เมื่อ Gen ฉัน เปลี่ยนเมือง

เมื่อ Gen ฉัน เปลี่ยนเมือง

ไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน โครงการอาสาคืนถิ่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม Wisdomative  YEC หอการค้าไทย เว็บไซต์เทใจดอทคอม VeLa verse เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ชวนเปิดไอเดีย “ปลุกกรุงเทพฯ เปลี่ยนเมืองใหญ่เมื่อ(Gen)ฉันเปลี่ยนเมือง” จากการตื่นตัวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ แต่คนต่างจังหวัดกลับตื่นตัวกับการเลือกตั้ง แต่พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะได้เลือก พวกเขาเลยเลือกที่จะเลือกตั้งหลักชีวิต เปลี่ยนเมืองของพวกเขา ด้วยมือของตัวเอง โดยจัดกิจกรรม  “ปลุกกรุงเทพฯ เปลี่ยนเมืองใหญ่  เมื่อ(Gen)ฉันเปลี่ยนเมือง” ขึ้น วันอังคารที่  26 เมษายน 2565  เวลา 13:00-16:00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2565  คนกรุงเทพมหานครมีสิทธิ์จะเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเองในรอบ 9 ปี แต่สำหรับคนต่างจังหวัดยังไม่มีโอกาสเช่นนี้ เพราะโครงสร้างการบริหารราชการ ยังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่รู้ว่าจะ มีโอกาสนั้นเมื่อใด แต่สิ่งที่แน่นอนคือ คนเมืองหลัก(กรุงเทพฯ)และเมืองรอง ต่างมีความฝันเดียวกันที่จะมี คุณภาพชีวิตที่ดี  มีการบริหารจัดการถิ่นที่อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและมีทางออก ทางรอดให้กับชีวิตทั้งด้าน เศรษฐกิจ ปากท้องและกทม.ก็เคยเป็นฝันของคนเมืองรองจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามาแสวงหาโอกาสของชีวิต-เงิน-งาน ณ เมืองหลัก ซึ่งก็พบเจอทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์สำคัญของสังคมไทยในปัจจุบันที่ต้องจับตา คือกระแสคนหันหลังให้เมืองหลวง “เปลี่ยนเมือง” ที่เคยใช้ชีวิต เปลี่ยนจุดโฟกัส หันหลังกลับบ้าน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเกิดโรคระบาดโควิดที่กระทบถึงภาวะเศรษฐกิจ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่แรงงานจํานวนไม่น้อย ถูกเลิกจ้าง คนรุ่นใหม่กลับกลับคืนภูมิลําเนา บางส่วนไม่ชัดเจนว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร เพราะขาดทักษะและชนบทหรือบ้านเกิด ก็เปลี่ยนไปขยายตัว เป็นเมืองใหญ่ที่ไม่เหมือนเดิมไปมาก

แต่ขณะเดียวกันก็มีคนรุ่นใหม่ ที่กลับไปพร้อมกับวิธีคิดประกอบการในระดับชุมชน-ระดับเมืองที่บ้านเกิด มีทักษะ โอกาสเพิ่มมากขึ้น และกำลังก้าวไปสู่ความสําเร็จ ที่กําลังผลิบาน พร้อมเป็นความหวังและแรงบันดาลใจ ให้คนในรุ่นใหม่และคนในเมืองของตนเอง (ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า บางคนมีประสบการณ์ร่วม และการเรียนรู้ผ่านการ เผชิญชีวิตในกรุงเทพฯ มหานคร แห่งศูนย์รวมอำนาจในการตัดสินใจ โอกาสการเข้าถึงทรัพยากรที่ถูกรวมไว้ ในเมืองใหญ่แห่งนี้)

ภายใต้ปรากฏการณ์ คนหนุ่มสาวในเมืองรอง (ที่ไม่ได้เลือกตั้งผู้บริหารเมือง) กำลัง “เปลี่ยนเมือง” ย้ายถิ่น ไปเลือกตั้งหลักชีวิต พร้อมๆ กับเป็นพลังสำคัญที่จะ “เปลี่ยนเมือง ปลุกชุมชน” ของตนเองไปให้รอด  คือ Solutions สำคัญว่าควรได้สื่อสารขยายผล กระตุ้น ปลุกสังคมให้เห็นพลังเหล่านี้เพิ่มขึ้น 

ภายในงานนี้มีเวทีย่อย 3 เวที อย่างเวทีแรกคุยถึง ปรากฏการณ์ “คนเปลี่ยนเมือง” เมื่อคนรุ่นใหม่กลับบ้าน รวมสนทนาโดย คุณกมลวัฒน์ ตุลยสุวรรณ กรรมการเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าไทย และคุณเอด้า จิรไพศาลกุล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เทใจดอทคอม

โดยคุณกมลวัฒน์ ตัวแทนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าไทย เล่าว่า เมื่อก่อนเวลาเราจะทำอะไรจะต้องเดินทางเขามา กรุงเทพฯ หาโอกาสและช่องทางการทำงานประกอบการ ประกอบธุรกิจ แต่ปัจจุบันเดี่ยวนี้มีทางเลือกมากขึ้นในการใช้ชีวิต และการทำธุรกิจไม่ต้องมาเริ่มต้นที่กรุงเทพฯอีกต่อไป

การอยู่บ้านเกิด ต้นทุนชีวิต ต่ำกว่า มีโลว์คอสแอร์ไลน์ที่ต้นทุนถูกลง ทำให้การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจในเมืองหลวงสะดวกขึ้น ส่วนตัวจากการเดินทางไปยังต่างจังหวัดหลายพื้นที่ พบคนรุ่นใหม่ประกอบการสองกลุ่ม  

กลุ่มแรก คือกลุ่มที่ต่อยอดจากธุรกิจครอบครัว หรือของพ่อแม่โดยใช้ความรู้จากการเรียนรู้เข้ามาเสริมเพิ่มเติมในธุรกิจเดิมให้อยู่รอดในยุคสมัย

กลุ่มสอง คือเดินทางกลับบ้าน ไปสร้างธุรกิจใหม่ แต่ก่อนหน้าคนกลุ่มนี้เลือกที่จะเดินทางไปหาประสบการณ์ แล้วกลับมาค้นหาของดีในชุมชนดังเดิมถิ่นฐานที่อยู่ แล้วต่อยอดมาประกอบการเป็นธุรกิจของตัวเอง แต่ว่าคุณรุ่นใหม่บางคนหาทุนเก่ง รู้จักแหล่งทุนสนับสนุนการตั้งต้นการประกอบการ เช่น สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ (ดีป้า)

ขณะที่เอด้า จิรไพศาลกุล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เทใจดอทคอม เล่าว่า เมื่อก่อนโครงการเข้ามาในเว็บไซต์เทใจ เพื่อขอการสนับสนุนจะมีแต่พี่ ๆ เอ็นจีโอในแต่ละพื้นเสนอขอเข้ามา แต่ในช่วงเวลา 2 ที่ผ่านมาพบว่า มีการพัฒนาชุมชนเกิดขึ้นในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยคนในพื้นที่ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ประกอบธุรกิจหรือ ทำกิจการในต่างจังหวัดเขียนขอโครงการในการพัฒนาชุมชนของเขาเป็นจำนวนมาก เช่น กรณีภูเก็ต โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งแน่นอนว่าคนกลุ่มนี้คิดถึงการพัฒนาบ้านเกิดของเขาเอง ซึ่งสอดคล้องกับบทบทวิเคราะห์จากแบงค์ชาติ ที่นำเสนอเรื่องการคืนถิ่นของวัยแรงงาน พบว่าการคืนถิ่นรอบนี้ พบวัยแรงงานคืนถิ่นและอยู่ยาว สร้างอาชีพ สร้างรายการจากการสร้างเศรษฐกิจ ไม่ได้คิดเฉพาะที่จะพาธุรกิจของตัวเองเท่านั้น แต่ยังคิดถึงชุมชนที่จะต้องรอด สอดคล้องกับเทรนด์การทำธุรกิจ

ถ้าท้องถิ่นเจริญ บ้านเขาดี ธุรกิจของพวกเขาก็จะดีตามมาด้วย

TALK : เมื่อ(Gen)ฉันเปลี่ยนเมือง Young Gen  Hometown Entrepreneur

เสียงคนรุ่นใหม่ ตัวอย่าง 6 คนรุ่นใหม่ ที่ใช้โอกาสของยุคสมัย เชื่อมโยงต้นทุนที่บ้านเกิดและมีวิธีคิดเชิงผู้ประกอบการเพื่อให้ชุมชนและเมืองของตนเองไปต่อ

ลี อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งกาแฟอาข่าอ่ามากาแฟเพื่อสังคม   

ชายผู้โชคดีที่แม้นอยู่ไกลจากการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐาน แต่บนดอยที่เขาอยู่กลับมีฐานทรัพยากรที่บ้านเกิดที่สามารถสร้างมูลค่า สร้างชื่อเสียงในระดับโลก ในชื่อแบรนด์ กาแฟอาข่าอ่ามา…กาแฟเพื่อสังคม เริ่มฝันจากการอยากให้คนในชุมชนมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สู่การพัฒนาโปรดักกาแฟของชุมชน จนขึ้นชื่อ

กอล์ฟ – มารุต ชุ่มขุนทด CEO & Co-Founder คลาสคาเฟ่  start up โคราช และทีมก่อตั้ง Vela Verse ในโลก Metaverse

ผู้เชื่อมโยงชนบทดิจิตอล ซึ่ง CLASS Cafe จะมีการปรับตัวและขยับขยายไปสู่ธุรกิจใหม่รวมทั้งโลกของเมตาเวิร์สที่กำลังมาแรง และมีแนวโน้มที่จะเป็นอนาคตอันสดใสของคนทำธุรกิจ โดย CLASS Cafe ได้เริ่มก้าวแรกด้วยการปลุกปั้นแพลตฟอร์ม Velaverse และสร้าง CLASS Coin ที่เป็นยูทิลิตี้โทเคนพร้อมใช้ เพื่อรองรับการซื้อขายต่าง ๆ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน บริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม Velaverse เชิญรับฟังเส้นทางเชื่อมท้องถิ่นสู่โลกใบใหญ่

นิว นันทนิจ บอยด์ แพร่คราฟท์ คนรุ่นใหม่ที่รวมเครือข่ายต่อยอดงานหัตถกรรมท้องถิ่นสู่สากล

เริ่มต้นจากคำถามของคนในกลุ่มที่ว่า ทำอย่างไรให้คนภายนอกรู้จักเรา รู้จักเมืองแพร่ให้มากขึ้น ซึ่งจังหวัดแพร่มีงานหัตถกรรมที่โดดเด่น อย่างผ้าหม้อฮ้อมที่ย้อมจาก ฮ้อมแท้ ๆ ของดีเมืองแพร่ที่คนท้องถิ่นคนเหนือ นิยมเมื่อยุคก่อน ยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์ดีไซน์ใหม่ร่วมสมัย เชิญร่วมหาแรงบันดาลใจ “เส้นทางสู่การเป็นประกอบการ จากต้นทุนทางวัฒนธรรมและแรงบันดาลใจ”

เสือ ธรรมวิทย์ ลิ้มเลิศเจริญวนิช  กลุ่มสกลจังซั่น นักธุรกิจกลุ่ม YEC สกลนคร ร่วมเปลี่ยนเมืองให้ทุกคนมีส่วนร่วม inclusive City

สร้างโอกาสให้เกิดการนำความคิดสร้างสรรค์ ไปใช้ในการพัฒนามิติต่าง ๆ ของเมือง ผ่านการขับเคลื่อนโดยกลุ่มภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่จะสืบทอดองค์ความรู้ดั้งเดิมและยกระดับศักยภาพของพื้นที่ไป สู่การขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจ กับไอเดียเคลื่อนเมือง “สกลจังซั่น”

ศรีปิง จันจิรา แก้วบัว เจ้าของศรีปิงรีสอร์ท “ในสวนศรี” คนรุ่นใหม่ที่เลือกออกจากเมืองกรุงกลับบ้านและพัฒนาบ้านเกิดด้วยนวัตกรรมพื้นที่และภูมิปัญญา

จากหญิงสาววิศวปิโตรเคมีและทำงานประจำที่อยู่ที่กรุงเทพฯ กลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว อยากทำสิ่งที่ชอบ อยากพัฒนาชุมชนบ้านเกิด แต่โจทย์ยังมีคือเรื่องรายได้ เธอเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองชอบ เพราะเธอเป็นผู้หญิงสายเฮลตี้รักสุขภาพ ยกระดับวัตถุดิบของกินพื้นบ้านให้ไปอยู่ในเมนูใหม่ พิซซาผักพื้นบ้าน พิซซาคั่วกลิ้งเห็ดแครง วันนี้เธอเตรียมวัตถุดิบเหล้านั้นมาด้วย ชวนหาไอเดียกลับบ้านกับเธอ แบบชีวิตที่ออกแบบได้

วุฒิ อะกิปุ สราวุฒิ ภมรสุจริตกุล ตัวแทนคนรุ่นใหม่ จาก จ.เชียงใหม่ คนเดินเรื่องในสารคดี (เครือข่ายคนกล้าคืนถิ่น)

ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ Akipu Garden กับโจทย์พัฒนาเเละยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในหมู่บ้าน เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ความเข้าใจในการปลูกและแปรรูปกาแฟอย่างครบวงจร ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ แต่ผู้ชายคนนี้ไม่ได้มีโจทย์เดียวมีโจทย์ทั้งเรื่องครอบครัวที่อาจจะไม่ได้เห็นด้วย และโจทย์ของประสบการณ์จนทำให้เขาต้องออกเดินทางหาประสบการณ์จากเพื่อน ๆทั่วไทย

และช่วงสุดท้ายเปิดตัวสารคดี ตามหา “อีแมคัวะ…เส้นทางเติมฝัน ฉัน  พี่ชาย” สารคดีการเดินทางของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผลงานผู้ผลิตสื่อพลเมืองที่จะชวนไปพบกันพลังคนหนุ่มสาวกับอนาคตบ้านเกิดที่กำลังมีฝันและลงมือทำตามฝันเพื่อเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนชุมชนของตนเอง เพื่อให้รอดไปด้วยกัน มีทั้งหมด 5 ตอน ตอนละ 50 นาที ทุกวันอาทิตย์ เวลา 21:10 น.  เริ่มวันอาทิตย์ ที่ 1 พฤษภาคมนี้ ทาง Thai PBS

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ