“เราจะไม่นั่งรอการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เราจะลงมือทำทันทีด้วยตัวเอง” ก้าวย่างสู่การปฏิรูปการศึกษา

“เราจะไม่นั่งรอการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เราจะลงมือทำทันทีด้วยตัวเอง” ก้าวย่างสู่การปฏิรูปการศึกษา

แม้แต่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็เริ่มต้นจากคนๆ เดียวได้ และมันเริ่มต้นได้ เมื่อคนผู้นั้น “ลงมือทำ”

“เราจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้อย่างไร?” ไม่ใช่โจทย์ที่มุ่งหมายให้รัฐหรือกลไกใดๆ ตอบ หากแต่ นี่คือคำถามสำหรับเราทุกคน คำถามที่ดังขึ้นในเวทีคืนการศึกษาให้สังคม เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา กับคำตอบที่เกิดจากผู้คนหลากกลุ่ม หลายพื้นที่ 

คำตอบที่กลายเป็นคำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของภาคสังคม บนจุดยืน ท่าทีที่ชัดเจนว่า “เราจะไม่นั่งรอการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เราจะลงมือทำทันทีด้วยตัวเอง” ที่เราได้เริ่มต้นขับเคลื่อนยกระดับปฏิบัติการ 9 ข้อ จากคำประกาศฯ แล้วอย่างต่อเนื่อง 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า …คำถามเดียวกันนี้จะดังขึ้นในใจของทุกคน

20152604122657.jpg

———————————————— 
“เราจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้อย่างไร”
1.เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
สร้างทางเลือกและหนุนเสริมโครงสร้างในระดับนโยบาย : กลไกกระทรวงใหญ่เกิน จึงควรต้องคืนอำนาจการศึกษาให้กับประชาชน มีมาตรฐานที่หลากหลาย สอดคล้องเหมาะสม พัฒนาคนให้เติมศักยภาพของตัวเยาวชนเอง
แนวทางปฏิบัติ
– การพยายามปรับโครงสร้างให้ลดลง
– พยายามผลักดันให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์
– ปรับโครงสร้างสภาวิชาชีพครู ให้มีอิสระ นักการศึกษาที่อยู่ในระบบ
– การศึกษาทางเลือกยังผูกโยงกับสพฐ. ต้องพยายามผลักดันในมีการสร้างองค์กรอิสระ เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหน้าที่ กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นองค์กรอิสระ

2.เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน
การศึกษาบนฐานชุมชนที่สร้างคนมีราก เพื่อฟื้นฟูสังคมภูมิปัญญา
แนวทางปฏิบัติ
– จัดการศึกษาบนปรัชญาฐานคิด ที่เชื่อว่า หากการศึกษาสร้างคนที่รู้จักและภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนแล้ว จะสามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
– มีแนวทางการจัดการศึกษาที่ยึดชีวิตชุมชนเป็นตัวตั้ง 
– สร้างกลไกที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ กลไกการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย กลไกการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และกลไกการสร้างการเรียนรู้ขององค์กร
– มีเครื่องมือที่สำคัญ คือ หลักสูตรที่เน้นการสร้างปัญญาจากการปฏิบัติ กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น การทำงานแบบเครือข่าย และการบวนการสืบสานภูมิปัญญา 

3.เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง
การสร้างการศึกษาบนฐานความเท่าเทียม และความหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยสังคมพหุวัฒนธรรม
แนวทางปฏิบัติ 
– ออกแบบหลักสูตรวิถีวัฒนธรรม และหลักสูตรการเรียนภาษาท้องถิ่น (เป็นการจัดการเรียนการสอนพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานในการจัดการศึกษาของรัฐและ กศน.)
– จัดการศึกษาโดยให้ความรู้ ในเรื่องการผลิตครู (ที่เข้าใจความเป็นชนเผ่า เข้าใจท้องถิ่น) การผลักดันนโยบาย สาธารณะ และการสร้างความร่วมมือรวมทั้งการขยายเครือข่ายการเรียนรู้ โดยผู้ขับเคลื่อน ประกอบด้วย เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง : มูลนิธิรักษ์เด็ก มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรม, เขตพื้นที่การศึกษา / โรงเรียนชุมชนมอวาคี, มูลนิธิ PCF, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ตัวแทนผู้รู้ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง
– รณรงค์ให้รัฐตระหนักถึงการทำความเข้าใจ ความหมายของ “ชนพื้นเมือง”
– กำหนดเป้าหมายทิศทางการจัดการศึกษาชนเผ่าต้องชัดเจน บนฐานการศึกษาเพื่อชีวิต และชุมชน ก่อให้เกิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม

4.เครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง
ปลุกกระแสให้สังคมตื่นรู้ เพื่อผลักดันให้สุขภาวะครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ
แนวทางปฏิบัติ
4.1 มองการศึกษามากกว่ามิติโรงเรียนอย่างเดียว แต่ต้องเปิดพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ ครู และเด็ก บนฐานความเชื่อที่ว่า “ทุกคนมีความรู้และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้” และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการ
– สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง และผู้ปกครองกับโรงเรียน 
– สร้างการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ให้เกิดสุขภาวะ โดยสร้างพื้นที่ของแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งความรู้ เครื่องมือ และประสบการณ์ และมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน เช่น ทักษะการใช้สื่อ ทักษะการฟัง ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
4.2 จัดตั้งหรือส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายพ่อแม่จิตอาสา ภายใต้กลไกการขับเคลื่อนนโยบายทั้งที่มีอยู่แล้วและผลักดันให้เกิดนโยบายรองรับ
– ทบทวนเป้าหมายในการจัดการศึกษา โดยเริ่มจากความไว้วางใจ เปิดใจ และใช้พลังบวกในการสร้างสรรค์ในการปฎิรูปการศึกษา
– สร้างกลไกเพื่อหนุนเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของเครือข่าย/กลุ่มผู้ปกครอง โดยการสร้างคู่มือ จัดกิจกรรมค่าย พัฒนาแหลางเรียนรู้ในชุมชน
– สร้างกลไกการขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิด ผลักดันนโยบาย ไปสู่วาระครอบครัว มองมิติมากกว่าโรงเรียนอย่างเดียว

5.เครือข่ายเด็กและเยาวชน
5.1 การจัดการศึกษาให้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
แนวทางปฏิบัติ
– การออกแบบการเรียนรู้เพื่อห้องเรียนเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง รวมทั้งภาคส่วนต่าง
– การพัฒนาขีดความสามารถในการกำหนดโจทย์การศึกษาของตนเอง
5.2 สร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นเอกภาพ
แนวทางปฏิบัติ
– พัฒนาศูนย์ประสานงาน หรือ พื้นที่ทางสังคม(Hub) ที่สามารถให้บริหารข้อมูลทางการศึกษาและประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ให้เกิดพื้นที่ในการแบ่งปันทรัพยากรและข้อมูลร่วมกันเพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนาการศึกษา

6.เครือข่ายธุรกิจเอกชน
สร้างความร่วมมือของภาคธุรกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้ค้นพบตัวเองเร็วขึ้น
แนวทางปฏิบัติ
– ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ บนฐานคิดที่เชื่อว่า หากเด็กได้รู้จักตนเองได้เร็วเท่าไหร่ ย่อมทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนและการทำงานในอนาคตได้มากขึ้นเท่านั้น
– วิธีการ คือ ช่วงมัธยมศึกษาตอนต้นควรให้เด็กได้ออกมาเรียนรู้นอกห้องเรียน มีฐานข้อมูลให้เด็กเลือกในการฝึกงาน จัดการเรียนการสอนแบบ work-based Learning ให้สะท้อนตัวเองว่าใช้สิ่งที่เราชอบหรือไม่ หากเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความชอบและความถนัดของตนเองก็ทำงานอย่างมีความสุข

7.เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
7.1 ร่วมกันขับเคลื่อนเป็นเป็นเครือข่ายเพื่อสร้างพลังในการต่อรองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
แนวปฏิบัติ
– สร้างเครือข่ายจาการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่า อปท. ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการดำรงอยู่ของโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน ให้เป็นโรงเรียนของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน อย่างแท้จริง
– มุ่งเน้นการจัดการตนเอง เพื่อให้เกิดการเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์แบบ
7.2 มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน
– ออกแบบหลักสูตรที่ยืดหยุ่น มีกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะกับผู้เรียน และเน้นทักษะชีวิตและอาชีพ สร้างจิตสำนึกสาธารณะทั้งนำโรงเรียน เข้าสู่ชุมชน อาทิการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

8.เครือข่ายโรงเรียนสังกัด อปท.
การจัดการศึกษาที่กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคนในท้องถิ่น ปลอดนักการเมือง ครูและบุคลากรที่มีความเท่าเทียม
แนวทางการปฏิบัติ
– จัดการศึกษาแบบใกล้ชิด เพื่อท้องถิ่น เพื่อประชาชน
– กำหนดเป้าหมายการพัฒนาคนในท้องถิ่น (ที่มีอุปสรรคสำคัญคือ 1) ไม่เป็นนิติบุคคล 2) เครือข่ายสังกัดเดิม การรวมตัวเป็นเครือข่าย และ 3) ขาดการสนับสนุนความรู้วิชาการการจัดการศึกษา 
– จัดการศึกษาที่ปลอดการครอบงำนักการเมืองในท้องถิ่น
– ขับเคลื่อนให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการท้องถิ่น เพื่อให้ครูและบุคลากรจะได้มีฐานะเท่าเทียม และใช้กฎหมายได้อย่างเต็มภาคภูมิ 
– ชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอน
– จัดการการศึกษาท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการมาจากผู้บริหาร, ครู, ผู้ปกครอง, บริหารท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ 1) บริหารงานบุคคล 2) จัดระบบสวัสดิการ 3) จัดทำหลักสูตร ที่มีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน รร., อปท. นักวิชาการด้านการศึกษา 

9.เครือข่ายโรงเรียนเอกชน
9.1 จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับอนาคตของเด็ก
– การมีอิสระในการบริหารจัดการ 
– สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมตามวัย สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้มีความสุขทั้งผู้เรียนและผู้สอน 
9.2 สนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาค
– เพิ่มบทบาทโรงเรียนเอกชนในการมีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาครู 
– สนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนเอกชนให้เสมอภาคกับโรงเรียนรัฐบาล

10.เครือข่ายภาคสังคม
ลดบทบาทและอำนาจในการจัดการศึกษาของรัฐ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากภาคประชาชนมากขึ้น
แนวทางปฏิบัติ
– กระจายอำนาจการศึกษาในรูปแบบสภาการศึกษาที่มีภาคส่วนต่างๆ จากผู้สนับสนุนการศึกษาที่หลากหลลาย พ่อแม่ ครูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน 
– จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เด็กได้รับการศึกษาที่สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับสภาพบริบทชุมชน

——————————————-
Download PDF https://app.box.com/s/vs6gpgaqo0k4e08jlki9isl3hxg3p0bz

Download JPG https://app.box.com/s/aupznvv6ijeravua3d5ovepxwy1cxeey

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ