ทัศนะปฏิรูป ในสายตา สปช.หาญณรงค์

ทัศนะปฏิรูป ในสายตา สปช.หาญณรงค์

20141711133940.jpg

โดย รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน

“วันนี้มันเปิดโหมดในการปฏิรูปแล้ว เป็นเรื่องจำเป็นที่ประชาชนต้องขับเคลื่อน เพราะประเทศหยุดนิ่งไม่ได้ ใครจะมาใครจะไป ข้อเสนอของภาคประชาชนต้องไปสู่นโยบายให้ได้” ประโยคที่หนักแน่นของ หาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

จากประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจดการน้ำอย่างบูรณาการ นักพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ที่ต่อสู้บนเส้นทางการอนุรักษ์มาอย่างยาวนาน วันนี้ก้าวสู่บทบาทสำคัญในการมีส่วนกำหนดทิศทางประเทศไทยในการปฏิรูปครั้งนี้ สปช.เอ็นจีโอสายสิ่งแวดล้อม มองการปฏิรูปครั้งนี้อย่างไร คำสนทนานี้อธิบาย
 
ที่ผ่านมาในเรื่องการจัดการที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคม การจัดการทรัพยากร หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเมือง การทุจริตคอร์รัปชั่น หรือในเรื่องอื่นๆ ก็ตาม ที่ผ่านมามีบทเรียนข้อสรุปบางส่วน พอถึง ณ วันนี้ ทั้งส่วนราชการ ภาคประชาสังคม และสังคมโดยรวม ต้องการเห็นการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่มิติที่ดีมากขึ้น บางเรื่องเป็นเรื่องที่ล้าสมัย เช่นกฏหมายบางฉบับใช้มา 60 ปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เวลาส่วนราชการจะหยิบมาใช้ก็แล้วแต่อำเภอใจ เพราะฉะนั้นความเหลื่อมล้ำในเรื่องการบังคับใช้กฏหมาย ความไม่ทันสมัยทันสถานการณ์ของกฎหมายก็ยังดำรงอยู่

รัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือ ปี 2550 จนมาสู่การรัฐประหารในช่วงที่ผ่านมา สังคมไทยได้บทเรียนรู้มาก ที่จะมีข้อเสนอในการมองไปข้างหน้า โดยจะให้ประเทศไทยสมควรจะไปสู่จุดไหน โดยเอาบทเรียนที่ผ่านมาเป็นตัวตั้ง ซึ่งสถานการณ์การปฏิรูปในวันนี้ คิดว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่แนวทางจะตรงกันได้อย่างไร
 
เวลาหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน เวลาจัดวางยุทธศาสตร์เขาจะมอง 10 ปี 20 ปี ถ้าวันนี้เรามองแต่ปัญหาที่อยากแก้เฉพาะจุด โดยไม่มองว่าในอนาคตข้างหน้าคนไทย 80 ล้านคน ทรัพยากรมีอยู่เท่านี้ ปัญหาเรื่องที่ดิน ปัญหาเรื่องป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากพอสมควร การปรับแก้ไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นอีก เราก็ต้องมองไปข้างหน้า ปรับแก้พฤติกรรม ความเข้าใจ กฏระเบียบ ข้อบังคับข้อกฏหมายที่เป็นอยู่ค่อแก้ตามระยะทาง เช่นมองสั้น 5 ปี กลาง 10 ปี มองระยะยาว 20 ปี จะได้มองถูกว่าตรงไหนสมควรจะแก้ไม่แก้
 
รอเพียงอย่างเดียวในช่วงเวลาไม่มากนี้ ตั้งแต่เริ่มนับหนึ่งของการมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผมคิดว่าภาคประชาชนต้องขยับให้เร็ว หาข้อตกลงกันให้ได้เพื่อทำให้ข้อเสนอชัดเจนว่าเราจะเสนออะไร สิ่งแรกต้องเสนอหลักใหญ่ในรัฐธรรมนูญก่อนตามกรอบเวลา เมื่อเขียนในรัฐธรรมนูญแล้ว บางเรื่องต้องขยับเป็นเรื่องกฏระเบียบหรือวิธีการ ซึ่งยังมีระยะเวลาในการเสนอตามคาบเวลาของมันอยู่ บางเรื่องไม่ต้องเสนอภายในปีนี้ก็ได้

“เราต้องมองไปข้างหน้าม่าให้มันเกิดซ้ำ ถ้าไม่ให้เกิดซ้ำเราต้องมีแนวทางเตรียมเสนอไว้ หรือเราต้องมีมาตรการในข้อกฏหมายรองรับไว้ กฏหมายอันไหนต้องแก้ไขค่อยว่ากัน คิดว่ายังพอมีเวลา”
 
ในฐานะ สปช. จะเป็นแกนกลางในการรับข้อเสนอจากทุกภาคส่วน เอาข้อเสนอกับประสบการณ์ที่เรามีไปสู่การขบคิดหาวิธีการ ทั้งกรอบเวลา กลไก องค์กร ทั้งเรื่องข้อกฏหมายบางอย่างที่เราฟังมาเป็น 10 ปี รวมทั้งข้อเสนอที่มีอยู่ในมือบ้าง ซึ่งคิดว่าข้องเท็จจริงคงรับได้ไม่ทั้งหมด แต่เราจะอธิบายวิธีการ กฏหมายบางฉบับให้นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ และทุกภาคส่วนที่อยู่ในสภาปฎิรูปเข้าใจเห็นด้วยและยอมรับมากขึ้น เพื่อจะเป็นข้อเสนอที่ถูกบันทึกไว้ ถูกบรรจุไว้ให้เป็นรูปธรรม
 
และจะเป็นสะพานที่เชื่อมให้เกิดการทำงาน่รวมกัน ซึ่งจะต้องทำงานหนักจัดเตรียมเอกสารข้อเสนอ ข้อมูลในการที่จะนำเสนอ และจะย่อยภาษาให้ง่ายขึ้น เพราะเราเคยชินกับภาษาที่พวกเราใช้กันเอง ซึ่งต้องปรับภาษาที่ทำให้คนตรงกลางเห็นแล้วเข้าใจสนับสนุนกับวิธีที่เราเสนอได้ด้วย

“เราต้องปรับตัวให้ทัน ทำอย่างไรให้ภาคประชาชนมีจุดยืนอยู่ในรัฐธรรมนูญ มีที่ยืนของภาคประชาชนอยู่ในข้อเสนอให้ได้ในเวลาเร่งด่วน บางอันที่เราจำเป็นต้องเติม ใช้การประสานงานแบบเร่งด่วน มีกลไกที่อาจหยุดภารกิจบางอัน”
 
การที่ภาคประชาชนขยับมีกลไกในนามสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป ในจังหวะที่ทันกับสถานการณ์ และการหารือกับสมาชิกสภาปฏิรูปที่มองไปในทิศทางเดียวกันมารับรู้ด้วยกัน ส่วน สปช.ที่คิดคนละแนวทางก็ต้องเป็นหน้าที่ของสมาชิก สปช.ที่ต้องสร้างเครือข่ายเพิ่มเติมในทั้ง สปช.และ สนช. ในการผลักดันกฎหมายบางฉบับ ข้อบังคับบางอย่างไปสู่การประกาศใช้ต่อไป สปช.เอ็นจีโอสิ่งแวดล้อม กล่าวในท้ายสุด

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ