คนหละปูน มาอู้จากั๋นกับ “ทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองหละปูน” ในเวทีสภาพลเมืองลำพูนครั้งที่ 2

คนหละปูน มาอู้จากั๋นกับ “ทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองหละปูน” ในเวทีสภาพลเมืองลำพูนครั้งที่ 2

  • “ลำพูน” เป็นเมืองเล็กที่สุดในภาคเหนือ แต่มีความเป็นเมืองเก่าและประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด
  • ผู้สูงอายุมากที่สุดในภาคเหนือ ประชากรน้อยแถมมีประชากรแฝง 
  • มีเมืองเก่าแก่คู่ขนานกับเมืองใหม่ย่อม ๆ  ที่ด้านหนึ่งเป็นเมืองเก่า อีกด้านคือนิคมอุตสาหกรรมของภาคเหนือ 

ทีมองศาเหนือมาเยือนจังหวัดลำพูน ครั้งนี้มองเห็นลำพูนในวันนี้ขับเคลื่อนโดยผู้คนทั้งคนรุ่นเก่าที่ใช้ชีวิตด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ที่น้อมรับสิ่งเหล่านั้นมาต่อยอด พร้อมพัฒนาให้ดีเหมาะสมกับยุคสมัยยิ่งขึ้น 

เป็นอีกครั้งที่ “สภาพลเมืองจังหวัดลำพูน” รวมตัวกัน และเปลี่ยนความคิด จัดเวทีสาธารณะถึง ทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองลำพูน” ณ หอศิลป์สล่าเลาเลือง ตำบล ต้นธง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ 65 ที่ผ่านมา

“สภาพลเมืองจังหวัดลำพูน” คือกลุ่มที่รวมตัวกันแล้วบอกว่าอยากให้ลำพูนสามารถจัดการตนเองได้ เปิดเสรีให้นักคิด นักสร้างสรรค์สังคม นักขับเคลื่อนกิจกรรม ข้าราชการทั้งที่เกษียณอายุแล้วหรือยังดำรงตำแหน่งหน้าที่การงาน เข้ามาร่วมคิด หารือ ยกประเด็นสาธารณะที่ต้องการแก้ไข ร่วมหารือและมองไปยังอนาคตการพัฒนาเมืองเก่า “ทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองลำพูน” เวทีนี้มีทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน ในประเด็น การบริหารจัดการศาลากลางลำพูนหลังเก่า และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองเก่าลำพูน ในฐานะที่เป็นปฐมอารยะนครก่อนล้านนา

โดย ดร. บุญสุ่ม อินกองงาม เลขานุการของสภาพลเมืองลำพูน และดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาคเหนือ เป็นแกนหลักในการหารือครั้งนี้ ที่ หอศิลป์สล่าเลาเลือง ตำบล ต้นธง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน  

ดร. บุญสุ่ม อินกองงาม เลขานุการของสภาพลเมืองลำพูน และดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาคเหนือ

ดร. บุญสุ่ม อินกองงาม เลขานุการของสภาพลเมืองลำพูน กล่าวว่า จุดเปลี่ยนผ่านเรื่องศาลากลางเก่า เมื่อรับฟังจากภาคประชาชน และมองถึงประวัติศาสตร์มิติเมืองเก่า และการพัฒนาการด้านการท่องเที่ยว ในวันนี้เรามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอมุมมองที่หลากหลาย ศาลากลางเก่า เมืองเก่า ทิศทางการพัฒนาเมืองลำพูน

  • เวทีครั้งแรกที่จัดเมื่อ 5 มีนาคม 63 เปิดเวทีครั้งแรกที่วัดพระธาตุหริภูชัย ทิศทางออกมา 8-9 ข้อ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรมขันโตก ให้หอการค้ามาดูและเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ สายโบราณคดีเสนอให้มีการขุดค้นอดีตเคยเจอหลักฐานทางโบราณ ส่วนราชการเทศบาลเมืองลำพูน ครั้งนั้นได้มอบหมายให้ ผศ. สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี สถาปนิก อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ นำเสนอ โมเดลอาคารหอศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหริภุญไชย ในนามเทศบาลเมืองลำพูน ซึ่งในเวทีนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดว่าคนในพื้นที่อยากให้พัฒนาเป็นสิ่งใด ครั้งนั้นจึงฟังเสียงประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าแต่ละคนฝันที่จะเห็นพื้นที่ศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังเดิมใช้สอยประโยชน์ในมิติไหน  รวมไปถึงคัดเลือกคณะกรรมการตัวแทนภาคประชาสังคมไปขับเคลื่อนพิจารณากำหนดทิศทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ศาลากลางหลังเดิมร่วมกับภาคราชการ ท้องถิ่น เอกชน บรรพชิต นักวิชาการ ศิลปิน ฯลฯ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10160057059343851&set=pb.700973850.-2207520000..&type=3

เวทีวันนี้จึงเป็นการระดมสมองอีกครั้ง เพื่อเสนอแผนให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ.จังหวัดลำพูนเพื่อเดินหน้าต่อ

  • สุนัย จันทร์สว่าง รองประธานหอการค้าจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ประเด็นเรื่องนี้หอการค้าติดตาม และช่วยกันคิด ภาพรวม ของทั่วประเทศและทั่วโลกและทางศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มองภาพนี้ว่าจุดเด่นที่เรายังไม่ได้ทำแต่เชียงใหม่ทำแล้ว คือ รูปปั้นของคุณจรัญ มโนเพชร จ.ลำพูน มีศิลปินแห่งชาติที่จังหวัดลำพูนมากมายแต่ไม่ได้ขายสิ่งนี้ต่อสาธารณะ สวนพ่อเลี้ยงหมื่นที่โฆษณาเหล้ายี่ห้อหนึ่งโด่งดังไปทั่วโลกแต่เราไม่ได้พูดถึงสิ่งเหล่านี้ที่เป็นโอกาส ปัญหาของ ลำพูน คือ เราไม่ได้ดึงสตอรี่ในการเล่าเรื่อง ประเด็นศาลากลางเป็นส่วนหนึ่งที่จังหวัดไม่มาดู เรื่องนี้คงต้องนำเรียนผู้ว่าฯ เพื่อตั้งคณะกรรมการ สิ่งที่น่ากลัว คือ การคิดแบบองค์รวมไม่ได้ดึงพื้นฐานศักยภาพของลำพูนขึ้นมาใช้ เราเห็นเคสศาลากลางหลายที่ กลายเป็นที่ร้างจึงต้องมีการจัดการเรื่องนี้
นพ.วัชระ สนธิชัย ประธานที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จำกัด
  • นพ.วัชระ สนธิชัย ประธานที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จำกัด กล่าวว่า ปี พศ. 66-67 มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติภายใต้หลังโควิดรัฐบาลจะขยายการทำงานไป 4 ภาค จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เรามีกลุ่มจังหวัดในภาคเหนือให้กระตุ้นเศรษฐกิจภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ลำพูนเหมือนไข่แดง เราจะไม่เป็นเมืองแปลก จึงควรเน้น 3 เรื่อง คือ หนึ่งเรื่องอุตสาหกรรมนิคมเวิลด์ อีกส่วนในผังเมืองเปิดที่ติดโรงพยาบาล เรื่องสองคือเรื่องการท่องเที่ยวเราจะเข้าไปเสริมเชียงใหม่อย่างไรเมื่อยุคก่อนลำพูนเป็นเมืองผ่าน ทำอย่างไรให้คนที่เดินทางมาจากกรุงเทพมาจอดลำพูนให้ได้ ดังคำที่ว่านอนพักที่ลำพูน 1 คืน อายุยืน 1 ปี Awareness ของเราคือศูนย์ทางการแพทย์ภาคเหนือ เรื่องกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ปี 66 โยธาฯมีงบประมานหลายร้อยล้าน ซึ่ง จ.ลำพูนได้มา 460 ล้าน มีการลงกับการพัฒนาตลิ่งแม่น้ำกวง ศาลเจ้าแม่จามเทวี ลานครูบาศรีวิชัย สนามกีฬาเทศบาล ลำพูนได้มา 5 โครงการ โครงการบ้านเฮือน ที่สำคัญคือครูบาศรีวิชัยจะมีการสร้างทางเข้าไปในซุ้มผู้ออกแบบจากมีการทำถนน 6 เลน เพื่อเดินทางไปยังครูบาศรีวิชัย ที่ถูกเสนอให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 69 ตอนนี้เราต้องช่วยกัน และนำมาช่วยกันพัฒนาเพื่อโยงถึงศาลากลางเก่า ตนร่วมนำแผนพัฒนา 5 ปีเราจะใช้ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 อย่าง เช่นการเป็นเมืองอุตสาหกรรม ความเมืองใหม่ เช่น ศรีบัวบาน แต่สิ่งที่ห่วง คือ เมืองเก่า จะกลายเป็นเมืองหลับ เมืองเก่าจะเอาอย่างไร ให้ทำเป็นอาณาจักรหริภูญชัย ให้ศาลากลางเห่าทำหน้าที่เป็นจุดหัวใจเชื่อมโยงเมืองเก่า และอุตสาหกรรมเกษตรกร และอื่น ๆ ด้วย
อาจารย์ นพพร นิลณรงค์ กรรมการสภาพลเมืองลำพูน
  • อาจารย์ นพพร นิลณรงค์ กรรมการสภาพลเมืองลำพูน เสนอว่า เรามาคิดกันตอนนี้ว่าเมื่อเมืองใหม่เข้ามาและย้ายผู้คนหลากหลายออกไป ต่อไปเมืองเก่าจะทำอย่างไร เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นหัวใจของเมือง หัวใจของพื้นที่ ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะออกแบบเมืองเก่าอย่างไร เพราะฉะนั้น ประเด็นแรก คือ การใช้พื้นที่ จะใช้พื้นที่นี้อย่างไร ถ้าใช้ไม่ถูกจะกลายเป็นเมืองร้าง ลองไม่มีเจ้าของใครจะมาดูแล เป็นความคิดตรงกันข้ามในเรื่องของการทุบและสร้างใหม่ เรามองจากบทเรียนช่วงโควิด เห็นศพสองศพคือโรงเรียนประชาบาล ที่ร้างแต่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ปล่อยร้าง ศพที่ 2 คือ ศพแพทย์แผนไทย หลายคนพูดถึงฟ้าทะลายโจร ประเด็นการใช้กับยุคโควิดกลายเป็นว่าจุดนั้นไม่มีใครพัฒนาต่อ ศาลากลางเก่านี้เป็นประเด็นเช่นกัน ทุกคนคำนึงถึงความเป็นเจ้าของ ว่าจะใช้อย่างไร? และใครจะเป็นเจ้าของ? เพราะฉะนั้นต้องออกแบบเมืองเก่าให้ชัดเจน เมืองเก่าเป็นหัวใจและจิตวิญญาณ ออกแบบตอบโจทย์มิติสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร ประเด็นสุดท้ายคือการสร้างเมืองจะใช้เวลาไปอีกนาน การท่องเที่ยวไม่ได้บรรจุอยู่ในสิ่งเดียวเสมอไป แต่เป็นจุดชานชาลาที่เชื่อมโยง เพราะฉะนั้นการออกแบบการเชื่อมโยงความเป็นเมืองเก่าที่เชื่อมโยงกับเมืองบริวารจะทำอย่างไร เพราะเรามีทุกอย่าง แรงงาน พื้นที่เกษตร พื้นที่ท่องเที่ยว ออกแบบเมืองเก่าให้ชัดเจน เอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย คนกระหายการใช้พื้นที่คนที่อื่นจะนำนวัตกรรมมาใช้พื้นที่ตรงนี้นำเสนออย่างไร ทำให้เป็นโชว์รูมของเมืองลำพูนเชื่อมโยงการไปดูของจริงในพื้นที่
วัฒนา จันทนุปาน นายก ทต.มะเขือแจ้ และ นายกสมาคมชาวยองจังหวัดลำพูน
  • วัฒนา จันทนุปาน นายก ทต.มะเขือแจ้ และนายกสมาคมชาวยองจังหวัดลำพูน กล่าวว่า สำหรับเรื่องนี้มองว่า ตั้งแต่ 2560 มีทางนายก อบจ. และทางหอการค้า คุยในเบื้องต้นว่างบมาแล้วเดิมจะย้ายไปเมื่อครั้งนั้นได้พูดกันไปกว้าง ๆ ประเด็นคือ 2563 ได้ 9 สลีในวันพระธาตุได้ข้อมูลที่ยังตกผลึก ในส่วนของหอการค้า คนลำพูนต้องมีส่วนร่วมในการคิด ต้องการให้ลำพูนเดิมเป็นเมืองเกษตร ปัจจุบันกลายเป็นเมืองนิคม จังหวัด ลำพูน จึงกำหนดวิสัยทัศน์แบบขิงแก่ เด็กควรมีส่วนร่วมในการกำหนด เรามีนครหริภูญชัยแต่เราไม่มีเทศบาลนครหริภูญชัย รวมบางยอง มะเขือแจ้ เป็นเทศบาลหริภุญชัย กลับเข้ามาที่เรื่องวันนี้เราตั้งเป้าหมายถึงศาลากลางเก่าจะเป็นอย่างไร เป้าหมายเมื่อศาลากลางดูแลทั้งจังหวัดเป็นราชการส่วนภูมิภาค เรามีแนวคิดว่าส่วนภูมิภาคออกไปไม่ให้ราชการส่วนท้องถิ่นเข้ามา ให้ศาลากลางเกิดมิติสามอย่าง สังคม เศรษฐกิจ แวดล้อม มิติสังคมออกไปตนมีแนวคิดอยากจะให้สามมิตินี้เพื่อเกิดประโยชน์สำหรับคนลำพูนทั้งหมด จะทำอย่างไรให้ศาลากลางกลายเป็นสิ่งดึงดูดคนมาท่องเที่ยว ให้ภาคประชาชนเข้ามาอยู่ในจุดนี้
นาย สุวิตร จันทร์ธาดา ที่ปรึกษาสมาคมท่องเที่ยวลำพูน และที่ปรึกษาอดีตนายกสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.ลำพูน
  • นายสุวิตร จันทร์ธาดา ที่ปรึกษาสมาคมท่องเที่ยวลำพูน และที่ปรึกษาอดีตนายกสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.ลำพูน เสนอแนวคิดจากการทำประชาพิจารณ์ก่อนหน้านี้แล้วอยากจะให้ศาลากลางเป็นพิพิธภัณฑ์คู่ขนานโดยที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เสนอให้ทำเป็นห้องแสดงต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามา เหมือนหอศิลป์เชียงใหม่ เพื่อเล่าเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละห้อง นำหลักการนี้มาเสดงเป็นห้อง ๆ ห้องแสดงวัฒนธรรมต่าง ๆ ในลำพูน ประเพณีต่าง ๆ ที่อื่นไม่เคยได้เห็น ถ้าลำไยต้องลำพูน เก็บแสดงอดีตให้ลูกหลาน อุตสาหกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ ความสำคัญของวัดพระธาตุหริภุญชัยในด้านต่าง ๆ แสดงให้นักท่องเที่ยวมาดู และใช้เวลาไม่นาน โดยทั้งหมดทาง อบจ. ให้เป็นเจ้าภาพและเทศบาลในการดูแล
  • นายชัยณรงค์ ภู่พิสิฐ สจ.เก่ง รองประธานสภาองค์การบริหารจังหวัดลำพูน และรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ประเด็นเรื่องของเมืองเก่ากับเมืองใหม่ อยากให้มองภาพรวมว่าเราจะพัฒนาเรื่องเก่าอย่างไร ถ้าเราใช้พรบ.การควบคุมอาคารให้เป็นเมืองเก่า หรือมีการแต่งกายในจุดต่าง ๆ ที่เป็นจุดเด่น อยากให้เป็นที่สาธารณะ ไม่มีวันเปิดปิด ให้ชาวบ้านมาออกกำลังกาย และใช้พื้นที่เรียนรู้ร่วมกันได้ การเล่าตำนานเป็นสีสันที่แท้จริง บางทีเราถ่ายทอดตำนานบางส่วนเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ นอกจากการไหว้พระธาตุนครหริภุญชัยเกิดอะไรขึ้น เช่น ภูเก็ต สตรีทอาร์ต ถ้าเราเชื่อการออกแบบจราจรที่ดี ทางเท้าและฟุตบาตที่ดีศาลากลางออกไปการจราจรจะน้อยลงสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนของเมืองใหม่อยากให้มองว่าอุตสาหกรรมของเราขยายตัวเรื่อง ๆ สิ่งที่ตามมาคือแรงงานที่จะมาอยู่อาศัย เพื่อกำหนดเขตเมืองใหม่ เช่น ที่อยู่อาศัยของคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่ในนิคมฯ เราต้องแข่งกับเชียงใหม่ให้ควบคู่ไปกับเชียงใหม่อย่างไร
ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน
  • ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน มองประเด็นเรื่องตัวเมืองลำพูนในเรื่องพื้นที่เมืองเก่า 0.658 ตรม.ในเขตเมืองเก่าศาลากลางอยู่ในนั้นด้วยซึ่งสามารถพัฒนาได้เห็นกับคณะกรรมการบางท่าน เช่น ของลำปาง พอจะใช้เป็นพิพิธภัณฑ์คนจะเข้าไปดูน้อย เรื่องทุบไม่สนับสนุนเพราะพื้นที่มีสตอรี่ เห็นด้วยกับการที่เขตเมืองเก่าเราจะออกแบบอย่างไรให้เมืองเก่ามีชีวิต ตัวศาลากลางให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งได้ออกแบบให้คนใช้ประโยชน์ได้เยอะต่อสาธาณะ แต่จะออกแบบลักษณะไหน ไม่ควรจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแต่หลอมรวมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน หากเราออกแบบเมืองเก่าดีและมีชีวิตชุนชนในนั้นก็จะดีขึ้น ในอีกมุมมองเราจะมองแต่โบราณสถาน นอกจากนี้ยังมีบ้านเก่าที่มีอายุเกิน 100 ปี จะมีวิธีการอนุรักษ์ไว้อย่างไร
  • พลตำรวจตรี กิติ ลือ ผู้การลำพูนเชียงใหม่ลำปาง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายอบจ.เชียงใหม่เรื่องที่อยากนำเสนอคือเรื่อง องค์กรที่ทางรัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา กลุ่มเยาวชนของจังหวัดลำพูนที่ถูกจัดตั้งโดยรัฐ สภาเยาวชนจังหวัดลำพูน คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ของเก่าที่มีอยู่ดีมาก เชียงใหม่บอบช้ำด้านวัฒนธรรม ลำพูนอยู่ใกล้เชียงใหม่หากจะดึงนักท่องเที่ยวมาในเรื่องเมืองเก่า อยากเสนอให้เยาวชน กลุ่ม คึ ของลำพูน นักศึกษา มช. ให้คนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าได้มีความคิดเห็นร่วมกัน และอาจจะต้องตั้งวาระการทำงาน เราจะทำอย่างไรให้เขาเขียนแผนระยะยาว เพื่อขับเคลื่อนระยะยาวเรื่องความสามัคคีเป็นเรื่องเบลอ ๆ ครูบา 150 ปี สภาวัฒนธรรมตั้งเรื่องนี้ไว้ เรื่องนี้น่าจะต้องนับ 1 ขับเคลื่อนเรื่องนี้ รวบรวมผลงานเพื่อเห็นแผนให้ผู้ว่าฯคนต่อไป
เบนซ์ นัฐพงษ์ แม่สอง หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถาบันหริภุญชัย
  • เบนซ์ นัฐพงษ์ แม่สอง หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถาบันหริภุญชัย การจัดพิพิธภัณฑ์ในตัวของศาลากลางเช่นที่ จังหวัด ลำปาง เชียงใหม่ หอศิลป์เชียงใหม่ อยากให้ลองดูเรื่องบทเรียนและข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในการจัดทำของจังหวัด สุดท้ายคนที่เข้าไปดูแลทั้งเวลา และเงิน ภาระต่าง ๆ การเปลี่ยน อบจ.ในแต่ละวาระ ดังนั้นต้องมาดูจุดได้จุดเสีย เห็นด้วยกับทาง ทสจ. ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ตัวของศาลากลางเป็นจุดที่สำคัญที่เคยมีการขุดค้น โบราณวัตถุต่าง ๆ ศูนย์หายไปเทคโนโลยีในการตรวจหาต่าง ๆ ในอนาคตมีการขุดค้นจะสามารถหาค่าอายุของเมืองเก่า
นายนเรนทร์ ปัญญาภู พี่โอ๊ต นักจดหมายเหตุอิสระ จ.ลำพูน
  • นายนเรนทร์ ปัญญาภู พี่โอ๊ต นักจดหมายเหตุอิสระ จ.ลำพูน เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ หากเราจะเชื่อมโยงทั้งจุดเอื้อต่อถนนทุกเส้นในเมืองเก่า เพื่อผ่อนถ่ายคนเข้ามา จะได้มีจุดเชื่อมโยง พื้นที่ศาลากลางจังหวัดทำหน้าที่ของมัน ระบบคูเมืองกำแพงเมืองเก่าจะถูกพัฒนาไปพร้อม ๆ กับถ้าเราออกแบบศาลากลางเพียงอย่างเดียวไม้ได้ มันต้องออกแบบให้ส่งเสริมและเกื้อหนุนกัน บ้านเรือนย่านเก่าริมถนน คุ้มเก่าต่าง ๆ ต้องกลับไปดูและพัฒนาพร้อม ๆ กัน ระบบการจราจร การวางแผนพื้นที่ให้เหมาะสมอย่างไร
  • ทำไมเอาเรื่องผังเมืองเก่ามาผูก วันนี้เราพูดถึงเรื่องพัฒนาเมือง เพื่อให้สโคปมันแคบลงสิ่งที่เราพูดในวัดหรืออะไรต่าง ๆ มันอยู่ในพื้นที่เมืองเก่าทั้งหมด วันนี้เราควรจะพูดกันเรื่องการใช้ประโยชน์จากศาลากลาง เมืองเก่าเราจะมาใช้ประโยชน์อย่างไรให้เป็นสาธารณะ จุดแข็งอีกอย่างคือศาลากลางจังหวัดลำพูนพื้นที่ไม่ได้ใหญ่มาก กว้างและมีพื้นที่เยอะ เรื่องของงบประมานและการดุแลคงใช้ไม่เยอะ หากมีหน่วยงานที่ดูแลได้ เพิ่มเติมเรื่องของการพัฒนาจะมีคณะกรรมการเมืองเก่าอีกอย่างหนึ่งหากเราออกแบบเรื่องนี้เราต้องตั้งเป้าและเดินไปให้สุดเป้าหมาย
  • นพ.วัชระ สนธิชัย ประธานที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จำกัด กล่าวอีกว่า การจัดการเมืองใหม่เราจะไม่มีทางซ้ำกับลำปาง ศาลากลางเก่าและไปที่ศูนย์บริการทางการแพทย์ ลำพูนได้ ส่วนเมืองเก่า คณะกรรมการบริหารจังหวัด มีตัวทาน 3 ภาคส่วน ภาคเอกชน ภาคประชาชนในเมือง ภาคสภา เราจะต้องมีบทบาทเข้าไปตรงนั้นเพราะฉะนั้นเวทีวันนั้นเลขาหอการค้าจังหวัดมีนโยบายเกี่ยวกับสาลาเก่าอย่างไร จะตั้งคณะกรรมการทุกช่วงวัยเข้ามา คณะกรรมการเมืองเก่าใช้ไม่ได้ ที่เป้นทุกช่วงวัยเข้ามามีส่วนร่วม ลำพูนธุรกิจที่ปราบเซียนคือห้องอาหารกับโรงแรม แต่ในอนาคตลำพูนจะทำให้เป็นเมืองวัฒนธรรม การพัฒนาเมืองเก่าเพื่อคนลำพูนด้วยกันด้วย ยืนหยัดในสองไม่ก่อน ศาลากลางเก่าต้องไม่ยกให้หน่วยราชการใดทั้งสิ้น เอาศาลาเก่าเป็น รพ. ต้องไม่มีเวลาปิดเปิด ไม่ทำพิพิธภัณฑ์เพราะขนาดตอนนี้ยังไม่มีใครเข้า เราควรมาคุยเรื่องกรอบงาน คนที่อยู่ที่อื่นมาเที่ยว
  • คมสัน ภาวินิจ อดีตข้าราชการชำนาญ ปัจจุบัน // เราน่าจะมองจากมุมใหญ่ของโลก การทำงาน wfh วิถีใหม่ เราต้องจับเทรนโลก และเทรนการทำงานอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ พื้นฐานของคนเรามีความต้องการอยากเที่ยว คนอยากจะทำงานไปด้วยพักผ่อนด้วย ปัจจุบันคนอยากท่องเที่ยวแบบวิถีเดิมวิถีชุมชนวิถีพื้นบ้าน การท่องเที่ยวแนวใหม่อยากกให้ชุมชนมีส่วนได้ดีด้วย การท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคม มาจาก ลี้ มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะ ทุ่งกิ้ก ชุมชนพระบาทห้วยต้ม แก่งก้อ เมืองรองก็มีจุดแข็งแต่ยังได้ขัดเกลา เป็นไปได้ไหมที่งบบางส่วนจะผันไปเมืองรอง เป็นงบประมานให้แบ่งไปบางส่วนให้คนที่อยู่ในสถานท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ งบประมานให้สอดคล้องกับวิถีใหม่ ในเรื่องของศาลากลางต้องคิดเชิงธุรกิจต้องแผงการท่องเที่ยวศาลากลางควรเป็นกิจกรรมสำหรับทุกเพศทุกวัย วางตารางกิจกรรมตามเดือนต่าง ๆ ตลาดวัฒธรรม ลานกิจกรรมประจำเดือน แหล่งเข้าสะดวก แทรกซึม เซ็นเตอร์ของการท่องเที่ยวเชื่อมเมืองรอง
  • ทอม อดิสร เก้าเล็ก รองประธานสภาเด็กและเยาวชน จ.ลำพูน พูดในนามเยาวชน เห็นด้วยกับหลายท่านเรื่องราวหรือสตอรี่ดึงขึ้นมา เรื่องราวในจังหวัดหลาย ๆ อย่างถ่ายทอดเป็นสตอรี่ เช่น กาแฟบ้างโฮ่ง ผ้าทอแม่ทา ของดีเยอะศาลากลางพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่เรื่องศาลากลางให้เป็นเซ็นเตอร์ มันกำลังจะเป็นย่านการค้า จะทำให้ร้านข้าวมันไก่ศาลากลางคนลำพูนเอาไก่มาขายจากแม่ทา ถนนคนเดิน ขัวมุง ตรงนี้คือย่านเศรษฐกิจอย่างดี เรื่องการประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญยกตัวอย่าง วัดป่าแดด สายมูเตลูต้องไป เรื่อง Solf power ที่สามารถประชาสัมพันธ์เป็นสื่อแฝง แต่งเป็นเพลง เพลงที่เยาวชนแต่งและกำลังโปรโมท เรามาทำเพื่อเยาวชนศาลากลางไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญ New gen ส่วนร่วมของการทำงาน
คุณเอก ชัยยง รัตนอังกูล เดิมผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ นักวางแผนเชิงสร้างสรรค์ และนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวลำพูน เจ้าของร้าน Temple House และผู้บริหาร ICONCRAFT
  • คุณเอก ชัยยง รัตนอังกูล เดิมผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ นักวางแผนเชิงสร้างสรรค์ และนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวลำพูน เจ้าของร้าน Temple House และผู้บริหาร ICONCRAFT อาษาทำติดต่อทุก ๆ เพื่อรีไรท์ออกมาเป็น Master plan ศาลากลางเก่าลำพูน มีพื้นที่เป็นขุมในการเปลี่ยนเมืองได้ เราต้องตั้งธงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้านใดบ้าง สร้างสังคมที่ดีขึ้น เมื่อเราได้ Master plant ออกมาแล้วอาจจะเป็นพื้นที่ใหม่ในโลก ทกวันนี้เทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำได้ไม่ได้มีต้นทุนใหญ่ โดยส่วนตัวตั้งกลุ่มน้อง ๆ new gen พบว่าลำพูนมีศักยภาพ ลำพูนมีนักเขียนบทหนังประสบความสำเร็จเป็นร้อยล้าน มีหัวหน้าผู้บริหารด้านการตลาดแอร์บีเอ็นบี จึงตั้งกลุ่ม ลำพูน NEW GEN ขึ้นมาเพื่อพัฒนาลำพูนรวบรวมเยาวชนในพื้นที่ เอาแผนมาเป็นโจทย์ก่อน
  • วัฒนา จันทนุปาน นายก ทต.มะเขือแจ้ และ นายกสมาคมชาวยองจังหวัดลำพูน เรายังยืนยันเราจะต้องมาบริหาร เราจะทำอย่างไร หลังจากนี้ให้คนในพื้นที่ช่วยคิด หัวหงอกจนถึงเด็ก เรากำหนดทิศทางต้องหาเจ้าภาพ เจ้าภาพคือใครต้องรับผิดชอบ เจ้าภาพคือท้องถิ่น จังหวัด เมือง ให้เทศบาลเมืองเป็นผู้ดูแล เพื่องบแผนงานต่าง ๆ ให้เทศบาลเป็นเจ้าภาพแต่ไม่เอาคนของราชการมาบริหาร ทำแบบสอบถามคนลำพูน ไทยยองกำลังหายไป
  • คุณนคร อุนจะนำ ความเห็นเกี่ยวกับศาลากลาง สนับสนุนแนวคิดเมื่อส่วนราชการออกไปแล้วไม่อยากให้ส่วนท้องถิ่นเข้าไปใช้ประโยชน์ศาลากลางควรเป็นของทุกคน อยากให้มีคณะกรรมการเข้ามาดูแลรับผิดชอบ ต้องมีนักบริหารที่จะสามารถหารายได้ จ.ลำพูนถือเป็นแสงแรกอารยธรรมล้านนา ศาลากลางเก่าเอาทุกอำเภอมาย่อส่วนในศาลากลาง ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่อื่น ๆ แล้วแต่จะกดปุ่มไหนไป อยากให้การบริหารที่มีชีวิตไม่ให้ร้าง มีกิจกรรมที่สามารถต้องมีรายได้ให้ด้วย ควรเป็นพื้นที่สาธารณะในการใช้ไม่มีเวลาปิดเปิด ควรทำประชามติก่อนที่จะสรุปความเห็นควรจะมีการทำประชาพิจารณ์ให้ตกผลึก
    ผมเชื่อว่า สภาพลเมืองเปิดกว้างเพื่อแสดงความคิดเห็น เปิดเวทีพูดคุยกันเรื่อย ๆ มองในแง่เมืองเก่ามีจิตวิญญาณของเมือง ในการเชื่อมศาลากลาง อนาคตจะเป็นอย่างไร เมืองกลายเป็นเมืองไข่ม้อน เมืองเกษตรเมืองลำไย เมืองแหวนของเราจะทำอย่างไร ประเด็นเรื่องศาลากลาง มีเวทีเรื่อย ๆ และคุณเอก ชัยยง เสนอตัวทำ – Master Plan
วิวดี ไซล่า ตัวแทนตลาดศาลากลางเกษตรจังหวัดลำพูน ตัวแทนเกษตรกรรมยั่งยืน
  • วิวดี ไซล่า ตัวแทนตลาดศาลากลางเกษตรจังหวัดลำพูน ตัวแทนเกษตรกรรมยั่งยืน กล่าวว่า ในทุกวันศุกร์ตัวแทนของพ่อค้าแม่ค้า เพื่อเปิดพื้นที่ของเกษตรปลอดภัยให้ผู้บริโภคมีสิ่ง ๆ ที่บริโภค เสียงสะท้อนของพ่อค้าแม่ค้าในศาลากลาง กาดปลอดภัย ข้าราชการเกษียณอายุในศาลากลางจังหวัด ถามคนที่มาหรือพ่อค้าแม่ค้าของผู้สูงอายุ ทุกคนมีความต้องการอยากให้มีสถานในศาลากลางเก่า
  • อยากให้ทุกคนคิดรอบด้านและคิดรอบคอบ และคิดรอบด้านฟังเสียงชาวบ้าน คนที่จะออกแบบจะต้องออกแบบอย่างไรให้ตอบโจทย์ของชาวบ้าน
  • ธนกฤติ ข้อดีของศาลากลางย้ายออกไป ข้อดีคือการจราจรไม่ติดขัด ข้อเสียคือเศรษฐกิจในพื้นที่หายไป เด็กฝึกงานหายไปจากพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบปัจจุบัน ลำพูนสองทุ่มไฟเขียวไฟแดงไม่มีเราขาดกิจกรรมกลางคืน อยากจะให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน
  • สิ่งหนึ่งที่กังวล ต้องมีเจ้าภาพในการทำงาน โครงสร้างที่จะมาดูแลบริหารจัดการ คือ อบจ.คณะกรรมการควรมีคนหลากหลายช่วยวัย กำหนดทิศทาง ฟังจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ ความเป็นมืออาชีพกับความสำนึกของท้องถิ่น ให้ทดลองยกร่างและเสนอท้องถิ่นให้ผู้ว่าฯและบอร์ดพิจารณากัน เพื่อให้เวทีสภาเยาวชนมีอำนาจและมีชีวิตในการบริหารจัดการ ข้อสังเกตคือไม่ว่าเราจะกำหนดทิศทางไหน ถ้าอำนาจบริหารจัดการ เมื่อจังหวัดไม่รับลูก เช่น อนุสาวรีย์จรัญ สล่าเลาเลือง
  • อ.บารเมศ เจ้าของสถานที่ แหล่งรวมผลิตสินค้าของชุมชน ชาวบ้าน วัดพระธาตุยอดรายได้ไม่เคยตก โจทย์เรื่องการมาของผู้คน ทำให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น วัดพระธาตุที่มีนักท่องเที่ยว ถ้าเราจะคิดต่อหลังจากนี้/ เรื่องครูบาศรีวิชัย ได้เข้าไปมีบทบาทเรื่อง TOR ปี 68 ได้เข้าไปอยู่วาระที่จังหวัดดูแล ศาลากลางคนเขียน TOR คือเราสภาพลเมือง ใครจะดูแลระหว่าง อบจ. กับ เทศบาล และแผนต่อไปคือยื่นแผน
  • ต๋อง ทศพร แสงล้า คนรุ่นใหม่ เราจะเอาเรื่องเมืองเก่าจะพูดถึงประวัติศาสตร์ลำดับไหน องค์ความรู้ที่เราต้องสกัดก่อน เรื่องที่สองคือเรื่องสถานที่ องค์ประกอบของการพัฒนาเมืองลำพูนควรจะประกอบด้วย 3 สถานะนี้ คนน่าจะอยู่หลายที่ในลำพูน การจะสลัดองค์ความรู้ได้จะต้องนึกถึงท้องถิ่น อบต. อบจ. ศาลากลางมองว่าเป็นวิถีครูบา ถ่ายทอดให้โรงเรียนวัดปริญัติวิถีครูบาปฏิบัติตัวอย่างไร โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญา และมองถึงการออกแบบ แนที่พักผ่อนสวนสาธารณะ ที่ถ่ายรูปผู้คน นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ลองมองถึงเมตาเวิร์ส
  • แนวคิดการพัฒนาศาลากลางหลังเก่าลำพูน ในความคิดเบื้องต้นศาลากลางลำพูนต้องมีจุดเด่นหรือแลนด์มาร์กเพื่อดึงดูดคนในจังหวัดลำพูน เพื่อให้จุดที่สร้างให้พ่อค้าแม่ค้าระยะยาว ห้องแต่ละห้องสร้างห้องแต่ละอำเภอเพื่อเอาโชว์และจัดแสดงภาพถ่ายและผ้าทอ ในแต่ละจุด ให้นักท่องเที่ยวได้ผ่านเข้ามา และไปถึงตัวอำเภอแท้ ๆ ศาลากลางเมื่อย้ายไปดูเงียบเหงาลงเราย้ายถนนคนเดินเอามาจักที่ถนนอินทยงยศ ปิดไม่ให้รถผ่านไปมาสัญจร // สร้างเป็นข่วงวัฒนธรรม มีคนจับจ่ายใช้สอยลานการแสดง ถ้าเราสามารถสร้างได้ช่วงกลางคืนนำถนนอินทยงยศ สตรีทฟู้ดให้คนมาเดินเที่ยวได้ กลางคืนสามารถเดินได้เดินดี
  • เพ็ญพันธุ์ แสงแนน หนอกเงือก สรุปประเด็นที่เราทำมาเห็นด้วยกับประเด็นที่ขับเคลื่อน ได้ข้อคิด ข้อเสนอแนะ รายละเอียด เห็นด้วยกับการพัฒนาเมืองเก่าให้มีสามมิติ เรามีจุดแข็งฝ่ายนวัตกรรม คนรุ่นใหม่ และของดีวัฒนธรรม 8 อำเภอ เครือข่ายที่เราจะนำเสนอผ่านหน่วยงานของรัฐ ภูมิปัญญาของดีมีมากมาย
  • สื่อมวลชนเก่า ต้องบูรณาการสถานที่ที่อยู่ในคู่มือควรจะพ่วงไปด้วยกัน จะทำอย่างไรให้เชื่อมต่อกันสถานที่ที่รอบคูเมือง ยกตัวอย่างเช่นแม่กำปอง สวนป้อเลี้ยงหมื่น เอากำแพงออกเพื่อเป็นที่สาธารณะ
  • พงษ์เทพ สภาวัฒนธรรม โฟกัสเรื่องศาลากลาง หนึ่งยังไม่เป็นข้อตกลงเรื่องการจะให้ใครดูแล เรื่องราวภายนอกผู้ว่าจะฟังว่าชาวบ้านต้องการอย่างไร เดิมทีเราเคยพูดที่ อบจ.ละเอียด ขณะนี้ก้าวไปถึงจังหวัดจะฟังเสียงและจัดประชุม ระหว่างเทศบาลเมืองลำพูนและอบจ. ยังไม่เป็นที่ตกลง โดยส่วนใหญ่ศาลากลางใหญ่แต่ละจังหวัด ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติเช่นที่ลำปาง ศาลากลางเก่า จ.ลำปาง เขาเข้าไปพูดกับ อบจ. ต้องขอ อบจ.เป็นหลัก ปัจจุบันอยากจะฉายภาพให้เห็นแนวโน้มอาจจะไปทิศทางให้ อบจ.ดูแล สององ์กรดูเหมือนจะดูแลร่วมกัน อยากให้ทีมงานสรุปการที่ศาลากลางพัฒนาให้เป็นอะไรก็ตาม อยากให้ศูนย์การเรียนรู้เข้ามาเพราะมีเงินทุน เรื่องที่จะต้องดูศาลากลางเก่าเหล่านี้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเมืองได้อย่างไรในมิติต่าง ๆ นำสิ่งนี้มาวิเคราะห์ ศึกษาเรื่องความต้องการและเทรน การพูดคุยกับคนในพื้นที่แต่ละหลังลงไปพื้นที่

ดร. บุญสุ่ม อินกองงาม เลขานุการของสภาพลเมืองลำพูน ได้สรุป แนวทางการประชุมวันนี้ คือ มองต้นทุน ออกแบบแผน Smart model คิดใหญ่ทำใหญ่ จุดขาย

  • กล่าวสรุปหลัก ๆ เสียงจากวันนั้นเห็นตรงกันเรื่องของ ควานเป็นเซ็นเตอร์ ต้องเอาภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับเอกชนเป็นจ็อบ ๆ ไป ไม่เอาเข้ามาดูแลหลัก และต้องมีความชัดเจนตอนนี้ยังไม่ชัดเจนและยังไม่เป็นข้อตกลงเรื่องการที่จะให้ใครดูแล ควานเป็นเซ็นเตอร์ ต้องมีเจ้าภาพในการทำงาน การทำ Master plan ต้องเอาภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับเอกชนเป็นจ็อบ ๆ ไม่เอาเข้ามาดูแล เมื่อส่วนราชการออกไปแล้วไม่อยากให้ส่วนท้องถิ่นเข้าไปใช้ประโยชน์ศาลากลางเก่าเพราะควรเป็นของทุกคน ส่วนโครงสร้างที่จะมาดูแลบริหารจัดการอาจเป็นอบจ. และการตั้งคณะกรรมการควรมีคนหลากหลายช่วยวัย กำหนดทิศทาง ฟังจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ เมืองนี้มีคนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นมืออาชีพกับความสำนึกของท้องถิ่น ให้ทดลองยกร่างและเสนอท้องถิ่นให้ผู้ว่าและบอร์ดพิจารณาต่อไป หลักการคือต้องคิดถึง ต้นทุนบ้านเรามีอะไร การออกแบบ Smart model คิดใหญ่ทำใหญ่ เน้นจุดขาย ดังนั้น ในเวทีพูดคุยหลังจากนี้น่าจะนำไปสู่การคัดเลือกคณะกรรมการตัวแทนภาคประชาสังคมไปขับเคลื่อนพิจารณากำหนดทิศทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ศาลากลางหลังเดิมร่วมกับภาคราชการ ท้องถิ่น เอกชน นักวิชาการ บรรพชิต ศิลปิน คนในพื้นที่ คนรุ่นใหม่ ฯลฯ ต่อไป

ศาลากลางจังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2494 แล้วเสร็จวันที่ 15 ธันวาคม 2495
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ พลตรีบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานทำพิธีเปิดป้ายศาลากลางจังหวัดลำพูนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2496 และเปิดงานฉลองศาลากลางระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2496 พันตำรวจตรีสงกรานต์ อุดมสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานทำพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลากลางจังหวัดลำพูนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2494

ภาพจาก https://www.facebook.com/naren.punyapu/posts/4847430325337024

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2494 ที่เริ่มก่อสร้างศาลากลางจังหวัดลำพูน จวบจนถึงปัจจุบัน ศาลากลางจังหวัดลำพูนใกล้จะมีอายุครบรอบ 7 ทศวรรษในปี 2564 โดยจังหวัดลำพูนมีโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดลำพูนแห่งใหม่ ณ บริเวณตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และมีการย้ายสถานที่ทำการของศาลากลางจังหวัดลำพูนไปอยู่ที่ศูนย์ราชการแล้ว ชาวลำพูนมีความประสงค์จะให้อาคารศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังเดิมประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวลำพูนอย่างไรในอนาคต นี่จึงเป็นที่มาของการสนทนาที่เกิดขึ้น

โจทย์วันนี้ คือ การบ้านของทั้งพี่น้องชาวลำพูนที่ต้องช่วยกันขบคิด มองเผื่อไปยังอนาคตอีก 50 ปี 100 ปีข้างหน้า ส่วนเราด้านการสื่อสารต้องคิดต่อเพื่อฉายภาพอนาคต และทิศทาง ไม่ว่าหน้าตาของศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังนี้ในอนาคตจะเปลี่ยนโฉมกลายเป็นอะไร คำตอบอยู่ที่คนลำพูนต้องร่วมกันส่งเสียง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ