หวั่นน้ำท่วมลาวใต้ลากยาว นักคณิตศาสตร์ไทยทำแบบจำลองเตือน

หวั่นน้ำท่วมลาวใต้ลากยาว นักคณิตศาสตร์ไทยทำแบบจำลองเตือน

หวั่นท่วมขังหลายเมืองในอัตตะปือจะลากยาวจากเหตุเขื่อนแตก นักคณิตศาสตร์ไทยทำแบบจำลองการไหลลงของน้ำเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยง พบสภาพภูมิประเทศเป็นร่องภูเขาแคบ น้ำไหลลงล่างได้ช้า

กรณีมวลน้ำมหาศาลจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ไหลท่วมเมืองสนามไซอย่างกะทันหันตั้งแต่กลางดึกวันที่ 23 ก.ค.เนื่องจากสันเขื่อนแตก ซึ่งล่าสุด (25 ก.ค.) มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน สูญหายกว่า 100 คนและไร้ที่อยู่อาศัยอีกกว่า 6,600 คน นั้น

อ.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติ ลุ่มน้ำปัตตานี (พีบีวอทช์ดอทเน็ต) ได้ทำแบบจำลองการไหลของน้ำ โดยคำนวนจากสภาพที่ตั้ง พิกัดภูมิประเทศของบริเวณจุดเขื่อนแตก พบว่า จุดเกิดเหตุเป็นเขื่อนปิดกั้นช่องเขา อยู่บนเนินราบสูง เมื่อคำนวนการไหลของปริมาณน้ำลงตามสภาพภูมิประเทศพบว่าพื้นที่น้ำท่วมหลักจะอยู่บริเวณ พื้นที่ลุ่มน้ำเซเปียนและต่อเนื่องถึงลุ่มน้ำเซกองตอนล่าง ซึ่งน้ำจะไหลผ่านลงล่างได้ค่อนข้างช้า เพาะร่องภูเขาแคบไหลลงได้แค่บริเวณแม่น้ำแคบๆ  ทำให้การไหลของน้ำจะหลากทุ่งลงมา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง และยาวนาน

อ.สมพร ระบุว่า แบบจำลองนี้เป็นการจำลองให้น้ำไหลมาจากบริเวณพื้นที่บริเวณที่เขื่อนแตก เพื่อดูเส้นทางน้ำไหล ดูบริเวณที่อาจจะท่วมกรณีเลวร้ายที่สุดเป็นอย่างไร (ซึ่งการท่วมจริงอาจจะไม่มากขนาดในพื้นที่) และการจำลองนี้เป็นเพียงการใช้ข้อมูล SRTM 90ม. มาคำนวณโดยไม่มีถนนหรือสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ  ซึ่งได้จำลองจนได้ว่าพื้นที่จุดที่มีการเก็บข้อมูลได้ปริมาณน้ำลึก 13 ม. 15 ม. 17 ม. 19 ม. ตามรายงานที่ได้รับ เพื่อดูบริเวณพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

ทั้งนี้จากแบบจำลองคร่าวๆ พอจะวิเคราะห์ต่อได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมขังยาวนานขึ้น อันเนื่องมาจากแม่น้ำทางตอนใต้จะมีคอขวดเนื่องจากน้ำท่วมส่วนบนเป็นบริเวณกว้าง และการที่น้ำจะค่อยๆ ไหลลงไปทางแม่น้ำธรรมชาติไปยังกัมพูชานั้น เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณน้ำจากเขื่อนที่แตกหรือจากพื้นที่อื่นๆ มาสมทบอาจจะเป็นการสะสมมวลน้ำในบริเวณตั้งแต่ หินลาด (Hinlat) สนามชัย (SanamXai) ไปยัง Sempo ในพื้นที่เหล่านี้ (ดูภาพในบริเวณพื้นที่สีฟ้าเพื่ออ้างอิง)





คลิกชมภาพการไหล https://www.facebook.com/csomporn/videos/1788402577895355/

ทางการลาวประกาศแผนคาดการณ์ระดับน้ำท่วมในเมืองทั้ง 5 เมือง(อำเภอ) ของแขวงอัตตะปือ  ในแขวงอัตตะปือไว้ 4 ระดับ เผยแพร่โดย ABC LAO   ดังนี้

แผนคาดการณ์ระดับน้ำท่วม

ระดับน้ำท่วม 4 ระดับ

เมืองสนามชัย

(อำเภอ)

เมืองสามัคคีชัย

(อำเภอ)

เมืองชัยเชษฐา

(อำเภอ)

เมืองภูวง

(อำเภอ)

เมืองชานชัย

(อำเภอ)

13 เมตร หนองแข้

โพนสะอาด

หาดอุดมชัย

ส้มป่อย

15 เมตร ตะเงา, หาดทรายคำ, บุ่งแก้ว, อุดมชัย, คันหมากนาว, อุดมสุก, หินสมบัติ, ดอนไผ่, มิตรสัมพัน, ตะปาก, จอมโพย, ท่านเดือ เวินแคน

เซกะหมาน

เซกอง

ท่าลาน

หาดสะติ

สะแคะ

ชัยสี

แก้งชัย

17 เมตร หาดทรายสูง, น้ำกง, หาดยาว, ดอนเสือ, หาดพิลา, ดอนสูง, อินทิ, จอมโพย, บ้านปุย หลักสาม, ตำมะเลย, ละยาวกลาง, แคนชัง, จำปาว แก้งใหญ่, วัดธาตุ, วัดหลวง, สมโคก, โพธิ์ชัย, ฝังแดง เวียงชัย, วงชัย, วงละคร, วังยาง, ภูโฮม, วงสมภู, วงคำสา ตาดกุ่ม

ใหม่นากอก

19 เมตร หินลาด, ท่าแสงจัน, สะหนองใต้, บ้านใหม่, ท่าหินใต้, ดอนบก, ดอนมวง, บ้านแท, โคกก่อง สามัคคี, สีวิไล, เมืองใหม่, เซใหญ่, ชัยสะอาด, สะเพาทอง, ท่าหิน, ละยาวเก่า, กะเยอ, ฮาลางใหญ่, บ้านโสก, มีชัย, ขุมคำ หาดชัน, วัดเหนือ, ใหญ่อุดม, ดอนสม, บ้านซ้าย, บ้านตวย, น้ำหลวง, สะปวน หินดำ

ดอนแคน

 

ขณะที่ นายมนตรี จันทวงศ์ นักวิชาการอิสระที่ติดตามสถานการณ์น้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  จัดทำแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน -เซน้ำน้อย และการแตกของเขื่อนปิดช่องเขาของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเซน้ำน้อบ ทำให้น้ำจากอ่างเก็บน้ำไหลลงสู่ลำน้ำเซเปียอย่างมหาศาล ทำให้เห็นสภาพของพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่รับน้ำได้ชัดเจนขึ้น และตั้งคำถามถึงห่วงโซ่ความรับผิดชอบต่อสถานการณ์นี้

ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2017945501583256&id=100001034785262

ภาพจาก ATTAPEU TODAY

สำหรับแขวงอัตตะปือ อยู่ห่างจากเวียงจันทน์ 970 กิโลเมตร  ทิศเหนือ            ติดกับแขวงเซกอง และแขวงจำปาสัก ทิศใต้            ติดกับจังหวัดสตรึงเตร็ง และ จังหวัด รัตนคีรี กัมพูชา ทิศตะวันออก   ติดกับจังหวัด กอนตูม เวียดนาม ทิศตะวันตก            ติดกับแขวงจำปาสัก  แบ่งเขตการปกครอง 5 เมือง ได้แก่ เมืองไซเสดถา เมืองสามัคคีไซ เมืองสะหนามไซ เมืองพูวง เมืองสานไซ เขตชุมชนห่างไกล ได้แก่ เขตวังตัด (ติดกับชายแดนเวียดนาม) เมืองสานไซ และเขตสมบูรณ์ (ติดกับชายแดน เวียดนามและกัมพูชา) เมืองพูวง   ประชากร 123,398 คน (ปี2556)มี 13 ชนเผ่า คือ ลาวลุ่ม โอย ตะโอย เจ็ง สะดาง อาลัก ปะเทิน ชุ เบรา(ละแว) ละเวน (อาศัยอยู่หลังภูหลวง) คะ เหลียง แยะ กะยอง   ประชากรส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ( เช่น ปลูกข้าว ปศุสัตว์ ประมง) 85 %  อุตสาหกรรม (เช่น เหมืองแร่ โรงงาน) 5 % บริการ (เช่น ค้าขาย ขนส่ง ท่องเที่ยว พนักงานรัฐและเอกชน) 10 %  ประชากรส่วนใหญ่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ จากประชาการทั้งหมด 20,000 ครัวเรือน เป็นคนยากจน 9,000 ครัวเรือน และยากจนที่สุด 5,000 ครัวเรือน (ที่มา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์)

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ