“ร้องไห้หนักมาก?” สนช.ผ่านร่าง 1 ควบรวม – 4 มหา’ลัย ออกนอกระบบ ฉลุย!

“ร้องไห้หนักมาก?” สนช.ผ่านร่าง 1 ควบรวม – 4 มหา’ลัย ออกนอกระบบ ฉลุย!

26 มี.ค. 2558 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 18/2548 มีการพิจารณารับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ รวดเดียว 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งผ่าน ครม.แล้ว ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. …. 2.ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. …. 3.ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. …. และ 4.ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …. ส่วน ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. …. เป็นการรวมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ขั้นต่อไปคือการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน 15 คน แปรญัตติ 7 วัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน

ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน ที่บริเวณหน้ารัฐสภา กลุ่มแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ เข้ายื่นหนังสือคัดค้านโดยมีเอกสารลงนามนักศึกษากว่า 2,000 รายชื่อที่ไม่เห็นด้วยกับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ทั้ง 5 ฉบับ ที่อยู่ในวาระการพิจารณาของ สนช.ส่งถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เรียกร้องให้ สนช.ถอนร่างกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องออกจากวาระการพิจารณาทันที

นอกจากนี้ กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้มีการอ่านคำประกาศ (คลิกอ่าน) และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการจุดไฟเผาพวงหรีดซึ่งมีป้ายข้อความว่า ‘ม.นอกระบบ’ แสดงความไม่เห็นด้วยและไว้อาลัยให้แก่สมาชิก สนช.ที่มาจากสายอธิการบดี โดยกิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์อย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ 

มติชนออนไลน์ รายงานบรรยากาศในการประชุม สนช.ว่า ที่ประชุมมีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช.คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน ได้พิจาณาเรื่องด่วน ร่างพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. … โดยมีสาระสำคัญคือ ในมาตรา 36 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลเพื่อให้ดำเนินกิจการโดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การดูแลของสภาสถานศึกษา เพื่อให้สามารถระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มศักยภาพทางวิชาการ 

โดยรวมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อร่วมผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์และพื้นที่ใกล้เคียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสมาชิก สนช.ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการเปิดสาขาวิชาจะต้องตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นที่เกิดขึ้นมานานแล้วและได้รับความนิยมมากกว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยจะต้องมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อตอบสนองให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ภายหลังที่ประชุมได้มีมติรับหลักการวาระแรกด้วยคะแนน 156 ต่อ 1 งดออกเสียง 2 ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน 15 คน

ต่อมาได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหานำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. … และร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. …

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ได้ชี้แจงว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ปรับปรุงการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัว สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเป็นอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุน โดยเฉพาะสมาชิกที่มาจากสายอธิการบดีมหาวิทยาลัย อาทิ นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (นิด้า) นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 

นางสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดี มศว.ระบุว่า ขอบคุณรัฐบาลที่กล้าหาญในการเสนอร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 4 แห่งเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.หากเป็นภาวะปกติ นักการเมืองก็จะห่วงฐานเสียงตนเอง จึงไม่ได้ลำดับความสำคัญในเรื่องนี้เป็นลำดับต้นๆ สิ่งทีเป็นกังวลว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือที่เรียกกันติดปากว่า ม.นอกระบบนั้นจะทำให้ค่าเล่าเรียนสูงขึ้นนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะดูจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ออกนอกระบบไปแล้วค่าเล่าเรียนก็เท่ากับมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์แล้วจึงไม่น่ากังวลอะไร 

ส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็เท่ากันเช่นกันไม่มากกว่าหรือน้อยกว่า จึงสามารถดูแลนักศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน เพียงแต่แตกต่างกันที่การบริหารงานที่มีความคล่องตัวสูง มีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระมากขึ้นอีก รวมทั้งจะได้คนดีคนเก่งเข้ามาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามร่าง พ.ร.บ.นี้ไม่ได้หมายความว่า เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยของที่ต้องได้รับการตรวจสอบเช่นเดียวกัน

ด้านนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า พร้อมรับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของสมาชิกไปพิจารณา ทั้งนี้คำถามที่เป็นข้อข้องใจของนักศึกษาก็มาในลักษณะนี้ 20 ปีแล้ว ซึ่งก็ให้ สกอ.ได้ศึกษาเชิงระบบ แต่เรื่องค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยสังกัดราชการศึกษา ส่วนเสรีภาพทางวิชาการยืนยันว่าไม่น้อยกว่าเดิมทั้งในด้านการศึกษาและงานวิจัย สำหรับความรับผิดชอบแม้จะมีอิสระในการดูแลตัวเอง ความรับผิดชอบก็จะเพิ่มขึ้น

จากนั้นที่ประชุมได้มีมติรับหลักการในวาระแรกทั้ง 4 ฉบับ พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คน 4 คณะขึ้นมาเพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวอยู่ในการจับตาของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่คัดค้านการนำมาหวิทยาลัยออกนอกระบบ

 

 

นาย วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อดีตอธิการบดี ม.เกษตร ซึ่งนั่งอยู่ใน สนช.ยุครัฐบาลหทหาร และตอนนี้ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งคณะกรรมการวิสามัญ 1 ใน 15 คน พรบ. ม.นอกระบบ ม.กาฬสินธุ์ สมใจแล้วละสิครับ

Posted by กลุ่มเสรีนนทรี ม.เกษตรศาสตร์ on Thursday, March 26, 2015

 

 

 

“ร่างเอง เสนอเอง ยกมือเอง ไร้การมีส่วนร่วม”วันนี้ เวลา 16.46น. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญ…

Posted by ธรรมศาสตร์ออกนอกระบบ ถามนักศึกษาหรือยัง? on Thursday, March 26, 2015

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ