รักษาตัวครบ 14 วันแล้ว ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ขอชุมชนมั่นใจ ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

รักษาตัวครบ 14 วันแล้ว ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ขอชุมชนมั่นใจ ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด- 19 ของ จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วยโควิด-19เพิ่มขึ้น จำนวน 134 รายให้มียอดผู้ป่วยสะสม ในระยะการระบาดเดือนเมษายน 2564 จำนวน 2,483 ราย ซึ่งในขณะนี้ ก็มีผู้ป่วยรักษาหายจำนวน 81 รายซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีการค้นหา ผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มผู้มีประวัติเสี่ยงไปแล้วทั้งหมดจำนวน 32,883 ราย

สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดเชียงใหม่
ประจำวันที่ 20 เมษายน 2564

จากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกหลายคนสงสัยว่าทำไมป่วยแล้วถึงต้องเข้ามาที่โรงพยาบาลสนาม ชวนอ่านหาคำตอบจาก นพ. กิตติพันธุ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

นพ. กิตติพันธุ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

เรามีการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกมากขึ้น จากเดิมในช่วงแรก ๆ เจอผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอาการป่วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาในความดูแลของแพทย์ รายที่มีอาการหนักแล้วจะต้องมีการรักษาเฉพาะ ให้ยาเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสเป็นพิเศษ แต่ถ้าเกิดเป็นกลุ่มอื่นที่อาการน้อย ประเมินแล้วก็ต้องแยกให้เขาพ้นระยะแพร่เชื้อ เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อในชุมชน

ช่วงหลังเราพบว่าสัดส่วนของผู้ที่ไม่มีอาการมีจำนวนมากขึ้น เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ว่าเราสามารถที่จะค้นหาผู้ที่ไม่มีอาการ แล้วนำเข้าสู่ระบบได้ ที่นี้ผู้ที่ไม่มีอาการ หมายความว่าเขาอาจจะได้รับเชื้อมาแต่มีปริมาณเชื้อที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อต่อไปได้ เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้แหละถึงแม้จะยังไม่แสดงอาการ เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องแยกเขาเข้ามาอยู่ในสถานที่ ที่เราจัดให้ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือเป็นโรงพยาบาลสนาม ที่เรามีการจัดตั้งขึ้น เพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและติดตามดูอาการที่จะเกิดขึ้น

ปริมาณเชื้อที่ตรวจพบ ถึงแม้ว่าจะยังไม่แสดงอาการ แต่มีโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนได้ เช่น ในสารคัดหลั่ง น้ำลายหรือน้ำมูก ที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแยกแล้วก็รักษาดูแลอยู่ในโรงพยาบาลสนามจนพ้นระยะแพร่เชื้อ

อยู่โรงพยาบาลนานแค่ไหนเมื่อไหร่ถึงจะได้กลับบ้าน….

ตามแนวทางของทางกระทรวงสาธารณสุข โดยทางกรมการแพทย์ก็ได้ออกแนวทางมาโดยยึดข้อมูลทางวิชาการ และก็การวิจัยที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่า ผู้ติดเชื้อโควิค-19ใน มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อในระยะ 10 ถึง 14 วัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับสังคมและชุมชนคนรอบข้างของผู้ป่วย โดยแยกเขาจนครบระยะเวลาที่คาดว่าเขาจะแพร่เชื้อไม่ได้แล้ว หลังจากนั้นเขาอาการหายดีพ้นระยะแพร่เชื้อเราถึงจะให้อนุญาตให้เขากลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ครบ 14 วันแล้วจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจหาเชื้อซ้ำหรือไม่จำเป็นต้องตรวจ….

หลักการที่เราใช้ในการดูว่าเขาพ้นระยะแพร่เชื้อหรือเปล่าก็คือ ทีมเเพทย์ก็จะประเมินผู้ป่วยที่มีอาการว่าเขาจะต้องหายจากอาการป่วยต่าง ๆ อย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมง ร่วมกับเขาต้องพ้นระยะแพร่เชื้อ ถ้าคนที่มีอาการก็ต้องพ้นระยะแพร่เชื้อ 14 วัน คนที่มีอาการก็ต้องหายแล้วอย่างน้อย 1-2 วัน ร่วมกับคนระยะแพร่เชื้อ 14 วัน  เราถึงจะมั่นใจได้ว่าเขาจะไม่แพร่เชื้อและไม่ไปกระจายเชื้อต่อในชุมชน โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง

เคยมีการศึกษางานวิจัย และมีข้อมูลของผู้ป่วยที่ผ่านมาหลายคน มีโอกาสที่จะตรวจพบเชื้อได้นาน 2-3 เดือน เพราะวิธีการตรวจเราเป็นวิธีการตรวจหาสารพันธุ์กรรม ถึงแม้ว่าเชื้อมันจะตายแล้ว มันไม่สามารถแพร่ต่อได้แล้ว แต่ก็ยังสามารถที่จะตรวจพบตัวสารพันธุ์กรรมนี้ได้ เพราะฉะนั้นการตรวจเจอก็ไม่ได้เป็นเครื่องที่บอกว่า เขากำลังเเพร่เชื้ออยู่ถ้าเกิดเขาพ้นระยะแพร่เชื้อ 14 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการ หรือหลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกไปแล้ว ก็ถือว่าเชื้อ ไม่สามารถที่จะแพ้ได้แล้ว เพราะฉะนั้นการตรวจซ้ำอีกครั้งจึงไม่ได้มีความจำเป็นในผู้ที่ติดเชื้อ

แล้วจะสามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้อย่างปลอดภัยไหม

ก่อนผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยจะกลับบ้าน จะมีทีมแพทย์ประเมิน หากเขายังมีอาการอย่าง เขาก็ยังจะไม่ได้รับการอนุญาตให้กลับบ้าน เพราะฉะนั้นคนที่ได้กลับบ้าน คือ 1.จะต้องพ้นระยะแพร่เชื้อ 2.จะต้องไม่มีอาการอย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น โอกาสที่เขาจะเอาเชื้อออกจากร่างกายไม่ว่าจะเป็นการไอ จากน้ำมูก สารคัดหลั่งต่างๆ ไปแพร่เชื้อชุมชน มันก็จะไม่มี เพราะฉะนั้น ก็มั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้ามาแยกอยู่ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม ได้รับการประเมินจากทีมเเพทย์เรียบร้อยแล้วว่าพ้นระยะแพร่เชื้อกลุ่มนี้ไม่มีโอกาสที่จะไปแพร่เชื้อเข้าไปสู่ชุมชนหรือคนรอบข้างได้  หลังจากที่เขาได้รับการประเมินจากทีมแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านแล้วเขาก็สามารถที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ

อย่างไรก็ดีช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่เรายังพบการระบาดต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจำนวนจะลดลง เนื่องจากมีการปิดสถานบันเทิงไปแล้ว เราไม่มีผู้ติดเชื้อที่มีประวัติเดินทางไปสถานบันเทิงแล้ว แต่เรายังเจอผู้ติดเชื้อที่เกิดจากการแพร่เชื้อในรุ่นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว หรือในที่ทำงาน เพราะฉะ คนที่มีประวัติเสี่ยงไม่ว่าจะไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือว่าเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

เน้นย้ำว่าท่านจะต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อสังคมช่วยกันดูแลให้เราผ่านวิกฤตนี้ ซึ่งจะต้องแยกตัวเองจนครบ 14 วัน หรือแม้ว่าผลตรวจครั้งแรกของท่านจะเป็นลบ ท่านไม่มีอาการผิดปกติท่านจะต้องกักตัวจนครบ 14 วัน หลังสัมผัสครั้งสุดท้าย ถ้าเกิดว่าไม่มีอาการ ถึงจะสบายใจได้

สำหรับประชาชนหรือทั่วไปก็ขอให้ช่วยกันดูแลตัวเองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การปิดหน้ากาก ล้างมือ การเช็คอินไทยชนะ การสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติ มีไข้ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส กรณีที่ท่านมีอาการผิดปกติท่านอาจจะมีประวัติเสี่ยงเดินทางไปในที่ชุมนุมชน ไปตามห้างสรรพสินค้า ตลาดหรือจุดต่าง ๆ ท่านจะต้องแจ้งข้อมูลตรงนี้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเข้ารับการประเมินแล้วก็ตรวจหาเชื้อให้เร็วที่สุดเพราะว่าตอนนี้ทั้งทางทีมของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน มีความพร้อมที่จะประเมินอาการ ประเมินความเสี่ยง ให้คอยสังเกตถ้ามีอาการผิดปกติก็อย่าลังเลที่จะเข้าไปพบแพทย์แล้วก็ชี้แจงแจ้งประวัติของตนเองอย่างชัดเจนให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อจะได้ประเมินอาการของท่านแล้วก็จะได้ดูแลท่านได้อย่างถูกต้อง.

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ