แถลงการณ์ว่อน ติง คฝ.จับกุมชาวบ้านจะนะ ชี้ประชาชนใช้สิทธิปกป้องทรัพยากรบ้านเกิด

แถลงการณ์ว่อน ติง คฝ.จับกุมชาวบ้านจะนะ ชี้ประชาชนใช้สิทธิปกป้องทรัพยากรบ้านเกิด

กรณีเมื่อเวลา 21:00 น. วานนี้ (6 ธ.ค.2564) เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.)ได้เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ที่ชุมนุมปักหลักมาตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2564 เพื่อทวงคำสัญญาของรัฐบาลที่เคยให้ไว้เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 กรณีให้ยุตินิคมอุตสาหกรรมจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

The Citizen Plus พบว่า มีปฏิกิริยาจากสังคมเฝ้าติดตามและแสดงออกถึงจุดยืนและข้อเรียกร้องต่อกรณีนี้กันเป็นจำนวนมาก โดยมีรายงานจาก ทวิตเตอร์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ว่า เวลา 21:05 น. วันที่ 6 ธ.ค.2564 ตำรวจคฝ. ตั้งแถวที่ถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าตึก ก.พ.ร. ก่อนประกาศให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ และให้สื่อมวลชนต้องขึ้นฟุตบาท โดยอ้างว่าอาจมีมือที่สามเข้ามาก่อความวุ่นวาย ขณะที่ก่อนหน้านี้ตำรวจพยายามเจรจาให้ชาวบ้านย้ายพื้นที่ชุมนุม แต่ชาวบ้านยืนยันจะปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบต่อไป

มีรายงานจาก ทวิตเตอร์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ว่า เวลา 21:05 น. ตำรวจคฝ. ตั้งแถวที่ถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าตึก ก.พ.ร. ก่อนประกาศให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ และให้สื่อมวลชนต้องขึ้นฟุตบาท โดยอ้างว่าอาจมีมือที่สามเข้ามาก่อความวุ่นวาย ขณะที่ก่อนหน้านี้ตำรวจพยายามเจรจาให้ชาวบ้านย้ายพื้นที่ชุมนุม แต่ชาวบ้านยืนยันจะปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบต่อไป

เวลา 21:05 น. ตำรวจขับรถผู้ต้องขังมายัง หน้าประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล มีการตรึงกองกำลังล้อมชาวบ้านจะนะที่ยังปฏิบัติศาสนกิจและปักหลักอยู่ตรงนั้น

เวลา 21:18 น. ตำรวจ คฝ. และกองร้อยน้ำหวาน จากหน้าตึก ก.พ.ร. เดินเท้ามาที่หน้าประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับรถผู้ต้องขังใหญ่ ประกอบแนวตำรวจที่สะพานชมัยมรุเชฐ ด้านหลังมีตำรวจที่ใช้โล่ดำ

และ เวลา 21:19 น. กองร้อยน้ำหวานนำขบวนเข้าสลายชาวบ้าน ประกาศกันสื่อไม่ให้เข้าไปเป็นประจักษ์พยานระหว่างการสลายก่อนจะมีการควบคุมตัวขึ้นรถผู้ต้องขัง โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า ตำรวจคุมตัวชาวบ้านไป 36 คน เป็นหญิง 30 คน และชาย 6 คน โดยจะคุมตัวไปที่สโมสรตำรวจ

เวลา 23:00 น. มีตัวแทนของนักการเมืองจากพรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ตัวแทนทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนและทนายความเครือข่ายได้แสดงตนเข้าพบปะกับชาวบ้านจำนวน 36 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและผู้สูงวัย เพื่อให้คำแนะนำทางกฎหมายเบื้องต้น รวมทั้งร่วมรับฟังการสอบปากคำเบื้องต้นกับชาวบ้าน 36 คน

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า ตลอดทั้งคืนวันที่ 6 ธ.ค. ต่อเนื่องจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 7 ธ.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้แจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และดำเนินการสอบปากคำเบื้องต้นกับชาวบ้านจะนะ ขณะที่ชาวบ้านทุกคนให้การปฏิเสธและรอการเจรจาพูดคุยหาทางออกทางการเมืองเกี่ยวข้องกับการยกเลิกนิคมอุตสาหกรรมจะนะตามที่ชาวบ้านตั้งใจ

จากเหตุการณ์ดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาสังคม องค์กรจำนวนมากต่างออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งเสนอแนะการคลี่คลายปัญหาต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญหลัก ดังนี้

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล 3 ด้าน

1. รัฐบาลต้องตั้งกลไกตรวจสอบความผิดปกติของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะใหม่ โดยจะต้องตรวจสอบในทุกมิติ อย่างเช่น เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมประชาชน เรื่องการใช้แผนปฏิบัติการโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินและรังวัดรูปแปลงโฉนดที่ดินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันอันมิชอบ และการใช้งบประมาณของ ศอ.บต. ในโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกลไกนี้จะต้องเป็นกลาง เชื่อถือได้ และมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อแล้วเสร็จจะต้องแจ้งผลการตรวจสอบให้ประชาชนรับทราบอย่างเป็นทางการด้วย

2. รัฐบาลต้องจัดการศึกษาโครงการในเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. แบบมีส่วนร่วม และต้องดำเนินการโดยนักวิชาการที่เป็นกลางและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งคณะศึกษานี้ต้องไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ ศอ.บต. 

3. ระหว่างนี้ รัฐบาลต้องสั่งให้ยุติการดำเนินการทุกอย่างในโครงการนี้ไว้ก่อน จนกว่าการดำเนินการตามข้อ 1 และ ข้อ 2 จะแล้วเสร็จ 

ทั้งนี้ ข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ดังกล่าว จะต้องออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี หรือเป็นมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

อ่านข้อเรียกร้องทั้งหมดได้ที่ แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)

เรื่อง ขอประณามรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (คฝ.) กรณีสลายการชุมชนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น

เช่นเดียวกับ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) องค์กรนักศึกษาขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม ขอประณามการกระทำของเจ้าหน้าต่อการกระทำดังกล่าว เนื่องด้วยการชุมนุมของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จ.สงขลา เป็นการชุมนุมเรียกร้องคำสัญญาที่รัฐบาลได้ให้สัญญาไว้ เป็นการชุมนุมอย่างสันติ ตามวิถีประชาธิปไตย แต่เจ้าหน้ากลับมีการใช้กำลังและปิดกั้นการเรียกร้องตามสิทธิพึ่งมีของประชาชนภายใต้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

อ่าน แถลงการณ์ https://web.facebook.com/mustfeth/posts/4607239472724023

การใช้ความสลายการชุมนุม คุกคามคนเห็นต่าง บ่งชี้ความไม่โปร่งใสโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ

ด้านเครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ยืนยันว่า เมื่อรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. ชาวบ้านจะนะ จึงขึ้นมาชุมนุมอย่างสงบ เป็นการชุมนุมอยู่กับที่ (assembly) เพียงเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือแสดงข้อเรียกร้องที่มีวัตถุประสงค์สุจริตไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และไม่เป็นการขัดต่อหลักการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รวมถึงไม่มีการเคลื่อนย้ายการชุมนุมไปที่อื่น ซึ่งเป็นการปฏิบัติอยู่ภายใต้ “เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ” (freedom of peaceful assembly) อันเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญไทย 

ที่ผ่านมา ศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นในโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 นี้ โดยการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เห็นต่างและประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบแต่ไม่อยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล (ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน ต.นาทับ) อ.จะนะจ.สงขลา และสร้างบรรยายกาศที่ไม่นำไปสู่การรับฟังอย่างปลอดภัย มีการใช้กองกำลังจำนวนมากในการควบคุมการจัดเวที การปิดเส้นทางผ่านเวทีการประชุม การคุกคามประชาชนผู้เห็นต่างรวมทั้งนักวิชาการ ทั้งหมดล้วนเป็นการแสดงออกถึงความไม่โปร่งใสและไม่ชอบธรรมในการจัดทำโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ มิอาจสร้างความน่าเชื่อถือและความวางใจได้ ว่าโครงการดังกล่าวที่จะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และรักษาปกป้องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทางเครือข่ายนักวิชาการและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน จึงขอประณามการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่จนนำไปสู่การจับกุมชาวบ้านจำนวน 36 คน และเรียกร้อยให้รัฐบาลปฏิบัติตามมติครม.ให้มีการศึกษาโดยใช้แนวทาง SEA

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม  https://web.facebook.com/kua.rittiboon/posts/10219166279019276

ล่าสุด เครือข่ายนักวิชาการ และ 35 เครือข่ายภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ “รัฐบาลต้องปล่อยตัวพี่น้องชาวจะนะทันที” โดยระบุว่า ปฏิบัติการของรัฐบาลครั้งนี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง หากปล่อยผ่านไปโดยไม่สนใจไยดีจะกลายเป็นบาดแผลของแผ่นดินครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นรัฐบาลควรสั่งให้ปล่อยตัวชาวจะนะทันทีโดยไม่มีข้อแม้ และรับปากที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ พร้อมกันนี้ควรขอโทษชาว จะนะในการใช้ความรุนแรง และขอโทษประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทั้งประเทศที่รัฐบาลกล้าใช้อำนาจที่ไม่เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน 

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม https://web.facebook.com/StopMekongDams/photos/a.322752301152407/4762246087202984/

ทั้งนี้ ในช่วงเช้าของวันนี้ เวลา 10:00 น. นางสาวไครียะห์ ระหมันยะ ตัวแทนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น อ่านแถลงการณ์และข้อเรียกร้องซึ่งเป็นจดหมายจากตัวแทนของผู้ถูกจับ กรณีการสลายการชุมนุมและจับกุมชาวบ้าน

นางสาวไครียะห์ กล่าวว่า การชุมนุมของพี่น้องจะนะต้องการแค่จะบอกนายกรัฐมนตรี ในฐานะพ่อบ้านที่คอยดูแลประชาชน โดยไม่กี่วันนี้เมื่อปีที่แล้ว เขาได้เคยให้คำมั่นสัญญากับชาวบ้านจะนะว่า จะขอประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ถ้าหากมีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จะมีผลอย่างไรบ้างกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และจะทำอย่างไรบ้างเพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีการพัฒนา สิ่งแวดล้อมอยู่ได้และคนในชุมชนอยู่ได้

โดยเนื้อหาของแถลงการณ์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นถึงรัฐบาล มีใจความว่า จากกรณีที่ชาวบ้านจะนะออกมาชุมนุมเรียกร้องหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อบอกให้รัฐบาลหยุดคุกคามพื้นที่จะนะด้วยการสร้างนิคมอุตสาหกรรม แต่วันนี้รัฐบาลได้ใช้กำลังที่มีในการสลายการชุมนุมชาวบ้านเพื่อเอาใจนายทุน กลุ่มที่กุมอำนาจในทำเนียบรัฐบาลเข้ามาหาผลประโยชน์ของตัวเอง เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญว่า พื้นที่นี้จะรอดหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของประชาชนในการปกป้อง รัฐไว้วางใจไม่ได้ เนื่องจากคนที่ทำหน้ารัฐใช้อำนาจในการปกป้องกลุ่มทุน

“ภารกิจนี้ใช้ชีวิตเป็นเดิมพันด้วยการยืนหยัดว่า หากไม่ได้รับคำตอบว่ารัฐจะหยุดสร้างนิคมอุตสาหกรรมนจะนะ เรา (ชาวบ้านจะนะ) จะไม่ไปไหน ไม่ว่าจะถูกทำร้ายจากกลุ่มคนปกป้องกลุ่มทุนแค่ไหน จะถูกจับอีกกี่รอบ เราจะยังกลับมาที่ทำเนียบรัฐบาลตามเดิม และขอยืนยันว่า เราจะยืนหยัดจนถึงที่สุด ถึงเวลาแล้วที่เครือข่ายพี่น้องภาคใต้และทุกภาคส่วนทั่วประเทศจะออกมาช่วยกันส่งเสียง” น.ส.ไครียะห์ กล่าว

ทั้งนี้ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ยังยืนยันว่า ต้องการที่จะเรียกร้องตามข้อเรียกร้องเดิมของชุมชนที่จะยกเลิกนิคมอุตสาหกรรมและจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้ได้คำตอบที่ทำเนียบรัฐบาล ถ้าได้รับการปล่อยตัวก็ยินดีที่จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และต้องการที่จะต่อสู้ให้ได้รับข้อเรียกร้องของชาวบ้านตามที่ได้ตั้งใจ

กสม. เสนอรัฐปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยไม่มีเงื่อนไข เปิดทางสื่อ-ผู้สังเกตการณ์รายงานอย่างเสรี

ล่าสุด บ่ายวันนี้เดียวกันนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ขอให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและเร่งรับฟังเสียงของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งระบุให้รัฐบาลอำนวยความและเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์อื่น ๆ ได้รายงานสถานการณ์และข้อเท็จจริงอย่างเสรี โดยไม่สร้างอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ