“ต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นพื้นที่ป่าลดน้อยลงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะลอยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น“
บทความโดย สมชัย เบญจชย
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่16 เชียงใหม่
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติและเกิดจากฝีมือของมนุยษย์เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆและการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้นับว่าเป็นตัวการสำคัญกว่า 20% ในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ขึ้นสู่บรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดีคือสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นพื้นที่ป่าลดน้อยลงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะลอยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น
การกักเก็บคาร์บอน
ปัจจุบันการกักเก็บคาร์บอนมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือทางตรงและทางอ้อม แต่วันนี้เราจะมาคุยถึงการเก็บทางอ้อมกัน คือการเก็บคาร์บอนที่ดีที่สุดคือการเก็บไว้ในต้นไม้และป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญที่สุด ดังนั้นป่าไม้จึงมีบทบาททั้งในด้านการกักเก็บและปลดปล่อยคาร์บอน การกักเก็บหรือดูดซับคาร์บอนไดอ๊อกไซค์จะผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งต้นไม้จะนำก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซค์มาใช้ในการสร้างอาหารและเพิ่มผลผลิตมวลชีวภาพ
การกักเก็บคาร์บอนในเนื้อไม้
สำหรับปริมาณการกักเก็บคาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ คือ เนื้อไม้ การสร้างเนื้อไม้ขึ้นมา 1 ตันจะสามารถดูดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ได้ประมาณ 1.81 ตันและยังปล่อยก๊าซอ๊อกซิเจนประมาณ 1.32 ตัน เห็นหรือยังครับว่าต้นไม้ที่มีอยู่รอบๆบ้านเรามีคุณค่าเพียงใด ถ้าเราสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นๆปัญหาโลกร้อนคงจะหมดไปในไม่ช้า
เปรียบเทียบการปล่อยคาร์บอนของรถเล็ก 1 คัน กับการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ 1 ต้น
ตารางแสดง การปล่อยปริมาณ CO2 และ C ของรถเล็กทั่วไป 1 คัน ที่วิ่งตามระยะทางและจำนวนวัน |
|
||||||||
จำนวนวันและจำนวนที่ปล่อย |
|
||||||||
จำนวนที่ปล่อย |
1 วัน |
30 วัน |
6 เดือน |
1 ปี |
|
||||
ลำดับที่ |
ระยะทาง |
CO2 |
C |
C |
C |
C |
C |
|
|
(กิโลเมตร) |
(กรัม) |
(กรัม) |
(กิโลกรัม) |
(กิโลกรัม) |
(กิโลกรัม) |
(กิโลกรัม) |
|
||
1 |
44 |
12 |
0.012 |
0.36 |
2 |
4 |
|
||
2 |
1 |
200 |
55 |
0.055 |
1.64 |
10 |
20 |
|
|
3 |
10 |
2,000 |
545 |
0.545 |
16.36 |
98 |
196 |
|
|
4 |
20 |
4,000 |
1,091 |
1.091 |
33 |
196 |
393 |
|
|
5 |
30 |
6,000 |
1,636 |
1.636 |
49 |
295 |
589 |
|
|
6 |
40 |
8,000 |
2,182 |
2.182 |
65 |
393 |
785 |
|
|
7 |
50 |
10,000 |
2,727 |
2.727 |
82 |
491 |
982 |
|
|
8 |
60 |
12,000 |
3,273 |
3.273 |
98 |
589 |
1,178 |
|
|
9 |
70 |
14,000 |
3,818 |
3.818 |
115 |
687 |
1,375 |
|
|
10 |
80 |
16,000 |
4,364 |
4.364 |
131 |
785 |
1,571 |
|
|
11 |
90 |
18,000 |
4,909 |
4.909 |
147 |
884 |
1,767 |
|
|
12 |
100 |
20,000 |
5,455 |
5.455 |
164 |
982 |
1,964 |
|
|
หมายเหตุ
1. C) = 12 O) = 16 CO2) = 12 + (16×2) = 44
2. 1 CO2 200 (http://www.mop-bkc.com/articleDetail.asp?id=62)
ความหมาย/ตัวอย่าง ลำดับที่ 7
1 คัน วิ่งวันละ 50 กม จะปล่อยคาร์บอน 2.727 กก, 30 วันจะปล่อยคาร์บอน 82 กก, ครึ่งปีจะปล่อยคาร์บอน 491 กก, และ 1 ปีจะปล่อยคาร์บอน 982 กก หรือเกือบ 1 ตัน
เปรียบเทียบการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ของรถเล็ก
- 1 คัน 1 ปี ปล่อยคาร์บอน 1 ตัน เท่ากับต้นยางนา 1 คนโอบ 1 ต้น ซึ่งช่วยเก็บคาร์บอนไว้ 1 ตัน
- 4 คัน 1 ปี ปล่อยคาร์บอน 4 ตัน เท่ากับต้นยางนา 2 คนโอบ 1 ต้น ซึ่งช่วยเก็บคาร์บอนไว้ 4 ตัน
- 9 คัน 1 ปี ปล่อยคาร์บอน 9 ตัน เท่ากับต้นยางนา 3 คนโอบ 1 ต้น ซึ่งช่วยเก็บคาร์บอนไว้ 9 ตัน
รถเล็กทั่วไป 16 คัน 1 ปี ปล่อยคาร์บอน 16 ตัน เท่ากับต้นยางนา 4 คนโอบ 1 ต้น (ใหญ่ที่สุดในถนนสายยางนาเชียงใหม่-สารภี) ซึ่งช่วยเก็บคาร์บอนไว้ 16 ตัน
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอ
-ประมาณการเครดิตคาร์บอน 7 ยูโรต่อตันคาร์บอน = 7×38 = 266 บาทต่อตันคาร์บอน
-ถ้าเจ้าของรถเล็กทั่วไป 1 คันวิ่งวันละ 50 กม ทุกปีจะปล่อยคาร์บอน 1 ตัน น่าจะจ่ายค่าปล่อยคาร์บอน 266 บาท เอาไปไหน? เอาไปช่วยปลูกหรือบำรุงรักษาต้นยางนา ขนาด 1 คนโอบ 1 ต้น ดีไหมครับ?
-มุมมองอีกด้านหนึ่ง การนำคาร์บอนกลับคืนมาจากบรรยากาศที่รถยนต์ปล่อยออกไปนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งโลกนี้มีต้นไม้หรือพืชอื่นๆ เท่านั้นที่นำคาร์บอนในบรรยากาศกลับมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงซึ่งต้องใช้เวลา เช่นต้นยางนากว่าจะโตขนาด 1 คนโอบ ต้องใช้เวลาถึงประมาณ 30 ปี เป็นต้น (คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนหนึ่งจะถูกน้ำฝนละลายลงสู่พื้นดินหรือท้องทะเลด้วย)
-ครับ ช่วยกันลดมลภาวะและปลูกบำรุงรักษาต้นไม้เพื่อโลกใบนี้ให้สวยและยั่งยืน