คนรุ่นใหม่ไม่ได้ hopeless แต่ว่าเขาถูกทำให้ powerless : ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ 

คนรุ่นใหม่ไม่ได้ hopeless แต่ว่าเขาถูกทำให้ powerless : ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ 

เรื่อง : สุวนันท์ อ่ำเทศ

ถามว่าคนรุ่นใหม่ที่จะมาพัฒนาสังคมหน้าตาเป็นแบบไหน ผมไม่ได้กวนตีนแต่ว่าผมก็จะตอบว่า หน้าตาแบบพวกคุณนี่แหละ หน้าตาแบบพวกคุณทุกคนนี่แหละ ผมว่ามันหมดยุคแล้วที่เราต้องการคนที่หน้าตาแบบคนที่มาจากตระกูลดัง ไปร่ำเรียนมาจากอังกฤษแล้วก็กลับมาบอกว่าจะอยู่ในตระกูลนักการเมือง ผมว่ามันหมดยุคแบบนี้แล้วคือผมว่าโอเค คือเข้าใจว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะตอบในมุมสังคมชุมชน ซึ่งมันต้องทำงานในทุกระดับ แต่มันกลายเป็นการเมือง ผมคิดว่าการเมืองมันสกปรก ใช่ การเมืองมันสกปรกมาก มันเป็นเรื่องของคนไม่กี่นามสกุล มันเป็นเรื่องของระบบอุปถัมภ์ แล้วผมว่ามันต้องการคนหน้าตาแบบพวกคุณที่มีความหลากหลายมาก ๆ มาจากประเด็นที่ไม่เคยเป็นมีสื่อสาธารณะ ยกเว้นไทยพีบีเอสนะ นี่นำเสนอเลย ผมว่าการเมือง มันต้องการคนที่มีความหลากหลายทั้งในเชิงพื้นที่ ในเชิงประเด็นเลย ที่สำคัญคือเราถ้าเรายกเลิกระบบอุปถัมภ์ เรายกเลิกตั้งแต่วันนี้เราต้องเชื่อว่าคนที่ไม่เคยมีไอเดียเป็นนักการเมือง ไม่เคยต้องไปเรียนอังกฤษ ไม่เคยเรียนคอร์สการพูด ไม่อยู่ยุวของพรรคไหนทั้งสิ้น สามารถทำการเมืองได้ แล้วสามารถทำให้มันสะอาดได้ เราสามารถสร้างวัฒนธรรมใหม่ทางการเมืองได้ การเมืองที่รับฟังเหตุผลทุก ๆ คน ไม่ได้เชื่อว่านโยบายเกิดจากคนฉลาด ๆ ที่เข้าใจว่าตัวเองฉลาดไม่กี่คนในห้องประชุม แล้วกำหนดสั่งการทุกคน ผมคิดว่ามันต้องการคนที่หน้าตาแบบพวกคุณนี่แหละ มาทำให้มันสะอาด แล้วก็ทำให้มันมีคุณภาพ

พารากราฟด้านบนเป็นการตอบคำถามคำนิยาม “คนรุ่นใหม่ในอนาคต” ในมุมมองของ ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์  แอดมินเพจเกรียนการศึกษา และหนึ่งในตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่ในนามองค์กรนิวกราวด์ นอกจากนี้ ฟิล์มยังเป็นหนึ่งในกรรมการของพรรคอนาคตใหม่ที่ดูแลนโยบายด้านเยาวชนอีกด้วย

ใคร ๆ ก็พูดว่าคนรุ่นใหม่มีพลัง แต่เมื่อถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่เริ่มลุกขึ้นมาแสดงพลังหรือทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการพูด แสดงความคิดเห็น หรือเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม เรากลับถูกปิดกั้นและถูกบอกว่า “ยังไร้เดียงสา” แต่นั่นไม่สามารถหยุดยั้งการเดินหน้าเพื่อสร้างสังคมใหม่ด้วยความคิด และความเชื่อของพวกเราหลายต่อหลายคนได้ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา Jam สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ และคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาได้จัดวงสนทนา “หนุ่มสาวผู้ (ไม่ทน) ร้าวราน” ประกอบไปด้วย แบม – ปณิดา ยศปัญญา นิสิตสาขาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต้นแบบคนรุ่นใหม่ต้านโกง, โอม – อวิรุทธ์ อรรคบุตร โปรดิวเซอร์ ภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรี, อาทิตย์ โกวิทวรางกูร หนึ่งในคนเล็กเปลี่ยนเมือง สมาชิกเครือข่ายมักกะสัน และหนึ่งในนั้นก็ยังมี ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ของเราก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองของคนรุ่นใหม่ในประเด็นต่าง ๆ ไว้ในเวทีนี้ด้วย

จากกรณีของน้องแบมที่กล้าลุกขึ้นมาปฏิบัติการต้านโกงของผู้ที่มีอำนาจมากกว่าตน จนกลายเป็นการเปิดโปงการโกงครั้งยิ่งใหญ่ ในฐานะคนรุ่นใหม่อย่างฟิล์มมีความเห็นอย่างไร

กรณีของคุณแบม ผมว่าเอาชัดเจนนะครับว่า ว่าการต้านโกง มันไม่ได้ต้านกันผ่านการท่องค่านิยม 12 ประการ ไม่ต้านผ่านการเปิดร้านกาแฟต้านโกง แล้วก็ไม่ได้ต้านผ่านหลักสูตรโตไปไม่โกงเลยนะครับ แต่มันกล้าต้านนะผ่านคนที่ไม่ยอมจำนน กล้าต้านผ่านคนที่รู้สึกว่า โอเค มีคนที่มีอำนาจมากกว่าเราเพราะการกระทำบางอย่างผิดปกติ แล้วเรามีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะตรวจสอบอำนาจนั้น แล้วก็ไม่ยอมจำนน ผมคิดว่าสิ่งที่แบมทำจริงๆ แล้วกลับมาปลุกอะไรหลายๆ อย่างในตัวผมมากๆ ผมว่าจริงๆ คนที่ทำงานคนรุ่นใหม่มาจุดหนึ่งเนี่ย เราก็เริ่มอกหักนะ เราเริิ่มรู้สึกว่าเราเรียกร้องหลายอย่างมากเลย แต่ว่าสังคมมองว่าช่างไร้สาระเหลือเกินนะ เราพูดแต่เรื่องปฏิรูปการศึกษานะ แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องทรงผมนักเรียน ไม่มีใครพูดถึงเรื่องกฎระเบียบกดขี่ เวลาเด็กๆ ทำผิดหรือแม้แต่เวลาเด็กๆ ทำถูก คุณแบมทำถูกเนี่ยนะครับ มีกฎระเบียบเยอะแยะมากเลยนะครับที่จะลงโทษคุณแบมเขา ที่จะลงโทษพวกคุณเวลาคุณทำผิด แต่ว่าคนที่มีอำนาจมากกว่าพวกคุณทำผิด คนที่คุณไปขอฝึกงานเขาทำผิด คุณครูทำผิด พ่อแม่คุณทำผิด คุณไม่รู้จะลงโทษเขาอย่างไร เพราะว่าวัฒนธรรมการร้องเรียนแบบนี้ไม่มีในประเทศไทย  แล้วผมคิดว่าสิ่งที่แบมทำอยู่ได้กลับมาทำให้ผมเริ่มคิดถึงโครงสร้างสังคมที่มันผิดปกติมาก ๆ อันนี้ ว่าเรามีอะไรที่มันขาดไปอยู่หรือเปล่า

อำนาจ – ชนชั้น – คนรุ่นใหม่

ประเด็นเรื่องชนชั้นในสภาพสังคมแบบนี้ คุณโชคดีเกิดมารวยคุณอาจจะมีสิทธิมีเสียงบางอย่าง คุณอาจจะไปปลูกบ้านบนเขตพื้นที่ที่มันปลูกไม่ได้ ใช่ไหมครับ แต่ว่า Anyway คือถ้าเราเชื่อเรื่องกระจายอำนาจนะครับ ถ้าเราเชื่อในเรื่องประชาธิปไตยผม ว่ามันเริ่มมาจากตรงนี้ มันต้องเริ่มตั้งแต่ในห้องนี้ มันต้องเริ่มตั้งแต่ว่าไม่ว่าจะเกิดมาเป็นใคร คุณเป็นนักศึกษา เวลาคุณเห็นอะไรบางอย่างมันผิดปกติ มันต้องมีกระบวนการบางอย่าง มีพื้นที่บางอย่างที่ต่อรอง ร้องเรียนได้ใช่ไหม และผมตอบเพิ่มนิดหนึ่ง คือว่าเมื่อปีก่อน นิวกราวด์ ไปทำโพลสำรวจมา Newground bye 2017 ซึ่งก็เป็นโพลสำรวจคนรุ่นใหม่มาสัก 7,000 คน โดยใช้ออนไลน์ มี 1- 9 คำถาม ถามว่า คุณไม่มั่นใจนะเมื่อจุดจุดจุด แล้วก็เด็กให้คะแนนเต็ม 100 ข้อที่สอบตกคือได้แค่ 24 คะแนน เต็ม 100 คือว่าต้องไปเรียนใหม่ใช่ไหม คำถามที่ว่าคุณไม่มั่นใจเลย เมื่อคุณมีปัญหากับคนที่มีอำนาจมากกว่าคุณ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณครู ข้าราชการ พระ อะไรเป็นต้น นั่นอาจจะพอชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ นอกจากแบม นอกจากกรณีของแบมแล้วของพวกเราหลาย ๆ คน เอาจริง ๆ มีเพื่อน ๆ พวกเราในรุ่นประมาณพวกเรา อายุประมาณ 13 – 30 ปี ที่เผชิญกับสภาวะนี้เยอะมาก ๆ แล้วเขาไม่รู้ต้องทำอย่างไร ผมคิดว่าความเจ็บปวดแบบนี้มันไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนสังคมไปจุดไหนกันแน่

เป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด

เวลาเราพูดว่าเยาวชนเป็นอนาคตของชาติ จริง ๆ เขาลืมไปว่าในปัจจุบันเยาวชนมีความเจ็บปวดอยู่จริง ๆ ในปัจจุบันใช่ไหม เราขัดแย้งบางอย่างกับพ่อแม่อยู่จริง ๆ ในปัจจุบัน เราเจ็บปวดเรื่องถูกบังคับตัดผมในปัจจุบัน แต่พอเราโตขึ้นไปหน่อย เราลืมความเจ็บปวดตรงนี้ไปแล้ว แล้วเราก็มองเป็นเรื่องไร้สาระ อะไรเป็นต้น หรือแม้แต่บอกว่าการกระทำ การเรียกร้องสิทธิของตัวเอง หรือการตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ ถ้ามันถูกกระทำโดยเด็กคนหนึ่ง กลายเป็นความก้าวร้าวไปเฉยเลยในลักษณะนี้ จริง ๆ แล้วเยาวชนมีผลประโยชน์บางอย่างในปัจจุบัน แล้วก็มันถึงเวลาที่ผลประโยชน์เหล่านี้ ปัญหาเหล่านี้มันควรจะตอบสนอง ควรจะถูกตอบสนองได้แล้ว ไม่ใช่รอให้เขาโตเป็นผู้ใหญ่ก่อนแล้วกลับมา แล้วก็ลืมนะ ลืมว่าวันนึงเราเคยเจ็บปวดเรื่องแบบนี้ ที่ครั้งนึงคนที่แก่กว่าเราว่ามันไร้สาระ

สังคมไทยที่ปลูกฝั่ง มีวัฒนธรรมที่เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ ห้ามเถียงผู้ใหญ่ จนเด็กที่ถูกปลูกฝั่งแบบนั้นไม่กล้าที่จะแสดงออกในสิ่งที่ต้องการ จนกระทั่งเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่แล้วลืมสิ่งที่เราได้พบเจอมาในตอนเด็ก เป็นผู้ใหญ่ที่อบรม สั่งสอนลูกหลานเรื่องการเคารพผู้ใหญ่เหมือนที่ตนเคยถูกสอนมา จะทำอย่างไรกับปัญหาในเรื่องนี้ ?

ผมว่าถูกปลูกฝังมาตั้งแต่พันปีที่แล้วด้วยซ้ำ แล้วเราก็ยังเป็นผลพวงในอดีตที่น้อมรับวิธีคิดนี้มาใช้กับคนรุ่นเรา ซึ่งมันหมดยุคไปนานแล้ว ไม่ใช่แค่นี้ จริง ๆ แล้วกับครู กับผู้มีอำนาจมากกว่ากับหลาย ๆ อย่าง พอเรากลัวแล้ว เราก็ต้องรอให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในวงจรอำนาจก่อนไปแก้ไขสิ่งที่เรากลัว แต่ว่าก่อนจะถึงจุดนั้นก็ลืมไปแล้วนะว่าวันที่เรายังเป็นเด็ก วันที่เรายังเป็นวัยรุ่นเรา แล้วเราก็โกรธแค้นมากกับเรื่องนี้แล้วเราไม่กล้าทำอะไร แล้วก็หวังว่าเราเข้าไปมีอำนาจเราจะเข้ามาจัดการเรื่องนี้ มันไม่เคยเป็นอย่างนั้นเลย เพราะงั้นผมคิดว่ายืนยันคำตอบเดิมนะ คือไม่ต้องรอให้คุณกลายไปเป็นผู้ใหญ่ก่อน ผมคิดว่าคนที่เป็นวัยรุ่น มันไม่มีช่วงวัยไหนอีกแล้วที่เหมาะสมที่จะทำอะไรแบบไม่ต้องคิดหน้าคิดหลังมาก จริง ๆ ผมคิดว่าอันนี้เป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก Angry Young People มันเกิดขึ้นทั่วโลก คนรุ่นใหม่ที่รู้สึกว่า เรามาอยู่ในประเทศแบบนี้ได้อย่างไร เราอยู่ในโลกที่ที่จริง ๆ โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ทศวรรษที่่สูญหายเราไม่ได้มีส่วนร่วมเลย ความขัดแย้งเหลืองแดงที่ตีกัน เราไม่ได้มีส่วนร่วมกับมันเลย แต่มันบังคับให้เราใช้ชีวิตอยู่ในความขัดแย้งแบบนี้ อยู่ในความรุนแรงแบบนี้

มันถึงเวลาของเราทุกคนที่จะมากำหนดวิธีการใช้ชีวิตแบบใหม่ อนาคตที่คุณต้องการใหม่ในประเทศนี้ แต่ว่าพอพูดแบบนี้ผมก็อยากยืนยันอีกครั้งว่า เวลาเราพูดถึงคนรุ่นใหม่เราไม่ได้หมายถึงคนรุ่นใหม่โดยอายุอย่างเดียว โอเค แน่นอนคนรุ่นใหม่โดยอายุจริง ๆ เขามีความต้องการบางอย่างในช่วงอายุแบบนี้ แบบที่เขาโตขึ้นเขาจะลืมมันไป ดังนั้น ความต้องการนี้ต้องถูกแก้ไข ณ วันนี้เลย กับคนรุ่นใหม่แบบหนึ่งซึ่งนิยามกว้างกว่า

ผมไม่อยากจะบอกว่ามีคนอายุน้อยจำนวนมากเลยที่ยืนฝั่งตรงข้ามกับพวกคนรุ่นเดียวกัน อุดมการณ์จากคนรุ่นเดียวกัน แล้วเขาได้ประโยชน์จากถูกกดขี่ จากระบบที่กดขี่พวกเขา เขาแค่เป็นสารวัตรนักเรียนกลายเป็นคนที่พยายามแบบบอกให้ใครสักคนอย่าไปทำเลย เรื่องแฉข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้กลัว ไม่ว่าจะผ่านความเมตตา ไม่ว่าจะผ่านความหวังดี มีคนรุ่นใหม่จำนวนมากเลย แล้วก็มีคนอายุน้อยจำนวนมากเลยที่กลายเป็นผู้กดขี่ตั้งแต่ยังเด็ก ในขณะเดียวกันเรามีคนอายุมากจำนวนไม่น้อยเลยที่เจ็บปวดจากระบบที่กดขี่พวกเขาอยู่ เขากลายเป็นผู้ถูกกดขี่ เขาไม่เคยลืมนะ ทุกวันนี้เขาก็ยังเป็นผู้ถูกกดขี่อยู่ เขารู้สึกว่ามันต้องทำอะไรบางอย่าง แล้วผมรู้สึกว่าที่คนมีความรู้สึกแบบนี้ คนที่รู้สึกว่าจำนนต่อสถานการณ์ไม่ได้แล้ว แล้วก็ต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง คนแบบนี้คนรุ่นใหม่เช่นกัน แล้วเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่โดยอายุ แต่เป็นคนรุ่นใหม่ที่นิยามกว้างกว่ามาก ๆ

ข้อเสนอต่อประเทศไทยจาก ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์

จริง ๆ ผม 2 ประเด็นแล้วกัน ผมว่าจริง ๆ เรื่องคอรัปชั่นมันน่าจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศเราควรจะมี Open Data , Open Governance เราควรจะจัดทำงบประมาณการมีส่วนร่วมไม่ใช่คน ๆ หนึ่งคิดแล้ว คน ๆ นึงคิดว่าทุกๆ ทุกคนควรจะได้เงินอุดหนุนเท่า ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนมีความจำเป็นต่างกันออกไป บางพื้นที่มีความจำเป็นมาก เราควรจะทำให้มันมีส่วนร่วมแล้วพอถึงค่าที่ต้องใช้งบประมาณ ทุกคนจะ Open Data ทั้งหมด คือเราควรจะสามารถเข้าไปตรวจสอบโฟลการเงิน การใช้จ่ายของภาครัฐได้ เจ้าหน้าที่รัฐหรือแม้แต่ของโครงการที่ประมูลงานภาครัฐออกมาก็ควรจะเข้าไปจัดการงานด้านนี้ได้ แล้วก็ผมคิดว่ามันอาจจะยืนยันใน 4.0 ของประเทศเรา ผมคิดว่าอันนี้เป็นคำตอบแรก คงจะทำให้มันง่ายมาก ๆ  ถ้าเรามี Open Data ทางการเงิน อีกอันนึงคือผมเล่าเร็ว ๆ แล้วกัน จริง ๆ ผมเล่าบ่อยมาก แต่อีกสักทีนึงแล้วกัน 11 ข้อเสนอ ที่พูดถึงคนรุ่นใหม่ สิ่งที่อำนาจของพวกเขา พลังของพวกเขาว่าจะทำยังไงให้คนรุ่นใหม่ที่ยืน มีตัวตนอยู่จริง ๆ บนประเทศนี้ ก็จะมีคุณภาพขีวิตที่ดีคือเราไปสำรวจเด็กสักประมาณ 7,000 คน ในช่วงวันเด็กปีที่ผ่านมา แล้วก็ปกติวันเด็กมันก็เป็นวันธรรมเนียมที่เราจะต้องรอรับคำขวัญจากผู้ใหญ่ มันไม่ค่อยมีธรรมเนียมที่ทำให้เราได้ Voice ได้ส่งเสียงของเราขึ้นไปเท่าไหร่ ทีนี้ก็เราไปสำรวจ 7,000 คน แล้วก็เราลองย่อยออกมา 11 ข้อเสนอว่ามีอะไรบ้าง บางอันมันอาจจะไม่เกี่ยวกับเวทีนี้สักทีเดียวนะ

  1. ยกเลิกการบ้าน เคารพเวลาพักผ่อนเด็ก สร้างวัฒนธรรมไม่ทำงานนอกเวลา
  2. ยกเลิกกฎระเบียบกดขี่ บังคับตัดผม แต่งตัว ตลอดจนกิจกรรมบังคับเข้าร่วมทั้งหลาย
  3. ลดอายุผู้มีสิทธิและผู้สมัครเลือกตั้ง
  4. งบอุดหนุนทางการศึกษา ต้องให้เด็กตัดสินใจใช้เองทั้ง 5 อย่าง (ปัจจุบันได้แค่ 2 อย่างคืองบซื้ออุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบ
  5. มีศูนย์กฎหมายเยาวชน เพื่อปกป้องสิทธิคนที่อายุมากกว่า 18 แต่ยังอยู่ในวัยนักศึกษา 
  6. มีระเบียบปฏิบัติ หรือ mou ชัดเจน สำหรับการรับนักศึกษาฝึกงาน เช่น ต้องให้งานที่ตรงประเภทและพัฒนาความสามารถ ไม่ใช่ให้ไปยกน้ำ ถ่ายเอกสาร ชงกาแฟ
  7. สภาเด็ก เปลี่ยนวิธีการกระจายงบ เป็นอุดหนุน 1-2 เท่าจากเงินตั้งต้น โดยให้เป็นกิจกรรมที่เด็กเลือกเอง
  8. มีช่องทาง ‘ร้องเรียน-เอาผิด’ ครู และผู้มีอำนาจมากกว่า
  9. มีสวัสดิการเยาวชน เพื่อลดภาระพ่อแม่ และสร้างอำนาจในการตัดสินใจเลือกชีวิตของตัวเด็ก ๆ เองมากขึ้น
  10. มีการจัดสรรงบประมาณ / กองทุน / แหล่งทุน ที่สนับสนุนให้เด็กได้แก้ปัญหาของพวกเขาเอง
  11. สนับสนุนให้เกิดองค์กรวิจัยที่พยายามมองหาคุณค่าในทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ มากกว่า วางชุดคุณค่าเดิมเอาไว้แล้ว

อันนี้ก็เป็น 11 ข้อเสนอ แล้วผมคิดว่าในภาพรวมในกรณีของแบมก็ดี ในกรณีของหลาย ๆ คนก็ดี ในกรณีของคุณโอม อาทิตย์ หรือผมเอง หรือเพื่อน ๆ พวกเราที่อาจจะไม่นั่งในห้องนี้ก็ดี แล้วขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง ผมว่ามันค่อนข้างที่จะยืนยันแล้วว่า

เราไม่ได้ Hopeless คนรุ่นพวกเราไม่ได้ไร้ความหวัง แต่คนรุ่นพวกเรา powerless เท่านั้นเอง พวกเราถูกทำให้ powerless พวกเราถูกทำให้ไร้อำนาจเท่านั้นเอง

เรามีความหวังเยอะมาก มีคนอยากจะอยู๋ในประเทศนี้แล้วทำให้มันดีเยอะขึ้นมาก แต่ว่าสังคมเอย กระบวนการบางอย่างเอย โครงสร้างเอย มันพยายามให้เราไม่มีอำนาจในการต่อรอง แล้วเรากำลังเสียโอกาสตรงนี้ไป เพราะว่าเรากำลังแลกคนรุ่นใหม่ที่เขามีความหวังมีความฝันไปกับการสอบเข้า ไปกับการอ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อสอบเข้า ไปเป็นแรงงานในระบบแล้วก็ถูกกดขี่ค่าแรง 300 บาทยังไม่ได้เลย ผมคิดว่ากำลังเสียโอกาสตรงนี้ไป แล้วผมคิดว่าเราคงจะ ผมไม่แน่ใจว่าเวลาเราพูดถึงอนาคตของประเทศในขณะที่เรากำลังทำแบบนี้กับคนที่เป็นปัจจุบันอยู่ แล้วเราจะมีอนาคตของประเทศแบบไหน/ๅ ก็เป็นอีก 11 ข้อหนึ่งที่ฝากไว้ คิดว่ายินยันคำเดิม ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ไม่ได้ hopeless แต่ว่าเขาถูกทำ powerless เท่านั้นเอง อาจจะลองหาทางดูว่าจะทำ eco system หรือจะทำโครงสร้างสมมุติแบบไหนที่ empower คนรุ่นใหม่ด้วยกัน

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ