อาสาภูมิศาสตร์ กับความหวังท้ายถ้ำหลวง

อาสาภูมิศาสตร์ กับความหวังท้ายถ้ำหลวง

เข้าสู่วันที่6 ของภารกิจการค้นหา 13 ชีวิต ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ที่คาดว่าพลัดหลงและติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 28 มิถุนายน 2561 

ยังคงมีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ขอมีส่วนในการร่วมค้นหาในครั้งนี้ ส่วนการค้นหายังคงคาดการณ์และวางแผนจากข้อมูลเเผนที่เดิมที่มีชาวต่างชาติได้เปิดเผยเเผนที่บริเวณถ้ำ 

ทำให้ส่วนท้ายของถ้ำหลวง เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของนักสำรวจ ที่คาดการณ์การจากข้อมูลคำบอกเล่าของ Martin ประกอบกับข้อมูลของทางกรมทรัพยากรธรณี ทำให้ภารกิจการเข้าสำรวจ จุดนี้เดินหน้าขึ้น

พล.ต.สายัณห์ เมืองศรี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 กล่าวว่า ในจุดนี้คือส่วนของท้ายถ้ำ แต่ไม่ใช่จุดจุดท้ายของถ้ำ 2 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารได้มาสำรวจบริเวณนี้ เพื่อทำการทำฝายเบี่ยงเส้นทางน้ำ ไม่ให้น้ำจากดอยผาฮี้ไหลเข้าสมทบลงไปภายในถ้ำหลวง และจากการเดินสำรวจ ยังไม่พบปากถ้ำ

การเดินสำรวจครั้งนี้มีชาวบ้านผาฮี้ รวมนำทางสำรวจ ด้วย ระหว่างการเดินสำรวจร่วมครั้งนี้พบว่าระหว่างผนังถ้ำมีปล่อง และโพรงอยู่หลายจุด แต่ชาวบ้านได้บอกว่า เป็นปล่องถ้ำค้างคาวที่ชาวบ้านมักมาเก็บขี้คางคาว แต่ไม่สามารถทะลุเข้าไปภายในถ้ำได้

นายอนุกูล สอนเอก  นักภูมิศาสตร์ ที่เคยสำรวจถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในวนอุทยานขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ได้พยายามขอติดตามและสำรวจทางด้านส่วนของทางถ้ำจุดนี้ด้วย โดยเบื้องต้น จากการเดินเท้าสำรวจ และการตรวจสอบชั้นหินเป็นชั้นหินปูน ซึ่งหากจะทำการเจาะก็จะสามรถดำเนินการได้ง่าย และประกอบจากข้อมูลจากคุณ Martin ผู้ที่เคยสำรวจถ้ำหลวงก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าจากจุด ที่เขายืนอยู่และมองขึ้นมาเห็นแสงสว่างและต้นไม้ พร้อมกับจับพิกัด GPS ไว้นั้น ก็มีความใกล้เคียงกับจุดนี้ ทำให้คาดว่าจุดนี้ น่าจะพอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเดินสำรวจเพื่อหาปล่อง ที่จะทะลุเข้าถ้ำหลวง

โดยในเช้าวันนี้ (29 มิถุนายน 2561 ) นายอนุกูล และนักภูมิศาสตร์ อาสา จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ,มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และทีมอาสาภัยพิบัติเชียงราย ที่ร่วมกลุ่มกันจะเดินเท้าเข้าสำรวจร่วมกับชาวบ้านผาฮี้ ที่จะช่วยนำทางในภารกิจนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ