Day14 +10 :ประสบการณ์ “กักตัวเอง” ในวันที่ต้องรักษาระยะห่างกับครอบครัว

Day14 +10 :ประสบการณ์ “กักตัวเอง” ในวันที่ต้องรักษาระยะห่างกับครอบครัว

ภาพ-เรื่อง : พรชัย เอี่ยมโสภณ

“14 วันอาจจะนาน แต่เราก็สามารถหากิจกรรมทำ อยู่กับครอบครัว อาจจะเป็นเรื่องดีที่ว่า 14 วันนี้ เราจะได้ทบทวนตัวเองเยอะขึ้น ได้เห็นคนในครอบครัวเรามากขึ้น   โดยเฉพาะคนที่กลับมาจากต่างจังหวัด อาจไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวมากเพราะเราต้องทำงาน แต่พอเราได้อยู่กับครอบครัว เราก็ใช้ 14 วันนี้พูดคุยกับพ่อแม่ แต่ให้ระมัดระวังในการรักษาระยะห่างของตัวเอง ลองหาสิ่งดี ๆ ทำ และเชื่อว่าเราจะผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันทั้งประเทศ” คุณแอน เนตรชนก เวชกุล ชาวอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

คุณแอน เนตรชนก เวชกุล ชาวอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง  พูดคุยกับทีม แลต๊ะแลใต้ ถึงประสบการณ์การกักตัวเอง 14 วัน และขอกักตัวเองต่ออีก 10 วัน เพื่อสังเกตอาการหลังจากที่เดินทางกลับมาจากไต้หวัน หนึ่งในประเทศกลุ่มเสี่ยง เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 

ก่อนหน้านี้ คุณแอนวางแผนข้ามปีจะไปร่วมงานเปิดสถานธรรมแห่งหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน เมื่อใกล้ถึงเวลาเดินทางก็เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  คุณแอนก็ได้ตรวจสอบข้อมูลกับทางไต้หวันเป็นระยะ  และได้ข้อมูลว่าสถานการณ์ไม่ร้ายแรง  ในช่วงนั้นมีผู้ติดเชื้อ 24 คน และเสียชีวิต 1 คนเป็นคนต่างประเทศที่เดินทางเข้าไปในไต้หวัน

“ก่อนเดินทาง ก็เตรียมตัวกันเยอะมาก ทั้งทิชชูเปียก ช้อน จาน กระบอกน้ำร้อน เตรียมของใช้ส่วนตัวของแต่ละคนไปให้มากที่สุด รวมถึงผู้นำทริปก็ได้จัดการเรื่องความปลอดภัยให้กับคณะเป็นอย่างดี อยู่ที่ประเทศไต้หวัน 3 วัน เดินทางกลับประเทศไทย”

คุณแอนเล่าต่อว่า เมื่อกลับมาถึงจังหวัดระนองแล้วน้องที่รู้จักกันซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลกะเปอร์ ก็ซักถามว่ามีไข้ไหม มีอาการอะไรบ้าง  ก็เลยตัดสินใจว่ากักบริเวณตัวเอง 14 วันตามที่กำหนดและเฝ้าสังเกตอาการของตัวเองต่อไปอีก 10 วันจนครบ 24 วันเพื่อให้มั่นใจ

“3 วันแรก   ยังไม่มีอะไรกดดันมาก แต่พอเริ่มเข้าวันที่ 4-5 ทางการเริ่มมีมาตรการเข้มข้นเรื่องให้ดูแลผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ประกอบกับแฟนซึ่งทำงานที่หน่วยงานท้องถิ่นแห่งหนึ่งก็โดนกักตัวไปพร้อมกันด้วย  ทีนี้ก็เริ่มเครียด เริ่มจิตตกกว่าเราจะมีเชื้อหรือเปล่า ตอนนั้นกลัวไปหมด ไหนจะสายตาชาวบ้าน และมีข่าวต่าง ๆ ด้วย  ตอนนั้นบอกเลยว่าเครียดสุด ๆ แทบจะไม่ได้คุยกับใคร บางคนก็มองเราว่าเป็นคนป่วย ซึ่งเราเพียงแค่กักตัวเท่านั้นเอง ดีที่คนข้างตัวให้กำลังใจเป็นอย่างดี และเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ก็น่ารักมาก เวลาเจอก็จะไถ่ถามทักทายดี บอกให้เราดูแลตัวเอง”  

 เธอถ่ายทอดประสบการณ์และให้กำลังใจ หลายคนที่ขอคำแนะนำว่า กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้สามารถก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ และขอให้ใช้โอกาสในช่วง 14 วันนี้ทบทวนตัวเอง ลองหาสิ่งดีๆ ทำ พูดคุยกับคนในครอบครัว แต่รักษาระยะห่างและป้องกันตัวเอง   แม้ขณะนี้เธอจะผ่านการกักตัว 14+10 วันไปแล้ว  แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เธอยังคงต้องตอบคำถามเพื่อนหรือคนในชุมชนอยู่   ซึ่งเธอมองว่าเป็นเรื่องดีที่ได้ช่วยให้คนอื่นสบายใจ

สำหรับการปฎิบัติตัวเมื่ออยู่อาศัยในบ้านที่เธอมักจะให้คำแนะนำผู้ที่มาสอบถามคือ  รักษาระยะห่าง  กินข้าวแยกกัน หมั่นซักผ้าและผึ่งแดด ออกกำลังกายบ่อยๆและหมั่นสังเกตอาการตัวเองและจดบันทึกอยู่เสมอ

“การกักตัวมันอาจจะเหนื่อย  มันอาจจะเบื่อ แต่เชื่อว่าเราอาจจะได้อะไรจาก14วัน ที่เราอยู่กับบ้าน ก็อาจจะทำกับข้าวเก่งขึ้น เราอาจจะทำสะอาดบ้านยกใหญ่ big cleaning กับครอบครัว หาเรื่องสนุกๆทำมันจะได้ไม่เบื่อหรือเครียด ที่สำคัญพยายามอย่าอ่านสื่อเยอะเกินไป ดูสื่อที่เชื่อถือได้ สื่อที่มาจากส่วนราชการหรือว่านักข่าวที่เชื่อถือได้ อันไหนเป็นข่าวที่ไม่มีแหล่งที่มา พยายามอย่าไปรู้พยายามอย่าไปอ่าน เยอะ เพราะจะยิ่งบั่นทอนจิตใจเราลงไปเรื่อยๆ จริงๆตอนที่14วันมันเป็นอะไรที่ ต้องสู้กับตัวเองด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นอยากเป็นกำลังใจให้ คนที่กักตัว14วันหรืออาจมากกว่านั้น ลองหาสิ่งดีๆทำและเชื่อว่าเราจะผ่านวิกฤติโควิด19 นี้ไปด้วยกันทั้งประเทศไทย”

Social Distance’ คืออะไร ทำไมลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ถึง 80% คือการสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่น ๆ ในสังคม…

โพสต์โดย แลต๊ะแลใต้ เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2020

สำหรับการดูแลป้องกันไวรัสโควิด-19  ของอำเภอกะเปอร์ ดำเนินการตามมาตรการที่จังหวัดระนองได้ออกมาอย่างเคร่งครัด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และอสม. ร่วมกันออกให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตัวเองจากไวรัสโควิด-19 ในส่วนของประชาชนที่ได้มีการเดินทางกลับจากต่างประเทศ ก็ให้มีการกักบริเวณตัวเองไว้ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน ตามมาตรการของสาธารณสุข ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกคน

การกักตัว (Quarantine) คือการให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ‘แยกตัว’ ออกจากชุมชน  เพื่อสังเกตอาการของตัวเองและป้องกันคนอื่นติดเชื้อจากผู้ที่มีความเสี่ยง เพราะการแพร่เชื้อส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยที่มีอาการ แม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งในช่วงเวลาของการกักตัวเอง ก็มีคำแนะนำแนวทางการปฎิบัติตัวสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน

C-SITE ข่าวเช้า กิน อยู่ รู้ รอบ 25 มี.ค. 63 กำลังใจเผชิญโควิด-19

มาตรการให้ #กักตัวเอง เมื่อเดินทางถึงบ้าน 14 วัน เพื่อสังเกตอาการ และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 คือสิ่งที่ถูกนำมาใช้กับคนที่เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาในขณะนี้ c-site report ติดตามสถานการณ์นี้และอยากให้กำลังใจเพื่อให้สามารถก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ ด้วยเสียงของ คุณแอน เนตรชนก เวชกุล ชาวบ้าน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ที่ผ่านประสบการณ์กักตัวเองมาก่อนหน้านี้(25 มี.ค.63)#กินอยู่รู้รอบ #CSite #ข่าววันใหม่ #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม กินอยู่รู้รอบ ได้ใน วันใหม่ไทยพีบีเอส จ.-ศ. เวลา 07.30 – 08.00 น..📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/WanMaiThaiPBS

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ