เบื้องหลังความคิด : ‘ที่นี่บ้านเรา’ รายการสารคดีที่เล่าเรื่องบ้านของเราด้วยตัวเราเอง

เบื้องหลังความคิด : ‘ที่นี่บ้านเรา’ รายการสารคดีที่เล่าเรื่องบ้านของเราด้วยตัวเราเอง

20150603112819.jpg

แนวคิดรายการ : ความเข้มแข็งของ “สื่อสารมวลชน” ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยปัจจัยการมีเทคโนโลยีโทรคมนาคมขั้นสูง เครื่องมือการผลิตสื่อทันสมัย หรือช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเท่านั้น แต่ความเข้มแข็งดังกล่าว ยังหมายรวมถึงการทำให้พัฒนาประชาชนทุกกลุ่มให้สามารถใช้เครื่องมือการสื่อสารที่มีอยู่ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่สื่อสารสาธารณะให้สื่อและเสียงเหล่านั้นปรากฏสู่สังคมวงกว้างด้วย

ทำไมการ “ให้พื้นที่” สื่อสารสาธารณะต่อกลุ่มคนที่หลากหลายจึงสำคัญ?

นี่อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่เราต่างรู้ว่า สังคมที่กว้างขึ้น ความสลับซับซ้อนของผู้คนในที่ต่างๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไป การทำหน้าที่ของผู้มีอาชีพเป็น “สื่อมวลชน” แต่เพียงฝ่ายเดียวอาจไม่เพียงพอ และไม่มีอะไรรับประกันว่าเสียงที่ถูกสื่อออกไปโดยผ่านการคัดกรองของนายทวารข่าวสาร (Gate Keeper) จะถูกต้อง หรือตรงอย่างที่ “เจ้าของบ้าน” ต้องการ

การทำให้เกิดสื่อสารมวลชนระดับชุมชน บอกเล่าเรื่องราวในบ้านของตนเอง ด้วยน้ำเสียง และมุมมองของตนเอง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใน “บ้านของตนเอง” จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่เราอาจนิยามได้ว่า นี่คือ “ประชาธิปไตยทางการสื่อสาร” และนี่คือแนวคิดของการเกิดรายการต่างๆ ของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส รวมทั้งรายการ “ที่นี่บ้านเรา”

20150603112811.jpg

รูปแบบการนำเสนอ : สารคดีดูสนุกที่เล่าเรื่องต่างๆ ผ่านปากคำ และให้คุณค่ากับ “ชีวิตผู้คน” ในบ้านแห่งนั้น “บ้าน” ที่มีความหมายมากกว่าโครงสร้างอาคาร แต่เป็นชุมชนที่บรรจุชีวิตของผู้คนที่มีวิถีผูกพัน มีประสบการณ์ร่วมกัน และเป็นบ้านที่มีความหมายมากกว่าเขตแดน 

“ที่นี่บ้านเรา” ยังมีความหวังเล็กๆ อยากเห็นสารคดีเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กระตุ้นคนในชุมชนให้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและงอกงามตามปรารถนาของผู้คนในบ้านแห่งนั้น

เวลาออกอากาศ :  ทุกวันพุธ เวลา 13.30 – 14.00 น. ไทยพีบีเอส

ความยาว : 24 นาที

กลุ่มเป้าหมาย : คนวัย 30 ปีขึ้นไป ที่สนใจประเด็นเรื่องท้องถิ่น ชาติพันธุ์ สิ่งแวดล้อม การเมือง สิทธิชุมชน ฯลฯ

20150603113524.jpg

อัตลักษณ์รายการ : หากเป็น “ลายนิ้วมือ” นี่คือรหัสของชีวิตที่แต่ละคนต่างก็มีลายก้นหอยเป็นของตนเอง หากเป็น “ลายเส้นศิลป์” นี่คือสัญลักษณ์ของการเลื่อน เคลื่อน หมุน การใช้ลายก้นหอยมาออกแบบเพื่ออธิบายว่า แต่ละถิ่นฐานล้วนมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะเลื่อนไหลไปพร้อมกับโลกเช่นกัน

20150603112749.jpg

20150603112829.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ