ตู้วัดอุณหภูมิร่างกายอย่างง่ายเพื่อลดการสัมผัส นวัตกรรมช่วงโควิด-19

ตู้วัดอุณหภูมิร่างกายอย่างง่ายเพื่อลดการสัมผัส นวัตกรรมช่วงโควิด-19

: คุยกับ คุณ วุฒิชัย โลนันท์ ผอ.ร.ร.บ้านตอง อดีตนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร.พ.บ้านหลวง

การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 แม้รัฐบาลจะมีมาตรการเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ แต่ยังไม่สามารถหยุดยั้งไวรัสตัวนี้ได้ จังหวัดน่านเป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ตอนนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด -19 ถึงแม้ยังไม่มีผู้ป่วยแต่ในพื้นที่จังหวัดน่านมีการออกมาตรการดูแลคนในพื้นที่อย่างเข้มข้น  มีมาตรการณ์รับมือทั้งในระดับจังหวัด ระดับชุมชน ด้วยการเฝ้าระวัง และหานวัตกรรมมาช่วยเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโดยเฉพาะในขั้นตอนการคัดกรอง จึงระดมสรรพกำลังคิดค้น และประดิษฐ์อุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ให้แพทย์ พยาบาล และคนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อรับมือกับไวรัสที่มองไม่เห็นตัวนี้


องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้คุยกับ คุณ วุฒิชัย โลนันท์ ผอ.ร.ร.บ้านตอง อดีตนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร.พ.บ้านหลวง คุณครูนักประดิษฐ์นวัตกรรม เรื่อง ” ตู้วัดอุณหภูมิร่างกายอย่างง่ายเพื่อลดการสัมผัส นวัตกรรมช่วงโควิด-19 ”  

Q : เล่าถึงนวัตกรรมเครื่องตู้วัดอุณหภูมิ แบบง่าย ประหยัด ลดเสี่ยงเลี่ยงสัมผัส ที่ประดิษฐ์การใช้งานอย่างไร ?

A : ในส่วนของตัวนวัตกรรมนี้เราพัฒนามาเพื่อที่จะช่วยในเรื่องของคนที่ทำงานสัมผัสเสี่ยง ทำอย่างไรที่จะช่วยไม่ให้ใกล้ชิดในระยะที่ต้องไปคัดกรองคนไข้ ซึ่งนวัตกรรมตัวนี้ได้รับโจทย์มาจาก ดร.นพดล นักวิชาการที่โรงพยาบาลบ้านหลวง ให้จัดทำเครื่องตู้วัดอุณหภูมิเพื่อทดสอบ โจทย์คือจะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาลเรา คนที่เข้าในโรงพยาบาลให้บุคลากรที่ต้องสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดปลอดภัย ปกติต้องเดินไปตรวจใช้เครื่องอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ยิงไปที่ตรงหน้าผาก โดยการที่เจ้าหน้าที่เดินไประยะใกล้ จะทำอย่างไรให้บุคลากรไม่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิด จึงคิดค้นใช้อุปกรณ์ที่ใกล้ตัวในโรงพยาบาลจะเอามาทำอะไรได้บ้าง โดยส่วนตัวใช้ App ในการพัฒนาชิ้นงานส่วนตัวอยู่แล้ว และพวกเทคโนโลยีต่าง ๆ นำมาทดลอง โดยวิธีการใช้เครื่องอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์นำมาดัดแปลง ตรงสวิตช์ของเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ เชื่อมสายไฟเข้าไป จากนั้นแล้วหาอุปกรณ์ที่จะสามารถซัพพอร์ตกับอุปกรณ์นี้ได้  โจทย์ของเราคือ 1 ราคาถูกและสามารถใช้ได้จริง 2 หาง่ายในท้องตลาด  สรุปถ้าไม่รวมกับตัวคอมพิวเตอร์แล้วใช้งบประมาณ 1 ตัวประมาณไม่เกิน 3,000 บาท จริง ๆ แล้วทุกโรงพยาบาลมีตัวอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ ทีนี้เราแค่ไปหาว่าตัวสวิตช์ตัวไหนที่เราจะสามารถที่จะนำมาใช้ได้  Process ของมัน คือคนที่เข้ามายังโรงพยาบาลจะต้องถูกวัดไข้ วิธีการวัดไข้แบบใหม่คือเราอยากให้คนไข้ วัดไข้ด้วยตนเองได้ จึงออกแบบโดยคนไข้วัดไข้เองโดยใช้เท้าเหยียบการนำหน้าผากมาไว้ที่จอ หลังจากนั้นอุณภูมิที่ปรากฏบนเครื่อง จะส่งอุณภูมิไปยังจอภาพแสดงผลเจ้าหน้าที่ ที่นั่งห่าง 1- 2 เมตร ถ้าอุณภูมิเกิน 37.5 เครื่องจะส่งสัญญาณดัง จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ส่วนด้านอุปกรณ์ใช้การดัดแปลงจากกริ่งกดหน้าบ้าน เป็นตัวเหยียบสวิตช์ ส่วนตัวส่งสัญญาณใช้กล้องเว็บแคมธรรมดาไปต่อตรงที่ตัวอินอินฟาเรดส่งตรงไปยังคอม ส่วนด้านซอฟแวร์ทางเราประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ถ้าเวลาคนไข้มาสแกน หลังจากนี้ใช้บัตรประชาชนเสียบกับตัวเทอร์โมสแกน และเครื่องจะบันทึกข้อมูล เป็น DATA เพื่อเป็นการบันทึกความเสี่ยงของผู้คนที่เข้ามาในทุกวันได้ และเพื่อทำแบบสำรวจความเสี่ยงส่งไปยังระบบให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อประเมินความเสี่ยง หลังจากนั้นการมารักษาก็ใช้แค่บัตรประชาชน ส่วนด้านตัวครอบก็ใช้พลาสติกใสธรรมดามาครอบ จริง ๆ แล้วก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองประชาชนท้องถิ่น สามารถใช้ต่อยอดได้ อนาคตวางแผนไว้ว่าอยากจะซัพพอร์ตในด้านออนไลน์ด้วย แต่ในตัวตู้จะใช้โครงของ PVC ก็ได้หรือพลาสติกแล้วนำติดตั้งระบบลงไป ระบบนี้โรงพยาบาลใช้จริงแล้ว ทุกคนที่เข้ามาโรงพยาบาลจะต้องเดินผ่านเครื่องนี้ และถือบัตรประชาชนเข้ามาด้วย ในตอนนี้ยังเป็นต้นแบบอยู่ 1 เครื่อง หลังจากทำเครื่องนี้ ปกติใช้พยาบาลในการคัดกรอง หลายจุดแต่ตอนนี้เหลือแค่จุดเดียวที่เดินผ่านได้เท่านั้นจึงเป็นการลดความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลร่วมกันอีกด้วย ถือว่าเป็นนวัตกรรมง่ายๆ ที่ทุกสถานที่สามารถนำเอาแนวคิดเล็ก ๆ นี้ ไปประยุกต์ใช้กันได้เพื่อป้องกันบุคลากรของท่าน ลดความเสี่ยงกับโรคระบาด Covid-19

เราพอจะช่วยอะไรได้ ก็ควรจะช่วยกันคนละไม้คนละมือ

เพื่อตั้งและพร้อมรับสถานการณ์

นำความรู้ที่มีมาพัฒนาต่อยอด

ให้กับพื้นที่ในชุมชนของเรา

Q : มาตรการในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ?

A : ทางจังหวัดน่าน ผู้นำชุมชน และคนชุมชนเอง ค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จังหวัดน่านมีกลุ่มอาสาต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการให้กำลังใจกันทั้งทำกับข้าว และมีมาตรการที่เข้มข้น 2 ทุ่มที่บ้านของครูก็ไม่มีคนออกมาแล้ว ช่วงนี้ครูบอยก็ยังหยุดสอน แต่ก็ยังคงมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อพร้อมในสถานการณ์ในอนาคต ปกติแล้วการเรียนการสอนทางออนไลน์ มีระบบอยู่แล้วระบบที่สามารถเข้าไปใช้ ระบบเนื้อหาออนไลน์การเรียนการสอนออนไลน์ จริง ๆ สามารถจะเข้าไปดูได้ แต่เพียงแค่ว่าการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ นี่ก็เป็นโจทย์ทางการศึกษาในการเรียนการสอนต่อไป  ต้องสร้างการตระหนักในเรื่องการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ในอนาคตต่อไป ทุกคนต้องช่วยกันมอนิเตอร์ด้านการศึกษาเพราะทุกอย่างไม่ได้เริ่มจากศูนย์

Live องศาเหนือ Special 8 เม.ย.63

Live องศาเหนือ Special : เย็นนี้ (8 เม.ย.63) คุยกันกับนวัตกรรมชุมชน"ตู้วัดอุณหภูมิร่างกาย" เพื่อลดการสัมผัส นวัตกรรมช่วงโควิด-19"คุยกับ วุฒิชัย โลนันท์ ผอ.ร.ร.บ้านตอง อดีต นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร.พ.บ้านหลวง#TheNorthองศาเหนือ #ThaiPBS

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันพุธที่ 8 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ