“โอ้โหเราได้ปลาจะนะมากินด้วย” เป็นเสียงดีใจจากชาวบ้านในพื้นที่คลองเตยหลังเปิดถุงยังชีพเเล้วเจอ ปลาเเห้งทอดกรอบ พร้อมการ์ดมีข้อความบางช่วงบางตอนระบุว่า “เติมเต็มพลังกายที่มาพร้อมกำลังใจจากชาวประมงพื้นบ้านจะนะสู่พี่น้องคลองเตย” สื่อถึงความห่วงใยที่พี่น้องจะนะที่มีให้ชาวคลองเตย ในกิจกรรมที่มีชื่อว่า “คลองเตยจะ(ช)นะ”
คุณอรณี แซ่ว้าน ชาวบ้านในคลองเตย สื่อสารมากับ C-Site ว่าอาหารทะเลที่ได้มาบางส่วนจะส่งต่อไปให้ครัวกลางของชุมชน เพื่อส่งยังผู้ที่ติดเชื้อและผู้ที่กักตัวอยู่ในชุมชนและบางส่วนจะนำไปแจกให้ชาวบ้านที่มาช่วยแพคถุงยังชีพเพื่อนำไปประกอบอาหารในครอบครัว
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชนคลองเตยส่งผลให้ชาวบ้านส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านหลายอย่าง บางคนตกงาน บางคนโดนพักงาน ต้องกักตัวอยู่บ้านทำให้ขาดรายได้ เฉพาะหน้าของบริจาค และอาหารที่ถูกแบ่งปันมาจากจะนะ ช่วยบรรเทาความลำบากของคนคลองเตยได้มาก แต่ยังดีที่ชุมชนคลองเตยยังมีพี่น้องจะนะและพี่น้องในพื้นที่อื่นๆที่ส่งอาหารมาให้ ทำให้สามารถบรรเทาสถานการณ์นี้ให้เบาลงได้
ณัฐพล สท้านอาจ คลองเตยดีจัง เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ถือว่าสถานการณ์ยังวิกฤติ ในช่วงแรกๆเชื่อจะระบาดตามชุมชน จากนั้นมีการตรวจเชิงรุกมากขึ้นในโซนตลาดคลองเตย พบผู้ติดเชื้อเยอะขึ้น เช่นตรวจ 500 คน เจอคนติดเชื้อ 85 คน ตรวจ 1,000 คน เจอ 100 กว่าคนและมีคนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านจำนวนมาก เราจำเป็นต้องช่วยเหลือเยียวยาเรื่องการยังชีพ ถ้าเราจะให้ชาวบ้านกักตัวโดยที่ไม่ทำงานไม่มีรายได้ ก็ทำให้ชาวบ้านอยู่ลำบาก ตอนนี้เราแจกถุกยังชีพไปแล้วประมาณ 7,000 กว่าถุง ในพื้นที่ 16 ชุมชน เเละยังต้องการถุงยังชีพเพิ่ม
ตอนนี้ทางคลองเคยดีจังมีเเนวคิดอยากที่จะให้มีการอุดหนุนพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ในการส่งของมาบริจาค ทำให้ร้านค้ารายย่อยอยู่ได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเดินต่อได้
ศุภวรรณ ชนะสงคราม ผู้จัดการอาหารปันรัก อ.จะนะ จ.สงขลา เล่าให้ฟังว่า นี่ไม่ใช้การบริจาคแต่เป็นการแบ่งปัน เราเริ่มต้นจากการติดตามข่าวพี่น้องคลองเตยได้รับความเดือดร้อน ร่วมกันคิดภายใต้แนวคิด “การตักแกงแบ่งให้เพื่อบ้าน” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง ความรู้สึกเป็นแบบนั้น เรามีทะเลเป็นของดีเราก็อยากนำอาหารทะเลไปให้ เหมือนพี่สาวให้น้องชาย ถ้าเรียกตามหลักเศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจเชิงศีลธรรม
ส่วนปลาที่ส่งไปเป็นปลาจากทะเลจะนะที่ชาวประมงพื้นบ้านทั้ง3ตำบล คือต.นาทับ ต.สะกอมเเละต.ตลิ่งชัน ร่วมกันระดมกัน ใครที่หาปลามาได้ก็รวบรวมมา บางคนเอามาขายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด บางคนก็มาช่วยลงแรงแบบ ไม่มีค่าตอบแทนมาร่วมกันเเปรรูปเป็น”ปลาตากเเห้งทอดกรอบพร้อมทาน” จำนวนกว่า 60 กิโลกรัม ใช้เวลาในการทำกว่า 2 วัน
ซึ่งปลาที่นำมาแปรรูปชาวบ้านเลือกเป็นปลาหลังเขียวแคลเซียมสูงและสามารถกินได้ทั้งก้าง นอกจากนี้ยังมีปลาจวดและปลาน้ำดอกไม้ ที่จับได้มากในฤดูกาลนี้และพบมากในทะเลจะนะ จ.สงขลา สามารถเก็บไว้กินได้นาน เพราะอยากให้ชาวคลองเตยได้กินอาหารทะเลที่สด ปลอดภัยและมีประโยชน์เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงในช่วงสถานการณ์โควิด-19
สุใบเด๊าะ ผกาเพชร ชาวประมงพื้นบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา สะท้อนผ่านความรู้สึกว่า เขามีความลำบากในสถานการณ์โควิด งานไม่ได้ทำและพี่น้องคลองเคยเดือดร้อนไม่มีกับข้าว เราเลยคิดว่าจะทำอย่างไร เพื่อที่จะไปช่วยพี่น้องคลองเตย ก็เลยคิดเเปรรูปอาหารที่เก็บได้นานๆ นำปลาหลังเขียวเเละปลาอื่นๆ มาทำปลาแห้งเเล้วทอดให้กับพี่น้อง ดีใจมากที่ได้ช่วยเหลือ เรามีทะเลเราไม่เดือนร้อนเราเลยช่วยเรื่องกับข้าว
นาซอรี หวะหลำ หนึ่งในชาวประมงพื้นบ้าน อ.จะนะ เล่าถึงการทำงานในพื้นที่ เราเริ่มที่จะประชุมร่วมกันออกเงินคนละเล็กคนละน้องในส่วนที่ต้องซื้อหา และส่วนปลาที่ได้จากทะเลชาวประมงคนไหนมีปลาชนิดไหนเอามารวมกัน เเล้วนัดคนในชุมชนมาช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ ในช่วงที่เราทำเป็นห่วงเวลาที่พี่น้องกำลังถือศีลอด แต่ยังมีแรงกายแรงใจ ห่วงใยต่อพี่น้องคลองเตยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด
พร้อมทิ้งท้ายว่าเรามีทรัพยากรทะเลที่สมบูรณ์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วเพียงแค่เราลงแรง และรักษาทะเลเอาไว้ เพื่อจะได้จับสัตว์น้ำมาหล่อเลี้ยงครอบครัวของตัวเองและส่งต่อไปยังพี่น้องทั้งประเทศที่เขาเดือดร้อน
เราชาวประมงจะนะยืนยันว่าจะดูแลปกป้องรักษาทะเลให้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์และร่วมส่งกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤติโควิดนี้ไปด้วยกัน และเร็วๆ นี้จะส่งไปเพิ่มเป็นล็อตที่สอง เเต่ต้องติดตามคะว่าจะเป็นเมนูอะไร
ชมลิงก์ย้อนหลังคลองเตยจะ(ช)นะ https://www.facebook.com/citizenthaipbs/videos/226745979254680