เบื้องหลังภารกิจอาสาดับไฟป่า เชียงราย

เบื้องหลังภารกิจอาสาดับไฟป่า เชียงราย

คุยกับ : โจ้ ณัฐพล สิงห์เถื่อน หัวหน้าโครงการอาสาดับไฟป่า มูลนิธิกระจกเงา

หายใจได้เต็มปอด กับสภาพอากาศวันนี้ในภาคเหนือ ที่เกือบทุกจังหวัดมีอากาศที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก ท้องฟ้าแจ่มใส เพราะมีพายุฝนฟ้าคะนองในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการรายงาน แอพพลิเคชั่น “IQ Air AirVisual” รายงายสภาพอากาศ ค่าฝุ่น ของทั่วโลกและประเทศไทย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา จ.เชียงใหม่ เคยครองอันดับ 1 เมืองที่มีอากาศแย่ที่สุดในโลก แต่หลังจากที่มีฝนตกติดต่อกันในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาทำให้ จ.เชียงใหม่ ตกมาอยู่อันดับที่ 80 ทันที่ โดยสามารถวัดค่าฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศ หรือฝุ่นจิ๋วพิษ (PM 2.5) ปรากฏเหลือเพียงแค่ 5.6 ไมโครกรัม/ลบ.ม ขณะที่ดัชนีคุณภาพ อากาศอยู่ที่ 23 US AQI ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในสถานการณ์ก่อนหน้านี้ที่ไฟป่าจะคลี่คลายลงมามีกลุ่มคนที่คอยเป็นแนวหน้าปกกันไฟป่า ในช่วงหลายสิบวันที่ผ่านมาเข้าไประวังในพื้นที่ต่าง ๆ ถึงแม้ควันไฟจะจางลงไปแล้วแต่บทเรียนจากคนกลุ่มนี้ มีเรื่องราวมากมายเพราะจะเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบและเตรียมรับมือ เพราะมีใครสามารถยืนยันได้ว่าไฟป่าจะจบลงโดยไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก เราควนที่จะสะท้อนบนเรียนในครั้งนั้นเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า ซึ่งทีมมูลนิธิกระจกเงา ได้ระดมอาสาสมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สิ่งที่น่าสนใจคือพวกเขานำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และมีการจัดการการวางแผนเป็นอย่างดี

Live องศาเหนือ Special: โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้! วันนี้ชวนไปพูดคุยเบื้องหลังการดับไฟป่า ที่จังหวัดเชียงราย ที่มีทีมอาสาเขาช่วยกันเข้าไปดับไฟป่าในพื้นที่ต่าง ๆ พวกเขามีการทำงานกันแบบนี้ วิกฤตไฟป่าที่เชียงรายเป็นอย่างไร ร่วมพูดคุยกับ : คุณณัฐพล สิงห์เถื่อน มูลนิธิกระจกเงา จ.เชียงราย

มูลนิธิกระจกเงา อยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงราย และมีสำนักงานที่ตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และป่าชุมชน ดังนั้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ที่เราอยู่ที่นี้เราเจอไฟป่าทุกปีและบางปีไฟป่าลุกลามมาอยู่แถวรอบ ๆ มูลนิธิ มีบางปีที่เราต้องเข้าไปช่วยชาวบ้านดับไฟป่าด้วย ฉะนั้นเราจึงคิดว่าปีนี้เป็นปีที่มีประสบการณ์เรื่องการจัดการอาสาสมัคร เลยใช้เรื่ององค์ความรู้เรื่องการีจัดการอาสาสมัคร ระดมเรื่องการจัดการไฟป่าในพื้นที่เชียงราย ตอนนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่งที่เราทำงานอาสาสมัครดับไฟป่าที่จังหวัด เชียงราย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคมทั้งเดือนและเดือนเมษายน ประมาณ 20 วันแต่ว่าไม่ได้มีไฟทุกวัน hotspot มีจุดความร้อนไฟป่าทุกวันในจังหวัดเชียงราย แต่ไม่ได้ดับทุกวันพื้นที่ ๆ อยู่เชียงรายบางพื้นที่มันไกล เราอาศัยการทำงานร่วมกับเข้าหน้าที่ สำนักบริหารพื้นที่ ที่ 15 ทีมสายฟ้า เพราะว่าถือว่าเป็นพี่เลี้ยงให้เราในการทำงานเรื่องการดับไฟด้วย สองคือเรามีเครื่องไม้เครื่องมือเองในการดับไฟป่า กับอาสาทำงานกันได้เดือนครึ่ง แต่ที่จำได้เราดับไฟด้วยกันมา 31 ที่แล้ว ทั่วจังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นสเกลใหญ่สำหรับอาสาสมัครที่มาทำ

https://www.facebook.com/ThemirrorCR/

อาสาสมัครกับการทำงานของมูลนิธิเรามีทั้งเดินทางมาจากกรุงเทพ เคยเป็น ผบ.ร้อยก็มี เป็นนักเทคนิคทางไอที เกี่ยวกับเรื่องโดรนก็เข้ามาเป็นอาสาสมัคร เป็นทั้งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็เข้ามาเป็นอาสาสมัครกับเรา มีที่เชียงใหม่ด้วย เป็นส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำกิจกรรมอยู่แล้วก็มาร่วมกับเรา ในปีนี้ถือว่ามีการฝึกอบรบไม่เยอะเท่าไหร่เพราะในการเตรียมตัวของเรา ในสถานการณ์น้อยมากแต่ทางเราพูดให้ทางอาสาสมัครรู้ว่าหน้างานเป้นอย่างไร และให้ออกไปอยู่หน้างานกับทีมงานตอนที่เราไปทำภารกิจอาสาสมัครก็ได้เรียนรู้ไปด้วย ในตอนที่ไปเรียนรู้กับเราก็ไปตั้งแต่ไฟขนาดเล็กก็ได้เรียนรู้ในจุดนี้

ทีนี้กระบวนการของมูลนิธิกระจกเงาเรื่องการดับไฟมีประสบการณ์จากการดูเจ้าหน้าที่ในการดับไฟในที่ต่าง ๆ มาแล้ว เราจึงกลับมาร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการทำงาน เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องเป่าลมหรือเครื่องเป่าใบไม้ เราก็มีเครื่องเป่าใบไม้เหมือนเจ้าหน้าที่เราก็ไปซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มา ระดมมาเรามีถังน้ำแต่ว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ไม่ใช้ถังน้ำ เพราะกำลังคนของทางเจ้าหน้าที่น้อย แต่เราทำงานอาสาสมัครเรามีเจ้าหน้าที่ของเราในช่วงโควิด-19 ทำด้วยเราจึงใช้ถังน้ำถังฉีดน้ำ เจ้าหน้าที่อาจจะมีงบน้อยเพราะรัฐจัดสรรให้จะเป็นถังน้ำแบบฉีด หรือจะเป็นถังน้ำแบบประเภทไฟฟ้า เราก็คิดว่าเรื่องไฟเป็นเรื่องอันตราย เราจึงคิดว่าทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย เราจึงใช้โดรนในการที่จะขึ้นไปดูจุดใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีอาสาสมัครที่สนใจเรื่อง GPS จึงเอามาใช้งาน

ฉะนั้นถ้ามองรูปแบบ เราลงไปทำงานจริงเราดูจากจุดความร้อน hotspot ว่ามันขึ้นตรงจุดไหนและหลังจากนั้นเรารู้ เราเข้าไปในพื้นที่เดินทางเข้าไป มีเรื่องของการไปสมทบดับไฟในพื้นที่ด้วยร่วมกับชาวบ้าน เวลาเราเข้าไปในพื้นที่เราต้องเอาโดรนไปขึ้นบินก่อน โดยจะบินดูที่ก่อนว่าลักษณะไฟเป็นอย่างไร มีแนวยาวขนาดไหน กว้างขนาดไหนและพฤติกรรมเป็นอย่างไร ไฟแรง ไฟเบา ไฟอ่อนๆ  หรือไฟเด็กๆ โดรนจะมีอิทธิพลมากต่อการทำงานในช่วงแรก คือช่วยทำงานในการมองภาพรวมดูภาพรวม รวมถึงโดรนจะบอกพิกัดด้วยว่าไฟอยู่จากจุดที่เราต้องเข้าไปเป็นระยะทางเท่าไหร่ คือใช้พิกัดกับภูมิศาสตร์ลงหลังจากวิเคราะห์โดยรวมแล้วเราจะจัดชุดที่นี้เราเห็นลักษณะไฟเราจะรู้ว่าเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการดับไฟเราจะใช้อะไรบ้าง เราจะใช้ปั้มน้ำเราจะใช้เครื่องเป่าลมหรือเราจะใช้ถังน้ำ มันต้องมีการเดินถึงหรือไม่ ไกลจากชุมชนเท่าไหร่ มันมีแหล่งน้ำไหม

ดังนั้นเริ่มจัดชุดเข้าไป ชุดแรกเข้าไปจะเป็นเครื่องเป่าลมในชุดแรก เป็นคนที่ไปทำแนวกันไฟตัดวงจรเชื้อเพลิงมันถ้ามันลุกลามมาถึงเรา ตัดเพื่อให้เชื้อเพลิงมันหมด สองมีทีมที่เป็นทีมดับเลยคือใช้ปั้มน้ำภูมิศาสตร์แบบนี้ตองใช้เครื่องยนต์ แต่ถ้ายากในการเดินขึ้นเขาเราก็ใช้เครื่องขนากเล็ก ทางกระจกเงาก็พยายามพัฒนาตรงนี้เพื่อให้มีหลายตัวเลือกในการทำงาน หรือใช้น้ำต้องใช้คนที่เป็นอาสาสมัครแบกเราก็จะใช้ถังน้ำ จะเห็นได้จากรูปเราจะมีการแบกถังน้ำเพื่อลำเรียงไปส่งคนที่ฉีดดับไฟด้วย ในระหว่างทำงานโดรนก็จะบินอยู่บินบ่อยด้วย ถ้าทำงาน 3 ชั่วโมงโดรนก็จะบินให้เราถึง 4-5 รอบ เพื่อดูและในระว่างนั้นทีมก็จะเช็คอาสามสมัครว่าอยู่พิกัดไหน เพราะในตอนแรกที่บอกว่าโดรนบินมาแล้ว เราก็จะมีพิกัดไฟ หลังจากนั้นอาสาเข้าไปเราจะ Pot อาสาขอเราแต่ไม่ทุกคนจะ Pot แต่คนหลัก ๆ ให้เป็นแนว 1 แนว 2 แล้วทีนี้เราจะรู้แล้วว่าอยู่พิกัดไหน เราก็สั่งโดรนบินเข้าไปต่อไปเพื่อเฝ้าระวังไว้ เพราะเราต้องดูว่ารอบตัวอาสาสมัครไฟมันมาหาหรือไม่ หรือลักษณะพฤติกรรมของไฟที่ลุกลามมันแรงขึ้นหรือไม่ แนวไฟขยายวงขึ้นหรือไม่ และอาสาสมัครของเราล้ำเข้าไปในแนวหน้าหรือไม่ เพราะอาจจะทำให้ถูกไฟล้อมได้ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่เรา

ใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยเฝ้าระวังปีนี้เป็นปีแรก ปีหน้าถ้าอาสาสมัครเราออกทำงานเป็นทีมอย่างน้อยเราก็มีโดรนอีก 3 ลำ เราจะไม่ใช่การโชว์เทคโนโลยีอย่างเดียวแต่เราจะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

และไฟป่าเรี้ยวป่าดอกหญ้ามันไหม้เร็วเราต้องบอกอาสาสมัครเลยว่าต้องถอยแล้วนะเพราะไฟกำลังจะไหม้ป่าดอกหญ้า เราต้องรู้ไฟมันมาอย่างไรแล้วอาสาสมัครอยู่อย่างไรสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ทางมูลนิธิจะพัฒนาต่อไป ในปีหน้ามีอยู่หนึ่งตัวที่ทางมูลนิธิจะพัฒนาต่อคือการส่งค่าพิกัดของอาสาสมัครกลับมาที่ห้องปฺฎิบัติการศูนย์อำนวยการมีคลื่นวิทยุไม่ต้องอาศัยมือถือแล้ว ไม่ต้องถามอาสาสมัครว่าอยู่ไหนเพราะสิ่งนี้จะแสดงเลยว่าอาสาสมัครอยู่ตรงนี้ ๆ เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่คู่ใจอาสาสมัครคือ 1. อุปกรณ์ดับไฟถังน้ำ 2. วิทยุสื่อสาร

เราสังเกตว่าเรื่องการสื่อสารจริงๆ แล้วทางอาสาสมัครเรามีวิทยุสื่อสารทุกคน ฉะนั้นเวลาออกหน้างานจริงอาสาสมัครทุกคนต้องมีวิทยุสื่อสารออกไปเพราะหัวใจของการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ เช่น มีคนที่เห็นไฟจะไหม้ปิดทางแล้ว มันจำเป็นต้องสื่อสารกันคนที่กำลังเข้าไปช่องทางตรงนั้นต้องรีบกลับมาหรือไม่ก็ต้องบอกว่าห้ามขึ้นมาเพราะไฟปิดทางแล้ว ลงไปแล้วห้ามขึ้นมาแล้วฉะนั้นการสื่อสารด้วยวิทยุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะในสถานการณ์วิกฤตมันไม่สามารถสื่อสารกันโดยง่าย ตะโกนก็ไม่ไหวเพราะเสียงไฟยังไงก็ดังกว่าอยู่แล้ว และอีกเรื่องที่สำคัญในการที่จะพัฒนาในปีหน้าคือ โดรนปกติก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะบินคุ้มครองอาสาสมัครแต่สิ่งที่ต้องมีในปีหน้าคือ โดรนความร้อนเพราะโดรนความร้อนสามารถบอกเราได้ว่ากลุ่มไฟตรงไหนที่เราไม่ควรไปยุ่ง เพราะว่ามันเป็นไฟแรง เพราะโดรนความร้อนจะบอกอุณหภูมิ หรือบอกวงของไฟปีนี้เราเห็นแค่กลุ่มควัน ที่มันขึ้นมาแต่ว่าเราไม่เห็นปริมาณของไปจริง ๆ ที่มันขึ้นมาจึงจำเป็นต้องใช้

เรื่องกองทุนในการเฝ้าระวังไฟ เรามีแนวคิดว่าหนึ่งแม้เราจะเป็นทีมเฉพาะกิจที่มาช่วยดับไฟป่า ในลักษณะของการทำงานอาสาสมัคร ลักษณะของการมาเป็นส่วนร่วมหนึ่งในการดับไฟป่า แต่ว่าจริงๆ แล้วภารกิจของการดับไฟนอกจากเจ้าหน้าที่แล้ว คนที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการดับไฟคือชุมชน ฉะนั้นปีหน้าทางกระจกเงาจึงมองและให้ความสำคัญของการดับไฟในชุมชนมากกว่าปีนี้ ปีนี้เราก็สนับสนุนไปแล้วหลายสิบชุมชน ในภารกิจเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำงาน สนับสนุนเครื่องเป่าลม สนับสนุนเรื่องถังน้ำ สนับสนุนรวมถึงวิทยุสื่อสารด้วย เราให้เป็นแพ็คเกจเลยเพราะว่าเราคิดว่าถ้าทำให้ชาวบ้านมีเครื่องมือเขาจะช่วยในภารกิจดับไฟในชุมชนของตัวเองได้

สอง คือเวลาเราไปลงพื้นที่ชุมชนไหนเราจะมีอุปกรณ์ส่วนหนึ่งปีหน้าเราตั้งใจว่าจะมีรถอีกหนึ่งคันที่ขนเครื่องเป่าลมไปโดยไม่มีใครใช้ถังน้ำ หลังจากนั้นเราจะให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยทีมอาสาสมัครของเรา เป็นอาสาสมัครในหมู่บ้านดับไฟป่ามาหยิบอุปกรณ์ของเราไปดับไฟป่าด้วยสิ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนที่เราจะมองคือเรื่องของ เวลาการทำงานอาสาสมัครกับการดับไฟป่านั้นเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะในปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากการดับไปป่ารวมแล้ว 7 คน ในปีหน้าคือเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสูงสุด จริง ๆ ไม่ได้มองแค่เรื่องของการถูกไฟครอก แต่มองเรื่องการประเมินพื้นที่ด้วยว่าลักษณะของพื้นที่แบบไหนที่ควรจะเข้าไป ลักษณะไฟแบบไหนที่ไม่ควรเข้าไป และเรื่องของความปลอดภัยในเรื่องของการถูกแมลงสัตว์กัดต่อยในพื้นที่เชนโดนแตน ต่อ ผึ้ง หาวิธีการป้องกันเรื่องนี้กันอยู่ว่าจะทำอย่างไรถ้ามีอุบัติเหตุเรื่องนี้เกิดขึ้น และทักษะเรื่องการปฐมพยาบาลไม่ว่าจะตกเขาขาหักมันต้องมีความรู้พื้นฐานไว้ก่อนในทีมของเรา

ทางมูลนิธิวางไว้ว่าปีหน้าในเรื่องของชุมชนก็อยากเอาเจ้าหน้าที่มาอบรมความรู้ให้กับภาคชุมชนได้รู้ทั้งด้านประเภทของไฟ เชื้อเพลิงต่าง ๆ ลักษณะภูมิประเทศแบบไหนที่ควรเข้าไฟมาแบบไหนที่ควรเข้าอย่างน้อยจะสร้างความปลอดภัยชุมชน สองคือเรื่องอาสาสมัครเรามีการแนะนำก่อว่าอะไรที่ควรทำเมื่อเข้าไปดับไฟและสิ่งไหนที่ไม่ควรทำ พฤติกรรมของไฟ ก่อนที่จะไปเป็นอาสาสมัครกับเรา อาสาสมัครกับเราควรจะต้องเป็นอาสาสมัครระยะยาวด้วย อย่างน้อยต้องมาอยู่ 1 สัปดาห์ก่อน

ตอนนี้อยู่ระหว่างการถอดบทเรียนกัน และคิดว่าสิ้นเดือนนี้จะปิดศูนย์อาสาสมัคร และขยับไปทำภารกิจเรื่องการฟื้นฟูป่า เรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับชุมชนและพื้นที่ละแวกนี้  ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญชุมชนหลาย ๆ ชุมชนต้องการการซักซ้อมถึงแม่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือแต่ส่วนใหญ่ก็คนหน้าใหม่ของชุมชนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครดับไฟ และชาวบ้านก็ไม่เคยภารกิจของเราก็มีการระดมเรียกกันมาช่วยกันแต่ตรงนี้ควรต้องเป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจเข้าด้วยกัน ถ้าชุมชนมีองค์ความรู้เรื่องการดับไฟเขาเหล่านี้ก็สามารถช่วยเราได้มากขึ้นในเรื่องของการดับไฟ และจะเกิดความปลอดภัย ถ้าเข้ารู้ว่าไฟแบบไหนลักษณะแบบไหนควรเข้าควรดับ แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวังหรือวิธีการเอาตัวรอด มันก็จะสอดคล้องกับสิ่งที่เราจะสนับสนุนชุมชนเข้าไปสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ หลังจากนี้จะเป็นการเตรียมการสำหรับปีหน้าในทุกมิติ

ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/ThemirrorCR/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ