ประธาน กทค.คาดธุรกิจ 4G แข่งดุเดือด

ประธาน กทค.คาดธุรกิจ 4G แข่งดุเดือด

ประธาน กทค.คาดธุรกิจ 4G แข่งดุเดือด
 
ประธานกทค.แนะ 8 แนวทางปรับตัวโอเปอเรเตอร์ไทย แข่งขันธุรกิจให้บริการ 4 G คาดแข่งดุ

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ความเห็นถึงการแข่งขันในการให้บริการสื่อสารและโทรคมนาคม ภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีผลทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในปี 2559  มีความเข้มข้นมากขึ้นว่า ผู้ให้บริการในยุค 4G ต้องปรับรูปแบบการให้บริการ โดยมีปัจจัย 8 ปัจจัย คือ ความเป็นผู้นําในอุตสําหกรรม  ในอดีตโอเปอเรเตอร์ต้องถือครองจำนวนผู้ใช้บริการให้มากที่สุด  แต่ในยุค 4G จากนี้ไปโอเปอเรเตอร์คงต้องเปลี่ยนวิธีทัศนคติใหม่  โดยไม่มุ่งเน้นเพียงแค่จำนวนผู้ใช้บริการ เท่านั้น  แต่ต้อง ให้บริการการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงสิ่งของให้มีการสื่อสารกัน สามารถส่งข้อมูลสถานะไปจนถึงติดตาม ตรวจสอบอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กาลังเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วย เชื่อมโยงการให้บริการต่างๆ ในทุกๆ อุตสาหกรรมในรูปแบบ Internet-of-Thing (IOT) หรือการให้บริการ Machine-to-Machine (M2M) ที่รับการ 5G ที่กำลังจะมามากขึ้น

พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นถัดมาคือ การผลักดันตลาด ในอดีตที่ผ่านมาผู้ที่เป็นหลักในการผลักดันตลาดโทรคมนาคมคือ ผู้บริโภคทั่วไปและนับจากนี้โมบายน์บรอดแบนด์จะทำให้ให้องค์กร, ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคทั่วไป นำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการที่ หลากหลาย และเพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถขององค์กรและภาคธุรกิจ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ระบุไว้ในการวิเคราะห์การแข่งขันของผู้ให้บริการว่าโอเปอเรเตอร์มีความจาเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจให้ก้าวไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ โมบายน์คือทุกสิ่งหรือ   Mobile is everything เพื่อที่จะสามารถยืนอยู่ได้ในอุตสาหกรรมที่มีกาไรต่อหน่วย ลดลงตลอดเวลาทุกปีที่ผ่านมา , การสร้างความแตกต่าง โอเปอเรเตอร์ต้องเพิ่มรูปแบบฟังก์ชันการให้บริการที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพตามความต้องการของ ผู้บริโภค, องค์กร และธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมด้วย

พ.อ.เศรษฐพงศ์  กล่าวอีกว่า สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน โอเปอเรเตอร์ต้องให้ความสาคัญที่ data rate ที่สูง และโครงข่ายจะต้องมีความอ่อนตัว (Network Flexibility) ที่จะ สามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายอื่นๆ ได้อย่างกลมกลืนอีกด้วย ,การให้บริการ ในยุค 4G ผู้ให้ริการต้องสร้างการให้บริการที่ยกระดับไปสู่การให้บริการ (Cloud Service), การให้บริการด้านการ วิเคราะห์ (Analytics), การให้บริการด้านการบอกตาแหน่ง (Location based service), การให้บริการ Over- the-Top (Over-the-Top service ) การให้บริการ OTT จาก Third party เช่น ไลน์, Facebook, Youtube ทาให้ Operator ต้องแบกรับ Data Traffic ที่ตัวเองมิได้ก่อขึ้นทั้งยังต้องลงทุนเพิ่มBandwidth ให้แก่บริการOTT ดังกล่าวโดยที่ได้รับ ค่าบริการเพียงการขาย Data package จึงทาให้ Operator ในยุค 4G จะต้องติดตั้งธุรกิจ OTT ของตนเอง เพื่อ แย่งชิง Market share ของ OTT Third party ในการรักษารายได้ ให้สามารถทาให้ Operator ยังคงเป็นผู้นาใน ตลาดโทรคมนาคม

“ส่วนการคิดค่าบริกําร โอเปอเรเตอร์ต้องคิดรูปแบบบริการใหม่ๆในรูปแบบการทาธุรกรรมจึงอาจจะต้องมีการ พัฒนารูปแบบการคิดค่าบริการเป็นแบบ Pool transaction ต่อหน่วยชั่วโมง หรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อ ผู้บริโภค ส่วนกลยุทธ์ในกํารร่วมมือทํางธุรกิจ ในปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมและการบริการ เริ่มเข้ามาทาธุรกิจอยู่บน Mobile จึงทาให้โครงสร้างและโมเดลทางธุรกิจของโอเปอเรเตอร์ เปลี่ยนไปในรูปแบบพันธมิตรมากขึ้น ในการแบ่งสัดส่วนรายได้กัน (Revenue sharing) ดังนั้นโอเปอเรเตอร์ไม่สามารถดาเนินธุรกิจแบบเดิมที่มีการคิดราคาค่า Voice&Data ที่มีแต่ กาไรจะตกลงเรื่อยๆ ได้อีกต่อไป ” พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าว

ประธานกทค. ทิ้งท้านว่า ประเด็นสุดท้ายคือ การให้บริการที่มากกว่าการให้บริการในท้องถิ่นแต่คือการระดับภูมิภาค รายได้ของโอเปอเรเตอร์ไม่ใช่เพียงแต่ได้รับรายได้จากลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้รับค่าบริการ จากลูกค้าที่เข้าออกระหว่างประเทศในการให้บริการโรมมิ่งเครือข่ายอีกด้วย โมบายน์บรอดแบนด์จะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอเน็ตสมบูรณ์ขึ้นทำให้การให้บริการสามารถขยายออกไปสู่โลกได้ ดังนั้นการทาธุรกิจจะต้องมีการวางแผนธุรกิจ ในแบบอินเทอร์เน็ตบิสซิเนสโมเดล ทำให้โอเปอเรเตอร์ต้องคิดวางรูปแบบทางธุรกิจให้ สอดคล้องกับธุรกิจในยุค 4G และ 5G ให้สอดคล้องกับการหลอมรวมเทคโนโลยีของโลกด้วย

 
 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ