ถ้ามาเมืองวุ่นวายแล้วไม่รู้จะไปไหน…ซอยเจริญกรุง 43 มีคำตอบ 🙂
พื้นที่หนึ่งกลางกรุง ในเขตบางรัก ถูกอาจารย์วราพร สุรวดี รังสรรค์บ้านเก่าที่ได้รับมรดกจากคุณแม่ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางกรุง โดยก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก จากการท่านอาจารย์วราพร ได้ออกมาระดมทุนเพื่อซื้อพื้นที่ข้างพิพิธภัณฑ์ที่กำลังจะถูกสร้างเป็นตึกสูง โดยรวมยอดครั้งนั้นกว่า 10 ล้านบาท ไปรวมกับเงินส่วนตัวของท่านอาจารย์ที่มีอยู่ และได้ซื้อพื้นที่ข้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเตรียมสร้างเป็นลานจอดรถสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
บรรยากาศที่เย็นสงบ รายล้อมบ้านไม้ 2 ชั้นไปด้วยต้นไม้หลากหลายชนิด เอกลักษณ์พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ บ้านไม้ 3 หลัง ที่ถูกปรับเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ เต็มไปด้วยของเก่าที่ถูกดูแลอย่างดีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดู หลอดไฟที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน กับพื้นไม้ที่เงาดังกระจก ภาพแรกที่เราได้เห็นหลังจากเดินขึ้นบันไดของอาคารหลังที่ 1 พบกับคุณยายที่นั้งเอาน้ำมันมะพร้าวเช็ดถูตู้โต๊ะต่างๆหวังดูแลให้ลูกหลานได้ดูหลายชั่วคน ชั้นล่างของอาคารมีห้องโถ่งรับแขก และห้องอาหาร ภายในเต็มไปด้วยถ้วยเซรามิกโบราณ และห้องน้ำที่ฝาสุขภัณฑ์เป็นไม้เนื้อแข็ง บ่งบอกถึงยุคนั้นที่ไม้ยังคงมีเยอะเกินความจำเป็น เดินขึ้นมาชั้น 2 ของอาคาร 1 ระหว่างทางขึ้นบันได พบ “เครื่องอัดผ้า” ใช้สำหรับอัดผ้านุ้งโดยผ้าโจงกระเบน เมื่ออัดทิ้งไว้ 2 วัน จะขึ้นกลีบโง้งสวยตรงตำแหน่ง ในชั้นที่สองของบ้านเป็นห้องนอนที่ยังคงมีเตียงนอนสมัยเก่า ยังมีข้าวของเครื่องใช้ เช่นโต๊ะเครื่องแป้ง หวีผมที่ทำจากไม้ บนเตียงนอนมี พัดที่ทำจากก้านตาล แสงอ่อนๆที่สาดส่องผ่านหน้าต่างทำให้บรรยากาศชวนให้คิดถึงอดีตที่ผ่านมา ยังมีอีก 2 อาคารที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตเก่าๆให้คนรุ่นใหม่ได้หวนมามอง
พื้นที่นี้กำลังจะเปลี่ยนแต่…..ตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ??
หลังจากที่มีการระดมเงินเพื่อซื้อพื้นที่ข้างพิพิธภัณฑ์ก็ได้มีการวางแผนที่จะสร้างพื้นที่จอดรถตามที่อาจารย์ได้วางแปลนไว้ เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา อาจารย์วราพร ได้พลัดตกจากชั้นที่ 2 ของบ้าน เมื่อ 19.20 น. โดยสันนิษฐานว่าเป็นการพลัดตกจากการให้อาหารแมว เพราะนิสัยส่วนตัวของอาจารย์เป็นคนรักสัตว์ อาการล่าสุดตอนนี้อาจารย์ยังคงอยู่ในห้อง ICU แต่พอจะรู้สึกตัว อนาคตของพิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากความตั้งใจของอาจารย์ทิศทางของอนาคตจะเป็นอย่างไร เสียงหนึ่งจากผู้ใกล้ชิดกับอาจารย์บอกจะดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้ดีที่สุด พร้อมความหวังว่าอาจารย์จะหายกลับมาดูพิพิธภัณฑ์ เช่นเดิม