ประชาชนไปต่อ : อาสาสมัคร “one stop service” พาคนเจียงฮายปิ๊กบ้าน

ประชาชนไปต่อ : อาสาสมัคร “one stop service” พาคนเจียงฮายปิ๊กบ้าน

จากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้มีประชาชนเดินทางออกจาก กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกลับสู่ภูมิลำเนาจำนวนมาก ร่วมถึงมีผู้ติดเชื้อเดินทางกลับไปด้วย ผ่านมาเกือบสองเดือน เชียงรายประสานรับคนป่วยกลับรักษาในจังหวัดเกือบ 1,500 ราย ซึ่งการประสานความร่วมมือ ยืนระยะช่วยกันของคนเชียงราย ไม่ได้มีแค่เจ้าหน้าที่ด้านนะครับที่ช่วยจัดการ  เพราะการช่วยเหลือพาผู้ป่วยกลับมารักษาไม่ได้มีแค่ระบบสาธารณสุข อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เรื่องปากท้องที่ระหว่างที่คนป่วยและคนเสี่ยงจะต้องกักตัว 

ครบเดือนกว่า ๆ สำหรับโครงการ “พาคนบ้านเฮาปิ๊กบ้านเชียงราย” แล้วกว่า 1,500 คน ประสานงานกับอาสาสมัครผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ดูแลแบบ “one stop service” ตั้งแต่การรักษา ติดตามจนถึงการการรักษาหายและดูแลต่อช่วงต้องกักตัวในเรื่องปากท้อง หลังพบว่าหลายครอบครัวกลับมาตกงาน ขาดรายได้

ประชาชนต้องไปต่อ ยังช่วยเหลือกันอยู่ เพราะการช่วยเหลือกันโดยเฉพาะผู้ป่วยรอช้าไม่ได้  “อาสาพาคนเจียงฮายปิ๊กบ้าน” เป็นกลุ่มของประชาชน  ที่ตั้งขึ้น เพื่อช่วยพาคนที่เป็นทั้งผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงเดินทางกลับมารักษาตัวในพื้นที่ตามภูมิลำเนา ของเชียงราย

“ตัวพวกเราเองเข้าใจมากว่า ว่าคนที่ติดเชื้อแล้วอาการกำลังแย่ลง นั่นหมายถึงนาทีชีวิต มันคือนาทีชีวิตของคน ๆ นั้นที่จะต้องการเข้ารักษา หรือต้องการกลับบ้าน ถ้าเราไม่ประสานงานให้ อาจเกิดการสูญเสียซึ่งหมายถึงครอบครัวเขา” คำพูดของอาสาสมัครประสานงานรับคนกลับบ้าน

จะทำอย่างไรให้พี่น้องเชียงรายบ้านเฮากลับมาให้ได้ มารักษาตัวที่บ้านให้ได้ มีคนส่งข้อความเข้ามาหาเราเรื่อย ๆ ใน อินบ๊อกข้อความ ถึงเรื่องของการที่กรุงเทพตอนนี้เกิดขั้นวิกฤตคนเชียงรายที่อยู่ที่นั่นไม่สามารถหาเตียงได้แล้วก็เป็นผู้ป่วยที่เริ่มค่อนข้างวิกฤต พอมากขึ้นเราเลยคิดทำอะไรซักอย่าง จึงตั้งศูนย์ประสานงานภาคประชาชน แรกเริ่มเดิมทีการประสานงานพาคนกลับบ้านจะอยู่ที่จุดศูนย์กลางจังหวัดเชียงรายที่เดียว แล้วต้องผ่านทาง สสจ.หรือสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายที่เดียว ประเด็นคือจำนวนคนที่ต้องการกลับบ้านเพิ่มมากขึ้นหลักพันคน แต่มีจุดประสานงานเพียงเส้นทางเดียว และการประสานงานค่อนข้างต้องใช้เวลา ชุดประสานงานภาคประชาชนตรงนี้ ทำไลน์กลุ่มขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนที่ต้องการกลับบ้านแอดเข้ามายังกลุ่มนี้ ทีมอาสาที่มีกันอยู่สองถึงสามคนนี้จะทำการเก็บข้อมูลของแต่ละคนเป็นชุดเพื่อนำไปประสานงานกับทางสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เหมือนว่าเราเก็บข้อมูล แล้วประสานตรงสาธารณสุข

ขั้นตอนการปิ๊กบ้านของชาวเชียงราย

สเต็ปแรก  ประสานงานรับข้อมูลผู้ป่วย รวบรวมเอกสาร เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและเตรียมการจัดการรับผู้ป่วยกลับมารักษา

เอกสารที่ทีมอาสาช่วยประสาน 

– ใบผลตรวจโควิดก่อนเดินทางมารักษา 

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 

– ทะเบียนบ้านที่เชียงรายพร้อมเบอร์โทรศัพท์ของญาติ

– สถานที่กักตัวหลังรักษาเสร็จอีก 14 วัน

สเต็ปที่สอง เมื่อโรงพยาบาลต้นทางแจ้งกลับยืนยันรับผู้ป่วย ทีมอาสาสมัคร จะประสานไปยังผู้ป่วย และติดตามประเมินอาการระหว่างการเดินทาง กว่า 900 กิโลเมตร จนถึงโรงพยาบาลปลายทาง

สเต็ปที่สาม หลังจากผู้ป่วยรักษาหาย ทีมนี้จะรู้ข้อมูลจากโรงพยาบาล แล้วก็จะประสาน ต่อเพื่อเตรียมรับผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน หรือศูนย์พักค่อยในชุมชน พร้อมกับเตรียมอาหารและของใช้จำเป็น สำหรับกักตัวต่อ อีก 14 วัน

ทางทีมอาสาประสานจะส่งให้ทางสาธารณสุขจังหวัดทีเดียว เพื่อทำงานง่ายขึ้นคือไม่ต้องเรียกหรือประสานงานหลายชั้น เมื่อเอกสารครบแล้วถึงตัวสสจ. เคสหลายหลายเคสที่เรารวมมาจะถูกนำส่งต่อไปยังแพทย์เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วย และใบผ่านทางก็จะออกทันทีขณะนั้นหลายหลายคน จากเดิมที่ต้องรอหลายวันสองถึงสามวัน เราเห็นว่าขณะนี้คนไข้รอไม่ได้หลายเคสที่เชื้อจะลงปอด  

หลังจากนั้นขั้นตอนการเดินทางมาของผู้ป่วยทางทีมและจังหวัดเซ็ตไว้สามแบบ การที่คนต้องการกลับบ้านจำนวนประมาณ 2,000 ถึง 3,000 คน ระดมติดต่อมายังจุดเดียว อาจจะมีการติดขัดกันเยอะพอสมควร ช่วงแรกที่เราเปิดศูนย์มาได้สองเดือนติดขัดปัญหาเยอะยังไม่ลงตัวกว่าจะได้เอกสาร แต่เจ้าหน้าที่หลายคนทำงานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง เพราะมีสองเบอร์ที่รับสาย

“เรามองเห็นปัญหาและเข้าใจกับทางบุคลากร แต่ช่วงหลังมีการเปิดรับคนเชียงรายกลับบ้านโดยกระจายให้ทั้ง 18 อำเภอเป็นคนดูแล ใครอยู่อำเภอไหนก็โทรเข้าเบอร์นั้น”

ใครอยู่อำเภอขุนตาล โทรเข้าอำเภอขุนตาล  เจ้าหน้าที่จะมีการเซ็ตอัพเอกสารแล้วก็ส่งไปทางที่สาธารณสุขและให้หมอประเมินและพากลับมาบ้านได้ แต่ในกรณีกระจายการโทรและรับเรื่องประสาน อำเภอใน 18 อำเภอให้ผู้ป่วยพี่อยู่อำเภอไหนก็ประสานงานอำเภอนั้นคนไข้เองและผู้ป่วยต้องเดินทางมาที่อำเภอนั้นก่อน เช่นผู้ป่วยอยู่ที่อำเภอขุนตาล ต้องเดินทางมาที่อำเภอขุนตาลมาพักที่ศูนย์พักคอยก่อน จะมีแพทย์เข้ามาประเมินถ้าประเมินแล้วเป็นผู้ป่วยสีเขียวก็จะรักษาที่ศูนย์พักคอย ถ้าคนไข้อีกส่วนหนึ่งไม่สามารถรักษาได้ประเมินแล้วมีอาการหนักสีแดงหมอก็จะส่งตัวไปรักษายังศูนย์โรงพยาบาลสนามแม่ฟ้าหลวง และโรงบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จึงทำให้การทำงานง่ายขึ้นการประสานงานคนกลับบ้านรวดเร็ว 

ธนพัต รักเรียน เล่าว่า การช่วยเค้าได้กลับมายังชุมชน ตัวเรามองว่าวันนี้เราไม่ได้ช่วยคนให้กลับมาบ้านได้เพียงอย่างเดียว มองไปถึงการกับตัวของเค้าใน 14 วันหลังจากนี้น่าจะมีปัญหา จะกินอะไร เพราะเค้าออกไปไหนไม่ได้จะทานอะไร บางคนกลับมาบ้านแล้วสถานภาพทางสังคมเค้าก็ตกงานไม่มีเงินและกลับมาอยู่บ้านต้องกักตัวอีก 14 วัน รวมเกือบ 1 เดือน บางคนแทบไม่มีเงินเหลือเข้ามาเราจึงทำการวางแผนในระดับชุมชนล่วงหน้า  

ยกตัวอย่าง อ.ขุนตาล เปิดรับบริจาคอาหารแห้งถุงยังชีพต่าง ๆ จากคนที่พอมีกำลังเหลือทางชุมชนรวบรวมทั้งอำเภอเพื่อทำถุงยังชีพ แบ่งการบริหารจัดการเป็นทั้งทีมจะดูว่าวันนี้ทางสาธารณสุขมีจำนวนตัวเลขกี่เคสที่ต้องปรับตัวเช่น 18 เคสต่อหนึ่งครอบครัวหรือหนึ่งคนถ้าหนึ่งครอบครัวเราให้ถุงเดียวไม่พอต้องประมาณสามถุงถึงจะยังชีพเขาได้ภายในหนึ่งอาทิตย์แต่ถ้ากลับตัวเพียงคนเดียวในบ้านก็ให้เขาไปหนึ่งถุงก็จะสามารถยังชีพเค้าได้  ถึงตอนนี้แล้วที่เปิดรับบริจาคข้าวสารอาหารแห้งเข้ามาตอนนี้มีเพียงพอแต่หลังจากนี้ไม่แน่ใจเพราะฉะนั้นแล้วในการบริจาคยังคงทำได้อยู่แต่ขอเป็นสิ่งของไม่รับเป็นเงิน    การแพคข้าวของก็เป็นคนในชุมชนเองนำโดยอาสาทีมด่าน หน้าคือ ทีมอสม. เป็นคนที่แจกจ่ายให้กับคนที่กลับตัวในชุมชนแต่ละชุมชน เช่น อ.ขุนตาลมี 3 ตำบล เกือบ 58 หมู่บ้านยอดผู้ป่วยตอนนี้สูงถึงระดับหลัก 100 รายที่ต้องกักตัว

อำเภอขุนตาลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ชื่อตำบลจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร
1.ต้า204,30012,964
2.ป่าตาล142,5557,916
3.ยางฮอม213,66211,461

เพราะฉะนั้นในศูนย์บริหารภาคประชาชนจัดการพาพี่น้องเชียงรายปิ๊กบ้านต้องมีการวางแผนค่อนข้างละเอียดต้องให้ถึงมือผู้กับตัว

การทำงานแบบละเอียด คือ ต้องมีการประสานกับทางสสจ. ทั้งสามตำบล ว่าวันนี้แต่ละตำบลมีผู้ที่เดินทางและกักตัวจากพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดกี่คนเพราะเรารู้ข้อมูลทั้งหมด ถุงยังชีพก็จะออกไปในเย็นวันนั้นทันที และสอบถามความต้องการว่าถุงยังชีพนี้จะอยู่ได้ถึงวันไหนจะกะปริมาณของใกล้หมด โดยทางทีม อสม. และคนในพื้นที่ก็จะเข้าไปเติม นอกจากนั้นจะประสานงานทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก่อน ประสานสาธารณสุขในเรื่องของจำนวนคนกักตัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะทำการคือจ่ายงานให้กับ อสม. ในการนำถุงยังชีพไปให้กับผู้กักตัว ศูนย์พักคอยยังต้องการเรื่องของการสนับสนุนในเรื่องของการช่วยคัดกรองเอกสารก่อนก่อนจะส่งต่อเพื่อจะออกใบเดินทางให้กับผู้เสี่ยง สิ่งที่ทำทุกอย่างคือทำออกมาให้เป็นระบบเพราะไม่งั้นถ้าไม่มีการสกรีนเบื้องต้นก็จะเกิดการแพร่เชื้อในชุมชนได้ง่าย 

ส่วนตัวของเคสผู้ป่วยที่ได้กลับมานั้น เรามองว่าทุกเคสแม้จะป่วยหนักหรือป่วยเบานั่น หมายถึงนาทีชีวิตของแต่ละคน ทำอย่างไรให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่ได้กลับบ้านรู้สึกอบอุ่น เรามีการโทรหาระหว่างทางให้กำลังใจระหว่างทาง จะตีสามก็ต้องโทรหาเขา จะเวลาไหนก็ต้องติดตามโรงพยาบาลว่าถึงไหนแล้วแอดมิดหรือยัง? แล้วคนไข้ได้รับการรักษาหรือส่งต่อหรือยังเราทำถึงขั้นนั้น

“หลายคนขอบคุณ บ้านเฮาทางเหนือ เปิ้น(เขา)รู้สึกว่าถ้าไม่ได้ทำศูนย์ประสานงาน ถ้าอยู่ที่กรุงเทพต่อหรืออยู่พื้นที่เสี่ยงต่ออาจไม่มีชีวิตรอด ไม่อยากให้คิดว่าเป็นบุญเป็นคุณ แต่คิดว่าวันนี้อะไรที่สามารถช่วยเหลือให้คนบ้านเฮายังรอดชีวิตกลับมาไปต่อได้ หมู่เฮาคิดแบบนี้”

ล่าสุดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย รายงานว่า มีคนขอเดินทางกลับมารักษา ตัวในพื้นที่เชียงราย 1,456 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานขอเดินทางกลับอีก 48  คน  วันนี้ทีมอาสาช่วยประสาน กลับมาบ้านเพิ่ม  อีก 2 คน แม้เชียงราย สถาณการณ์การติดเชื้อในจังหวัดยังทรงตัวพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง แต่การช่วยไม่ใช้แค่ช่วยเฉพาะหน้า ประชาชนยังต้องช่วยเพื่อนที่อยู่ในพื้นที่เสียงกลับมารักษา ให้ทันเวลา ตามมาตรการสาธารณะสุข กลไกแบบนี้ อย่างน้อยคนเสี่ยงก็กลับบ้านแบบอุ่นใจ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ