เสียงเป็ด เสียงไก่ เสียงจิ้งหรีด..ดังระงมไปทั่วบ้าน รอบบ้านหลังนี้ก็เขียวขจีไปทั่วบริเวณ และยังมีบ่อเลี้ยงปลาอีกหนึ่งบ่อด้วย
ผมว่า..บ้านหลังนี้จะต้องมีอะไรพิเศษ หรือต้องมีอะไรดีๆให้เราเยี่ยมชมได้แน่ๆ เราไปเยี่ยมครัวเรือนของ นางสุพัตรา คิดดี กันดีกว่าครับ
ณ ที่บ้านหลายทุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยาได้พูดคุยกับพัฒนากร นายธีรศักดิ์ ปันกิติ ก็พอจะทราบว่าบ้านหลายทุ่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่ทุกหลังคาเรือนเลี้ยงไก่ไข่และไก่พื้นเมืองไว้บริโภคและเหลือนำออกจำหน่าย เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งและก็สามารถทำได้ประสบความสำเร็จได้อีกด้วย
จากการได้พูดคุยสอบถามจากพัฒนา กรนายธีรศักดิ์ ปันกิติก็ พอจะทราบว่าหมู่บ้านนี้ไม่มีการขับเคลื่อนเคลื่อนการจัดทำบัญชีครัวเรือนทุกครัวเรือนออและนำมาวิเคราะห์ในเวทีประชาคมอทำให้ทราบได้ว่าชุมชนได้เสียเงินซื้ออาหารการกิน ซื้อไข่เป็ดไข่ไก่จากภายนอกหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก จึงได้ร่วมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ได้มีมติว่าในชุมชนควร จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และไก่พื้นเมืองไว้บริโภคเองเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว
ครั้งแรกพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงม่วนจัดทำโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ เริ่มแรกจำนวน 65 ครัวเรือน เลี้ยงครัวเรือนละ 2-3 ตัว ได้ผลสำเร็จครอบครัวอื่นๆเห็นแล้วก็อยากเล่นด้วย ทางเทศบาลตำบลเชียงม่วน จึงได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่อีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอของครัวเรือน
ทางหมู่บ้านก็ได้ปรึกษาหารือกันที่จะหาวิธีการพึ่งตนเองเป็นหลัก และเพื่อที่จะขยายผลต่อไปยังครัวเรือนอื่นๆให้ครบทุกครัวเรือน จึงได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านขยายพันธุ์เพาะพันธุ์เอง โดยนำไก่ตัวผู้นำไปผสมไก่ที่มีอยู่ก็ ทำให้ประสบความสำเร็จได้ขยายพันธุ์ไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ออกไปให้กับคนอื่นๆ ณ วันนี้เกือบครบแล้วจำนวนทั้งสิ้น 80 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะขยายต่อไปให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์และมีโครงการที่จะขยายการเลี้ยงพันธุ์ เป็ดพันธุ์ไข่ให้คนอื่นอีกด้วย
ปัจจุบันบ้านหล่ายทุ่งเป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือน เลี้ยงไก่ครบ 100% ทุกครัวเรือนทำให้สามารถลดรายจ่ายในครอบครัวได้ ไข่ที่เหลือจากการบริโภค ก็สามารถลำส่งขายออกนอกบ้านโดยคิดเป็นวันละ 300 กว่าฟอง ทำให้เป็นรายได้ได้แต่ครัวเรือนในชุมชนอีกด้วย
สำหรับการลดรายจ่ายในเรื่องการที่จะต้องจัดซื้ออาหารสำเร็จรูปจากภายนอกชุมชนทำให้เสียงบประมาณสิ้นเปลืองไปโดยใช่เหตุ ชุมชนจึงได้ริเริ่มใช้วัสดุวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเป็นผสมอาหารไก่เองเพื่อลดรายจ่ายวัตถุดิบดังกล่าว เช่น ต้นกล้วยและใบสาที่มีอยู่ในท้องถิ่นจำนวนมาก
สำหรับครอบครัวของนางสุพัตรา คิดดี นอกจากจะเลี้ยงไก่ไข่และไก่พื้นเมืองรวมทั้งเป็ด แล้วยังมีการส่งเสริมอาชีพให้ครัวเรือนด้วยการเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งสามารถ เลี้ยงจิ้งหรีดส่งขายได้ปีละ 5 ครั้งครั้งละ 1 หมื่นกว่าบาท รวมแล้วปีหนึ่งสามารถสร้างรายได้สำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดถึง 50,000 บาท คุณสุพัตราบอกว่ามีรายได้ดีกว่าการทำนาglupอีก และด้วยอาชีพนี้ทำให้พี่สุพัตราสามารถส่งลูกเรียนจบปริญญาตรีได้อีกด้วย..ขอขอบคุณนายธีระศักดิ์ ปันกิตติ พัฒนากรที่ได้นำเราไปเยี่ยมชมโครงการดี ๆ อย่างนี้…