1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยมีดีกว่าที่คิด

1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยมีดีกว่าที่คิด

สินค้า OTOP จากการต่อยอดภูมิปัญญา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในเรื่องการประชาสัมพันธ์สินค้า กระบวนการผลิต และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ช่วยส่งเสริมให้สินค้า OTOP มีมาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

20152910154504.jpg

เมื่อวันที่ 21- 27 ต.ค. 2558 สำนักงานพัฒนาชุมชน 4 จังหวัด ภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี  ชัยนาท  สิงห์บุรี  อ่างทอง จัดงาน ONE ตำบล ONE Product  ขึ้นที่ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต โดยภายในงานมีการจัดบู๊ทจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งอาหาร ของใช้  ของชำร่วย ฯลฯ ให้ผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อ และประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รู้จักสินค้า OTOP ของดีประจำท้องถิ่นของไทยด้วย 

20152910155130.jpg

สุคนธ์ ชูทิพย์ นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า การจัดงาน มหกรรม OTOP กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 มีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ 1.การส่งเสริมการท่องเที่ยว ในส่วนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2.การประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์เด่น ของ 4 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าจักรสานพลาสติก สร้อยคอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ของผู้ประกอบการ OTOP ให้มากขึ้น

 

20152910154852.jpg

สกาว สืบสายเชื้อ ผู้บริหารของสถานีวิทยุจาก อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า  1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เป็นการคัดกรองผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในแต่ละพื้นที่ของตำบล นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้มีจุดเด่นขึ้นมาเพื่อสามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน จากวัตถุดิบที่ตนเองมีในพื้นที่นั้น

สกาว กล่าวด้วยว่า คุณค่าในสินค้า OTOP แตกต่างจากสินค้าในตลาดทั่วไป อันดับแรกคือ OTOP เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่นำมาทำ นำมาสร้างสรรค์ แล้วมาพัฒนาเป็นอาชีพ เพื่อให้คนในพื้นที่มีชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นเสน่ห์ที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไป

“สินค้าโอท้อปในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันก็อาจจะมีผลกระทบบ้างเล็กน้อย ทำไมถามว่าเล็กน้อยเพราะว่าความแตกต่างความโดดเด่นของโอท๊อปมันมีอยู่แล้ว ถ้าไปเทียบกับสินค้าทั่วไป” สกาวกล่าว

 

20152910154929.jpg

เรียวดาว บุญจันทร์ นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลพบุรี ได้ยกตัวอย่าง สินค้า OTOP ที่มาจากหวัดลพบุรี เช่น ไข่เค็มดินสอพอง โดยเอาดินสอพองซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาห่อหุ้มไข่ เป็นไข่เค็มดินสอพองออกมา แล้วก็เอามาต้มเป็นไข่เค็มที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ซึ่งจุดเด่นของไข่เค็มดินสอพองคือจะมีความมันในตัวของไข่แดง และมีรสชาติอร่อย

อีกสินค้าหนึ่งที่โด่งดังใน จ.ลพบูรี คือ ‘ปั้นลิง’ ซึ่งธัชชนันท์ นาคทั่ง OTOP กลุ่มปั้นลิง จ.ลพบุรี กล่าวถึงการส่งเสริมการปั้นดินว่า เราจะให้ชาวบ้านมาฝึกงานกับเรา แล้วพอปั้นเป็น ปั้นสวยแล้ว ก็ให้รับงานกลับไปทำที่บ้าน บางคนก็ทำเป็นอาชีพหลัก บางคนก็ทำเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้แก่สมาชิกต่อคนราวเดือนละ 9,000 บาท

20152910155059.jpg

 

แม้ว่าเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบต่อสินค้า OTOP บ้าง แต่ถ้าภาครัฐและเอกชน ร่วมกันส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชน ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มผู้บริโภค และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ได้

20152910155022.jpg

 

20152910155046.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ