เชียงใหม่ -อุบล คว้ารางวัลจังหวัดใหญ่ที่บริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินดีเด่น

เชียงใหม่ -อุบล คว้ารางวัลจังหวัดใหญ่ที่บริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินดีเด่น

ระบบแพทย์ฉุกเฉินเชียงใหม่ -อุบล คว้ารางวัล  จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินดีเด่น เข้ารับรางวัลในการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติที่บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกันหาคือเพื่อพัฒนาระบบ   ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย”   

วันนี้ (29 พฤษภาคม 2562) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  จัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ  ประจำปี 2562 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ  ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย” (Conference Program of National EMS Forum 2019 : Next Generation EMS)    โดยมี ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและผู้เกี่ยวข้อง จากทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก

การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ เป็นช่องทางที่จะช่วยส่งเสริม พัฒนา และกระตุ้นให้บุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และนำองค์ความรู้ใหม่เผยแพร่สู่เวทีสาธารณะ รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ นวัตกรรมที่ทันสมัยอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ  ตลอดจนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับการยกย่องเชิดชูและประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานและบุคคลที่ประกอบคุณงามความดี หรือมีผลงานดีเด่นด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

โดยมีพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติประเภทต่างๆ   และประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานและบุคคลที่ประกอบคุณงามความดี หรือมีผลงานดีเด่นด้านการแพทย์ฉุกเฉิน   นอกจากนั้นยังมีรางวัลที่มอบให้จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วย   โดยปีนี้จังหวัดที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

1.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับดีเด่น   ประเภทกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่  คือจังหวัดเชียงใหม่ โดยตัวแทนผู้รับมอบคือนายแพทย์ ธรณี กายี รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่  และจังหวัดอุบลราชธานี

2.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับดีเด่น ประเภทกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง คือ จังหวัดกาฬสินธ์ และจังหวัดสระแก้ว

3.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับดีเด่น ประเภทกลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก คือจังหวัดตราด

4.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับดี  ประเภทกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ นครราชสีมา

5.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับดี  ประเภทกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง คือ จ.พระนครศรีอยุธยา

6.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับชมเชยประเภท กลุ่มขนาดเล็ก  จ.สิงห์บุรี และอุตรดิตถ์

7.จังหวัดที่มีการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับชมเชย ประเภทกลุ่มพื้นที่พิเศษ จ.ปัตตานี
ทั้งนี้ภารกิจของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)   ที่นอกจากจะศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา เผยแพร่ความรู้ ทางการแพทย์ฉุกเฉิน  ยังบริหารจัดการ ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือใน การปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบ การแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพมาตรฐาน

นอกจากนี้ในเวทีการประชุมวิชาการ ยังมีการจัดเสวนาพิเศษ ในหลากหลายหัวข้อ เช่น ทิศทางการปฏิรูปประเทศและการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย  โดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป   การบรรยายในหัวข้อทิศทางระบบการแพทย์ฉุกเฉินในต่างประเทศโดย เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

การเสวนา “ระบบการแพทย์ฉุกเฉินในอนาคตสำหรับภาคีเครือข่าย”   และยังมี การแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทยยุคใหม่   การจัดการห้องฉุกเฉินในอนาคต    เวทีพูดคุยในเรื่องปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าทางด้านการแพทย์ด้วย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ