เชียงใหม่จะไม่ทน นับ 2 ลงมือสร้างพื้นที่สีเขียวรับมือฝุ่นอย่างมียุทธศาสตร์

เชียงใหม่จะไม่ทน นับ 2 ลงมือสร้างพื้นที่สีเขียวรับมือฝุ่นอย่างมียุทธศาสตร์

พบเมืองเชียงใหม่มีต้นไม้ใหญ่ช่วยซับฝุ่น18 % ดันสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มให้ถึง40% ประสานพลังเครือข่ายเชียงใหม่จะไม่ทนลงมือปลูกอย่างมียุทธศาสตร์16 มิถุนายนนี้ทั้งจังหวัดขยับต่อเป็นสมุดปกเขียวดันหน่วยราชการกำหนดแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวร่วม

11 พฤษภาคม2562 ตัวแทนประชาชนหลายส่วนที่รวมกลุ่มกันจากเหตุการณ์ฝุ่นควันวิกฤตในปี2562 ในนามกลุ่มเชียงใหม่จะไม่ทนประกอบด้วยกลุ่มสภาพลเมืองเชียงใหม่ กลุ่มสืบสานล้านนา เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กลุ่มใจบ้านสภาองค์กรชุมชนเชียงใหม่ เขียวสวยหอม กลุ่มล่ามช้างเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตัวแทนคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนตลอดจนอดีตนักวิชาการข้าราชการและประชาชนทั่วไปมาร่วมกันหารือเป็นครั้งที่2 ที่ห้องหอคำศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เพื่อรายงานความคืบหน้าที่แต่ละเครือข่ายไปดำเนินการและหารือถึงกิจกรรมที่จะทำร่วมกันให้เป็นวาระของเชียงใหม่

โดยข้อสรุปจากวงเชียงใหม่จะไม่ทนครั้งที่1 มีประเด็นสำคัญต่อสถานการณ์ฝุ่นควันจากเครือข่ายที่เข้าร่วมใน5 เรื่องคือ

1. เมื่อประชาชนจะไม่ทนและเริ่มต้นลดผลกระทบด้วยตัวเอง โดยมีจุดใดที่สามารถทำได้จะเริ่มทำ เช่น การสร้างพื้นที่สีเขียว การดูแลปกป้องตนเองทั้งเรื่องสุขภาพบ้านชุมชนสภาพแวดล้อม เรื่องการสื่อสารที่สามารถบอกกล่าวหรือชักชวนกันสื่อสารให้ตระหนักถึงผลกระทบ การลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นหรือไม่ยั่งยืน การเริ่มจัดการความรู้เรื่องหลักสูตรภัยพิบัติด้านต่างๆ

2. การผลักดันและสนับสนุนสร้างฐานข้อมูลเพื่อการรับรู้ เช่นการมีเครื่องวัดอากาศที่มหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการและน่าสนับสนุนให้เพิ่มขึ้นในท้องถิ่นต่างๆให้ทั่ว การตั้งศูนย์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ของภาคเหนือซึ่งเป็นบทบาทที่มหาวิทยาลัยจะริเริ่มร่วมกับภาคเอกชน

3. การลดการเผาทั้งการรณรงค์ให้หยุดเผา การจัดการกับขยะและวัสดุชีวมวล การคำนึงถึงบทบาทของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าและในสถานการณ์เกิดไฟป่า

4. การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่นข้าวโพด จะมีวิธีช่วยชุมชนที่ปลูกข้าวโพดด้านการปลูกพืชทดแทน การจับคู่ธุรกิจการผลักดันเชิงนโยบาย และการถอดบทเรียนการจัดการช่วงเกิดเหตุเช่นการบริจาค เป็นต้น

5. การผลักดันแก้ไขกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายร่วมฯ

เครือข่ายผู้เข้าร่วม รายงานความคืบหน้าในประเด็นที่เกี่ยวข้อง. เช่น

ทีมคณะทำงานด้านแก้ไขฝุ่นควันคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน แจ้งว่ากกร.ได้ดำเนินการทำป่าเปียกที่.สะเมิงเนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าที่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ เป้าหมาย100 ตัวได้เริ่มดำเนินการไปแล้วเบื้องต้นมีงบประมาณดำเนินการได้10 ตัวและอยู่ระหว่างจะระดมงบประมาณจากผู้สนับสนุนต่อไป และเร็วๆนี้จะมีการถอดบทเรียนร่วมกันกับจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการประชุมหารือและถอดบทเรียนอีก3 เวที  ด้านศูนย์ข้อมูลOpen DATA ขณะนี้ทราบว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับหลายมหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ย้อนหลัง4-5 ปีที่จะแยกย่อยรายละเอียดได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีเงื่อนไขและสภาพพื้นที่ไม่เหมือนกัน จำเป็นจะต้องแยกแยะพื้นที่เพื่อวางแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องนอกจากนั้นบางพื้นที่มีความขัดแย้งเป็นเงื่อนเพิ่มด้วย  และประเด็นที่กกร.กำลังดำเนินการคือเชิญสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม วางแผนด้านยุทธศาสตร์ 

เครือข่ายรักษ์เมืองเชียงใหม่กล่าวว่าสิ่งที่ทำในชุมชนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้เช่นชวนกลุ่มเด็กและเยาวชนปลูกพลูด่าง ต้นตีนตุ๊กแกในชุมชนร่วมกับทีมเขียวสวยหอมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและใจบ้าน สตูดิโอดำเนินการในชุมชนช้างม่อย พวกแต้ม  เป็นสิ่งที่ชุมชนทำได้เพื่อสร้างความชุ่มชื้นเพิ่มพื้นที่สีเขียว

ทีมใจบ้านสตูดิโอ เล่าถึงการสำรวจข้อมูลพื้นที่สีเขียวในเมืองเชียงใหม่โดยบอกว่าแม้ฝุ่นควันจะคลี่คลายแต่สภาพอากาศของเมืองยังคงร้อน. และการถอดประสบการณ์ปลูกต้นไม้มือเย็นเมืองเย็นที่ผ่านมาเห็นว่าต่อไปน่าจะทำอย่างมียุทธศาสตร์ จึงทดลองทำผังแม่บทการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นจินตภาพร่วมในการเจรจากับหน่วยงาน โดยตั้งคำถามว่าต้นไม้ใหญ่ของเมืองเราอยู่ตรงไหนบ้างจากนั้นใช้AI ถอดข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ พบว่า

จากบริเวณเชิงดอยสุเทพถึงคูเมือง  และถนนวงแหวนรอบ3 พบต้นไม้สูง4 เมตขึ้นไปให้ร่มเงาและเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพ25 % แต่สัดส่วนนี้รวมพื้นที่เชิงดอยสุเทพซึ่งมีต้นไม้มากอยู่. แต่ถ้าไม่รวมจะมี18 % จากนั้น. เมื่อวิเคราะห์อุณหภูมิและให้ค่าสีพบอุณหภูมิ39-42 องศาทั่วบริเวณแต่พบสีที่แตกต่างบริเวณเชิงดอยริมน้ำปิงรอบคูเมืองริมคลองแม่ข่าซึ่งวิเคราะห์แล้วที่ไหนที่มีต้นไม้ใหญ่จะมีอุณภูมิที่แตกต่างเฉลี่ย5 องศา ข้อมูลเหล่านี้ถ้าจะทำผังเป็นVision ร่วมเพื่อสร้างนิเวศน์เมืองได้อย่างไร

เรามีนิเวศน์ป่าดอยสุเทพและพื้นที่ริมน้ำเมืองอยู่ตรงกลางเราจะสร้างนิเวศน์เชื่อมกันอย่างไรถัดแม่น้ำปิงไปเป็นพื้นที่เกษตรแต่วงแหวนชั้น2 เป็นบ้านจัดสรรแล้วเชิงดอยสุเทพเป็นอุทยานไม่ห่วง แต่ถ้าเริ่มต้นทึ่เชิงดอยมีต้นไม้ใหญ่อยู่จะรักษาอย่างไร จะสร้างความเชื่อมโยงเส้นห้วยแก้วเส้นสุเทพ

มาถึงวงแหวนชั้นที1 อย่างไรพื้นที่วงแหวนรอบ2 เป็นบ้านจัดสรรมากอาจจะยรกแต่พื้นที่ชั้น3 เกษตรกรรมจะคงอยู่อย่างไร

โดยยุทธศาสตร์ที่กลุ่มมองคือเส้นระนาบและเริ่มปลูกเป็นจุดๆ เส้นคือถนนคลองฟุตบาตเกาะกลางถนนมและทำความร่วมมือเติมความรู้จากผู้รู้ผู้เกี่ยวข้องเชื่อทีโยงกันเช่นเกาะกลางถนนควรจะปลูกอะไรไม้ชนิดไหนเหมาะสมการดูแลรักษาไม่มากเสนอว่ามีหลายกลุ่มขยับ น่าจะมีแคมเปญร่วมวาระร่วมกัน

ด้านกลุ่มล่ามช้างรายงานว่าได้ไปร่วมประชุมที่กรุงเทพกับทีมที่ตั้งขึ้นจากพรรคพลังประชารัฐพบว่ามีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามเรื่องฝุ่นควันโดย

ตัวแทนมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือแจ้งว่า. วงวิชาการที่จัดขึ้นโดยมีตัวแทนจากชุมชนในเขตป่ามาแบ่งปันข้อมูลพบว่าช่วงมีนาคมเมษายนชุมชนจัดทำแนวกันไฟและช่วยดับไฟป่าแต่ที่เกิดเหตุแล้วคุมไม่ได้เลยคือในพื้นที่อุทยานและป่าสงวน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทั้งแนวเขต การจัดการ  ข้อสรุปในการหารือคือจะต้องทำความร่วมมือในการดูแลพื้นที่ร่วมกับชาวบ้าน

ในด้านการจัดการที่ประชุมแลกเปลี่ยนกันว่าเรื่องฝุ่นควันที่จะเริ่มลงมือด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวเกี่ยวข้องกับภูมิสถาปัตย์เมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการหลายหน่วยเนื่องจากโยงกับที่ดินพื้นที่รับผิดชอบภารกิจและงบประมาณยกตัวอย่างการสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองสัมพันธ์กับที่ดินหรือพื้นที่สาธารณะเช่นทางเท้าเกาะกลางพื้นที่ใต้ทางยกระดับซึ่งสามารถสร้างพื้นที่สีเขียวแนวตั้งได้แต่พื้นที่เหล่านี้อยู่ในความดูแลของรัฐต้องออกแบบการปลูกอย่างมียุทธศาสตร์ว่าต้องเป็นไม้อะไรและภาคราชการจะมีแผนพัฒนาตลอดจนกันงบประมาณสร้างพื้นที่สีเขียวในความดูแลของตนเองหรือไม่มีพื้นที่ส่วนใดที่จะสร้างสีเขียวให้กับเมือง

ดังนั้นกลุ่มฯจะร่วมกันทำรายละเอียดที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องจัดทำเป็นสมุดปกเขียวเสนอให้ภาครัฐทำด้วยในส่วนของประชาชนก็ต้องหาวิธีสร้างพื้นที่สีเขียวให้น่าสนใจและทำให้เห็นภาพร่วมเช่นการมีแอพพลิเคชั่นที่ร่วมกันปลูกต้นไม้

จุดหลักของการทำงานนี้ร่วมกันคือการวางแผนเมือง ภาคประชาชนต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสู้ฝุ่นควันในระยะยาวราชการก็ต้องยกระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เปลี่ยนการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เมืองต้องเผชิญระยะยาว

ประเด็นการวางแผนกับหน่วยงานเป็นสิ่งสำคัญโดยสมาชิกให้ข้อมูลว่าขณะนี้ทราบว่าการไฟฟ้ามีแผนงานนำเสาไฟฟ้าบริเวณถนนรอบคูเมืองลงใต้ดินวงเงินงบประมาณ3,000 ล้านบาท ดังนั้นการปลูกต้นไม้รอบคูเมืองจำเป็นต้องทราบแผนเหล่านี้ประกอบเป็นต้น

วงคุยยังยกตัวอย่างของความจำเป็นที่ภาคราชการจะต้องเข้าใจในเรื่องนี้ว่าภาคประชาชนมารวมกันเหมือนเรามีใจมาทำสิ่งดีแต่ไม่มีอำนาจและงบประมาณจำเป็นต้องมีผู้นำและการจัดการอย่างมีวิสัยทัศน์ยกตัวอย่างกทมมีงบประมาณ30 ล้านปลูกต้นไม้1 แสนต้น  ขณะที่โครงการสร้างพื้นที่สีเขียวหมู่บ้านป่าแหว่งมีงบ17 ล้านแบ่งเป็น10 ล้านปลูกต้นไม้9,700 ต้น ดูแลรักษา7 ล้านบาทในพื้นที่40 ไร่  จุดนี้เป็นตัวอย่างที่ให้เห็นว่าเมืองต้องการผู้นำและวิสัยทัศน์ร่วมที่มองเห็นความสำคัญเรื่องนี่

กรณีการสร้างนิเวศน์สีเขียวให้เมืองเชียงใหม่เป็นสิ่งที่วงประชุมแลกเปลี่ยนลงลึก ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำนิเวศน์เมืองและป่าหลายกรณี. จากฝ่ายนักวิชาการด้านป่าไม้. เช่นกรณีการทำฝายที่ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่เนื่องจากในลำห้วยจะมีก้อนหินกิ่งไม้ทำหน้าที่ชะลอความแรงของน้ำอยู่แล้วการตกตะกอนมีลำดับชั้นแต่หาไปสร้างฝายในลักษณะขุดลอกหน้าดินออกเปิดพื้นที่กลายเป็นแอ่งน้ำกลายเป็นฝายเก็บน้ำไม่ใช่ฝายชะลอน้ำ. และการทำฝากแบบกักน้ำเหมาะที่จะทำกับพื้นที่เปิดโล่งถ้ามีป่าอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปสร้างนอกจากนั้นการสร้างโดยเอากระสอบทรายไปกั้นเมื่อผุพงจะเกิดเป็นขยะในป่าและทรายก็ไหลลงห้วยตามเดิม

ขณะที่การสร้างพื้นที่สีเขียวสามารถทำให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยควรมีความรู้ให้ข้อแนะนำผู้ที่จะปลูกโดยจัดประเภทป่าในเมืองป่าเมืองกึ่งชนบทป่าชนบทและสามารถพิจารณาร่วมในชุมชน. มองมากกว่าไม้ยืนต้นเนื่องจาก

 พันธุ์ไม้ป่าบ้านเรามีจำนวนมากไม้พื้นราบไม้เลื้อยไม้พุ่มสามารถออกแบบและกำหนดร่วมกันได้ที่สำคัญต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมระยะยาวเช่นกรณีประเทศสิงคโปร์ที่สร้างพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง

ข้อสรุปร่วมกันในวงคุยครั้งนี้คือปลูกต้นไม้จัดการพื้นที่สีเขียวจังหวัดเชียงใหม่โดย

ตัวแทนจากองค์กรชุมชนหน่วยงานต่างๆเครือข่ายและกลุ่มทำงานของตนเองลองกลับไปวางแผนว่ามีพื้นที่ไหนที่สามารถปลูกได้บ้างทั้งแผนการทำงานชนิดและจำนวนที่จะปลูกรวมถึงแผนการดูแลเช่นสภาองค์กรชุมชนมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ97 ชุมชนในเขตเมืองหรือกลุ่มที่จะไปประสานงานกับสถานศึกษาต่างๆควรพูดคุยถึงการทำงานร่วมกัน 

ทีมทำงานองค์ความรู้ชนิดวิธีการปลูกการดูแลระบบน้ำของแต่ละต้นการปลูกเพื่อผลิตคู่มือปลูกต้นไม้ฉบับประชาชนและการหารือวิธีการรวบรวมข้อมูลผู้ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้พิกัดตำแหน่งรวมถึงข้อมูลอื่นๆ

กำหนดวันเปิดกิจกรรมปลูกต้นไม้16 มิ.. เป็นวันรวมพลังของทุกคน ซึ่งไม่เฉาพในพื้นที่เมือง. ยังมีแนวร่วมจากตำบลต่างๆ ผ่านสภาองค์กรชุมชนทั่วเชียงใหม่. และทีมแม่แจ่มโมเดลที่จะปลูกต้นไม้ในปลายเดือนมิถุนายนนี้ด้วย ตลอดจนการวางแผนคู่ขนานทำงานร่วมกับภาครัฐในแผนระยะยาวไปพร้อมๆกันด้วย

 ขอบคุณภาพกราฟฟิตประกอบจาก ใจบ้านสตูดิโอและมอร์แอนด์ฟาร์มเมอร์

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ