26 มีนาคม 2562 คนเชียงใหม่ คนทำงานภาคสังคมและนักวิชาการจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่มาที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ ตามหนังสือเชิญที่ว่อนว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จะประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นฝุ่นควัน
นับเป็นการขอหารืออย่างเป็นทางครั้งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากวิกฤตฝุ่นควันเชียงใหม่เกิดขึ้นยาวนาน ถึงขั้นมีการลงชื่อนับหมื่นคนขอเปลี่ยนผู้ว่าฯ เพราะไม่พอใจการจัดการในสถานการณ์วิกฤต วงคุย 3 ชั่วโมง มีทั้งแลกเปลี่ยนสถานการณ์ วิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอ
หมอย้ำปัญหารุนแรงสะสมเรื้อรัง
นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกมือขอเปิดวงเป็นคนแรก โดยขอให้ข้อมูลเชิงวิชาการ เพราะเห็นว่า การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนหลายมิติ จำเป็นจะต้องเริ่มต้นเข้าใจความรุนแรงของปัญหา แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ตระหนักความรุนแรง หลายครั้งที่ประชาชนรู้สึกว่ารัฐไม่ได้ตอบสนองเท่าที่ควร เพราะไม่ได้พึ่งพาข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ทั้งที่การศึกษาด้านระบาดวิทยาชี้ให้เห็นค่า PM เกิน 20 ก็มีผลต่อสุขภาพ แต่ประเทศไทยกำหนดค่าที่วัดสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน 2 เท่า จึงเหมือนไม่รุนแรงเท่าระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากให้คนเชียงใหม่สุขภาพดีไม่เป็นโรคเบาหวานหรือความดันใดใดในพรุ่งนี้ เราก็กำหนดค่าน้ำตาลจาก 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็น 200 หรือค่าความดันสูง เรากำหนดเป็น 200 จาก 140 แค่นี้ก็จะหายจากโรคนั้นทันที แต่นี่ไม่ใช่การแก้ปัญหา
“เราต้องยอมรับความรุนแรงโดยใช้หลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่ามีผลแล้ว และสำหรับหน่วยราชการ ถ้าเราเอาหมวกของเราออก เป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก เราคงจะพูดอีกแบบ เราคงไม่ยอมรับสภาพเหล่านี้มากกว่าที่จะยังบอกว่ายังไม่รุนแรงนะครับ เพราะว่าเมื่อเราบอกว่างไม่รุนแรง การรวบรวมทรัพยากรเพื่อการจัดการจะไม่เต็มที่ เรามันแต่กลัวว่าคนตระหนก แต่คนไม่ได้ตระหนักเลย ที่เราเห็นในโซเชียลคือคนที่ตระหนัก แต่ในชุมชน หมู่บ้านอีกจำนวนที่ยังตระหนักน้อยมากถึงผลที่จะเกิดกับสุขภาพ”
นายแพทย์รังสฤษฎ์กล่าวว่า ผลที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่แค่ไอ แสบตา แต่คือผลระยะยาวของความเสี่ยงในการเกิดโรคในระบบหลอดเลือด มะเร็ง เช่นสถานการณ์ที่เราเจอที่ผ่านมาอัตรา 22 ไมโครกรัม / ลบม เท่ากับสูบบุหรี่ 1 มวน ดังนั้นที่ผ่านมา สูบ 2 ซอง บุหรีเรายังเลือกได้ แต่นี่เราทุกคนต้องหายใจเราเลือกไม่ได้ นี่คือการสะสมเรื้อรัง จะโผล่ปัญหาอีก 5-10 ปีข้างหน้า ถ้าเราไม่ตั้งรับ จะเจอกับปัญหากับประชาชนอีกมากมาย
“ในการระบุสาเหตุการตายหรือโรคไม่มีใครเขียนว่า เกิดจากมลพิษทางอากาศหรอกครับ ก็จะระบุว่าเป็นหัวใจ เส้นเลือดตีบ มะเร็ง อัมพฤกต์ มันไม่เหมือนแผ่นดินไหวน้ำท่วมที่มีคนเสียชีวิตให้เราเห็น แต่นี่จะแทรกในอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น ผมเป็นหมอที่บอกได้ว่าคนเชียงใหม่อายุสั้นลง 3 ปี แต่เราไม่กล้าพูดระดับความรุนแรง เพราะกลัวว่ากระทบการท่องเที่ยว เราต้องมองปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ต้องให้ความตระหนักเกิดขึ้นกับประชาชน”
นายแพทย์รังสฤทธิ์ ยังเสนอให้เชียงใหม่เป็นแกนนำประชุมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามลพิษอากาศข้ามพรมแดนในระดับภูมิภาค และมีแผนการติดตามตัวชี้วัด และ accountability ชัดเจนระดับภูมิภาคอาเซียน
ชี้ 3 ปัจจัยหมอกคลุมหนักปีนี้
ผศ.ดร. สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะฝุ่นควันปกคลุมมากในปีนี้ว่า มีอยู่ 3 ปัจจัยคือ
1.สภาพภูมิประเทศภาคเหนือเป็นแอ่งกะทะ คือมีภูเขาสูงล้อมรอบ แอ่งเชียงใหม่ลำพูน ลึกและใหญ่ที่สุดมีเทือกเขาอินทนนท์กั้นสูงกว่า 2500 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาคือแอ่งแม่ฮ่องสอน เมื่อเกิดฝุ่นควันก็ถูก มลพิษถูกกักตัว แอ่งแม่ฮ่องสอน
2.สภาพภูมิอากาศ ลบสงบความกดอากาศสูง เหมือนฝาชีครอบกะทะปิดอยู่ข้างบน
3.การเผาในที่โล่ง พื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร ซึ่งปัจจัยนี้เราคิดว่าสามารถควบคุมได้
ด้านดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษใช้ PM 2.5 คำนวนเป็นค่าดัชนีคุณภาพอากาศประกาศกับประชาชน แต่มีหลายองค์กรที่คำนวณค่าที่แตกต่างไปกว่า เช่น คณะแพทย์ศาสตร์ ยึดเอาเกณฑ์ องค์การอนามับโลก และอเมริกาเป็นหลักในการประกาศ
ด้านจุดความร้อน มีแนวโน้มสูงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ไม่มีทีท่าจะลดลง ทั้งเชียงใหม่เอง และจังหวัดอื่นๆ มาตรการห้ามเผาไม่ได้ผล ยังคงพบจุดความพร้อมค่อนข้างมาก ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใค้ กัมพูชาจะเผาแต่ต้นปี ส่วน ลาว พม่า ไทย จะสูงเดือนภุมภาพันธ์และมีนาคม ถ้าโฟกัสมีนาคม ไทยจะสูงกลางเดือนมีนาคม พม่าไล่ไปช่วงกลางเดือนถึงปัจจุบัน และช่วงนี้อากาศเคลื่อนตัวจากฝั่งตะวันตกมาที่เราด้วย การเผาในพม่ามีผลต่อประเทศเรา
เปิดระดมข้อเสนอ
นายทัศนัย บูรณูปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่กล่าวว่า เราต้องยอมรับความจริงว่านี่คือเกมยาว สถานการณ์เกิดหนัก เพราะมีความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนสำคัญคือต้องเห็นความสำคัญสุขภาพคนก่อน โดย1.สถานการณ์เป็นอย่างไรให้ข้อมูลง่ายๆ ชัดๆ การปฏิบัติตัวต้องทำอย่างไร เช่น งดทำกิจกรรมนอกบ้าน เปิดเครื่องกองอากาศ หรืออาจมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วไปแจกหน้ากากในกลุ่ม ย่านเด็กอ่อน คนชรา
2.มีจุดแจกหน้ากากที่คนมารับได้เอง เราไปแจกอาจไม่ทั่วถึง โดยอาจมีจุดสำคัญเช่นที่ว่าการอำเภอ ศาลากลาง โรงพยาบาล ให้คนหยิบได้ถ้าขาดจริงๆ ต่อมาถ้าแผ่นกรองมาก็ให้ไปในพื้นที่เปราะบางก่อน ส่วนผู้ที่มีความพร้อมก็ให้จัดหาเอง
3.หาสาเหตุของการเกิดควัน ทุกพื้นที่ต้องมีรายงานว่าเผาที่ไหน ถ้าเผาจุดนี้ ต่อมาก็จะเกิดซ้ำก็ไปเฝ้าระวังจุดอื่น หรือตรวจโรงงานรอบว่ามีจำนวนกี่โรง สามารถสลับกันเปิด เพื่อลดแหล่งเกิดฝุ่น
4.ร่วมกันบรรเทาปัญหา เพิ่มความชุ่มชื้น ตึกสูงพ่นน้ำร่วมกัน และประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
นายไพรัช โตวิวัฒน์ ที่ปรึกษา บริษัทเชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคมกล่าวว่า เป็นตัวแทนทีมลดปัญหาฝุ่นควัน กกร. ที่เริ่มทำงานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เสนอโครงการนำร่องแก้หมอกควันที่ อ.แม่แจ่ม โครงการสำเร็จมีการดูงานจากผู้บริหารประเทศหลายคนว่าสามารถเปลี่ยนพื้นที่เหมือนทะเลทรายให้เป็นเขาที่ให้เป็นต้นไม้ขึ้นมาได้ และได้จัดทำข้อเสนอมามอบให้ระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนั้นเสนอให้จังหวัดมีการงดและลดใช้ยานพาหนะ สร้างเชลเตอร์ในพื้นที่สาธารณะ ให้ห้างสรรพสินค้าติดเครื่องกรองอากาศ และในส่วนของตนเองกำลังจะริเริ่มมงฟอร์ตโมเดลติดตั้งเครื่องกรองอากาศเป็นต้น ส่วนแผนระยะยาวมีการปลูกป่า เปลี่ยนอาชีพชาวบ้าน โดยแผนที่จัดทำมาสามารถตั้งคณะทำงานเพื่อลงในรายละเอียดได้ และได้เวลาลงมือทำ ไม่เช่นนั้นต่อไปเรียกใครมาก็คงไม่มีใครอยากมาแล้ว
นายณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ที่ปรึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กล่าวว่า ต้องการส่งมอบเมืองและอากาศดีให้ลูกหลาน แต่ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยจะเป็นไปไม่ได้ สถานการณ์ทิศทางลมและหมอกควันในภูมิภาคนี้มีมาน แต่มาเติมฝุ่นให้มากเมื่อมีการเปลี่ยนพื้นที่เป็นโมเดลธุรกิจปลูกข้าวโพด อาหารสัตว์ พืชพลังงานในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนตัวเลือกธุรกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปเป็นอย่างอื่น แต่ละปีจะมีการประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงซึ่งสภาพัฒน์อาจเป็นตัวแทนที่จะยกเรื่องนี้เข้าหารื
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เราจะเอาน้ำขันเดียวดับไฟที่เผาเมืองเป็นไปไม่ได้ การแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นภาพใหญ่ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบระยะยาว เสนอว่าควรมี ศูนย์บูรณาการด้านหมอกควันแห่งชาติเป็นการถาวร เพื่อแก้ปัญหาระดมทรัพยากรและความร่วมมือด้วย นอกจากนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ในส่วนของภาคเหนือ ไม่มีรายละเอียดแผนงานกิจกรรมเกี่ยวกับหมอกควัน อาจเสนอให้มีการทบทวน นอกจากนั้นควรจะได้ศึกษาโมเดลแก้ปัญหาของสิงคโปร์ =
“ผมคิดว่ามีสูตร 3+3+3คือ 3 พื้นฐานที่ต้องมีองค์ความรู้คือ ความกดอากาศ/ลม ที่มาของฝุ่นพิษ และอันตรายจากฝุ่นพิษ 3 เครือข่ายแก้ไขปัญหาคือ เอกชน รัฐ วิชาการ และ 3 แนวทางพึ่งพาตนเอง (หน้ากาก) พึ่งพากันเอง(จัดการในเมืองของตนเอง เช่นเทศบาลจัดการแผ่นกรอ) และรวมกลุ่มให้เข้มแข็ง
นายวิทยา ครองทรัพย์ ตัวแทนภาคประชาชนที่ติดตามปัญหาหมอกควันเสนอว่า ให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าที่ป้องกันตนเองให้ได้มาก เช่นหน้ากาก และให้มีมาตรการทางสังคมให้ดูแลตนเอง
ตัวแทนจากเทศบาลแม่เหียะกล่าวว่า ในพื้นที่มีความร่วมมือกันทำงานแบบอาสา สนับสนุนให้ชุมชนจัดการดูแลป่าชุมชนและพื้นที่บ้านปง แม่เหียะ การพูดคุยบนโต๊ะแต่คนดำเนินการกำนันผู้ใหญ่บ้านท้องถิ่นท้องที่ และในบางครั้งก็ไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ พระสงฆ์ที่วัดพระธาตุดอยคำบริจาคเงินให้ชาวบ้านตลอด
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ตัวแทนภาคอุตสาหกรรมกล่าวว่า ทุกฝ่ายทำงานอย่างเต็มที่ มีความจำเป็นต้องผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง ตนเสนอให้มีการตั้งศูนย์บัญชาการ และทำปฏิบัติการด้านข้อมูล
นายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีการตามหาผู้ว่า ลงชื่อเปลี่ยนผู้ว่า เนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในสภาวะที่ชาวบ้านไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร การให้ข้อมูลและการสั่งการควรต้องเด็ดขาด ในส่วนของชมรมที่ตนเองดูแล มีโดรน 100 ลำ ร่มบิน 50 อากาศยานเบาที่ยินดีจะบินให้ฟรี เพื่อช่วยกันตรวจสอบการเผา แต่ติดขัดเรื่องการต้องขออนุญาตหลายขั้นตอน หลายพื้นที่ ประชาชนอยากช่วยต้องเร็
ผู้ว่าราชการจังหวัดตอบในประเด็นนี้ว่า ขอไม่แก้ตัว รับฟังข้อเสนอแนะ ส่วนโดรนได้อยู่ระหว่างขออนุญาตและกำลังประสานลูกบอลดับไฟจากที่สูง
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เสนอว่า การทำงานควรให้เกิดกระบวนการจัดการที่มีส่วนร่วม บริหารงานอย่างเปนระบบ
ขณะที่ ผู้บริหารศูนย์พิงคนคร เสนอว่าในพื้นที่อาคารSME มีระบบจับฝุ่นละออง ที่พร้อมจะให้เป็นศูนย์พักพิงปลอดมลพิษ
ผู้ว่าฯ รับข้อเสนอประชาชนปรับแผน
นายศุภชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวขอบคุณทุกความเห็น โดยกล่าวว่า ในขณะนี้ได้รับความร่วมมือสร้างพื้นที่ปลอดภัยลักษณะ clean room ให้ปชช.โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง หลบพักในช่วงฝุ่นละอองสูงมากๆที่อาคารเอสเอ็มอีศูนย์ประชุมนานาชาติ ส่วนต่างอำเภอ ตำบล อาจใช้ ห้องที่ โรงเรียน รพ.โดยประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอนั้นๆ ได้เป็นจุดพักด้วย
และจะตั้งทีมทำงานเพื่อหารือในการสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อรวมพลังให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยตัวแทนจากฝ่ายราชการ เอกชนและนักวิชาการ โดยทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองก็มีการพูดคุยเบื้องต้นแล้วที่จะให้นักวิชาการมาช่วย ส่วนสถานที่ทำงานที่เป็นวอร์รูมร่วมนี้จะมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะใช้ที่มช.หรือของส่วนราชการ
นอกจากนั้นมีการเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าว่าต้องเชื่อมโยงกับหลายพื้นที่ ซึ่งตนจะเชิญตัวแทนจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดตากมาร่วมหารือเพื่อวางแนวทางทำงานร่วมกัน และให้ความสำคัญกับการสื่อสารได้เน้นย้ำไปทางอำเภอที่มีหอกระจายข่าวและวิทยุชุมชน ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลป้องกันผลกระทบจากหมอกควันและไฟป่า รวมทั้งแจกจ่ายหน้ากากอนามัย
เบื้องต้น หน้ากากอนามัยที่แจกจ่ายไปแล้ว 5.7 แสนชิ้นนั้นก็ยังไม่ครอบคลุม ขณะนี้ได้ประสานและรับแจ้งจากทางอบจ.เชียงใหม่แล้วว่ากำลังดำเนินการจัดซื้อหน้ากากแบบ N95 อีก 2 แสนชิ้นและอบต.กับเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่อีก 2.7 แสนชิ้นที่จะแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนและให้โรงพยาบาลนครพิงค์กับโรงพยาบาลประจำอำเภอเปิดให้บริการประชาชนที่มีผลกระทบสุขภาพจากหมอกควันด้วย