ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้นำด้าน ICT ของ ASEAN ได้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจยุทธศาสตร์ดิจิทัล

ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้นำด้าน ICT ของ ASEAN ได้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจยุทธศาสตร์ดิจิทัล

ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้นำด้าน ICT ของ ASEAN ได้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจยุทธศาสตร์ดิจิทัล โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม

ในปี 2015 ที่ผ่านมา สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้จัดทำรายงาน MIS Report 2015 โดยได้นำเสนอดัชนีตัวชี้วัดความก้าวหน้าในการพัฒนา ICT (ICT Development Index หรือ IDI) ของ 167 ประเทศทั่วโลก อยู่บนพื้นฐานของการรวบรวมข้อมูลในช่วงปลายปี 2014 และเปรียบเทียบกับตัวเลขของปี 2010 (IDI 2010) ผลปรากฎว่าในปีนี้ (2015) ประเทศไทยมีอันดับ IDI ranking อันดับที่ 10 ของภูมิภาค Asia and the Pacific และอยู่ในอันดับที่ 74 ของโลก (กระโดดขึ้น 18 อันดับจากอันดับที่ 92 ในปี 2010)

 

ในภาพรวมจากการวิเคราะห์ของ ITU บ่งบอกว่าตัวชี้วัดการใช้โมบายบรอดแบนด์ที่เรียกว่า Mobile broadband penetration มีตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2010 ถึง ปี 2015 ในหลายประเทศ และมีอิทธิพลส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่า IDI อย่างมีนัยสำคัญ โดยในรายงาน MIS Report 2015 พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Dynamic countries ที่มี Mobile broadband penetration ที่สูงมาก และมีผลต่อตัวเลข IDI โดยตรง

จากตาราง Most dynamic countries – use sub – index, 2010 – 2015 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตัวเลขการจัดลำดับ use sub – index ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2010 ถึงปี 2015 ที่มีลำดับก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก โดยมีลำดับดีขึ้นถึง 39 อันดับ

ในภูมิภาค Asia and the Pacific มีกลุ่มประเทศจำนวน 32 ประเทศ โดยประเทศไทยมี IDI อยู่ในลำดับที่ 10 มีค่า IDI อยู่ที่ 5.36 จากกราฟ IDI values, Asia and the Pacific, 2015 จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังอยู่ห่างไกลค่าเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้ว (มีค่า IDI เท่ากับ 7.41) แต่ก็มีค่า IDI ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก, ของภูมิภาค Asia and the Pacific และสูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา

ในรายงาน MIS Report 2015 ของ ITU ฉบับนี้ได้นำเอาประเทศไทยเป็นกรณีศึกษาของประเทศใน Asia and the Pacific โดยได้อธิบายใน Box 3.8 หน้า 88 ไว้ว่า ประเทศไทยมีค่า IDI Ranking สูงขึ้น 18 อันดับในช่วงระหว่างปี 2010 ถึงปี 2015 เพิ่มขึ้นจาก 3.62 ไปเป็น 5.36 ซึ่งประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีการพัฒนาการทั้งใน use sub- index และ access sub – index และมีความโดดเด่นในการประสบความสำเร็จในด้านโมบายบรอดแบนด์ (Mobile broadband) ถึงแม้จะมีการจัดสรรใบอนุญาต 3G 2100MHz ที่ล่าช้ามานานหลายปีให้แก่ผู้ชนะการประมูล 3 ราย โดยที่ความต้องการในการใช้งานที่สูง ทำให้เกิดแรงกดดันแก่ผู้ให้บริการอย่างมากในการต่อสู้แข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ กสทช. ได้ออกกฎหมายให้ประชาชนสามารถทำการย้ายค่ายได้อย่างเสรีด้วยการใช้ระบบ Mobile – Number Portability ในปี 2011 จนทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย

การแข่งขันที่สูงมากเป็นแรงกดดันต่อผู้ให้บริการขยายโครงข่ายเพื่อครอบคลุมพื้นที่ (Coverage) ให้บริการแก่ประชากรอย่างทั่วถึง โดยที่ กสทช. ได้รายงานผลว่าได้ดำเนินการ roll out 3G 2100 ครอบคลุมประชากรได้ถึง 80% ตั้งแต่ปลายปี 2013

ตลาดโมบายบรอดแบนด์ของประเทศไทยต้องเผชิญกับความต้องการในการให้บริการ 3G อย่างสูง และความต้องการในการใช้บริการ 4G จากผู้ใช้งาน data ผู้ให้บริการของประเทศไทยได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยการให้บริการเทคโนโลยี LTE ในพื้นที่ที่ไม่มีประชากรหนาแน่น แม้ว่าคลื่นความถี่ LTE ยังไม่ได้มีการให้ใบอนุญาตแต่ผู้ให้บริการก็พยายามให้บริการ LTE บนคลื่นความถี่ 3G อย่างจำกัด การให้ใบอนุญาตบนย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ซึ่งมีความเหมาะสมกับเทคโนโลยี LTE จะทำให้มีการขับเคลื่อนตลาดบรอดแบนด์ไร้สายได้อย่างต่อเนื่อง

หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 900MHz และ 1800 MHz ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ถูกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยี Mobile Broadband อย่างเต็มรูปแบบและ กสทช. มีเป้าหมายว่าประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่อันดับที่ 2 ของ ASEAN ในการพัฒนาด้าน ICT ภายในปี 2017 และจะต้องเป็นอันดับที่ 1 ของ ASEAN ภายในปี 2020

ดังนั้น แรงผลักระลอกแรกให้ประเทศไทยไปสู่อันดับที่ 2 ของ ASEAN คือการจัดสรรคลื่นความถี่ 4G 1800 และ 900 ครั้งที่ผ่านมา และระลอกต่อไปคือ การประมูลคลื่นความถี่ 1800 หลังจากหมดสัญญาสัมปทานในช่วงปลายปี 2561 เพื่อจะได้ผลักให้ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 ด้าน ICT ของ ASEAN ภายในปี 2020 ในที่สุด

ในปีนี้ก็คาดว่า MIS Report 2016 ตัวเลขดัชนีขีดความสามารถด้าน ICT ของประเทศไทยจะถูกดันให้สูงขึ้นจากผลพวงของการประมูลคลื่น 4G ในย่าน 900MHz และ 1800 MHz อย่างแน่นอน

ในห้วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาหลังการประมูลคลื่น 3G ของประเทศไทย ทำให้การลงทุนในด้าน ICT เพิ่มมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยในอัตราที่มากกว่าภาคส่วนอื่นๆ นอกจากผลประโยชน์ทางตรงที่มีต่อประชาชนและบรรดาบริษัทสัญชาติไทยแล้ว เทคโนโลยี ICT ยังส่งผลบวกทางอ้อมแก่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศในภาพรวม

ดังนั้นเราจึงสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าประเทศไทยจึงสามารถแสวงหาประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ได้อย่างก้าวกระโดด อันดับแรกคือ ทำให้ตลาดภายในประเทศเกิดขึ้นใหม่ในการให้บริการ Digital service และ Start up จะส่งผลให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นผลิต Software เพื่อรองรับอุปสงค์ทางด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากนี้เทคโนโลยี ICT สามารถที่จะทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในเชิงยุทธศาสตร์ในการเป็น Hub ด้าน Data center ไปจนถึงศูนย์กลางการเป็น Internet Gateway ของ ASEAN ต่อไป

ซึ่งขณะนี้ กสทช. โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กำลังดำเนินการผลักดันให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการ Data center และ International Internet Gateway แก่บริษัทภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนใน Sector นี้ ซึ่งถือว่าเป็น Mega project ระดับหมื่นล้านขึ้นไป โดยขณะนี้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการลงทุนแล้ว

การผลักดันของ กสทช. ในครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลและจะยังเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ASEAN ICT Hub อย่างเป็นรูปธรรม

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ