมป่าไม้

อ.นิรันดร โพธิกานนท์ ที่ปรึกษาชมรมจักรยานวันอาทิตย์ จังหวัดเชียง กล่าวตน มีแนวคิดมาตั้งแต่ปี 2548 ที่อยากเห็นพื้นที่นี้ถูกให้เพื่อสาธารณะ ตนพบว่าพื้นที่ตรงนี้ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก จะมีที่เปลี่ยนแปลงก็เฉพาะต้นไม้เล็กๆที่ขึ้น ซึ่งสามารถเป็นปอด ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์ และปล่อยออกซิเจนให้คนในบริเวณนี้  ประชากรในพื้นที่แฝงเม็งรายมีประมาณกว่า 14,000 คน ไม่นับรวมคนที่เดินทางผ่านไปมา  น่าจะมีคนได้ประโยชน์ กว่า 20,000 คน และเห็นว่าหากมีทางเข้าจากถนนช้างคลานมาพื้นที่ตรงนี้ได้ คนทางคลานมาใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องอ้อม จะเป็นการดีหากเปิดถนนเชื่อมช้างคลานกับเจริญประเทศได้

อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย คณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวในฐานะผู้ปกครองคนหนึ่ง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จะมีการจัดงานครบรอบ 12 ปีของคณะวันที่ 12-13 ที่เซลทรัลเฟส จึงอยากเชิญชวนโรงเรียนและนักเรียนในพื้นที่เจริญประเทศร่วมกิจกรรม โดยโรงเรียนเรยีนาและโรงเรียนเครือข่ายอีก 5 แห่ง จะมีการแสดงภาพพื้นที่การจัดการสีเขียวที่ใจเด็กที่อยากเห็น เพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ เป็นการจุดประกายเบื้องต้นหลังจากที่กรมธารักษ์ได้ประกาศยุติโครงการบ้านประชารักษ์ในเบื้องต้น และเรื่องป่าไม้ในเมือง สำหรับเชียงใหม่เองมีพื้นที่ลักษณะนี้หลายที่จึงเเป็นสิ่งสำคัญที่คนเชียงใหม่จะลุกขึ้นมาจัดการพื้นที่ร่วมกัน โดยเริ่มจากเด็กๆก่อน นอกจากนี้ยังมีการตั้งโต๊ะรับฟังความคิดเห็น รวมถึงจากความคิดเห็นจะถูกรวบรวมมานำไปสู่การนำไปสู่การจัดการใช้พื้นที่แห่งนี้ และพวกกับข้อมูลของนักศึกษาผังเมืองและสิ่งแวดล้อมกว่า30 คนที่ได้สำรวจพื้นที่ตรงนี้ไปแล้ว

20162708205621.jpg
อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย 

 รศ.เหรียญ หล่อวิมงคล ผู้อำนวยการสถาบันภาษา กล่าวว่าสิ่งที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว คือการสร้างความร่วมมือกับเทศบาล แต่จะต้องตั้งทีมไปคุยกับธนารักษ์อย่างเป็นทางการ ในส่วนของค่าเช่าพื้นที่น่าจะมาจากบริจาค ทำกล่องบริจาคหน้าโรงเรียนแล้วเอาไปจ่ายให้กรมธนารักษ์

 คุณสมชัย เบญจชย นักวิชาการกรมป่าไม้ กล่าวว่า ตอนนี้เราเผชิญกับภาวะโลกร้อน อุณหภูมิโลกสูงเกินไป จะเจอความผันผวนของภูมิอากาศ ที่จะรุนแรงขึ้น  ซึ่งตรงนี้มองว่าป่าไม้ยินดีจะสนับสนุนผ่านกลไกป่าไม้มีผ่านสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ ตนก็มีบทเรียน จากพิพิธภัณฑ์บางปะกอก ใช้ภาพเก่าของพื้นที่เล่าเรื่องความสำคัญเพื่อระดมทุนจากคนกรุงเทพคนละ 100 บาท ในการเคลื่อนไหว 3-4 เดือน ได้สูงถึง 44 ล้าน และหากเรากลับมามองพื้นที่สีเขียวตรงนี้ ต้นไม้จะสามารถเก็บกักคาร์บอนได้ประมาณไร่ละ 1หมื่นตัน รวมถึงมูลค่ามูลค่าที่ประเมินไม่ได้อีกหลายอย่าง สำหรับป่าเมือง

คุณอนุชาติ พลาชัย กลุ่มคนเชียงใหม่ไม่เอากระเช้าไฟฟ้า กล่าวว่าที่สำคัญคือ แกนนำ คิดว่าน่าจะเป็นสภาเมืองสีเขียวเชียงใหม่ และที่สำคัญ คือมีกรณีตัวอย่างที่ประชาชนเช่าที่จากธนารักษ์ อย่างที่แม่ริม พื้นที่สีเขียวตรงนี้ก็น่าจะเริ่มจากเช่าให้ได้ก่อนหากองค์กรมความเข้มแข็ง

คุณสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารและดูพื้นที่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ มีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมหลายโครงการหากประชาชนในพื้นที่จะขับเคลื่อนก็ยินดีสนับสนุนให้เป็นพื้นที่ปอด

โอฬาร อ่องฬะ เจ้าหน้าที่ประสานงาน จากมูลิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ กล่าวว่าพื้นที่ตรงนี้มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา โดยในด้านประวัติศาสตร์นั้นเป็นที่ตั้งกรมป่าไม้แห่งแรก ชุมชนเก่าแก่ ในแง่กลไกจะต้องทำข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถต่อรองได้ คือ 1.ข้อมูลเชิงนิเวศวิทยา อยากให้เกิดเชิงวิจัยที่มีประสิทธิภาพ2.ความต้องการเปลี่ยนสีน้ำเงินเป็นสีเขียวจะศึกษาความสัมพันธ์ของผู้คน ชุมชนรายรอบด้วย 3.การเคลื่อนไหว สร้างกิจกรรม ควรหาเจ้าภาพไปเจรจากับกรมธนารักษ์ อาจเป็นเทศบาลหรือจังหวัด และควรวางช่วงเวลาให้ชัดเจน จะนำไปสู่การต่อรองและมีพลัง ซึ่งพื้นที่สีเขียวนี้สามารถไปเชื่อมโยงกับการจัดการโลกร้อน หมอกควัน ไฟป่าได้ด้วย

คุณภัทร บุลยเลิศ สภานักเรียนโรงเรียนเรยีนาเชลี วิทยาลัย กล่าวว่า ควรปล่อยให้เป็นป่าไปตามธรรมชาติ หากจะมีการพัฒนาตัดถนนจะต้องสูญเสียพื้นที่ป่า และอยากให้ปลูกป่าเพิ่ม เพื่อที่จะได้เป็นปอดให้กับเมือง

20162708205949.jpg
คุณภัทร บุลยเลิศ 

คุณสุรีย์ บุญญานุพงศ์  อดีตนักวิจัยเชี่ยวชาญสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาที่เราต้องทำความเข้าใจก่อน คือ ปัญหาทางด้านกฎหมาย พื้นที่กรมธนารักษ์อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่าง จากการศึกษาของสถาบันจิจัยสังคมในช่วง 100 ปีเชียงใหม่ ได้เห็นเชิงคุณค่า ประวัติศาสตร์อขงพื้นที่นี้มากมาย และทางส่วนทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่เคยทำการศึกษาวางแผนการจราจร และรถไฟฟ้า ซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบชุมชนมากมาย มองว่าที่ตรงนี้สมาคมผู้ปกครองโรงเรียนเรยีนา สามารถของเช่ากับกรมธนารักษ์ และตอนนี้มีโครงการพยายามผลักดันเชียงใหม่มรดกโลก จัดการให้พื้นนที่นี้เป็นได้มากกว่าพื้นที่สีเขียว อีกทั้งควรชี้ให้กรมธนารักษ์และรัฐบาลเห็นว่าการสร้างบ้านพักธนารักษ์ประชารัฐไม่สามารถทำได้ตามกฎหมายที่ระบุว่าว่าต้องมีพื้นที่จอดรถให้เพียงพอ ต้องทำประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  ต้องมีพื้นที่เข้าออกที่เพียงพอ

 ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า หากกล่าวถึงสิทธิที่กฎหมายรับรองให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เราสามารถอางสิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ผังเมืองที่ดี ซึ่งตรงนี้ภาครัฐต้องคุ้มครอง หรือคุ้มครองประโยชน์สามธารณะ สามารถหักล้างกับประโยชน์อื่นๆได้ รวมถึงนการแสวงหาประโยชน์ทางการคลังด้วย ซมองว่าทางคณะนิติศาสตร์เองเน้นทำวิจัยนิติสังคมศาตร์ นิติศาสตร์ที่มีผลกระทบกับสังคม ด้านผังเมืองอยู่แล้ว โดยจะมีการลงพื้นที่ในวันที่ 14 กันยายน 2559 นี้

คุณอนุชิน สันธบุญ ประธานชุมชนศุภลักษณ์วิลล่า กล่าวว่าในส่วนของชุมชนเห็นว่าการใช้พื้นที่ตรงนี้น่าจะให้ได้ทั้ง 9 ไร่ และอาจใช้วาระวันสำคัญ เนือ่งจากเรามีพื้นที่ 9 ไร่ และตอนนี้ก็ตรงกับรัชกาลที่เก้า สามารถใช้วาระนี้เพื่อให้เทศบาลเป็นคนเสนอกับกรมธนารักษ์ได้ และแขวงเม็งรายมี 30 ชุมชน ในส่วนของค่าเช่าเราช่วยกันได้ เช่น รายได้จากถนนคนเดิน เป็นต้น แต่อยากให้เข้าไปในพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน ในพื้นที่บ่อยๆ เข้าไปใช้ไปดูพื้นที่ด้วยกัน เพราะคนเชียงใหม่มีกิจกรรมหลายๆเรื่องที่ต้องพบปะกัน

คุณเสาวคล ศรีบุญเรือง เครือข่ายชุมชนเมืองรักเชียงใหม่ กล่าวว่า 36 ชุมชนในเมืองเชียงใหม่จะมีเวทีเรื่องสวนสาธารณะกลางเวียงปลายปีนี้ นอกเหนือจากถนนเจริญประเทศแล้วยังมีอีกหลายพื้นที่กำลังต่อสู้ อยากให้มองภาพรวมในเชียงใหม่ ถ้าเราจะทำเรื่องเหล่านี้สภาสีเขียว รวมเป็นเมือง เคลื่อนเป็นขบวน ถนนเจริญประเทศมีต้นไม้ พื้นที่สีเขียวเยอะ เราไม่รักษาเฉพาะ 9 ไร่ แต่เรารักษาทั้งถนนเจริญประเทศ เอาตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้น แล้วทำให้เหมือนพื้นที่วัดเกตุ ในส่วนของเทศบาลต้องเข้าไปคุย และต้องดูว่าจะทำร่วมกันได้อย่างไรบ้าง และเรื่องผังเมืองีการวางผังที่ชัดเจน เพื่อเตรียมการรองรับอนาคตถ้านโยบายเปลี่ยน เราจะต้องทำอย่างไรต่อ ทำให้เป็นกระบวนการในเชียงใหม่ร่วมกัน แล้วรักษากระบวนการตรงนี้ไว้

20162708210254.jpg

คุณชิดชัย พงษ์หงษ์ นักวิชาการผังเมือง สำนักโยธาธิการและผังเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า ก่อหน้านี้ได้รับจดหมายจากเรยีนาเช่นกัน ในส่วนของเชียงใหม่มีกฎหมายผังเมือง 2 ฉบับ คือ ผังที่บังคับให้ตามกฎหมาย และผังเมืองเสนอแนะ ซึ่งภายใน 5 ปีจะมีการประเมิน ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ มีคณะทำงาน ที่ผ่านมาประชุมกลุ่มย่อยมาหลายรอบแล้ว เริ่มจากระดับสาธารณะมาก่อน  ตรงนี้เป็นสีน้ำเงิน ยินดีให้คำปรึกษาในเรื่องผังเมือง

คุณอาณัติ คลังวิเชียร ประธานชุมชนพวกแต้ม กล่าวว่า ชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ติดตามอย่างใกล้ชิด อยากให้ทุกคนในชุมชนมาอย่ในข่ายสิ่งแวดล้อม สามรถไปอบรมคนในชุมชนอบรมเรื่องหมอต้นไม้

คุณวินัฐ หาญเพชร ประธานชุมชนช้างคลาน กล่าวว่า แขวงเม็งรายไม่มีพื้นที่สีเขียวสำหรับออกกำลังกาย หากมีชุมชนและสมาชิกสนับสนุนเต็มที่

คุณธวินทร์ วิจิตรพร ตัวแทนชุมชนและสถาปินิกการพัฒนาเมือง กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ที่ฟังเสียงประชาชน ครั้งสุดท้ายที่เข้ามาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้เห็นคนมาดูต้นไม้ สิ่งที่เริ่มทำได้ พานักเรียนเข้าไปศึกษาในพื้นที่ อยากให้ทุกคนที่เข้าไปใช้ประโยชน์เข้าไปเยี่ยมชมในมิติต่างๆ และฟังเสียงจากพื้นที่ว่าต้องการการพัฒนาอย่างไร

คุณประสาท ท้าวานิชการ กล่าวว่า เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองเก่าแก่เมืองเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีคูเมือง กำแพงเมือง ที่ยังมีชีวิต และมีต้นยางริมถนนอายุ 100กว่าปี ถูกประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ ถ้าเรามีป่า จะเป็นเมืองเดียวในประเทศที่มีป่า เป็นเมืองพิเศษที่มีความสมบูรณ์อย่างยิ่ง เชียงใหม่ถูกโหวดให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับต้นๆของโลก จากการสำรวจพื้นที่สีเขียวในเมืองแทบไม่มีเลย พื้นที่ตรงนี้หากเช่านี่ก็น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเป็นเอกชนเช่าจะคิดราคาเท่ามูลค่าปัจจุบัน ถ้าป่าไม้ทำเป็นศูนย์เรียนรู้ก็จะมีมูลค่ามาก กรมป่าไม้สยามประเทศตั้งขึ้นที่นี่ เมืองเชียงใหม่เนเมืองมรดกโลกอย่างแท้จริงมีอะไรพิเศษๆ หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้เป็นที่ปฎิบัติการร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยหมอต้นไม้เพื่อเป็นห้องเรียนฝึกปฎิบัติการร่วม

จิราภรร์ วิวัฒน์สถาน สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ กล่าวว่า ประวัติศาตร์ของประเทศอยู่ตรงนี้ เป็นจุดประวัติศาสตร์ 100 ปีกรมป่าไม้ ซึ่งตนได้ค้นคว้าเรื่องนี้มาทำนิทรรศการ เจอตำนาน เรื่องราวอ้างอิง ประวัติศาสตร์ ว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นที่ขึ้นเรือของเจ้าดารารัศมี เป็นบริบทชุมชนเมืองและบริมณฑล จะต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ถึงจะมีความแข็งแกรงพอที่จะแสดงถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถคำนวณได้ และหากทำผังเมืองชัดเจน จะสามารถคำนวณมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ คน สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้อยากให้มีการออกแบบร่วมกัน จึงขอให้มีการจัดเวทีอีกรอบเพื่อให้มีการคุยกันอีกรอบ ตนคิดว่าไม่อยากให้เป็นสวนสาธารณะเพราะมีค่าดูแลสูง น่าจะเป็น Forrest Park ก็ต้องมีการจัดการ รวมถึงโครงการต้องมีหลายระยะ เร่งด่วน สั้น ยาวเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเห็นด้วยกับความคิดว่าคนเชียงใหม่จะรวมตัวกันในการดูแลพื้นที่สีเขียว

สุรัตย์ รังสิวิยานนท์ ประธานชมรมวันอาทิตย์ กล่าวว่า ตนเห็นต้นไม้อยู่มาตลอด ถ้าตัดไปคงเสียดาย อยากให้เป็นเหมือนลัดดาแลนด์ ซึ่งทางอ.บรรจง และทีมหมอต้นไม้ได้เข้าไปช่วยดูแล อีกทั้งยังสนับสนุนให้พื้นที่ปอดข้างโรงเรียนเยรีนานี้ไว้

ทั้งนี้ยังมีความคิดเห็นในส่วนของตัวแทนชุมชน และอ.ส.ม. ที่เห็นด้วยกับการเชื่อมเส้นทางช้างคลานกับเจริญประเทศ และควรพัฒนาเป็นสวนสาธารณะประโยชน์มากกว่าป่าที่คนในชุมชนไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ และยังเกิดอันตรายต่อผู้ใกล้เคียงได้ เช่นเป็นแหล่งของยุง เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนของคนในชุมชนแฝงเวียงลายสามารถดึงมาร่วมกัน โดยทำหลังสือเชิญทางแขวงมาช่วยกัน ประสานงาน ร่วมมือร่วมใจกันจะมีพลังมากขึ้น

ในส่วนของผู้บริหารสารสานความร่วมมือในครั้งนี้ ยังมองว่าเป็นเพียงการชะลอโครงการ ชุมชนสามารถมีมีเวลาตั้งตัว เพื่อทำประชาพิจารณ์ว่าชุมชนต้องการอะไร มองว่าใช้กระบวนการนาน พร้อมทั้งเสนอเสนอให้ทำเรื่องร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรีเป็นอำดับแรก และสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นให้ได้

การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของการจัดการพื้นสีเขียวเมืองรวมกัน จากความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ช่วยเปิดประเด็นสู่สาธารณะ การทำงานที่จะต้องขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายอื่น ผลักดันให้เป็นการพัฒนาเมืองร่วมกัน หรือ ประเด็นการพัฒนาพื้นที่ ไปจนถึงกองทุน ระดมทุน รวมถึงผลักดันทางกฎหมาย ผังเมืองเพื่อเปลี่ยนพื้นที่ถนนเจริญประเทศตรงนี้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่ทุกคนมาใช้ประโยชน์เป็นป่าเมืองร่วมกัน

อ่านข้อมูลย้อนหลัง https://thecitizen.plus/node/9425 ,https://thecitizen.plus/node/9438

20162708205153.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ