1 ปี แผ่นดินไหวสู่การจัดการภัยพิบัติ(เชียงราย)

1 ปี แผ่นดินไหวสู่การจัดการภัยพิบัติ(เชียงราย)

หลังจากการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์  เมื่อวันที่  5 พ.ค. 2557 ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งส่งผลให้อาคาร สถานที่ และบ้านเรือนของชาวบ้านในพื้นที่ 7 อำเภอได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง  รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก  เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือและจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น/ท้องที่ (เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล) ภาคเอกชน นักวิชาการ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ในการรับมือและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย  มีการประสานความร่วมมือโดยใช้รูปแบบของกลไกความร่วมมือเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่หลักของแต่ละภาคส่วนโดยเปิดกว้างต่อการหนุนเสริมให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แสดงศักยภาพของตัวเองออกมา มีการใช้ทุนทางสังคมเป็นตัวหล่อลื่นการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ 

เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดบทเรียนทางสังคมมากมายในหลายด้านที่จะต้องได้รับการทบทวน  เนื่องเพราะประเทศไทยมีกลุ่มรอยเลื่อนที่สำรวจพบแล้วอยู่หลายกลุ่ม โดยสามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 14 กลุ่ม กลุ่มรอยเลื่อนทั้งหมดนั้นวางแนวพาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ในพื้นที่ 22 จังหวัดของประเทศไทย

สำหรับจังหวัดเชียงรายมีรอยเลื่อนที่พาดผ่านถึง  3 รอยเลื่อนคือ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา และรอยเลื่อนแม่อิง และรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังในขณะนี้คือ กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน และกลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง เพราะเป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่ยังไม่เคยปลดปล่อยพลังงานออกมา จึงอยู่ในสภาวะของการสะสมพลังไว้มาก  ซึ่งตามหลักทางธรณีวิทยาแล้วกลุ่มรอยเลื่อนที่มีการสะสมพลังงานมานาน การปลดปล่อยพลังงานในแต่ล่ะครั้งจะมีความรุนแรงสูง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในพื้นที่ไว้ก่อนเกิดเหตุ  ซึ่งการเตรียมความพร้อมนี้ย่อมหมายรวมถึงภัยพิบัติอื่นที่ภายในจังหวัดเองก็ประสบอยู่เกือบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ โคลนถล่ม พายุฤดูร้อน หรือแม่แต่ปัญหาหมอกควัน

อนึ่ง ความรุนแรงและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติในโลก ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าสถิติของภัยธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากเดิมที่จำนวนประมาณ 200 ครั้ง ต่อปี    ในปี 1980 มาเป็นประมาณ 400 ครั้งต่อปีในปัจจุบัน ภัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนราว 250 ล้านชีวิตต่อปี 

จะเห็นได้ว่าการเตรียมความพร้อมของชุมชนในพื้นที่อ่อนไหว หรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสรุปบทเรียนการจัดการในการรับมือกับภัยพิบัติในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ     และรวมไปถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดในอนาคตร่วมกันต่อไป

ในวันที่ 5 – 6 พฤษภาคม 2558 องค์กรภาคีเครือข่ายฯ เห็นพ้องต้องกันว่านี่คือโอกาสที่ทุกภาคส่วนจะได้ทบทวนประสบการณ์และบทเรียนอันทรงคุณค่านี้ร่วมกัน เพื่อจะนำไปสู่การจัดการปัญหาและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งจากต้นเหตุและปลายเหตุไปพร้อม ๆ กัน 

 

กำหนดการ (ร่าง)

1 ปี แผ่นดินไหวสู่การจัดการภัยพิบัติในจังหวัดเชียงราย

วันที่ 5 พฤษภาคม 2558

ณ โรงเรียนสันกลางราษฎร์พัฒนา(ข้างวัดแม่สรวยหลวง)   อำเภอแม่สรวย   จังหวัดเชียงราย

08.00 น.             ผู้ร่วมงานเดินทางมาถึงที่ว่าการอำเภอแม่สรวย

09.00 – 09.30 น. ออกเดินขบวนรณรงค์ จาก ที่ว่าการอำเภอแม่สรวย  ถึง  โรงเรียนสันกลางราษฎร์พัฒนา 

09.30 – 09.40 น. นายพงษ์ศักดิ์  วังเสมอ  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เดินทางมาถึงงาน และเยี่ยมชมนิทรรศการ

09.40 – 09.50 น. กล่าวต้อนรับ   โดย  นายอำเภอแม่สรวย 

  1. 50 – 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน   โดย นางเตือนใจ   ดีเทศน์  เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน จ.เชียงราย

10.00 – 10.10 น. รายงานผลงาน การจัดการภัยพับัติของเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนและหน่วยงานภาคี

                        โดย นายประนอม เชิมชัยภูมิ ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.เชียงราย

10.10 – 10.30 น. กล่าวเปิด และ ให้นโยบายการจัดการภัยพิบัติแบบบูรณาการและ การสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติ จ.เชียงราย

โดย  นายพงษ์ศักดิ์  วังเสมอ  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

10.30 – 10.45 น. ชมวีดีทัศน์รำลึก 1 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย

10.45 – 12.00 น. เสวนา  หัวข้อ “บทเรียนการเรียนรู้ ครบรอบ ๑ ปี เหตุการณ์แผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย”           

  • ผู้แทนพื้นที่ตำบลแม่สรวย                       พื้นที่ประสบภัยพิบัติ
  • นายยาพี      จูเปาะ                              นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี
  • รองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์  ศรลัมพ์           มูลนิธิมดชนะภัย
  • นางบุศริณธญ์  วรพัฒนานันท์                  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
  • นางเตือนใจ   ดีเทศน์                            เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน จ.เชียงราย
  • นายประนอม   เชิมชัยภูมิ                       ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย
  • นายอัมพร  แก้วหนู                               ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

                        ดำเนินรายการโดย    นายธนภณ  เมืองเฉลิม      สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน           

13.00 – 15.00 น.             แบ่งกลุ่มย่อยห้องเรียนรู้  แนวทางการจัดการภัยพิบัติจังหวัดเชียงราย

  1. การจัดการความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ
  2. การซ่อมสร้าง  และการสร้างเครือข่ายทีมช่าง 
  3. การสร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆ  เช่น การจัดทำข้อบัญญัติตำบล
  4. การจัดการ + กองทุนภัยพิบัติ

15.00 – 16.00 น. สรุปกลุ่มย่อย และ ชวนคิด ชวนคุย

โดย นายธนชัย   ฟูเฟื่อง  และ นางวิไล    นาไพวรรณ์   เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.เชียงราย

16.00 – 17.00 น. พิธีถวายทานผ้าป่า เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมวัด 

17.00 – 18.00 น. พิธีจุดเทียน “รำลึกเหตุการณ์ 1 ปี แผ่นดินไหว พร้อมส่งพลังใจไป เนปาล” (Pray For Nepal)

                        โดย นายพงษ์ศักดิ์   วังเสมอ  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  เป็นประธานในพิธี (อยู่ในระหว่างติดต่อ)

18.00 น.             เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

วันที่ 6 พฤษภาคม 2558

ณ  ห้องประชุมศาลากลาง   จังหวัดเชียงราย

 

9.00– 12.00 น.   เวทีของภาคนักวิชาการ :  ภาควิชาการกับการจัดการภัยพิบัติ

                                (ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)

                                ผู้เข้าร่วมพูดคุย

  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เชียงใหม่
  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอาชีวะศึกษา
  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคนิค
  • สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต1 ลำปาง
  • หน่วยงานอื่น ๆ (อยู่ระหว่างการประสานงาน)

12.00 – 13.00 น.                รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 – 16.00 น.                เวทีภาคนโยบายและแผน เพื่อร่วมนำเสนอแผนการดำเนินงาน มองอนาคตนโยบายข้างหน้า ทั้งภาคประชาชน และส่วนราชการ 

  • (ดำเนินการโดยส่วนราชการจังหวัดเชียงราย/สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย)

                                ผู้เข้าร่วมพูดคุย

 

***

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ