ถอดบทเรียนน้ำท่วม จังหวัดน่าน

ถอดบทเรียนน้ำท่วม จังหวัดน่าน

จังหวัดน่านเคยเกิดน้ำท่วมหนักเมื่อปี 2549 น้ำท่วมใหญ่เมืองน่าน ปี 2554 และปี 2559 ในทุก 5ปีได้เผชิญกับน้ำท่วมใหญ่ ในแต่ละครั้งมีความเหมือนและความต่างกันพอสมควร การถอดบทเรียนจะนำไปสู่บทเรียนและการป้องกัน น่านได้มีการคุยกันเพื่อกำหนดทิศทาง และเก็บข้อมูลบางส่วนและรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน เพื่อถอดบทเรียนในภาพใหญ่ของคนเมืองน่านทั้งหมด พัฒนาเป็นชุดความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองน่าน อันจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือในการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชนและเครือข่ายที่จะมาช่วยกันทำงาน และหลักสูตรที่จะไปจัดการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ ขณะเกิดเหตุควรมีการดำเนินการอะไรบ้าง มีข้อจำกัดที่จะต้องดำเนินการแก้ไข และข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง โดยมีการจัดเวที 4 เวที ที่วิทยาลัยชุมชนน่าน อำเภอท่าวังผา อำเภอเวียงสา และอำเภอเมือง และเห็นว่าทุกเวทีผู้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด คือ ท้องถิ่น และการช่วยเหลือกันเองของคนเมืองน่าน

20162809114918.jpg

นายนรินทร์ เหล่าอารียะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เล่าถึงบันทึกเก่าของเมืองน่าน สมัยเจ้าสุมนเทวราช สมัยเจ้าอนัตวรฤทธิ์ที่มีย้ายเมืองหนีน้ำท่วมในอดีต ฉะนั้นกรณีน้ำท่วมเพราะการปลูกข้าวโพดน่าจะไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เนื่องจากน่านมีประวัติศาสตร์การย้ายหนีน้ำท่วมมาหลายรอบแล้ว สาเหตุหลักๆเป็นเพราะลักษณะภูมิประเทศของเมืองน่านที่เป็นภูเขาสูง น้ำท่วมเป็นประจำอยู่แล้ว น่านเป็นเมืองน้ำ เราสามารถศึกษาได้เพราะถ้ามีความชื้นฝนจะตกอยู่แล้ว จากการดูแผนที่อากาศ ต้องศึกษาข้อมูลอากาศตลอดเวลา โดยดูเรดาร์ที่เชียงรายและที่ท่าวังผาประกอบกัน ก่อนเกิดเหตุการณ์เราต้องรู้ ซึ่งจะช่วยในการป้องกันได้ ซึ่งดีกว่าการมาแก้ไข ตรงไหนควรอพยพก็จะได้จัดการ จะได้วางแผน เมืองน่านเป็นเมืองที่น้ำผ่าน น้ำรอระบาย น้ำท่วมไม่เกินสามวัน ผมอยากให้มีการฝึกซ้อม อยากให้ออกระเบียบเรื่องการป้องกัน

จาการมีประสบการณ์ในการเผชิญกับเหตุน้ำท่วมมาหลายครั้งทำให้น่านมีชุดบทเรียนและบรรจุอยู่ในแผนป้องกันและบรรเทาสาธารรธภัยทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอและระดับจังหวัด  สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา คือ การมีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังยากที่จะนำมาสู่การวิเคราะห์ และสิ่งสำคัญ คือ ข้อมูลเหล่านี้ถูกสื่อสารในภาษาที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ เช่น น้ำในจุดวัดน้ำ N1 อยู่ในระดับ 1 เมตร เป็นต้น ในส่วนนี้หากมีการใช้ภาษาเข้าใจง่าย เชื่อมโยงไปสู่เรื่องใกล้ตัว อาจจะทำความร่วมมือกับการไฟฟ้า เพื่อทำให้เสาไฟฟ้ามีระดับสีต่างๆที่อธิบายปริมาณน้ำได้และเป็นชุดข้อมูลเดียวกับหน่วยงานราชการ

20162809115137.jpg

ในส่วนของการจัดการในรัดับท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลจะจับมือกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมทั้งมีการศึกษาข้อมูงจากกรมน้ำ จากเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง(เชียงราย) ประสานความร่วมมือกับพื้นที่ต้นน้ำต่างๆ เพื่อนำมาประกอบกับจะได้เห็นถึงปริมาณน้ำฝน กรณีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตร ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะมาประชุม ดูข้อมูลร่วมกัน ตั้งศูนย์ประสานงานในการจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบเพื่อเตรียมตัว ขนย้ายทรัพย์สิน เตรียมอาหารและของใช้ที่จำเป็นสำหรับ 2-3 วัน เนื่องจากน้ำจะมาเร็ว และลดเร็ว ยกเว้นที่ลุ่มน้ำขัง

20162809115107.jpg

ปัญหาที่เป็นบทเรียนในปี 2559 ที่พบ คือ -น่านมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ ทำให้มีการกีดขวางเส้นทางน้ำ น้ำต้องรอระบาย/อุปกรณ์ในการสูบน้ำมีไม่เพียงพอ/ระบบในการเตือน ต้องรอจากรมบรรเทาสาธารณะภัยส่วนกลาง ไม่ทันการณ์/การช่วยเหลือทำได้ล่าช้าติดขัดเรื่องของการนำงบประมาณออกมาใช้ และการออกประก่าศภัยพิบัติทำได้ล่าช้า เป็นต้น

ทั้งนี้มีข้อเสนอจากเวทีว่าจะทำอย่างไรให้คนอยู่กับน้ำได้ มีการบริหารจัดการน้ำ สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส และให้ชุมชนมีการเรียนรู้ เตรียมตีชัวที่จะรองรับสถานการณ์ มีการฝึกซ้อมโดยเฉพาะในระดับชุมชน ในด้านของการสื่อสารที่สื่ออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้ ไปจนถึงการเปิดกองทุนในระดับท้องถิ่นโดยไม่ต้องรองมีการบรรจุเรื่องการสื่อสารอย่างเหมาะสมของภาคส่วนต่างๆในการสื่อสารในแผนบรรเทาสาธารณะภัยแต่ละระดับด้วย การจัดตั้งกองทุนในระดับชุมชนเพื่อใช้ในยามเกิดวิกฤตโดยไม่ต้องรอระบบราชการ ไปจนถึงการบริหารจัดการข้อมูลร่วมกัน

20162809115053.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ