‘กรุงเทพฯ หลอกเรา’ : อาทิตย์ โกวิทวรางกูร

‘กรุงเทพฯ หลอกเรา’ : อาทิตย์ โกวิทวรางกูร

ถอดบทสนทนา ‘อาทิตย์ โกวิทวรางกูร’ จากกรณีของน้องแบม เปิดโปงทุจริตเงินคนจน สะท้อนถึงภาพของชนชั้นในสังคมไทย ชวนมองคนรุ่นใหม่ในเมือง กับการพยายามเปลี่ยนสังคมในแบบที่เราต้องการ

6 พ.ค. 61 ที่ผ่านมา JAM สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดวงสนทนาวงสนทนา “หนุ่มสาวผู้ (ไม่ทน) ร้าวราน : อุดมการณ์ ความฝัน และการขับเคลื่อนสังคมของคนรุ่นใหม่” ที่ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โดยชวนคนรุ่นใหม่ (น่าจะ) วัยเดียวกัน ทั้ง อาทิตย์ โกวิทวรางกูร สมาชิกเครือข่ายมักกะสัน – โอม อวิรุทธ์ อรรคบุตร โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรีส์ – ฟิล์ม เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ Newground และน้องแบม – ปณิดา ยศปัญญา ต้นแบบคนรุ่นใหม่ต้านโกงที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแสดงพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

‘อาทิตย์ โกวิทวรางกูร’ สมาชิกเครือข่ายมักกะสัน หนึ่งในผู้ร่วมสนทนาในครั้งนี้ ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง แจ่มจึงถือโอกาสถอดบทสนทนาบางส่วนที่ได้แลกเปลี่ยนในวงมาฝากทุกคนกัน

ความรู้สึกของพี่อาทิตย์หลังจากเห็นข่าว “น้องแบม ปณิดา – เปิดโปงทุจริตเงินคนจน” 

รู้สึกนับถือน้องเขา(น้องแบม ปณิดา)เลยนะครับ เป็นความกล้าหาญที่เป็นเรื่องแปลกในสังคมนี้จริง ๆ สิ่งที่น้องแบมทำเป็นเรื่องปกติที่เราควรจะทำได้ หรือช่วยกันทำให้สังคมดีขึ้น ผ่านการทำหน้าที่ซึ่งอาจจะไม่ใช่หน้าที่ของเราโดยตรง แต่ผมไม่รู้มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศของเรา เรามาถึงจุดที่เรื่องแบบนี้คือสิ่งที่คนไม่กล้าทำ แล้วพอทำก็ต้องอาศัยความกล้าหาญแล้วก็ต้องแบกรับอะไรที่ไม่ควรต้องมาแบก

ผมคิดว่า ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทไหนของสังคมครับล้วนรู้สึกว่าการคอรัปชั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่เราก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร บางครั้งเราเห็นความไม่ถูกต้องนั้นกับตาหรือผ่านหน้าไป เป็นเรื่องของนายเราหรือความสะดวกของงานเรา

แต่เราตัดสินใจจะปล่อยผ่านไป เรื่องของน้องแบม เปิดโปงทุจริต ผมว่าประเทศเราต้องมีแบบนี้ ต้องนับถือในความกล้าหาญ สิ่งที่น้องแบมทำคือ เอาตัวเข้าแลก เพื่อคนอื่น นี่คือความร้าวรานที่เราสัมผัสได้

การเปลี่ยนแปลง เริ่มจากคน ๆ เดียวได้ 

ถ้าใครไปดูพวกหลักฐานการเปลี่ยนแปลงที่มันสำคัญๆ ไม่ว่าจะในระดับโลกหรือในระดับไหน ล้วนเกิดจากคนเพียงจำนวนหยิบมือเดียว อย่างมีปรากฏการณ์ที่ชื่อว่า “จิมมิ่งพอยด์” ซึ่งเริ่มจากกลุ่มคนไม่กี่คน

ถ้าผมเป็นพี่ที่มาฟังหรือพี่ตำรวจที่ต้องมาดูว่า วงสนทนานี้คุยอะไรกัน ลึก ๆ ทำให้ผมรู้สึกว่า สังคมตอนนี้มันมี 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นหน้าที่หรือหัวโขน เป็นบทบาทที่ถูกกำหนด อาจารย์มีบทบาทเป็นอาจารย์ ตำรวจเป็นคนต้องคอยดู เราเป็นบทบาทพลเมือง แล้วต่างคนต่างก็ต้องเล่นบทบาทที่มีกติกา มีข้อบังคับต่าง ๆ แปลว่า ถ้าถอดบทบาทพวกนี้ออก แล้วถ้าถามว่าในฐานะเราเป็นคนหนึ่งในประเทศนี้ ไม่นับว่าเราสังกัดไหน เราอยากเห็นประเทศนี้เป็นอย่างไรล่ะครับ

เห็นไหมว่าประเทศที่เราอยู่ ในบทที่เราเล่นมีปัญหา คำถามคือ ปัญหาเกิดมาจากอะไร ผมรู้สึกว่า หลายคนเห็นความไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม แต่จะแสดงออกอะไรสักครั้ง ก็ติดเป็นอาจารย์ กลัวทำไม่ได้ ถ้าเรามองแบบเมตตา เอาตัวเองเข้าไปนั่งอยู่ในทุกคนที่เป็นตัวละครในสังคม ลึก ๆ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ อย่างที่จิตใต้สำนึก อาจจะขัดแย้งกับบทบาทที่ต้องเล่นอยู่ตอนนี้

เมื่อเกิดลักษณะแบบนี้ เราไม่รู้ว่าสถานการณ์บางอย่างนั้นจะคลี่คลายแบบไหน เรามองไปทางไหน เราก็จะเห็นแต่บทบาทในเรื่องที่แปลก ๆ คนที่เป็นศาลก็ไปมีบ้านพักอยู่ในเขตป่า เราเห็นข่าว ทุกคนเห็นข่าวบางครั้งก็ไม่รู้จะอธิบายตัวเองอย่างไร เราอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วเราพบว่าในกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของหน้าที่ต่าง ๆ ในบ้านเมืองจะชอบมีเรื่องราวทำนองนี้ให้เห็นบ่อยในช่วงนี้ อ่านข่าวก็มีแต่เรื่อง จิตเสีย รู้สึกว่า นี่เรากำลังจะไปสู่จุดไหน

หลายคนพูดเรื่องชนชัน พูดเรื่องฐานะทางสังคม เกี่ยวมากน้อยแค่ไหน กับการที่แค่คนมีพลังคนหนึ่งอยากจะแสดงออก หมายถึง ถ้าคนที่มีชนชั้นทางสังคมสูง มีฐานะทางสังคมดี ก็อาจจะมี power ในการแสดงออกที่แตกต่างจากคนตัวเล็ก ๆ ที่อาจจะ มีรายได้ดีหรือไม่ดี

ก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะคนที่อยู่ในโครงสร้างอำนาจ ปกติก็ส่งผลกระทบหรืออะไรบางอย่างในเรื่องที่ตัวเองทำอยู่แล้ว

พี่อาทิตย์มองว่าคนรุ่นใหม่ในเมืองหรือบริบทคนรุ่นใหม่ในเมือง พื้นที่ตรงนี้มีมากน้อยแค่ไหนและบริบทคนรุ่นใหม่ในเมืองเป็นอย่างไร 

ก่อนพูดถึงระดับเมือง ผมเข้าใจว่าผู้ปกครอง หมายถึงผู้ปกครองประเทศ ถ้าเขามองนักศึกษา จะมีภาพที่อิงกับการปฏิวัติของนักศึกษา ในช่วง 14 ตุลาอยู่ เป็นความกลัว พอมีการออกมาเคลื่อนไหวในกลุ่มต่าง ๆ เราก็เห็นแต่สัญลักษณ์ในการต่อสู้ระหว่างระบอบกับเยาวชน แต่ที่เห็นอาจจะไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่เป็นอยู่ เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า คนกลุ่มหนึ่งต้องการพื้นที่ที่อยากจะแสดงออกในประเด็นนั้นของเขา ผมเข้าใจว่า ถ้ามองพลังนักศึกษา ก็มีความกลัว ว่าถ้ารวมกัน ผลึกกันหรือเคลื่อนไหวรวมกัน ซึ่งอาจจะนำมาสู่การโค่นล้มอำนาจ

ผมเชื่อว่ามีสมการนี้อยู่ในหัวของคนปกครองในปัจจุบัน เด็กบางคนก็อาจจะคิด แต่ผมเชื่อว่าเขาไม่สนใจประเด็นนี้หรอก จะมาโค่นล้มใคร เขาก็แค่อยากจะมีพื้นที่ของเขา อยากได้สิ่งที่เขาเห็นว่ามันถูกต้อง อยากมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวของพวกเขา

ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ สมมุติกลัวว่านักศึกษาจะไปโยงความขัดแย้งทางการเมือง หรือมองนักศึกษาเป็นไพ่ใบหนึ่งของกลุ่มการเมือง เท่ากับวินิจฉัยว่า พวกเขาเป็นมะเร็ง

หากมองด้านร่างกาย “นักศึกษากลุ่มหนึ่งอาจจะเป็นมะเร็งต่อประเทศ” ความคิดแบบนี้เกิดขึ้น เป็นมะเร็ง ก็ต้องแสกนบ่อย ดูว่าจะเข้ามาโค่นล้มปลุกระดมหรือเปล่า ซึ่งจริง ๆ แล้ว เขาไม่ได้มองเรื่องพวกเราทำ แล้วกระบวนการเมื่อมีการตรวจสอบก็ตามมาด้วยข้อสมมติฐาน ถ้าจะโตเป็นมะเร็งต้องทำไง ใครมีพ่อแม่หรือญาติที่เป็นมะเร็งพวกนี้

กระบวนการพวกนี้กำลังมุ่งเป้าไปทำลายเนื้อร้าย ในขณะเดียวกันก็ฆ่าเนื้อดีตายหมด ถูกไหมครับ แปลว่าผลของความกลัว วิธีคิดแบบนี้นำมาซึ่งการไม่เปิดพื้นที่ ถามว่า แล้วถ้าเราบอกว่าเยาวชนคืออนาคตของชาติ คุณคาดหวังให้อนาคตของชาติมีคุณภาพหรือมีการเติบโตที่ดี ในเมื่อพื้นที่เสรีภาพหรือความหลากหลายให้เขาได้เรียนรู้ ให้เขาได้ทดลอง ให้เขาได้แสดงออกมันไม่มี แล้วถึงวันหนึ่ง ถ้าประเทศเราไม่มีอนาคต อ่อนเปลี้ย แล้วคุณจะไปโทษใคร

ผมเป็นเด็กกรุงเทพฯ โตมาแบบกรุงเทพฯ ตลอด เมืองนอกก็ไม่เคยได้เรียน เพิ่งจะได้เรียนเมืองนอกซักอายุ 30 กว่า คือเด็กกรุงเทพฯ โตมาพร้อมกับวิถีชีวิต ขับรถยนต์ เดินห้าง เรียน ทำงาน ช้อปปิ้ง กินชิวๆ ตลาดนัด วิถีชีวิตวนอยู่อย่างนี้ ทีแรกก็นึกว่ามันไม่แปลก ไม่ว่าใครก็มีวิถีแบบนี้เหมือนกัน แต่พอเราได้เห็นบ้านหรือคนประเทศอื่น กรอบชีวิตในการใช้เวลาของเขา ไม่ได้มีแค่เรียนจบ ทำงาน มีเงิน อยากได้ของ ไปช้อปปิ้งคลายเครียด กินชิวๆ ถ่ายรูปเซลฟี่ โพสต์ จบ ผมว่าคนจำนวนมากอยู่ในวงโคจรแบบนี้

เพราะกรุงเทพฯเป็นผลของการพัฒนาที่กระจุกอยู่ ซึ่งพอรู้ตัวแล้วรู้สึกว่า นี่คือหายนะ เพราะว่าเราไม่มีคุณภาพชีวิตครับ ถ้าใครอยู่กรุงเทพฯ จะรู้ว่าเวลาเดินทางเป็นอย่างไร ใช้เวลานานขนาดไหน ราคาบ้านก็ขึ้น เรียกว่าการพัฒนาโดยประเด็นกำไร Speculative Urbanisms เป็นเรื่องปรากฏการณ์ใหญ่ของประเทศที่ประชาชนอ่อนแอ รู้ไม่ทัน สุดท้ายเราเคยสังเกตไหมว่า การเดินทางแต่ละครั้ง รวมทั้งอาทิตย์ใช้เงินเท่าไหร่ รวดเร็วขึ้น แต่คุณต้องยืนต่อกี่นาทีถึงจะได้ขึ้น เลวร้ายกว่ารถเมย์ในอดีตอีก กลายเป็นว่าพื้นที่ในเมือง ถ้าดูในกรุงเทพฯ นอกจากห้างในเมือง หรือที่อยู่อาศัยของชุมชน ความเป็นชุมชนในพื้นที่ที่คนมาเจอกันได้ หรือว่ามาคิดแลกเปลี่ยน หรือทำอะไรที่นอกจากวิถีที่วนเป็นลูปนี้ มันไม่มี

แล้วก็ไม่รู้จะแหวกออกอย่างไรด้วย เพราะว่าคนดูแลเมือง ดูแลประเทศ เขาก็จะอ้างแต่เศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจจะไปอย่างไร ถ้าคุณภาพคนยังเป็นแบบนี้ วนอยู่แบบนี้

ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ วันหยุด เขามีที่ให้สันทนาการ กีฬา วัฒนธรรม ซึ่งของเรา ทุกอย่างต้องซื้อ ตอนแรกผมเห็นเป็นเรื่องปกติ สนามฟุตซอลต้องเช่าเตะ แต่พอไปฮ่องกง ทำไมกลางเมืองมีสนามบอล สนามบาส สระว่ายน้ำ

กรุงเทพฯ หลอกเรา บอกว่าอยู่กลางเมืองที่แพงมากมีพวกนี้ไม่ได้ แต่เขามีกันเต็มไปหมดแล้ว แถมยังเจาะพื้นที่เป็นหย่อมหนึ่ง ๆ ด้วย เราถูกหลอกว่ามันมีไม่ได้ เรื่องพวกนี้ สวัสดิการสังคม ไม่ต้องจ่ายตังค์ เดินทางก็ใกล้ คำถามคือ แล้วภาษีเราไปไหน มีคำถามพวกนี้เยอะมากเลยว่าทำไม เราเลยมอง เมืองในฐานะว่าเป็นร่องรอยของความผิดปกติของสังคม เมืองเป็นผลผลิตของการตัดสินใจอีกที แล้วเมืองก็ช้ำขึ้นเรื่อย ๆ

เพราะฉะนั้นแปลว่า มีความผิดพลาดในการบริหารประเทศ บริหารเมืองแน่นอน ในประเทศนี้เป็นลักษณะของพื้นที่ ไม่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เจอคนที่หลากหลาย ด้วยความที่ผมไปร่วมเครือข่ายมักกะสัน ได้ศึกษาสวนสาธารณะจริง ๆ มักกะสันไม่ได้รณรงค์เรื่องสวน แต่รณรงค์เรื่อง Public space และอื่น ๆ ที่คิดว่าควรจะมี ความมีชีวิตชีวา เป็นสิ่งที่ควรจะเติมเข้าไป เราไม่ได้ขาดห้าง ขาดโรงแรม แต่เรามาคิดรวมกันว่า เราขาดอะไร แล้วเราอยากได้อะไร ควรจะเติมเข้าไป

เพราะว่าจะรอให้รัฐมาเติมให้เรา ไม่รู้ว่าต้องรออีกกี่ชาติหน้า บางทีเขาก็อาจจะลืม พอรัฐโดนเรื่องเศรษฐกิจ โดนตัวชี้วัดเข้า ที่เขาบริหารอยู่ แต่เราก็บอกว่า คิดดี ๆ ว่าตัวชี้วัดที่เหมาะกับบ้านเราจริง ๆ คือตัวชี้วัดแบบไหน ที่ใช้อยู่มันละเลยอะไรไปหรือเปล่า 4.0 อยากให้เป็น 4.0 เอามาอ้าง อยากทำจริง ๆ ถ้าอยากทำจริง ๆ Struck ที่คนดีไหม แล้วคน 4.0 จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในบริบทในเมือง ไม่มี Space ให้มารวมตัวกัน มาคุยกัน มาแสดงออก 

ถ้าเรามองกิจกรรมของคน จริง ๆ มีเฉดสีที่หลากหลายมาก ตอนนี้อยู่แค่อะไรที่คล้าย ๆ กัน อาจจะเป็นพ่อแม่ ที่พาลูกมาพื้นที่ให้วิ่งเล่น ที่เปิดจินตนาการ ที่ไม่ต้องจ่ายตังค์บ้าง เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่า เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของคนที่มีตังค์ เป็นความปกติ แล้วถ้าใครไปที่จอดรถในกรุงเทพฯ ในห้าง ผมขอให้ไปนับว่า จะสังเกตเห็นที่จอดรถที่มีบัตร VIP บัตร Sport บัตร Super VIP นั้นคือร่องรอยของความผิดปกติของสังคม

แล้วเราเห็นว่า เฉดของชนชั้นที่มีมันหลากหลายมาก แล้วเฉดของชนชั้นกลางลงมา ถูกละเลยด้วยกระบวนการอะไรบางอย่าง ถ้าเราไปเห็น เราไปเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ ที่จอดรถประเทศอื่นเป็นอย่างไร บางทีเราอาจจะไม่ได้ตั้งข้อสังเกต

เป็นความร้าวรานอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างหนึ่ง เพราะว่าจริงๆ มีหลายอย่าง กรณีของน้องแบม แบมไม่ได้เห็นแต่ตัวเองอย่างเดียว แบมกำลังมองคนที่อยู่ข้าง ๆ เห็นถัดออกไปนอกชุมชน แล้วก็มาสู่พลังของคนรุ่นใหม่ให้ขับเคลื่อนด้วย ?

เห็นครับ ผมนึกย้อนกลับไปประวัติศาสตร์ว่าอะไรพาเรามาถึงจุดนี้ เป็นคำถามที่ผมพยายามสืบค้นเข้าไปในประวัติศาสตร์ จุดที่แบมว่า มีคนกลุ่มหนึ่งหากินกับความไม่รู้ว่าเรามีสิทธิ คนเหล่านี้เล็ก ๆ น้อย ๆ เต็มไปหมด นึกไปถึงประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 7 ย้อนไปไกลเหมือนกัน พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่นาน ดูตามสถานการณ์บ้านเมือง ถ้าเราเรียนตามอาจจะรู้ว่า เศรษฐกิจตกต่ำ เริ่มมีความไม่พอใจจากการดึงข้าราชการออกในสมัย ร.6 แต่ใจความก็คือว่า พระองค์กำลังตัดสินใจว่าจะ Transform ผลักดันประเทศ ในแง่การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการใช้รัฐธรรมนูญอย่างไร

ตอนนั้นมีที่ปรึกษาคนหนึ่งคือพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) พระยากัลยาณไมตรีเป็นที่ปรึกษารัชกาลที่ 7 ถ้าใครสนใจไปดูตามพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ฟรานซิส บี แซร์มีความเห็นอันนึงที่ผมว่าน่าสนใจมาก และก็เหมือนว่าเขามีตาทิพย์อะไรบ้างที่จะเกิดกับสังคม

ฟรานซิส บี. แซร์บอกกับพระปกเกล้าฯ ว่า ในการจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือทำให้มันมีการปกครองในระบอบประชิปไตยโดยที่ประชาชนยังอ่อนแอ คือยังไม่มีความคิด ความอ่านที่เข้าใจในการปกครองตนเอง หลักการที่เข้าใจว่าสิทธิเขาคืออะไร เขาทำอะไรได้ไม่ได้ขนาดไหน ซึ่งตอนนั้นเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นอีกแบบหนึ่ง ถ้าเอาประชาธิปไตยไปใส่เลยโดยที่คนยังไม่พร้อม สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ บ้านเมืองจะลงเอยด้วยการถูกคอรัปชั่นขนานใหญ่ แล้วก็จะทำให้เกิดความล้มเหลว เท่ากับว่าเป็นการยื่นการจัดการไปให้คนเพียงบางกลุ่ม แล้วคนเพียงบางกลุ่มจะใช้ประโยชน์จากคนไม่รู้ มาคอรัปชั่น มาทำให้ประเทศไปไม่ได้

เพราะว่าช่วงนั้น ในระหว่างที่รัชกาลที่ 7 พยายามที่จะ Transform ตรงนั้น เกิดการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นบางที่ คล้าย ๆ ประเทศจีนที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ หลังจากที่ประธานเหมาสิ้น และก็มี เติ้ง เสี่ยว ผิง เข้ามาเป็นทุนนิยม เขาก็ขีดวง แล้วก็เริ่มเป็นเขตทดลองการ Transform ประเทศ กรณีนั้นคือ เสินเจิ้น ที่พยายามจะเปลี่ยน ประเทศไทยก็พยายามแบบนี้กับเรื่องการเมือง แต่วงจรถูกตัดตอนโดยการปฏิวัติ ปฏิวัติไม่นาน สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น นักศึกษาประวัติศาสตร์จะรู้ว่า
อเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าโลก

เกี่ยวอะไรกับประเทศไทย 

เกี่ยวครับ เพราะว่าประเทศไทยคือจุดยุทธศาสตร์ มีฐานที่เข้าไปดูแลเรื่องเวียดนาม ปรากฏว่า นโยบายการพัฒนาประเทศหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาหลายๆ อย่าง นโยบายศูนย์กลางเป็นหลัก การตัดถนนมิตรภาพ ก็เป็นฝีมืออเมริกาทั้งนั้น โดยที่อเมริกาเขาไม่ได้ทำโต้ง ๆ เขาเข้ามาแบบเนียน ๆ มีศูนย์วิจัย มีสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีสภาวิจัย มีสภาการศึกษา ถ้าภาษาที่ผมพูดกับตัวเองก็คือ ไหน ๆ จะครอบก็ต้องครอบให้เป็นระบบ เพราะฉะนั้นการที่เราเห็นอะไรแปลก ๆ หรือทำไมส่วนกลางบดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำไมไม่ให้ความสำคัญ ผมคิดว่า ไม่มากน้อยมันเป็นผลพวงของกระบวนการนั้น

แต่คำถามก็คือ แล้วเมื่อไหร่ประเทศเราจะมีความเป็นตัวของตัวเองในการพัฒนาประเทศเสียที

นี่คือคำถามที่เราคิดว่า คำตอบอาจจะไม่ได้ถูกกำหนดมาจากด้านบนหรอก อาจจะไม่ได้ตอบด้วย 4.0 เพราะถามคนรุ่นเรา เราก็รู้สึกว่า ประเทศไปสู่เทคโนโลยี เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราอยู่แล้ว การมีเทคโนโลยีเป็นธง เท่ากับไม่มีนโยบายหรือเปล่า แต่ว่าการเอาเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับทุนทางสังคม แบบที่ประเทศเรามีแล้วประเทศอื่นไม่มี อันนี้น่าจะเป็นคำถามทิศทางในเชิงการพัฒนามากกว่า

ถ้าเรามองจากนโยบายที่ออกมาตอนนี้ ยังไม่เห็นสัญญาณเลย ยิ่งพอมีรัฐบาลที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาอยู่ ก็จะยิ่งรวมศูนย์โอกาสที่ความหลากหลายในยุคนี้จะเบ่งบานก็ยิ่งน้อยลงไปอีก

แต่ถ้าผมมองเชิงปรากฏการณ์ทางสังคม จะเห็นว่า ไม่ว่าจะลงเอยอย่างไรในช่วงนี้ ก็จะสามารถก้าวข้ามไปอีกอย่างหนึ่งอยู่ดี แล้วถึงวันนั้นสังคมอาจจะเบ่งบานเกิดขึ้น มีความหลากหลายอะไรเกิดขึ้นได้มากกว่าที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าคำตอบในอนาคตจะเป็นอย่างไร วันนี้เรายังต้องการคำว่า กระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นอยู่ดี ต้องเชื่อว่าสิทธิในการกำหนดอนาคตไม่มากก็น้อยอยู่กับพวกเราอยู่ แล้วไม่ว่าข้างนอกจะเป็นอย่างไร นโยบายรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญเราต้องเชื่อว่า เราทำได้ มีความเชื่อในตัวเอง อย่าให้ความเชื่อนั้นตาย เพราะนี่คือหน่อของประเทศ

ชมวงสนทนา “หนุ่มสาวผู้ (ไม่ทน) ร้าวราน : อุดมการณ์ ความฝัน และการขับเคลื่อนสังคมของคนรุ่นใหม่” ย้อนหลังได้ที่

Live [สด] สนทนา หนุ่มสาวผู้ (ไม่ทน) ร้าวราน

Live [สด] JAM สัญจร จ้าาาาพบกับวงสนทนา หนุ่มสาวผู้ (ไม่ทน) ร้าวราน : อุดมการณ์ ความฝัน และการขับเคลื่อนสังคมของคนรุ่นใหม่ .พร้อมพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ประกอบด้วย1. ฟิล์ม – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ แอดมินเพจเกรียนการศึกษา และหนึ่งในตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่ในนามองค์กรนิวกราวด์2. แบม – ปณิดา ยศปัญญา นิสิตสาขาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม3. โอม – อวิรุธ อรรคบุตร โปรดิวเซอร์ ภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรีส์4. อาทิตย์ โกวิทวรางกูร หนึ่งในคนเล็กเปลี่ยนเมือง สมาชิกเครือข่ายมักกะสันดำเนินรายการโดย วิภาพร วัฒนวิทย์ ผู้ประกาศข่าว ไทยพีบีเอส.ที่ ห้องฉายภาพยนตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม6 เม.ย. 61 เวลา 13.30 น. .มาร่วมแลกเปลี่ยนอุดมการณ์ ความฝัน และขับเคลื่อนสังคมของคนรุ่นใหม่ไปกับเรา.JAMชวนแจม #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS

โพสต์โดย JAM เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2018

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ