เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ (คพชน.)เร่งหารือทำงานช่วยเหลือชุมชนในสถานการณ์โควิด – 19

เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ (คพชน.)เร่งหารือทำงานช่วยเหลือชุมชนในสถานการณ์โควิด – 19

   

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ (คพชน.) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงเหล้า (สคล.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนการทำงานเครือข่ายพระสงฆ์ ณ วัดสัมฤทธิ์บุญ อ.วังชิ้น จ.แพร่ เพื่อค้นหาแนวทางการทำงานเพื่อช่วยเหลือชุมชนในสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายแห่ง เผชิญผลกระทบโรคระบาดโควิด 19 โดยมีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมจาก 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน โดยเวทีแห่งนี้มีพระสงฆ์หลายรูปที่สะท้อนการทำงาน ในประเด็นเกี่ยวกับประเพณีงานบวชที่หลายแห่งให้ความสำคัญกับการรูปแบบ จนละเลยแก่นสำคัญ นำไปสู่การสิ้นเปลื้องเงินโดยใช่เหตุจากการเลี้ยงฉลอง แม้ในช่วงสถานการณ์วิดจะลดน้อยลง แต่ในระยะยาวยังถือว่าเป็นปัญหาที่พระสงฆ์จะช่วยปฏิรูปได้อย่างไร

       พระครูสิริสุเมธากร รองเจ้าคณะอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เล่าถึงความสำเร็จของการจัดงานบวชว่า การจัดงานบวชนั้นดำเนินการจัดโดยตัดเหล้าออกจากกิจกรรม และจัดในงบประมาณประหยัด เรียบง่ายเพียง  1 วัน เช่น นัดผู้เข้าบวชช่วงเช้าทำพิธีปลงผมแปดโมง และเข้าสู่พิธี งดการจัดงานบวชที่ฟุ่มเฟือย วัดจะหาเจ้าภาพให้กับผู้บวชที่ขาดแคลน โดยวัดมีอัฐขบริขารให้ ทั้งบาตร จีวร ผ้าไตร และของใช้ส่วนตัว สบู่ ยาสีฟันให้แต่ยังมีค่านิยมในพื้นที่ที่ต้องจัดงานเลี้ยงเพื่อใช้หนี้งานที่เคยไปร่วม   

      ด้านพระครูสุวรรณธรรมวินิจ รองเจ้าคณะอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาเล่าถึง กรณีงานบวชของพื้นที่จังหวัดพะเยาว่า เดิมเป็นงานบวชลูกแก้วสมัยที่เริ่มเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี 2533 ชาวบ้านจัดบวช จัดดนตรีพื้นบ้าน(ซอ) รื่นเริงบ้านของตนเอง  แต่ปรับเปลี่ยนวิธีการนำผู้บวชและครอบครัวมาจัดร่วมกันที่วัด ใช้ระยะเวลาเพียง 2 วัน คือ วันเตรียมและวันบวชค่าใช้จ่ายที่ชาวบ้านสามารถแชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกันได้ เช่น ค่าซอ ค่าอาหารจะประหยัดมากขึ้น   ปัจจุบันผู้บวชมีจำนวนน้อย จัดงานบวชไม่มีการร้องขอค่าใช้จ่ายแล้วแต่จิตศรัทธา โครงการบวชและบรรพชาออกค่าใช้จ่ายให้   การจัดมหรสพ ดนตรี จะเน้นดนตรีพื้นบ้าน เช่น ซอ แต่ไม่ให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาในวัด  สิ่งหนึ่งที่ยังคงมีอยู่คือเศษก้นบุหรี่ที่พบรอบบริเวณนอกวัด เราห้ามไม่ให้สูบในวัด แต่ก็ยังมีการสูบอยู่โดยเฉพาะพระสงฆ์บางรูป

       พระสาธิต ธีรปัญโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์ จังหวัดลำปาง  ได้เสนอแนวทางขับเคลื่อนงานในอนาคตว่า  งานบวชสร้างสุขควรมีการขับเคลื่อนงานเข้าสู่ระดับนโยบาย เช่น จากส่วนบนลงล่าง เคลื่อนงานบวชปลอดเหล้าเข้าสู่งานมหาเถรสมาคม แล้วเคลื่อนงานสู่การปฏิบัติในแต่ละจังหวัด  ที่ผ่านมาได้คัดเลือกพระสงฆ์นักพัฒนาจังหวัดละ 5 รูป คัดเลือกจังหวัดละ1 รูป วิธีการทำงานเสนองานเข้าสู่งานคณะกรรมการมหาเถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่งนำเสนอในที่ประชุม   โดยตนเองไม่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์จึงขับเคลื่อนงานได้คล่องตัว เดินทางเคลื่อนงานทั่วประเทศ  กรณีผู้บวชต้องมีการตรวจสอบประวัติทางอาชญากรรมร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อคัดกรองผู้บวชเบื้องต้น

    พระครูสุจินนันทกิจ เจ้าคณะอำเภอสันติสุข จังหวัดน่านกล่าวเสนอว่า  ดีใจที่งานพระสงฆ์นักพัฒนาจะมีพระสงฆ์รุ่นใหม่มาสืบทอดการทำงานของพระสงฆ์นักพัฒนา  เพราะพระสงฆ์เรานั้นมาจากลูกชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา ทำอย่างไรจะตอบแทนชาวบ้าน ให้ดินดี น้ำดี และอากาศดี   ทำอย่างไรจะให้ภูเขากลับมามีสีเขียวอีกครั้ง  ใช้เทคนิคโซล่าเซลสูบน้ำ  สร้างพื้นที่สีเขียวให้กลับมาอีกครั้ง “เกษตรธรรม ใช้ธรรมเป็นฐาน ” อยากให้พระสงฆ์วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ของชาวบ้านเพื่อการช่วยเหลือที่ชัดเจน   ทั้งนี้การอาศัยการทำงานของเครือข่าย เชื่อมภาครัฐ ดังกรณี การปลูกพืชผักในวัดปัจจุบัน

   ดร.บุญช่วย ดูใจ ประธานมูลนิธิโพธิยาลัย ได้เสนอเสนอแนะเพิ่มเติมว่า มีตัวอย่างการทำงานของแม่ชีในประเทศพม่าที่ทำงานกับเยาวชน แต่ได้รับการต่อต้านจากชาวบ้านเพราะไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสงฆ์ แต่ในงานนั้นก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนและชุมชนเป็นอย่างมาก   กรณีของพระสงฆ์นักพัฒนามีคู่มือธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในงานปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ ตลอดจนเครื่องมือกองบุญของคณะสงฆ์  ยกตัวอย่างตำบลวังชิ้นมี 7ตำบล ท่านเจ้าคณะอำเภอนำสิ่งของหรืออาหารไปช่วยแจกช่วยเหลือ เวียนวันล่ะ1ตำบล ทุกฝ่ายได้ประโยชน์  จากที่ได้รับฟังในเวทีประชุม มีความคิดเห็นว่าควรเพิ่มการบริหารจัดการในแต่ละวัด แต่ละพื้นที่ควรขับเคลื่อนสู่นโยบายคณะสงฆ์  กลไกเครือข่ายในพื้นที่สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  เวทีวันนี้จึงเปรียบเสมือการพัฒนาศักยภาพ เรียนรู้จากแนวทางการทำงานของพระสงฆ์นักพัฒนาที่มีประสบการณ์

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ