23 มีนาคม 2562 สถานการณ์หมอกควันทั่วภาคเหนือกลับมาอยู่ในภาวะที่วิกฤตอีกครั้ง หลังจากที่ 3 วันที่ผ่านมามีแนวโน้มจะดีขึ้น โดย ข้อมูล www.Air4Thai.com รายงานข้อมูลค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 PM 10 และ AQI ประจำวันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 12.00 น. ทุกจุดแสดงผลสีส้มและแดงเกณฑ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ – มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีแดง 14 พื้นที่ – คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ และ สีส้ม 3 พื้นที่ -คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ)
ขณะที่ เว็บไซต์ AirVisual ซึ่งจับอันดับค่า World AQI Ranking โดย ณ เวลา 12.00 น. เชียงใหม่ติดอันดับ 1 ของโลก โดยค่า AQI อยู่ที่ 415 ทำสถิติติดอันดับ 1 ของโลกอีกแล้ว
ประชาชนในเชียงใหม่ต่างแสดงออกถึงความไม่พอใจผ่านโซเชียลมีเดียวอันอย่างต่อเนื่อง มีการเรียกร้องทั้งขอเปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัด และมีทั้งเรียกร้องขอให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โดยนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟสบุ๊คระบุว่า “ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการประกาศตามพระราชบัญญัติป้องกันสาธารณภัย ท่านทำอะไรอยู่ครับวันนี้ท่านแก้เหตุไม่ได้ อย่างน้อยต้องออกเตือนภัยขั้นรุนแรงให้ประชาชนป้องกันตัวเอง อย่างเป็นทางการ ตามระดับความรุนแรงของปัญหา อาจเปิด สนามกีฬายิมเนเซียม ที่ สนาม700 ปี ติดตั้งเครื่องกรองอากาศให้กลุ่มเสี่ยง เข้าไปพำนัก ทำอะไรสักทีเถอะครับ ประชาชนโกรธแล้ว”
โดยนายแพทย์รังสฤษฎ์ยังได้ระบุ ถึวภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Pulic Healt Emergency) ถือเป็นสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน และเกิดผลกระทบกับสิ่งแวสดล้อม ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขจึงหมายถึง เหตุการณ์เกิดโรคและภัยคุกคามสุขภาพ ซึ่งมีลักษณะเข้าได้กับเกณฑ์อย่างน้อย 2- 4 ประการ คือ 1. ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพอย่างรุนแรง 2. เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน 3.มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น 4.ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า
15.00 น. นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ออกรายการวิทยุ สวท.ด่วน โดยชี้แจงว่า ย้อนกลับไปตั้งแต่ 11 -12 มีนาคม จังหวัดเชียงใหม่เผชิญสถานการณ์ภาวะอากาศที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต่อมาช่วง 18 – 19 มีนาคม สภาพอากาศลอยตัว เริ่มดีขึ้นอยู่ในระดับสีเหลืองและสีเขียว แต่ก็กลับมาประสบปัญหาอีกครั้ง และรู้สึกมากในวันนี้ สาเหตุเกิดจาก 2 สิ่งคือ 1.การเผาป่าในพื้นที่ 2. หมอกควันจากนอกพื้นที่ และสภาพอากาศนิ่ง ทำให้เราอึดอัด และได้พยายามสร้างความชุ่มชื้น ควบคุมไฟป่าออกมาตรการจับกุม ดำเนินคดี 12 ราย แต่ไม่ได้หมายความว่าจับแล้วเป็นผลดี แต่เราต้องการให้คุมและป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า รณรงค์ให้ความรู้ สร้างควมชื้นยั่งยืน ติดสปริงเกรอร์ทั่วพื้นที่ เท่าที่ตรวจสอบ การเผาป่าในพื้นที่น้อยลง แต่ปัญหาคือ หมอกควันที่เข้ามาจากนอกพื้นที่ มีกระแสลมตะวันตกพัดเข้ามาจากชายแดนพม่า ประกอบกับหมอกควันในพื้นที และภาวะลมในเชียงใหม่นิ่ง ในสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกะทะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญ ไม่ได้ละเลย พยายามทำงานเต็มที่ทุกหน่วยงาน พลเรือน ตำรวจทหาร ป่าไม้ จนท.ไฟป่า ทำงานเต็มที่ ในกรอบของการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนให้มาก เน้นสาธารณสุขและเทศบาล ว่าทำอย่างไรดูแลตัวเอง ไม่ให้ตัวเองเข้าสู่ภาวะที่เสี่ยงเช่น ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้ง และให้ท้องถิ่น แจกจ่ายหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง สร้างการรับรู้ในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและคนชราซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง
นอกจากนั้นได้ ประสานสำนักทางหลวง ประสานงานก่อสร้างสายหลัก เส้นวงแหวนให้ฉีดพรมน้ำ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ประปาติดตั้งเครื่องละอองน้ำฝอย บริเวณสะพานนวรัตน์ ท่าแพ ติดตั้งรอบคูเมืองเชียงใหม่ ได้รับความร่วมมือกับ สถาบันอาชีวศึกษา ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำทั่วคูเมือง ป้องกันให้ความรู้ความเข้าใจลดปัญหาฝุ่นละออง ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามได้พยายามจะ แก้ไขที่ต้นเหตุ ปัจจัยหมอกควันที่มาจากภายนอกคุมไม่ได้ ภาวะอากาศคุมไม่ได้ แต่พยายามคุมได้ไม่ให้เผาป่า พื้นที่เชียงใหม่ 7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าร้อยละ 60 หมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าได้ตรึงกำลังในพื้นที่เต็มที่ เข้มข้น การทำงานคงต้องทำหลายมิติ ระยะสั้น กลางยาว แม้แต่การที่จะขอความร่วมมือจากประชาชนหาของป่า ก็ฝึกอบรมอาชีพ บ ไม่ได้มุ่งหาของป่าอย่างเดียว ตลอดจนสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อโอกาสเกิดไฟป่ายากขึ้น
“จากการลงพื้นที่ 13 อำเภอ สิ่งที่น่าสนใจคือ ปีนี้แห้งแล้งนาน 2 เดือนกว่าฝนไม่ลงมาเลยตั้งแต่ ไม่มีฝน หญ้าแห้ง ทับถมสูง ปีที่แล้ว การลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ผ่าทำน้อยเพราะเผาไม่ได้ ปีหน้าเมื่อมีการเผาหญ้าแล้วปลิวไปเจอใบไม้แห้งที่ทับถมทำให้ติดไฟได้ง่าย สิ่งที่ดำเนินการคือใช้ควาพยายามทุกภาคส่วนด้วยกัน สิ่งที่เป็นที่ห่วงใยคือภาวะอากาศ ที่ลมตะวันตกพัดเข้ามาอากาศยังนิ่ง ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่ต้องบรรเทาให้ได้ ต้องขอความร่วมมือประชาชนดูแลสุขภาพไม่ออกไปในที่โล่งแจ้งด้วย
เวลา 16.30 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำหน้ากากอนามัยแจกจ่ายให้กับประชาชนบริเวณอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ และในเวลา 18.30 น. มีการแจ้งสื่อมวลชนว่าจะมีการแถลงข่าวร่วมกับ มทบ.33 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้สัมภาษณ์เรื่องหมอกควัน
สำหรับการตรวจพบจุดความร้อน Hotspot ณ วันที่ 23 มี.ค.62 เวลา 01. 24 น. จากข้อมูลดาวเทียมระบบ VIIRS จำนวน 586 จุด
- จว.ม.ส. จำนวน 162 จุด
- จว.ช.ม. จำนวน 69 จุด
- จว.ช.ร. จำนวน 91 จุด
- จว.ล.ป. จำนวน 52 จุด
- จว.พ.ย. จำนวน 55 จุด
- จว.น.น. จำนวน 79 จุด
- จว.พ.ร. จำนวน 55 จุด
- จว.ล.พ. จำนวน 9 จุด
- จว.ต.ก. จำนวน 14 จุด
รวม จำนวน 586 จุด
ขณะที่ หน่วยฝนหลวงรายงาน พื้นที่ภาคเหนือยังมีความชื้นต่ำกว่า 60% มีค่าไม่เกิน 50% โอกาสทำฝนน้อยมาก ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระหว่างวัน หากมีโอกาสทำฝนหลวงได้ จะมีแผนช่วยลดฝุ่นละอองหมอกควันและไฟป่าเป็นเป้าหมายหลัก โดยหน่วยฯ เชียงใหม่ มี พท.เป้าหมาย จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พท.เกษตร จ.เชียงราย (อ.แม่จัน) สำหรับหน่วย ฯ พิษณุโลก พท.เป้าหมาย อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง ห้วยป่าเลา จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่เกษตร จ.กำแพงเพชร(คลองขลุง ขาณุวรลักษบุรี)
ขณะที่ แม่ทัพภาคที่ 3 มีคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2562 แจ้งทางไลน์ควบคุมไฟป่าภาคเหนือว่า เนื่องจากสถานการณ์หมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ในปีนี้สถานการณ์ มีวิกฤต มากกว่าปีที่แล้ว ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทั้ง 9 จังหวัดเชิญท่านนายอำเภอของทุกจังหวัด มาประชุมเพื่อหาข้อสรุป ในปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่รับผิดชอบของตน และมีการเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหา ในระดับ Single Command อำเภอของตน และ Single Command ในจังหวัดของตน หากไม่ทำการวิเคราะห์และตกผลึกในปีนี้ ในปีหน้าที่จะถึงในแล้งต่อไปประชาชนก็จะเดือดร้อนเช่นเดิม. จึงให้กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 3 ออกเป็นสั่งการให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัด ทั้ง 9 จังหวัดดำเนินการจัดประชุมและสรุป Lesson Learn และแนวทางแก้ไขปัญหาส่งกลับมาให้กองทัพภาคที่ 3เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป