ก้าวต่อไม่สะดุด “ซอล้านนา” หลังยุคโควิด-19

ก้าวต่อไม่สะดุด “ซอล้านนา” หลังยุคโควิด-19

ถ้าพูดถึงเพลงซอ ดนตรีล้านนาพื้นบ้าน กับความทรงจำสมัยเด็ก ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้เรียนดนตรีไทยและอยู่วงดนตรีไทยผสมดนตรีพื้นเมือง กับวงของครูปราชญ์ครูชาวบ้าน หลังจากเรียนได้ 1 ปี ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับวงทั้ง การไปเปิดหมวกตามสถานที่ต่าง ๆ รับงานห้องอาหารโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว เล่นให้นักท่องเที่ยวฟัง หรือแม้กระทั้งพีธีกรรม งานประเพณีของคนเหนือ จำได้ว่ารายได้ดีเลยทีเดียว ไม่รวมทิปที่ได้จากนักท่องเที่ยว ยิ่งช่วงปลายฝนต้นหนาว อดคิดไม่ได้ใกล้ช่วงเทศกาลทั้ง ออกพรรษา ลอยกระทง หากเป็นช่วงเวลาปกติในภาคเหนือตอนบน จะเริ่มมีการจัดงานวัด งานบุญ และงานรื่นเริงต่าง ๆ

แต่ภาพความทรงจำเหล่านั้นค่อย ๆ จางลง เมื่อเราโตขึ้นอาจเป็นเพราะเราหยุดเรียนไป และด้วยตอนนี้การที่จะหาดูการแสดงสดก็คงจะยาก และเหล่าคนดนตรีดนตรีล้านนาพื้นบ้านที่ต่อสู้มาถึงตอนนี้ก็ไม่ต่างจากการโดน Disruption

ท่ามกลาง ยุคโควิด-19 ทำให้หลายภาคส่วนคิดไม่ตกถึงอนาคตที่ไม่แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่กระแสดีในช่วงก่อนกักตัว หรือระหว่างการ lockdown  อาจไม่ได้ดีตลอดไปในช่วงภายหลังการปลดล็อคเมื่อโรคระบาดยุติลง เช่นเดียวกับ ศิลปะการแสดงแขนงต่าง ๆ ต้องปรับตัวเองในช่วงกักตัว เพื่อให้เข้าถึงผู้ชมและเพื่อเพิ่มกระแสหรือเรตติ้งให้ตัวเอง หรือบางคนหาอาชีพที่สอง หรืออาจะเปลี่ยนอาชีพไป

ปุยฝ้าย // น.ส มะลิวัลย์ สนธิ  (ศูนย์การเรียนรู้ซอพื้นบ้านล้านนาครูมะลิวัลย์)

ประชาชนไปต่อ… พามาพูดคุยกับ ศิลปินจ้างซอ ปุยฝ้าย // น.ส มะลิวัลย์ สนธิ และกลุ่มที่อยู่ในวงการนี้มาเกือบทั้งชีวิต เพื่อไม่ล้มหายตายจากและรอวันที่จะได้กลับไปเล่นเหมือนเดิมอีกครั้งหลังโควิด-19 ผ่านพ้นไป เธอบอกกับเราว่า….มันไม่ง่ายอีกเลย เพราะทั้งระบบเศรษฐกิจจะไม่เหมือนเดิม และจ้างซอ วงดนตรีพื้นเมือง ต่างรู้กันในทางสืบสานก็ยากอยู่แล้ว และยิ่งในสถานการณ์วิกฤติ และการที่ช่างซอต้องปรับเปลี่ยนเพราะสังคมและเทคโนโลยีมันเปลี่ยน โดยผลกระทบของโควิดที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา แต่หลายคนในช่วงการระบาดที่ผ่านมาก็ยังพยายามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความพยายามของศิลปินหลายคนรวมถึงปุยฝ้ายและวง ยังมีความพยายามต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ชมสามารถเสพสื่อศิลปะการแสดงซอ ดนตรีพื้นบ้าน ในรูปแบบการแสดงอยู่บ้านสร้างศิลป์และแชร์ให้โลกรู้ กลุ่มของเธอยังเชื่อว่าในวิกฤติยังมีโอกาสให้ศิลปินได้ฝึกฝน ทบทวนทักษะ และใช้เวลาอยู่กับศิลปะให้มากขึ้น และออกแบบการโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เผยแพร่สู่สาธารณะ ผลที่กลับมาคือจำนวนถูกใจมากขึ้น ยอดไลท์ ยอดแชร์ แต่คำถามต่อไปอยู่เมื่อสถานการณ์โรคระบาดยุติลงจะเป็นอย่างไร เพลงซอจะอยู่ในแพลตฟอร์มไหน ศิลปินพื้นบ้านจะต้องคิดจัดการต่อกันอย่างไร ?

“งานแสดงที่หายไป พร้อมกับรายได้ที่หายไปเช่นกัน ปกติแล้ว รายได้ช่วงก่อน โดยประมาน 1 วง ขึ้นกับสถานการณ์หน้างาน แล้วแต่ลักษณ์งานเจ้าภาพ แต่ถ้าจัดต่างจังหวัด รวมเครื่องเสียง 25,000-30,000 บาท บางพื้นที่ 15,000-20,000 บาท  รายได้ตรงนี้หารเฉลี่ย คนในวง ที่มีประมาน 6-10 คน ที่ประกอบด้วย ช่างปี่ 3 คน ช่างซึง 1 ช่างซอ 2 คน ชาย 1 หญิง 1 ร้องคู่กันและทีมงานคนอื่น ๆในวง ”

ปุยฝ้าย ศิลปินซอพื้นบ้านรุ่นใหม่ เล่าถึงความปกติใหม่ที่เธอและทีมงานเจอตั้งแต่โควิดระบาดระลอกแรก

ปุยฝ้ายบอกว่า “การปรับตัวแต่ละยุคที่ผ่านมาเราพยายามคิดไว้เสมอว่า ของใหม่ก่อเอา ของเก่าก่อบ่ะละ” เราหยิบเอาของเก่ามาเล่าใหม่ มองหาทางเผยแพร่สืบทอด เกิดการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ ทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสนใจตรงนี้ เอาดนตรีมาผสมผสานกันให้เกิดความแปลกใหม่

“หลายคนมองว่าเพลงซอมองว่าเป็นเรื่องของคนรุ่นเก่า ฟังแล้วง่วง แต่เราอยู่ตรงกลางระหว่างคนสองกลุ่มนี้ จึงมองต่างออกไปและมีแนวคิดอยากนําเพลงพื้นบ้านมาพัฒนาให้เป็นเพลงท่ีฟังง่ายข้ึน ให้คนรุ่นใหม่ฟังได้ แล้วจะรู้ว่าเพลงพื้นบ้านไม่ได้เก่านะ อาจจะใหม่อยู่เสมอด้วยซ้ำ”

ส่วนด้านรูปแบบและเนื้อหา เธอยังคงไว้ในรูปแบบเดิม แต่ทำนอง ท่วงท่า หรือการผสานดนตรีอื่น ๆ อาจจะเปลี่ยนไปเพื่อทําให้เพลงซอยังคงยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสโลก ที่ผ่านมาเพลงซอเป็นการ ปรับตัวโดยเจ้าของวัฒนธรรม ที่ไร้ทิศทางชัดเจน และจํากัด ในระดับบุคคล ซึ่งไม่เพียงพอต่อการสืบทอด เนื่องจากอาจเกิดการผิดเพี้ยนและสูญหาย ได้ในอนาคต ดังนั้นแนวทางในการปรับตัวสืบทอดควรจะต้องมีการวางแผน ต้องรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการปรับประยุกต์ การปรับประสาน ที่ต้องคิดถึงถึงแก่นที่ต้องยึดมั่นไว้ การสืบทอดศิลปินช่างซอและผู้ชมที่มีคุณภาพ การสานสัมพันธ์ระหว่างสื่อการแสดง สื่อวัตถุและสื่อพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงซอ และการรักษาบทบาทหน้าที่เดิม รวมถึงการเพิ่มบทบาทหน้าที่ใหม่ให้สอดรับกับสังคมปัจจุบัน และการใช้สื่อในยุคที่มีความหลากหลาย เพื่อความยั่งยืนของสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากสำหรับกลุ่มศิลปิน

แน่นอนว่าเพลงซอของล้านนาในปัจจุบันก่อนหน้าการระบาดของโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเล่นกันตามงานบุญ งานประเพณี มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้ใหญ่ไปจนถึงคนสูงวัย ยิ่งในสถานการณ์โควิดที่การฟังซอมีข้อจำกัด ทำให้ช่างซอหรือคนดนตรี (พื้นบ้าน) ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ต้องปรับตัว เพื่อให้เสียงซอยังคงอยู่และส่งต่อจากคนรุ่นสู่รุ่น เพราะ “ซอ” ไม่เพียงเเต่การสืบสาน แต่คือ อาชีพของหลายคนที่พยามไปต่อ ซึ่งกลุ่มของปุยฝ้าย พยายามประคับประคองกันมาตลอด สำหรับกลุ่มคนดนตรีพื้นบ้านแล้ว สถานการณ์โควิด-19 มีข้อจำกัดของการรวมตัว ยิ่งทำให้ศิลปินต้องปรับตัว อย่างเพลงซอของทางภาคเหนือ ที่การปรับตัวครั้งนี้ไม่ใช่แค่อาชีพ แต่นี่คือการรักษารากเหง้าของวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้

ทางภาคอีสานมีหมอลำ ภาคกลางมีเพลงฉ่อย ในภาคเหนือก็มีจ๊อยซอ แต่เพราะขึ้นเวทีแบบปกติไม่ได้ วันนี้ที่ได้มารวมตัวกันในรอบเกือบ 2 ปี ศิลปิน “จ้างซอ” เราจึงใช้เสียง “ซอ” เป็นสะพานเชื่อม ต่อยอดไปสู่การไลฟ์สดเล่นในวง และหาทางเพื่อหารายได้หล่อเลี้ยงคนในวง ปัจจุบันพวกเราต้องปรับตัวตามสถานการณ์ ทำธุรกิจขายของทางออนไลน์ และใช้เสียงซอเชื่อมกลุ่มคนดู-คนฟัง กับหน้าร้านออนไลน์ และทำกิจกรรมไลฟ์สดซอ ศิลปิน “จ้างซอ” บอกว่าจริง ๆ แล้วช่วงนี้จะทยอยมีเจ้าภาพทยอยติดต่อเข้ามาจ้างงานกันแล้ว แต่ในช่วงโควิดตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีงานจ้างไปแสดง

“ระลอกหนึ่งเจอสิ่งใหม่ ๆ เราพอปรับตัวได้ การระบาดระลอกสองระลอกสาม ศิลปินขาดรายได้เครียดกันมาก พวกเราจึงมานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไร เราต้องมีอาชีพเสริมไว้อย่างเช่นตัวดิฉันปุยฝ้าย ขายไส้อั่วขายของฝากภาคเหนือ เอามาซอไลฟ์สดไส้อั่วราคา 350 บาท ผู้ใหญ่ที่บ้านก็บอกว่ามันแปลกใหม่ดี” ปุยฝ้ายเล่าถึงการปรับตัวส่วนตัวของตัวเองในช่วงที่ผ่านมา

การฟังเพลงซอ สมัยก่อนต้องฟังหน้าเวที แต่ปัจจุบันทุกอย่างมันเปลี่ยนไปหมด มีสื่อเข้ามา เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ สื่อโซเชียลเข้ามาช่วย ตอนนี้ตัวศิลปินเองต้องมาอยู่นิ่งเฉย ต้องมองหาเกร็ดความรู้ต่าง ๆ เช่น วันนี้ประเพณี 12 เป็ง (ประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ล่วงลับ ในวันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ หรือเดือนสิบของภาคกลาง : ผู้เขียน) เราต้องหาข้อมูลไว้ วันข้างหน้าที่จะมาถึงคือประเพณีลอยกระทง ช่างซอจะต้องคิดเรามารวมตัวกันใช้สื่อออนไลน์ จัดงานลอยกระทงมองหาทางยุคโควิด ทำอย่างไรได้บ้างเรามารวมตัวกันและอาจจะทำกิจกรรมงานขึ้นสักงาน

ศราวุฒิ โอฆะพนม ฉายาเพลงซอ  (สมยศ เมืองฝาง) “ระลอกแรกปุยฝ้าย ผมและคนในวงรวมตัวกัน ทำเป็นเพลงขึ้นมาทำเพลงดำหัวออนไลน์ ทำให้ทันกับยุคสมัย สิ่งนี้เป็นการปรับตัว ในการเล่นซอของพวกเราอย่างหนึ่ง”

https://www.youtube.com/watch?v=oyr2GaaHsM8

ปุยฝ้าย บอกว่า ทุกวันนี้ศิลปินซอวันนี้ต้องมีเกร็ดความรู้ และคิดหาวิธีในการนำมาใช้ อย่าที่บอกว่างานวันนี้ เป็นการรวมตัวกันครั้งแรกในรอบสองปี เราทดลองจากงานที่จัดวันนี้คือ ประเพณี 12 เป็ง ฮาโลวีนล้านนา ที่ปกติชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ โดยปกติวันนี้ชาวล้านนาจะพากันเข้าวัดทำบุญ เพื่อนำข้าวปลาอาหาร จตุปัจจัย และอื่น ๆ ไปทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้กับ พ่อ แม่ บรรพบุรุษ หรือญาติมิตรที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ให้มารับเอาสิ่งของที่ทำบุญให้

เราก็คุยกับพี่น้องจ้างซอและวง ว่าทุกวันนี้ถ้าไม่มีสื่อแล้ว มีประเพณีแบบนี้ที่เราจะต้องไปเล่นในปกติเราก็อยู่ไม่ได้แล้ว น้องคนที่เล่นปีบอกว่าในตอนนี้เป่าปี่อยู่บ้านคนเดียวไม่ถึง 10 นาทีก็เบื่อแล้ว และพวกเราทำอาชีพที่สองกันไปในช่วงนี้ แต่ในความเป็นพวกเรา อาชีพที่หนึ่งก่อนหน้านี้ คือ การมีวง เราจึงคิดและเอาอย่างนี้ เดือนกันยายนวันที่ 21 ภาคเหนือบ้านเราจะเป็นประเพณีพื้นบ้านล้านนาที่สืบกันมา 12 เป็ง  เรามาลองรวมตัวกันและทำกิจกรรมซอ เป็นซอสื่อบุญผ่านออนไลน์ และเราก็ซอด้นสด ถ้าผู้ชมทางบ้านหรือเอฟซีของเราพี่ยังมีอยู่อยากจะร่วมทำบุญ เรามาซอสื่อบุญไหม ผู้สูงอายุ คนกลุ่มคนอื่น ๆ เราคิดกันว่า ถ้าเราลุกขึ้นมาทำแบบนี้ทางผู้จัดงานหรือผู้ว่าจ้างจะเห็นว่าเรามีทางพี่หลังจากนี้จะเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของทางภาคเหนือซึ่งจุดเริ่มต้นงานวันนี้จะเป็นตัวอย่างว่าถ้ามาแสดงสดในพื้นที่แต่ในรูปแบบออนไลน์และมีการจัดการหากมีผู้ที่จะมานั่งฟังก็จะมีการจัดการแบบนี้ วิธีทดลองนี้เรา แบ่งเป็นสองโซน

โซนที่หนึ่ง เป็นพื้นที่ของช่างซอในการไลฟ์มีทีมงานไม่เกิน 10 คนมีเครื่องเสียง เป็นโซนระบบปิดผู้คนภายนอกไม่สามารถเข้ามาใกล้ใกล้ได้ และมีการจัดที่นั่งในการซอสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตนเอง

โซนที่สอง สำหรับผู้ที่อยากจะมานั่งฟังในสถานที่จัดเรียงเก้าอี้ให้ห่างกันเกินระยะ 1 เมตร มีจอฉายไว้ด้านนอก ตรงนี้จะมีเจ้าหน้าที่ อสม. ในการคัดกรองทุกคนที่เข้ามาหรือถ้าในภาวะปัจจุบันอาจมีชุดตรวจ ATK ก่อนเข้ามาดูหรือแสดง

อาจไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นสิ่งที่เราคิดว่าพอจะขยับและสามารถทำได้เลยในตอนนี้

“วันนี้จะมีรายได้หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ เพราะถ้าเราเล่นในแบบสมัยก่อนก็จะมีคนมาคล้องพวงมาลัยหรือให้ทิป หรือเขาอยากจะร่วมทำบุญกับช่างปี่ ช่างซอ แต่วันนี้เป็นเหมือนการทดลองสำหรับครั้งต่อๆ ไป และผู้ที่อยากจ้างงาน ให้ไปแสดง ก็จะได้มองเห็นรูปแบบการจัดการ”

ครั้งนี้จึงเป็นความหวัง ด้านหนึ่งก็เป็น ความพยายาม ที่ศิลปิน “จ้างซอ” รวมถึงศิลปินพื้นบ้าน ร่วมกันสานต่อสืบทอดเพลงพื้นบ้าน และพยายามคิดวิธีให้เพลงซอเพื่อไปต่อ ในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้านหนึ่งคือ ได้กลับมารวมตัวกัน สร้างสรรค์ผลงาน ผ่านทางออนไลน์ และทำให้เห็นถึงทางเลือกในการจัดงานในรูปแบบใหม่ แบบออนไลน์ ไลฟ์สตรีมมิงบนผ่านเฟซบุ๊ก ยูทบ และรายได้อีกส่วนหนึ่งมาจากแพลตฟอร์ม และยอดวิว เพิ่มจากโดเนทของฐานแฟนคลับ

ปุยฝ้าย บอกทิ้งท้ายว่า “หลังจากนี้ทุกอย่างคงเปลี่ยนแปลงและ มีความเข้มข้นขึ้น ช่วงนี้อาจทําให้หลายคน ได้กลับมา ทบทวน มาวิเคราะห์ตัวเองว่า เราขาดตรงไหนไปบ้าง หาทางพัฒนาตัวเองต่อ ทําแพลตฟอร์ม เก็บผลงานรูปแบบการแสดง อัพเดตรูปแบบงานต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์กลับมาปกติ เราจะได้พร้อมรับงานได้” นอกจากน้ีศิลปินต้องปรับตัวให้ทันโลกแล้ว ต้องทําตัวเป็นน้ําครึ่งแก้วพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วย เรียนรู้เทรนด์ ให้ได้ อาทิ ดีไซน์โชว์ต้องกระชับ รู้จักนําเทคโนโลยีมาใช้ ต้องมีทีมเวิร์กที่ดี”

อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาดุริยางค์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มาร่วมมองไปต่อกับเรา

Q : เราพอที่จะเห็นศิลปินพื้นบ้านล้านนาภาคเหนือ จ้างซอ ปรับตัวอย่างไรบ้าง ?

ANS : ในยุคปัจจุบันเท่าที่ตัวผมสังเกตุเห็นในสื่อออนไลน์ต่างๆรู้สึกว่าจ้างซอ หลายหลายท่านศิลปิน ล้านนาหลายท่าน กำลังพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่โดยเฉพาะเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการเอาคอนเทนท์พัฒนาคอนเทนท์ของการซอมาย่อยให้ง่ายขึ้น ทำให้ทุกคนสามารถสื่อสารได้หมายถึงทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ในสมัยก่อนอาจจะต้องไปฟังซอโดยธรรมเนียมประเพณีต่างๆแต่ในปัจจุบันนี้มันมีลักษณะของทุกคนเอามาใส่ใน YouTube แพลตฟอร์มออนไลน์ใน Facebook บางคนถึงขนาดที่มีแฟนเพจของตัวเองและมีกลุ่มคนมาคลิ๊กไลท์เยอะมาก การมาใช้สื่อออนไลน์เป็นการปรับตัวที่น่าสนใจของจ้างซอ ในยุควิกฤติและเป็นยุค โควิด-19 ณ ปัจจุบัน ถ้ามาพูดถึงเรื่องความหลากหลายของคอนเทนท์เข้าใจว่ากำลังอยู่ในช่วงขั้นของการพัฒนา หลายหลายคนเริ่มมีการไลฟ์สดเปิดหมวกต่างๆเพราะว่าที่ผ่านมาทุกคนแทบจะไม่มีงานแบบเดิมเข้ามาเลย เปรียบเทียบกับทางสายอีสานเอาเข้าจริงๆ กลุ่มคนฟังคนเมืองเราอาจจะน้อยกว่าทางอีสาน ความแมสกับความป๊อบของเราจะไปในเรื่องของเพลงตลก เพลงที่สื่อสารเรื่องของความสนุกสนานพี่เพลงซอสามารถทำได้ และได้รับความนิยม แต่ในเรื่องของการสื่อสารทางการเมืองของอีสาน จะมีความหลากหลายมากกว่าของเราจะไม่ค่อยมากเท่าเขา

Q : อาจารย์คิดว่านี่เป็นตัวเร่งในการที่เพลงซอจะปรับตัวเมื่อก่อนทำแบบเดิมมาเรื่อย ๆ เพราะโควิดทำให้พวกเขาได้ปรับและความห่างของคนรุ่นใหม่กับซอมันห่างขึ้นหรือมันเป็นโอกาสที่ทำให้สองเข้าถึงคนรุ่นใหม่

ANS : สังเกตได้ว่าในช่วงพักหลังคนรุ่นใหม่จะเริ่มหันมากลับมาฟังเพลงซอมากขึ้นแต่โดยขณะที่กระบวนซอการเล่นซอ ไม่ได้ซอแบบทั้งวันทั้งคืนแล้ว อาจจะเป็นช่วงเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง ที่ผมสังเกตจากช่างซอหลายคนที่ไลฟ์สดเปิดหมวกทางเชียงใหม่ทางภาคเหนือเองทางคนเมืองพัดถิ่นที่ไปอยู่ต่างจังหวัดเองก็จะมีกลุ่มแฟนเพจแฟนคลับพอสมควรที่เข้ามาฟังและโดเนตให้ศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ แล้วจะมีปฏิกิริยาสื่อสารกับสองทางพูดคุยกันระหว่างทั้งตัวศิลปินกับผู้ที่มาชมหรือผู้ที่มาชมคุยกับผู้ที่มาชมเองได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมันเหมือนเป็นการทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้นทั้งคนดูและศิลปินเองปกติถ้าเล่นก็จะไม่ได้มีการคุยกันเล่นจบคือจบ วัยรุ่นก็รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นของบ้านเรากลับมาฟังสักเล็กน้อย สิ่งนี้จะทำให้ก้าวต่อไปของซอไม่ล้าสมัยพัฒนา การเข้าถึงได้ง่าย ของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยและกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มพี่มาสืบสาน

Q : เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างเพลงซอกลับอีสานแล้วอะไรที่จะไปได้ดีกว่าทางอีสานนี่ดูเหมือนจะไปได้ไกลมาก ในการปรับตัวในรูปแบบที่หลากหลาย ?

ANS : เรามองว่าตัวช่างสาวเองตอนนี้ก็พยายามปรับ หาที่ทางที่จะทำให้เพลงซอแมสมากขึ้น หนังอีสานแน่นอนอยู่แล้วตัวเค้าเองมีหมอลำมีดนตรีลูกทุ่งอีสาน มีป๊อบอีสาน ทางเลือกหลากหลายต้องยอมรับว่ากลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีกลุ่มตลาดหลากหลายทั่วประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่ฝั่งไทยอย่างเดียวแต่รวมไปถึงฝั่งลาวเพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ฟัง เปรียบเทียบกับทางเหนือคนฟังก็จะเป็นกลุ่มเล็กๆกลุ่มน้อยและยิ่งกลุ่มคนที่ฟังซอก็น้อยลงไปอีก แต่เราก็เห็นถึง ความพยายามของศิลปินจ้างซอ เป็นศิลปินล้านนาหลายหลายคนจะพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านทำน้องซอหรือเรื่องของคอนเทนท์ในการสื่อสารให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น วงวัยรุ่นบางวงมีความพยายามทำร่วมกับดนตรีสากลและเป็นแนววัยรุ่นแต่อาจจะเข้าใจว่ายังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและการสร้างฐานคนฟัง จุดนี้สำคัญมากคือเรื่องของการสร้างฐานกลุ่มคนฟังเราจะสร้างดนตรีสร้างบทซอสร้างคอนเทนท์ต่างๆกลุ่มคนฟังยังไม่ขยายเท่าไหร่ก็จะทำให้จำกัดอยู่ เพราะฉะนั้นต้องสร้างฐานคนฟังให้ได้กว้างมากขึ้น

น่าจับตามองว่าหลังจากเดือนนี้ไป จะเป็นช่วงของเทศกาลของภาคเหนือ ทั้งงานบุญงานเทสกาลต่าง ๆ จะมีมาเรื่อย ๆ ความหวังในการเปิดการท่องเที่ยวก็เช่นกัน เพราะธุรกิจเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็โยงใยกับการท่องท่องเที่ยวและงานต่าง ๆ ซึ่งนี่อาจเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยทั้งต่อลมหายใจให้คนดนตรีพื้นบ้านได้ไปต่อ ในช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถกลับไปเล่นดนตรีในรูปแบบที่คุ้นเคยได้ และการปรับตัวแบบนี้ก็เป็นแนวทางหนึ่งให้กลุ่มคนตรีพื้นบ้าน ได้ยกระดับปรับเปลี่ยนตัวเองทามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ