โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แสดงความเสียใจ ขอโทษต่อครอบครัวพลทหารทรงธรรมที่ถูกทำโทษจนเสียชีวิต ขอโทษสังคมกับเหตุที่เกิดขึ้น สั่งการดูแลครอบครัวเต็มที่ ลงโทษขังนายทหาร 30 วัน – นายสิบ 45 วัน ด้านครอบครัวแจ้งความเอาผิดถึงที่สุด ส่วนมูลนิธิผสานวัฒนธรรมออกแถลงการณ์ ชี้ขาดหลักประกันทางกฎหมายและทางปฏิบัติ ที่จะยุติการซ่อมทหารจนตาย
5 เม.ย. 2559 ความคืบหน้ากรณีพลทหารทรงธรรม หมุดหมัด อายุ 23 ปี พลทหารสังกัด ร้อย ร.152 พัน 1 ค่ายพยัคฆ์ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ถูกทำโทษโดยการทำร้ายร่างกาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัส และถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ห้องไอซียูโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ก่อนที่จะเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา
มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (5 เม.ย. 2559) เวลา 09.30 น. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พันเอกปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. เปิดเผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางพลโทวิวรรธ์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาค4 และกองทัพภาคที่ 4 ต้องขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของทหารที่เสียชีวิต และต้องขอโทษญาติของผู้เสียชีวิต รวมทั้งขอโทษสังคมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
พันเอกปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ทางท่านแม่ทัพภาค 4 ได้สั่งการให้ทางกองทัพภาค 4 ดูแลครอบครัวของพลทหารที่เสียชีวิตอย่างเต็มที่ และสั่งการให้กองพลทหารราบที่ 15 ตั้งคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งหลังจากผลการตรวจสอบก็พบว่า มีนายทหาร 1 นาย และนายสิบ 6 นาย มีความผิดจริง ในเหตุการณ์ดังกล่าว
ในเบื้องต้น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ได้ใช้อำนาจในการลงโทษกำลังพลจำนวน 7 นาย ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติเกินกว่าเหตุ โดยสั่งคุมขัง นายทหาร 1 นาย จำนวน 30 วัน ส่วนนายสิบ 6 นาย จำนวน 45 วัน จากนั้นในส่วนของคดีอาญา ก็จะอยู่ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวน ที่จะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ส่วนแนวหน้ารายงานว่า วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. วิจิตรา ช่อมณี มารดาของพลทหารทรงธรรม พร้อมญาติ ได้เดินทางไปยัง สภ.เมืองยะลา เพื่อเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และรับใบมรณะ โดยทางญาติอยู่ระหว่างการหารือ เพื่อให้แพทย์ผ่าพิสูจน์ศพของพลทหารทรงธรรม เพื่อหาสาเหตุของการเสียชีวิตตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อคืนที่ผ่านมา ญาติได้เดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.บันนังสตา ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อเอาผิดกับนายทหารที่ร่วมก่อเหตุรุมทำร้ายพลทหารทรงธรรมแล้ว
วิจิตรา มารดาของพลทหาร ทรงธรรม กล่าวว่า เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบุตรชายเพียงคนเดียว ส่วนการให้ความช่วยเหลือ และการรับผิดชอบจากหน่วยงานต้นสังกัดนั้น ทาง พ.ท.สมคิด คงแข็ง ผู้บังคับการกองพัน ให้การดูแลอย่างดี พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ทหารมาอำนวยความสะดวกดูแลสภาพจิตใจ ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยากให้มีการนำตัวผู้ร่วมกระทำความผิดมาลงโทษอย่างถึงที่สุด
ด้านมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเผยแพร่แถลงการณ์ กรณีพลทหารเสียชีวิตรายล่าสุดหลังถูกซ่อมที่ค่ายพยัคฆ์ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ชี้ขาดหลักประกันทางกฎหมายและทางปฏิบัติ ที่จะยุติการซ่อมทหารจนตาย
รายละเอียด ดังนี้
แถลงการณ์มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กรณีที่มีรายงานข่าวอย่างกว้างขวางเรื่องพลทหารทรงธรรม หมุดหมัด อายุ 23 ปี และพลทหารฉัตรพิศุทธ์ ชุมพันธ์ อายุ 23 ปี พลทหารสังกัด ร.152 พัน 1 ค่ายพยัคฆ์ อ.บันนังสตา จ.ยะลา หลังจากที่พลทหารทั้งสองถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดวินัยทหารจึงถูกปรับปรุงวินัย (ซ่อม) ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2559 พลทหารทรงธรรมได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกส่งตัวมารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ต่อมาพลทหารทรงธรรมฯ ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ส่วนพลทหารฉัตรพิศุทธ์ ชุมพันธ์ ได้รับบาดเจ็บและยังคงรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร (3) กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตาม แต่จะกำหนดให้ (4) ขังคือขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มีคำสั่ง (5) จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหาร นอกจากทัณฑ์ที่กล่าวไว้นี้ ห้ามมิให้คิดขึ้นใหม่ หรือใช้วิธีลงทัณฑ์อย่างอื่นเป็นอันขาด อาการบาดเจ็บสาหัสของพลทหารทั้งสองคนจนกระทั่งมีคนหนึ่งเสียชีวิตนั้นแสดงให้เห็นว่า วิธีการที่ผู้บังคับบัญชาใช้ในการลงโทษทางวินัยพลทหารทั้งสองนั้น เป็นวิธีการที่ผิดไปจากกฎหมายกำหนดอย่างชัดเจน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องประติบัติ ตามพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานหรือการประติบัติ อื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี โดยกำหนดให้ การทรมาน เป็นความผิดทางอาญา เพื่อเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะสามารถใช้นำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม กำหนดมาตรการในการป้องกัน และการสืบสวนสอบสวนคดีทรมานที่มีประสิทธิภาพ ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะการซ้อมทรมานที่เกิดขึ้นในค่ายทหาร เช่นการ “ซ่อม” ทหารในกรณีที่เกิดขึ้นนี้ หรือในสถานที่ควบคุมตัวหรือคุมขังและเรือนจำ รวมทั้งการแก้ไขเยียวยาผู้เสียหาย หรือผลกระทบต่อครอบครัวของผู้เสียหายอย่างได้ผล เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุที่เป็นสถานที่ของทางราชการฯ หรือของหน่วยงานอื่น อาจไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานที่ หรือยังไม่มีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ หรือเป็นมืออาชีพมากพอ ส่งผลให้ไม่สามารถนำข้อเท็จจริงเข้าสู่สำนวนได้ตรงและสอดคล้องกับความจริง ทำให้คดีไม่กระจ่างคงไว้ซึ่งความสงสัยของสังคมและญาติส่งผลให้ประชาชนขาดความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมไทย แต่การสืบสวนสอบสวนกรณีต่างๆ เหล่านี้และกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน ก็ยังไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาเหล่านั้นต้องรับผิดชอบทั้งทางวินัยและอาญาแต่อย่างไร สร้างความสงสัยและกังวลให้กับญาติและสาธารณะชนเป็นอย่างมาก 2.ขอให้รัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมเร่งดำเนินการตรา พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ให้สอดคล้องกับหลักการสากล โดยกำหนดให้การซ้อมทรมานหรือการประติบัติ ที่ทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือยำยีศักดิ์ศรี เป็นความผิดทางอาญา กำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการซ้อมทรมาน และในการชดใช้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมาน ทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจ ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้กับประชาคมระหว่างประเทศและในระหว่างการทบทวนรายงานสิทธิมนุษยชนต่อองค์กรสหประชาชาติ 3.ขอให้รัฐบาลยยอมให้คณะกรรมการอิสระเข้าตรวจสอบสถานที่คุมขังได้ ตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ทำไว้ในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการหนึ่งที่ คณะกรรมการการต่อต้านการทรมานได้เสนอแนะต่อรัฐบาลไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2557 เกี่ยวกับการตรวจสอบและการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขัง ในย่อหน้าที่ 24 ว่า คณะกรรมการฯ ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานสามารถเข้าตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังได้ รวมทั้งองค์กรเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เมื่อมีการร้องขอและได้รับอนุญาตก่อน คณะกรรมการฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้อยแถลงของคณะผู้แทนของประเทศไทยที่ว่าจะดำเนินการภาคยานุวัติพิธีสารเลือกรับต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมาน- OPCAT ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสถานที่คุมขัง จึงยังคงห่วงใยว่า สถานที่คุมขังทุกประเภทและทั้งหมดมีการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระ และสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ 4.ขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจาก คณะกรรมการการต่อต้านการทรมาน องค์กรสหประชาชาติ ว่าด้วย (ก) ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโดยการตรวจเยี่ยมปกติ และการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยการตรวจสอบระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นอิสระ การตรวจสอบยังรวมถึงการตรวจสอบจากองค์กรเอกชน เพื่อป้องกันการทรมานและการประติบัติ และการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (ข) นำเสนอข้อเสนอแนะจากการตรวจเยี่ยมเผยแพร่สู่สาธารณะ และติดตามผลของระบบการตรวจสอบดังกล่าว (ค) เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ เวลา และระยะเวลาการตรวจสอบ รวมถึงการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ตามสถานที่ที่ทำให้สูญสิ้นเสรีภาพ ตลอดจนข้อค้นพบและการติดตามผลของการตรวจเยี่ยมดังกล่าว (ง) ให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และจัดตั้งกลไกป้องกันแห่งชาติ |