International Open Data Day ณ เมืองไทย

International Open Data Day ณ เมืองไทย

กรุงเทพฯ (3 มี.ค.61) International Open Data Day คือวันที่กลุ่มชุมชนที่สนใจเรื่องระบบข้อมูลแบบเปิด (OpenData)จากทั่วโลก ร่วมกันจัดกิจกรรม เช่น การพัฒนาแอพลิเคชั่น การเปิดข้อมูลสู่สาธารณะ ส่วน Hackathorn คือ การใช้ข้อมูลแบบเปิดมาวิเคราะห์เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดนโนบายเปิดเผยข้อมูล (OpenData)ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในปี 2561 International Open Data Day ตรงกับวันเสาร์ที่ 3-5 มีนาคม 2561 ซึ่งมีการจัดกิจกรรมกว่า 262 ประเทศทั่วโลก

ในประเทศไทยมีการจัดงาน International Open Data Day ขึ้น ณ อุทยานการเรียนรู้ TK park (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายเปิดเผยข้อมูล เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรมของการใช้ประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ในภาคส่วนต่างๆ

เวลา 10.30 น. ในการปาฐกถา โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.การวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หัวข้อ “Open Data กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อความโปร่งใสและอนาคตของสังคม” ได้อธิบายความหมายของข้อมูลที่จะจัดเป็น Open data ได้ ต้องมีองค์ประกอบ 5 ข้อ คือ
1.ต้องเข้าถึงได้จากออนไลน์
2.ต้องเอาไปใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข Open licence
3.สามารถดาวน์โหลดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ได้ avilable in bulk
4.วิเคราะห์และประมวลผลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
5.ไม่มีค่าใช้จ่าย (Free)

ซึ่งนอกจากมีข้อมูลแล้ว ก็ต้องดูเรื่องความสามารถในการเอาข้อมูลไปใช้ คือเอาข้อมูลไปแล้วผลกระทบของข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ทำอย่างไรให้มี Impack ได้อย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเอาไปใช้ได้อย่างไร ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการช่วยคิด ช่วยทำ และช่วยตัดสินใจ

การมี Open data จะทำให้เกิดประโยชน์ ใน 4 ด้าน คือ 1.การจัดสรรทรัพยากร การใช้งบประมาณตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น 2. การกำหนดนโยบาย กฎกติการของรัฐบรรลุเป้าประสงค์มากขึ้น นโนบายสอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาชน 3.การให้บริการสาธารณะมีคุณภาพดีขึ้น เช่น การตรวจสิทธิบัตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 4.การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น สามารถใช้ Big data ในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การจ่ายภาษี การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่น่าสงสัยโดยประชาชน

ปัญหาหลัก เรื่อง Open data ในประเทศไทย คือ 1.ไม่มีมาตรฐานของข้อมูลที่ต้องเปิดตามกฎหมายที่สอดคล้องกับ Open data 2.ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อมูลสาธารณะและข้อมูลส่วนบุคคลไม่ชัดเจน 3.ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการที่จริงจัง และ 4.รัฐบาลและหน่วยงานราชการยังไม่เห็นคุณค่าของ Open data

กิจกรรมในครั้งนี้ มีการเสวนา Open data เพื่อการมีส่วนร่วมของพลเมืองด้านการเลือกตั้งและการพัฒนาเมือง การสร้างความโปร่งใส และการเข้าสู่ภาคี Open Goverment Partnership การเปิดเผยผลสำรวจความต้องการ Opendata ของกลุ่ม Tech Startup และ Open Hackathorn เพื่อเน้นการพัฒนาต้นแบบ หรือการสร้างชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกตั้ง หรือการมีส่วนร่วมทางการเมือง และนโยบายของภาครัฐ โดยเปิดรับอาสาสมัครมาร่วมกันระดมสมองพัฒนาแอพลิเคชั่น ซึ่งมีผู้สนใจร่วม Open Hackathorn กว่า 90 คน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

January 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

30
31
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2

4 January 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ