‘ไทยแลนด์ 4.0’ ความรุนแรงและความท้าทายต่อแรงงานหญิง

‘ไทยแลนด์ 4.0’ ความรุนแรงและความท้าทายต่อแรงงานหญิง

แรงงานหญิงเปิดวงเสวนา ‘ไทยแลนด์ 4.0 ความรุนแรงและความท้าทายต่อแรงงานหญิง’ วาระการณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ชี้ปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาที่ไม่ใช่แค่แรงงาน การต่อสู้ต้องอาศัยความร่วมมือกัน

ที่มา: สุนี ไชยรส

23 พ.ย.2560 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กลุ่มสตรีและเยาวชน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet) ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศ (wemove) ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมจัดเสวนานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ความรุนแรงและความท้าทายต่อแรงงานหญิง ณ ห้องประชุมโรงอาหารชั้น 2 บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะแขวงหลักสี่ กรุงเทพฯ

สุนี ไชยรส ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติซึ่งรัฐบาลได้ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสิ่งที่ก้าวถึงการพัฒนาที่ต้องการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี โดยมีการกำหนดเรื่องศาสตร์พระราชาเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่านโยบายที่มีการนำเสนอนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่อาจกระทบกับการใช้แรงงาน และการที่รัฐประกาศให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งหากย้อนไปเรื่องการรับฟังความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญ หรือการพัฒนายังนำไปสู่การไม่รับฟังความต้องการของประชาชน

การพัฒนา 4.0 การที่แรงงานจะได้รับผลกระทบกับชีวิตแรงงานในอนาคต และพื้นที่ทำกินของประชาชน และการที่รัฐยังใช้กฎหมายจำนวนมากที่เข้าคิวผ่าน สนช. ที่ไม่มีการรับฟังประชาชนและไม่มีการมีส่วนร่วม การชุมนุมก็ทำไม่ได้ วันนี้ชาวนา ประชาชนถูกจับ และอุ้มหายไปจำนวนมาก การที่ไม่เปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมทำให้กฎหมายนั้นจะส่งผลกระทบกับประชาชนจำนวนมาก การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเศรษฐกิจมีผลกระทบกับแรงงานด้วย

ความท้าทายก็คือ มีประชาชนจำนวนมากที่ต้องติดคุก ความเดือดร้อนจากเขตเศรษฐกิจที่เกิดผลกระทบกับแรงงาน และชุมชน เพราะว่า กฎหมายมีการยกเว้นจำนวนมาก ผลกระทบต่อแรงงาน การที่จะฟ้องร้องไม่ใช่เรื่องง่ายทีเดียว แต่ว่าในเรื่องการฟ้องการใช้อำนาจรัฐนั้นยังไม่ค่อยได้ใช้มากนัก ตอนนี้มีกลุ่มแรงงานได้ไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองกรณีบำนาญชราภาพ เป็นความท้าทายว่าจะมีการรับฟ้องหรือไม่ เพื่อให้เกิดระบบสวัสดิการที่มั่นคง ผู้หญิงต้องการความมั่นคงในครอบครัว และความอยู่รอด ซึ่งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต้องเป็นการต่อสู้แบบร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ด้วยไม่ใช่แค่เรื่องแรงงาน ต้องมีการสู้ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ด้วย เพราะนโยบายดังกล่าวมีผลกระทบกับคนจำนวนมากไม่ใช่แค่แรงงาน

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า สถานการณ์เวลาที่ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ไม่ใช่แค่เรื่องในครอบครัวเท่านั้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการทุบตี อาจเห็นได้จากภาพเบื้องหน้า แต่ความรุนแรงที่เกิกจากสิทธิและกฎหมายเป็นการกระทำจากอีกชนชั้นกับอีกชนชั้น แม้ว่าเรามีคนที่มากกว่า แต่ว่าด้วยความอ่อนแอทั้งระบบการจัดการที่ภาครัฐกระทำต่อประชาชน สิ่งที่ละเมิดอยู่นี้จะมีการสร้างอย่างไร ทางเศรษฐกิจก็ถูกขูดรีด และต้องแกะออกมา ด้วยคนข้างล่างที่ไม่ตระหนักและกดทับถูกกระทำจนเคยชินนี่คือความทุกข์ทรมานมากกว่า

ภายใต้นโยบายที่พัฒนามาจนถึง 4.0 จะทำให้คนถูกกระทำจนไม่เหลือความเป็นมนุษย์ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรง ทุกฝ่ายต้องไม่กระทำต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและต้องไม่ดูดายเมื่อเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการที่รัฐใช้นโยบาย 4.0 การพัฒนารัฐวิสาหกิจที่มีการตั้งบรรษัทที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนซึ่งตอนนี้มีการจัดการ 11 แห่ง และต่อไปก็จะเกิดขึ้นต่อรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ต่อไป และการที่รัฐบาลออกกฏหมายก็เพื่อที่จะจัดการกับประเทศ และการที่มีเขตปลอดกฏหมาย ปลอดสหภาพแรงงานมีการส่งเสริมให้กับทุนขนาดใหญ่กับสังคมที่ภาคตะวันออก

การที่รัฐเน้นนโยบายการพัฒนาประเทศแบบมองเพียงระบบทุน โดยไม่ได้มีการจัดระบบสวัสดิการให้แก่ประชาชน เห็นได้จากนโยบายประกันสังคมเองรัฐก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญไม่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพและไม่จ่ายเงินสมทบที่ติดค้าง การที่รัฐจัดการนโยบายโดยไม่สนใจเรื่องความเป็นคน และประชาชน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงแรงงาน แต่มีทั้งชุมชน การใช้นโยบายการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน การจะรอให้สถานการณ์มีความสุกงอมแล้วลุกขึ้นสู้อาจช้าไปแต่การที่จะปล่อยให้เกิดความขูดรีดไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำอะไรเลยได้อย่างไร ต้องร่วมกันผลักดันส่งเสียงเพื่อสร้างความเป็นธรรม

ภัณตรี เจริญศักดิ์ ประธานกลุ่มสตรี Team กล่าวว่า ประเทศไทยมีการกระทำความรุนแรงสูงมากปีละ 30,000 กว่าคดี จากคดีเหล่านี้มีเพียง 3% ที่แก้ไขได้ ทำไมผู้หญิงจึงถูกกระทำความรุนแรง และการที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงเพราะเราต้องพึ่งพิง และการที่ไม่รู้ว่าจะให้ใครมาช่วยเหลือ ซึ่งในส่วนนี้เกิดขึ้นกับเด็กและผู้หญิงที่สูงอายุ การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เป็นแรงงานมีจำนวนมากในการเลิกจ้างด้วยการตั้งครรภ์ และหลายครั้งที่มีการต่อสู้ด้านคดีความ หรือแม้แต่การจบด้วยการรับเงินช่วยเหลือจากนายจ้าง แต่ว่าไม่ใช่จะทำให้เราไม่เหลือศักดิ์และศรีในการต่อสู้ ด้วยว่าเรายังต่อสู้กันด้วยความต้องการที่จะเข้าไปทำงาน หรือบางรายสู้จนได้กลับเข้าไปทำงานแต่ว่านายจ้างอาจไม่ได้ให้งานทำอยู่เฉยๆ

การต่อสู้ของแรงงานหญิงด้วยนโยบายรัฐในการพัฒนาทำให้ถูกเลิกจ้าง ถูกนายจ้างปิดกิจการทิ้งทำให้แรงงานได้รับผลกระทบมาก เพราะว่าการที่แรงงานหญิงคนหนึ่งถูกเลิกจ้างไปนั้นต้องกระทบคนที่เขาดูและอยู่ด้วย ผลพวงจากการไม่มีงานทำทำให้สังคมมีปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ ที่รายได้ของผู้หญิงดูแลอยู่ การเลิกจ้างคนเพียงคนเดียวกระทบกันทั้งสังคมทีเดียว

การที่รัฐประกาศนโยบาย 4.0 ซึ่งความเสี่ยงยังอยู่กับแรงงานหญิงจำนวนมากในสังคมด้วยการจ้างงานส่วนใหญ่ยังเป็นผู้หญิง การบังคับใช้กฏหมายไม่ใช่การทำให้เกิดความเป็นธรรมด้วยเงินค่าชดเชย การดูแลแรงงาน ทุกคนต้องการที่จะมีงานทำอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ใช่ปล่อยให้แรงงานหญิงต้องเอาตัวรอด การดำเนินคดีในศาลเองใช้เวลานานมากในการที่จะเข้าถึงความเป็นธรรม ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่ตัวเงินที่นายจ้างจ่ายเท่านั่น มันต้องดูแลชีวิต และอนาคตของแรงงานด้วย

ข้อเสนออย่างให้แรงงานมีเสรีภาพในการรวมตัวตามองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีการให้สิทธิในการดูแลแรงงาน และต้องการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานกับแรงงานกำหนดในรัฐธรรมนูญ ต้องการให้เกิดการดูแลทางกฎหมายด้านสิทธิในจริง ไม่ใช่เพียงการจ่ายเงินชดเชยแล้วจบ การดูแลต้องยึดหลักมนุษยชนด้วย ต้องมีช่องทางในการดูแลเมื่อเกิดปัญหา การดูแลเพื่อให้ความรู้ช่องทางที่จะร้องเมื่อถูกกระทำการละเมิดสิทธิ หรือความรุนแรงทางเพศ

สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง นักสิทธิแรงงาน กล่าวว่า การประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ไม่ใช่การประกาศเพื่อประชาชนแต่เป็นการทำตามช่วงเวลาที่รัฐนั้นต้องการร่วมรณรงค์ เช่น จะไปประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และเมื่อโลกประกาศสัปดาห์ด้านสิทธิมนุษยชนก็มีการประกาศเรื่องนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ข่าวก็มีการนำเสนอ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนทันที การที่มีการรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงแต่ว่ากลับเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น คนจำนวนมากๆ 40% เป็นผู้หญิงและ 5% เป็นผู้ชาย ซึ่งนโยบายที่รัฐบาลไปประกาศนั้น กลับมาก็ไม่ได้ทำตามที่ประกาศ

สิ่งที่รัฐประกาศรับรับรองอนุสัญญากลับมาก็มีกำหนดคำว่า เว้นแต่กฏหมายกำหนด การใช้นโยบาย 4.0 แต่การแสดงความคิดเห็นไม่สามารถทำได้อย่างเสรี เช่นการที่รัฐให้ตอบคำถามก็ต้องไปสิ่งที่รัฐบาล การปฏิรูปส่วนใหญ่ก็เป็นเพศชาย แล้วจะให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างไร การยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงต้องไม่กระทำการรุนแรงทั้งวาจาและพฤติกรรม และต้องหยุดสร้างและขยายวาทกรรม ซึ่งผู้ชายส่วนมากที่กระทำความรุนแรง เช่น การหยอกล่อกับผู้หญิง การจับมือโอบกอด คิดว่าเป็นการกระทำการคุกคาม และกระทำการรุนแรงต่อผู้หญิง การกระทำต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ