กิน-อยู่-เป็น กินดี อยู่ดี ในช่วงกักตัวหรือWFH

กิน-อยู่-เป็น กินดี อยู่ดี ในช่วงกักตัวหรือWFH

ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกใหม่ หลายคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ จึงต้องกักตัว 14 วัน หรือได้ Work form Home แบบตัวผู้เขียน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ต้องการอาหารที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมากขึ้น อาหารพร้อมปรุง พร้อมรับประทาน ที่มีอายุเก็บรักษานาน มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ มีอัตราเติบโตสูง เกิดพฤติกรรมซื้ออาหารกลับบ้านมากขึ้น หรือปรุงอาหารรับประทานเอง และนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น New Normal

อยู่บ้านมีหรือจะหยุดกิน ! ว่าง ๆ ก็เดี๋ยวก็กดสั่งอาหารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เหมือนเสกได้ทันตาเห็น บางบ้านมีคุณแม่ผู้ทำอาหารอร่อย ๆ มาให้กินทั้งวันแบบนี้อีก มีหรือจะไม่อ้วนขึ้น Enjoy Eating ! ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลช่วงกักตัว คือ อาหารการกินว่าจะได้รับสารอาหารครบถ้วนหรือไม่

มาพูดคุยและการให้คำแนะนำเรื่องอาหารที่ควรมีในช่วงกักตัวจาก ณัฏฐากรรธ์ ลอยเลิศ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  

“อยู่บ้านก็กินแหลก จะออกไปก็กลัวโรค”

การทำงานของคนยุควิถีใหม่ New Normal เราต้องปรับตัวตามมาตรการที่มีประกาศ ขอความร่วมมือที่ทำงานทั้ง ภาครัฐ และภาคเอกชนให้ทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ Work from home และหลาย ๆ คนก็กักตัวด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา จะเสี่ยงสูงหรือต่ำเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย หรือลดการติดเชื้อ

การทำงานหรือการกักตัวที่บ้าน ต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง

จริง ๆ แล้วการปรับตัวขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้น ๆ เองว่า สไตล์ของแต่ละคนเป็นแบบไหน แต่จะแยกให้คร่าว ๆ คือ

  1. ในช่วงเวลาการทำงานเราต้องแบ่งเวลาการทำงานด้วย ของแต่ละบุคคลให้เข้าเป้าการทำงานในแต่ละวันของตัวเอง ไม่นั่งยาวนานจนเกินไปส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ
  2. กิจกรรมทางกาย เพราะ ถ้าเราอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมหรือในบ้าน กิจกรรมทางกายเราอาจลดลงตามไปด้วย หรือว่าบางคนไม่มีเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นกิจกรรมทางกายเป็นเรื่องสำคัญ เราควรต้องแบ่งช่วงในการออกกำลังกายไปด้วย
  3. สุขภาพจิต เป็นอยู่แล้วที่มนุษย์อย่างเรา ๆ กักตัวอยู่แต่ในห้อง 14 วันว้าวุ่นทั่วไป ฉะนั้นสุขภาพจิตก็เป็นส่วนสำคัญเหมือนกัน แบ่งเวลาให้ได้ผ่อนคลายและทำงานอดิเรก
  4. สิ่งสำคัญสุดท้ายคือ อาหารที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ เวลาเรากักตัว หรือทำงานที่บ้าน ค่อนข้าง เราจะติดกินหลายมื้อ จุกจิก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ปกติ เพราะเราทำอะไรน้อยลง หรือการที่เราออกไปทำงานนอกบ้าน เราก็ต้องกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ เราต้องมองเวลาเพราะงานบังคับ แต่ในเมื่อการทำงานที่บ้านเราควบคุมตนเอง และงานไม่ได้บังคับเวลาไม่ได้ตายตัวว่านี่คือพักเที่ยง

ดังนั้น อย่างแรกเลยในการที่เราจะปรับเปลี่ยนอาหาร คือ เน้นกินให้ตรงเวลาเป็นหลัง ตื่นเช้ามา 09.00 น. ตั้งไว้เลยว่าต้องกินข้าวเช้าเป็นหลักไม่ได้ล่วงเวลาการกินไปจนถึง 10.00 น. หรือบางคนนั่งยาว 12.00 น. ถึงกินข้าวมื้อแรก  มื้อเที่ยง คือ ก่อน 13.00 น. และสุดท้ายคือมื้อเย็น ก่อน 18.00 น. ไม่เกินหลัง 19.00 น. เพราะฉะนั้นร่างกายเราถ้าเราควบคุม 3 มื้ออาหารหลักได้ เราจะไม่กังวลเรื่องมื้อเบรก หรือการกินจุกจิก เพราะถ้าเรากินมื้อหลักมื้ออื่น ๆ ถัดมาเราจะกินได้น้อยลง

พูดถึงเรื่องการแบ่งพลังงานและการประเมินพลังงานคร่าว ๆ ในแต่ละวัน เราประเมินจากส่วนสูงของเรา เช่น ผู้ชายเอาส่วนสูงลบด้วย 100 จะได้น้ำหนักที่เหมาะสม ส่วนผู้หญิงเอาส่วนสูง ลบด้วย 110 ก็จะได้น้ำหนักที่ควรจะอยู่ตามสัดส่วนของเรา  

อาหารที่ควรจะมีในช่วงกักตัว? เพราะตั้งแต่การระบาดระลอกแรก ผู้คนมักจะตุนของเยอะ ๆ ถ้าเราจะกักตุนอาหารเพราะเราไม่อยากออกนอกบ้าน ควรจะกักตุนกี่วัน และควรจะเป็นอาหารประเภทไหนดีบ้าง …

กลุ่มคน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ในการดูแลและควบคุมอาหาร  

กลุ่มแรก คือ กลุ่มคนที่กักตัวอยู่ที่บ้าน หรือหอพัก / จะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสและทางเลือกในการควบคุมการกินและ ออกกำลังกายได้เยอะกว่า

กลุ่มสอง คือ กลุ่มคนที่อยู่โรงพยาบาลสนาม / เป็นกลุ่มที่ค่อยข้างจำกัดในการกิน ทางเลือกน้อย  และมีทางเลือกน้อยในการขยับตัว

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มที่อยู่ในโรงพยาบาล กักตัวอยู่โรงพยายาบาล / อาจจะแยกออกไปเพราะเป็นผู้ป่วยอาการหนัก หรือบางคนที่มีประกันแล้วใช้สิทธิ์รักษาในโรงพยาบาล หรือ Hospital ก็เหมือนกับว่าอยู่ในโรงแรม ในหอพัก

อาหารอะไรที่เราควรกักตุนไว้ ก็คือง่าย ๆ คืออาหาร 5 หมู่ กินให้ถูกหลักโภชนาการ

  • หมวดของอาหารกระป๋อง อะไรได้บ้าง เช่น ปลาซาร์ดีนในน้ำแร่ หรือในน้ำสลัด หรือน้ำมันรำข้าว สิ่งเหล่านี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีได้อยู่ แต่ปลาก็ยังให้ประโยชน์ในเรื่องของโปรตีน หรือถั่วกระป๋อง หรือชีสไขมันต่ำ อาหารเหล่านี้จะให้เรื่องของ high protein สูง ที่สามารถกักตุนได้และมีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าอาหารกึ่งสำเร็จรูป
  • อาหารชนิดต่อมาที่กักตัวได้ คือ หมวดผักผลไม้ high fiber เราไม่จำกัดว่าชนิดหรือสองชนิด สามารถเลือกได้หลากหลายแล้วแต่ฤดูกาล ส่วนผลไม้ที่มีน้ำตาลค่อนข้างสูงนี่ก็ควรต้องระวัง เช่น ส้ม ลิ้นจี่ ลองกอง ลำไย มีโอกาสไปเพิ่มน้ำตาลสูงมากกว่าผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เพราะฉะนั้นการกักตุลพวกผลไม้ภายในช่วงอาทิตย์ค่อนข้างจะโอเคและทำได้
  • ซีเรียลหรือธัญพืช เป็นอาหารหลักยามเช้าเพื่อสุขภาพ มันมีคาร์โบไฮเดรต ไวตามินโปรตีนและผลิตภัณฑ์จากนม อีกทั้งมันยังสามารถหาซื้อได้ง่ายมาก ๆ  ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สามารถกักตุนไว้ได้ในช่วงกักตัว ถ้าคนไม่ชอบก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นหนึ่งในตัวเลือก ก็ขอให้ดูด้านโภชนาการไปด้วย ดูเรื่องไขมัน ถ้ามีไขมันอิ่มตัวเยอะต้องตัดออกไป เช่นน้ำมันมะพร้าว ไปเน้นที่ฉลากเขียนว่าไขมันไม่อิ่มตัว จะมีไขมันน้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว  ต้องเลือกให้ถูกด้วย
  • ส่วนหมวดข้าวและแป้ง ไม่ต้องจำกัดว่าจะต้องเป็นข้าวกล้อง ก็ได้ กินข้าวขาวได้ก็กินข้าวขาว ข้าวไรซ์เบอร์รี แต่ก็มีข้อระวังของข้าวไรซ์เบอร์รีที่ซื้อตามร้านสะดวกซื้อ ข้าวกล้องที่ผสมน้ำมันเข้าไปด้วย เพราะเวลาเราทาน มันจะออกมัน ๆ เพราะเขาใส่น้ำมันเข้าไปด้วย ต้องระวังเพราะพลังงานจะเพิ่มจากพวกข้าวที่ซื้อตามร้านสะดวกซื้อ แต่ถ้าเป็นร้านทั่วไป ชาวบ้านจะไม่ใส่น้ำมัน มีอีกหลายเรื่องที่คนยังไม่รู้ในหมวดของข้าว/แป้ง คือ มันจะรวมไปอยู่ในพวกขนมเบเกอรี คุ้กกี้ ขนมขบเคี้ยว มันฝรั่งทอดกรอบ ถ้าเรากินข้าวก็ต้องตัดไป เพราะเรากินในส่วนนั้นเข้าไปแทนแล้ว ไม่งั้นส่วนของแป้งจะหนักเกินกว่าร่างกายจะรับได้ ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • หมวดต่อไป คือ หมวดนม ถ้าดีที่สุดในการซื้อคือนมวัว นมวัวที่พร่องมันเนยคือตัดไขมันออกไปส่วนหนึ่ง ให้สลับกับการกินนมถั่วเหลือง ถ้าเลือกถั่วเหลืองได้ก็จะดีเพราะเป็นถั่วที่มีประโยชน์สูงสุดทางด้านของโปรตีน
  • หมวดเนื้อสัตว์ เราไม่ได้จำกัด แล้วแต่คนที่สะดวกกิน จะซื้อใส่ตู้เย็นเก็บไว้หลาย ๆ วัน จะเป็นพวกอกไก่ ที่ใส่ตู้เย็นแช่ในช่องฟรีซเซอร์ เพราะจะมีขีดจำกัดเรื่องวันหมดอายุ หรือไข่ต้มจากร้านสะดวกซื้อหรือตลาด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานและทำเมนูได้ง่าย ถ้าเป็นตามตลาดจะมีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการซื้อเพราะเป็นของสดที่เก็บไว้ได้ แต่ถ้าเป็นร้านสะดวกซื้อ คนอยู่ที่บ้านแล้วมีครัวคนเหล่านี้จะซื้อที่ตลาดสดได้ เพียงแต่ถ้าเราอยากออกจากบ้านน้อยลง ก็ซื้อแล้วเก็บไว้ที่บ้านอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • หมวดของไวตามิน เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับคนที่กินน้อย หรือคนที่เลือกกิน หรือไม่ชอบกินผัก หรือตลอดทั้งวันกินแค่เนื้อสัตว์ ไม่มีผักผลไม้ หรือกลุ่มคนที่กินแต่ผัก ไม่กินเนื้อสัตว์ เวย์โปรตีนก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่นำมาเสริมเรื่องของโปรตีนได้
  • หมวดสุดท้าย คือ หมวดอาหารทางการแพทย์ หลายคนอาจจะไม่รู้จัก มันคืออาหารที่เป็นผงสามารถชงดื่มได้ ชงดื่มหนึ่งแก้วก็ให้สารอาหารเทียบเท่ากับกินอาหารหนึ่งมื้อ ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ให้พลังงาน 250 แคลอรี่ สำหรับคนที่ไม่อยากทานอะไรในมื้อเช้า หรือคนที่ออกไปข้างนอกไม่ได้จริง ๆ หรือเบื่ออาหารก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
  • ในส่วนของการหลีกเลี่ยงถ้าหลีกเลี่ยงได้ หรือกินน้อยที่สุด คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ โจ๊กซอง เพราะอาหารเหล่านี้มีโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีไขมันสูงและยังมีเครื่องปรุงที่เติมโซเดียมเข้าไปอีก ซึ่งถ้าเราบริโภคเยอะเกินไปเกิดภาวะการขาดน้ำได้ หรือเกิดอาการตัวบวมได้ เช่นการกินมาม่าตอนดึก สมองเราจะตื้อคิดไม่ออก เพราะส่งผลเพราะอาหารสำเร็จรูปมีความเป็นโซเดียมสูง

ออกกำลังกายน้อยลง เคลื่อนไหวน้อยลง อาหารแบบไหนเหมาะสำหรับเราทั้งวัยทำงาน วัยรุ่น เเละคนสูงวัย

ในช่วงโควิด-19 คนไหนรู้ว่ามีภูมิคุ้มกันต่ำในทุกช่วงวัยแล้ว

อย่างแรกอาหารที่ต้องเน้นคือ โปรตีน เพราะโปรตีนเป็นแหล่งหลัก ๆ ที่ผลิตฮอร์โมน เพราะฉะนั้นโปรตีนจะเป็นส่วนในการเสริมภูมิคุ้มกันเรา เพราะฉะนั้น high Protein ของอาหารแต่มื้อ

สอง คือ ใยอาหารและไวตามิน เพราะเป็นสารที่มี antioxidant สารต้านอนุมูลอิสระ คือ สารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) เช่น การเกิดออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation) เน้นสองอย่างนี้

เราต้องเลือกการกินให้ไม่จำเจซ้ำซากด้วย เลือกผักที่หลายสี เพราะคำว่าสีต่าง ๆ จะไปเพิ่ม antioxidant ฉะนั้นเราจะไม่เลือกกินผลไม้ชนิดเดียวตลอดไป แต่ในช่วงวันทำงาน อยากให้เน้นหลัก ๆ คือโปรตีน

เมนูง่าย ๆ ที่คนกักตัวอยู่ที่บ้าน เราทำได้คนทั่วไปที่กักตัวสามารถเตรียมทำได้

คนที่มีครัวทำอาหารเองได้ก็จะง่าย แต่กับอีกกลุ่มที่ไม่มีครัว วิธีสุดท้ายคือซื้ออาหารปรุงสุก อาหารตามสั่งต่าง ๆ กินในห้อง

กลุ่มแรก ถ้าทำอาหารกินเองจะวางแผนได้ง่าย ๆ การที่เราวางแผนอาหาร 1 อาทิตย์ คือ 7 วันของเรา เราคิดวัตถุดิบและเมนูมาก่อน เช่น วันจันทร์กินผัดกระเพราะ ผัดผักรวม วางแผนแต่เมนูอาจจะซ้ำไม่เป็นไรเพียงจัดเรียงดี ๆ ใน 7 วัน แต่ละวันมี 3 มื้อ เราออกไปซื้อของวันก่อนกักตัวเพื่อซื้อของไว้ 1 อาทิตย์ เราคำนวณแล้วว่าใน 7 วันเราจะใช้วัตถุดิบและกินอะไรบ้าง เมื่อเรากลับมาที่ห้อง แบ่งวัตถุดิบอาหารเป็น 7 กล่อง เอากล่องมาวางใส่วัตถุดิบในแต่ละวันลงไป แช่ตู้เย็น พอวันจันทร์เราจะกินเมนูนี้เราหยิบกล่องนี้มาทำเลย เราก็สบายในการทำอาหาร โดยเพียงแค่เปิดกล่องขึ้นมาหยิบวัตถุดิบ

อาหารที่เก็บไว้ได้นาน ๆ ส่วนมากจะเป็นอาหารแห้ง ถ้าทางภาคเหนือน่าจะเป็นพวกไส้อั่ว ซึ่งไส้อั่วจะสามารถเก็บได้ 5-6 วัน แคปหมูน้ำพริกหนุ่ม สามารถเก็บไว้ได้เป็นเดือน ๆ ถ้าเป็นผักทางภาคเหนือผักปั๋ง หน่อไม้

 ของกิ๋นบ้านเฮา – ทางเลือกอิ่มท้องยามกักตัว

วิธีล้างผักและผลไม้ ในช่วงโควิด-19

วิธีที่ 1 ใช้น้ำส้มสายชูแช่ในอัตราส่วน 10% แช่ไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

วิธีที่ 2 ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร แช่ไว้ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

วิธีที่ 3 ใช้เบกกิ้งโซดา สัดส่วน 1/2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร แช่ไว้ 15 นาที และล้างน้ำสะอาดตาม 2 รอบ

ควรแกะที่เป็นกลีบ กาบ กิ่ง ออกก่อนนำมาล้าง หากต้องการความสะดวก สามารถใช้น้ำยาล้างผักผลไม้ที่วางขายทั่วไปได้

ถ้าเรากินอาหารในปริมานที่ไม่เหมาะสมกับการที่เราขยับตัวน้อยในพื้นที่ที่แคบ จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเราอย่างไรบ้าง

การกินอาหารที่พูดมาคือการ Balanced Eatery ถ้ากินเข้ามาแล้วใช้ออกไปไม่หมด หรือถ้าเราเลือกอาหารที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย จะมีหลายกรณี

ถ้าเรากินเกินในปริมาณที่ร่างกายเรารับได้ในแคลอรี่เท่านี้ จะทำให้น้ำหนักตัวเราขึ้นเร็วถึงแม้ว่าจะภายในสองอาทิตย์ มันก็จะขึ้นไวมาก เพราะเราขยับร่างกายน้อย ถ้าผ่าน 2 อาทิตย์นี้ไปได้แล้วเราน้ำหนักตัวเท่าเดิม มันมีโอกาสที่จะทำให้นิสัยการกินของเราตรงนี้ติดไปได้ในระยะยาว ทำให้โอกาสที่น้ำหนักเราจะขึ้นในระยะยาว ก็จะเป็นไปได้สูง เพราะฉะนั้นเราต้องยับยั้งชั่งใจด้วยในการกินแต่ละมื้อ

อีกประเด็นคือ คนบางคนติดนั่งหน้าจอนาน ๆ แล้วกินน้อยเกินไป บางคนอยู่บ้านแล้วเบื่ออาหาร ไม่กินข้าวเช้า เลือกกินแค่กับข้าว พวกนี้ก็จะมีโอกาสที่สุขภาพแย่ลง ภูมิคุ้มกันจะลดลงไปได้ มีโอกาสที่เราจะติดโรคได้ง่าย

ดังนั้นทางแก้คนกินเกิน เราจะต้องมีกิจกรรมทางกายในห้องมาขึ้น หรือ คนกินน้อยกินอาหารทางการแพทย์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แก้ไขได้

ถ้าเรากินครบตามหลักการแล้ว ระยะในการออกกำลังกายต่อวันในที่แคบ ควรจะเท่าไหร่

การออกกำลังกายต่อวันคือ 150 นาที ต่อสัปดาห์ ประมาน 2 ชั่วโมง สามารถแบ่งได้เป็น วันจันทร์ 20 นาที อังคาร 30 นาที ทำอย่างไรก็ได้ให้ใน 1 สัปดาห์ครบ 150 นาที

ถ้าเป็นคนที่กินเยอะ อยากแนะนำให้ออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน สักวัน 15 -30 นาทีเป็นอย่างน้อย ถ้ามีพื้นที่น้อยก็อาจจะต้องใช้สื่อออนไลน์ที่สอนเต้นในที่แคบเป็นตัวช่วย ฝึกเป็นดาวติ๊กตอก เพราะการออกกำลังกาย ทีละเล็กน้อยจะไปช่วยเผาผลาญ

แต่ข้อระวังสำหรับคนที่เป็นไข้ ม่ควรออกกำลังกาย เพราะการเป็นไข้เป็นการเผาผลาญให้เกิดความร้อนในร่างกาย ดังนั้นอาจจะต้องหยุดการออกกำลังกายไปก่อน เพราะจะไปแย้งการทำงานในการเผาผลาญ ดังนั้นคนที่เป็นไข้ควรจะพักผ่อนมากกว่า ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อระบายความร้อนในร่างกาย

เพื่อนผู้เขียน บอกว่า ช่วงนี้อัดกินไวตามินเยอะมาก การกินไวตามินเสริม ช่วยอะไรได้บ้างในช่วงนี้

ไวตามิน D มีในกลุ่มของ ซิงค์ แต่ที่บางคนรีวิวที่โรงพยาบาลสนาม เขาจะให้ ไวตามิน D มาควบคู่กับการกินอาหาร สำหรับเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เรา แต่สำหรับเราที่กักตัวอยู่ที่บ้านพวกไวตามิน D เราสามารถหาได้จากผลไม้รสเปรี้ยวได้ ที่แนะนำคือ 1000 – 1200 มิลลิกรัม ต่อวัน ไวตามิน B รวม D พวกนี้ถ้ากินเกินมันก็จะละลายออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งไม่เป็นอันตรายเท่าไหร่

ส่วนช่วงนี้ที่ถามกันมาเยอะ ๆ ว่า  การรับประทานไวตามินซี สามารถช่วยป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่

ไวตามินซีจำเป็นต่อร่างกาย หากขาดไวตามินซีอาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง จึงต้องรับประทานเพื่อให้กระบวนการทำงานในร่างกายไปเป็นอย่างปกติ แต่ไม่ได้มีผลในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

และส่วน ถ้าเป็นไวตามินที่ละลายในไขมัน เช่น A E ถ้ากินเข้าไปเยอะ ๆ ก็สามารถเป็นพิษต่อร่างกายได้ ซึ่งบางคนไม่รู้เสริมเข้าไปทั้งหมด อันนี้ก็มีความอันตราย แต่ถึงแม้จะเสริมไวตามินเข้าไปถ้ากินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ไวตามินที่กินเข้าไปก็ไม่สามารถไปสร้างประโยชน์ให้กับร่างกายได้ไม่เต็มร้อยเช่นกัน เช่น กินข้าวต้มตอนเช้า ใส่หมู ไม่ใส่ผัก แล้วกิน ไวตามิน E เสริมเข้าไปไวตามินนี้ก็ไม่สามารถไปใช้ได้ครบ เพราะเรากินอาหารไม่เพียงพอ

ข้อสังเกต คือ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนและสถานการณ์เปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น New Normal ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งปัจจัยที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของคน ในส่วนของตรงนี้ก็มีผลค่อยข้างเยอะ เช่น การมีโปรโมชั่น การซื้อ 1 แถม 1 สร้างแรงจูงใจผู้บริโภคทางบ้าน พอคนเห็นว่ามันถูกก็กดซื้อมา แต่ไมได้คิดแล คำนวณว่าตรงนั้นเป็นอาหารทอดหรืออาหารขยะ อย่างแรกคืออาจจะต้องตัดโปรโมชั่นออกไปก่อน ห้ามสนใจ กลับไปข้างบนที่เราพูดกัน ถึงสารอาหารที่เราจะได้รับ แต่ถ้าเราเลือกได้กดไปอาหารที่เป็น Clean Food เพราะร้านเหล่านี้จัดสรรอาหารไว้เพื่อคนรักสุขภาพ หรือถ้าเลือกได้และคำนึงได้ให้เลือกเมนูที่มีผักเยอะ ๆ เป็นอย่างแรก อย่างที่สองคือขอให้มีเนื้อสัตว์ในเมนูอาหารด้วย หลีกเลี่ยงการสั่งของทอด การทำอาหารเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะสดใหม่ ปรุงสุก สะอาด ปลอดเชื้อมากที่สุด

วินัยเป็นเรื่องสำคัญ​ที่สุด อย่างน้อยกินข้าวให้ได้ครบสามมื้อ เพราะจะส่งผลต่อระบบทุกอย่างในร่างกาย และหากเป็นไปได้ สร้างวินัยในการออกกำลังกาย รวมถึงอย่าลืมสุขภาพจิต เพราะตัวเองเคยผ่านประสบการณ์การกักตัวอยู่ในห้องมาแล้ว แค่ 3 วันแรกก็รู้สึกว่าเริ่มไม่โอเค เบื่อ เบื่อก็กิน สุขภาพจิตเป็นอะไรที่ค่อนข้างน่าเป็นกังวล ต้องหาทางเลือกให้ตัวเองได้ผ่อนคลายในรูปแบบของแต่ละคน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

December 2024

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5

23 December 2024

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ